ปลุกกำลังใจรั้วของชาติแม้พิการลุกขึ้นสู้ด้วย ‘กีฬา’
สายธนูเขม็งตึงถูกปล่อยออกจากมือ ส.อ.ณัฐปกรณ์ พรหมหล้า แม้ลูกธนูไม่เข้าเป้าแต้มสูงสุด แต่การได้ลุกขึ้นจากเตียงคนไข้ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ก็ทำให้สดชื่นขึ้นหลังผ่าตัดขาขวาที่สูญเสียจากการปฏิบัติหน้าที่บริเวณแนว ป่าทางขึ้นเขาพระวิหารเมื่อ 8 เดือนก่อน
อีกแค่ 2 เดือน...เจ้าสาวคนหนึ่งลาออกจากงานที่กรุงเทพฯ ตระเตรียมงานแต่ง และชีวิตใหม่ที่อุบลราชธานี เจ้าบ่าวซึ่งเป็นรั้วของชาติเหลือภารกิจอีกเดือนเดียวริมชายแดนเขาพระวิหาร เพราะก่อนหน้านั้นประจำการ 3 จังหวัดชายแดนใต้มาแล้ว 2 ปี ทุกอย่างใกล้เรียบร้อยเหลือแค่เวลาแห่งความสุขรออยู่เบื้องหน้า แต่ระเบิดตูมลูกนั้นที่เชิงเขาพระวิหารทำให้พิธีมงคลของทั้งคู่หยุดชะงักลง จนกว่า ส.อ.ณัฐปกรณ์ ผู้เป็นเจ้าบ่าวจะรักษาตัวจนหายเป็นปกติ
“ทีแรกคิดว่าพอเราขาขาดแล้วแฟนจะไม่เหมือนเดิม ก็คอยสังเกตดูเวลามาเยี่ยม ซึ่งเขาไม่มีทีท่าตีจากไปอย่างที่เราคิด กลับกันเขาดูแลเราเป็นอย่างดีด้วยซ้ำ” นอกจากความรักที่พยุง ส.อ.ณัฐปกรณ์ ให้ลุกขึ้นได้แล้ว ความรักในฐานะ “ทหารอาชีพ” ก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยเช่นกัน เพราะวันที่ถูกระเบิด ตัวเองเป็นผู้บังคับหมู่ปืนเล็ก พาลูกน้องอีก 8 คน ลาดตระเวน ตอนขาขึ้นไปบนเขาพระวิหารไม่มีอะไร แต่ตอนขากลับลูกน้องทักท้วงให้กลับทางดินแดงที่รถวิ่งผ่านได้ แต่หัวหน้าชุดตัดสินใจกลับทางเดิมเพราะหากผู้บังคับบัญชามาเห็นอาจไม่เหมาะ สม เมื่อเหลืออีก 800 เมตรถึงฐาน เขาหันกลับมาบอกลูกน้องด้านหลังให้เดินระวัง พยายามเดินบนหินอย่าเดินบนดิน เพราะพื้นหินยากต่อการขุดฝังระเบิด พอหันกลับไปเดินได้ 2–3 ก้าว แรงระเบิดก็สาดดินบนพื้นเข้าหน้า และลำตัวกระเด็นจากจุดเกิดเหตุหลายเมตร ครั้นตั้งสติได้ยกขาขึ้นดูรู้แล้วว่ายังไงต้องตัดออกแน่ เพราะก่อนหน้านั้นรู้แล้วว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่เสี่ยงสักวันเหตุร้ายอาจ ต้องเกิดขึ้นกับเรา
“ตัดขาเราไม่เสียใจ แต่จะเสียใจกว่านี้ถ้าลูกน้องที่มาด้วยกันเป็นอะไรไป ด้วยความที่เราเป็นหัวหน้าชุดพาลูกน้องออกลาดตระเวน ต้องคิดว่าจะดูแลชีวิตเขาอย่างไร เราพาเขามาเสี่ยงต้องดูแลกัน” การก้าวผ่านความเจ็บปวดของร่างกายช่วงแรกถือเป็นด่านหิน เพราะต้องเข้าห้องผ่าตัด 2–3 วันครั้งหนึ่ง ร่างกายโทรม เวลาล้างแผลเจ็บจนต้องกัดผ้าช่วย แต่ผ่านช่วงนั้นมาได้ถือว่าสุด ๆ ช่วงแรกคุมสภาพจิตใจตัวเองไม่ค่อยได้ก็หงุดหงิดใส่แฟน และคนอื่น ๆ ด้วยทำอะไรไม่ได้คล่องเหมือนแต่ก่อน พอควบคุมอารมณ์ได้ก็เข้าใจอะไรมากขึ้น
8 เดือนที่สูญเสียขาเราเรียนรู้ที่จะมองโลกในแง่บวกมากขึ้น ไม่ให้จมปรักอยู่กับคำว่า “เสียดายขา” อย่างน้อยเมื่อแผลหายใส่ขาเทียมได้สามารถช่วยประเทศชาติในแนวทางอื่นได้ ข้อดีของการเป็นทหารคือ สอนให้รู้จักผิดหวัง เช่นมีประกาศว่าพรุ่งนี้จะปล่อยกลับบ้าน แต่พอถึงเวลาจริงกลับไม่ให้กลับ อาชีพนี้มีอะไรมากกว่าที่คนภายนอกมองว่าเป็นงานที่เหนื่อยและลำบาก
ส.อ.ณัฐปกรณ์ เล่าระหว่างรอให้แผลหายดีได้เข้าร่วมโครงการ “นำกำลังใจจากนักกีฬาคนพิการสู่ทหารพิการ” พร้อมด้วยโอกาสในการปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติในฐานะนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย ของมูลนิธิคณะกรรมการพาราลิมปิคแห่งประเทศไทย โดยคุณจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานมูลนิธิฯ ได้นำทหารที่ได้รับบาดเจ็บ 20 นาย มาเรียนรู้การเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ จากนักกีฬาผู้พิการทีมชาติไทย หลังจากเข้าร่วมได้สนใจกีฬายิงธนูและยิงปืน หลังจากแผลหายอาจเข้ามาฝึกซ้อมเพื่อเป็นนักกีฬาต่อไป
พลังแห่งกีฬาสำหรับ สายสุนีย์จ๊ะนะ นักกีฬาวีลแชร์ฟันดาบทีมชาติไทย เป็นส่วนหนึ่งทำให้เริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง หลังประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อ 21 ปีที่แล้ว จนต้องอัมพาตครึ่งท่อนล่าง เดือนแรกอยู่โรงพยาบาลทำอะไรเองไม่ได้เลย แม้แต่ลุกนั่งก็ทำไม่ได้ ตอนนั้นโทษฟ้า โทษกรรมมั่วไปหมด ว่าทำไมไม่ให้เราตายไปเลยเพราะฐานะทางบ้านยากจนอยู่แล้ว
“ตอนนั้นทุกข์มากจนคิดฆ่าตัวตาย วันนั้นไปทำกายภาพบำบัดพอดีแม่ออกไปซื้อของข้างนอก เลยคิดกระโดดหน้าต่างลงมาฆ่าตัวตาย พยายามสุดชีวิตแต่ร่างกายขยับไม่ได้ เราก็หันมาโทษตัวเองว่าปัญญาจะฆ่าตัวตายยังไม่มีเลย แล้วจะมีปัญญาช่วยเหลือตัวเองได้ยังไง พอแม่กลับมาเห็นก็ตีแล้วร้องไห้ว่าทำไมเลี้ยงมาตั้งหลายปีจะมาฆ่าตัว ตายอย่างนี้ เราร้องไห้และเปลี่ยนมุมมองความคิดว่าต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้”
หลังช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้วออกจากโรงพยาบาลมาอยู่บ้านยิ่งแย่กว่าเก่า เพราะที่บ้านยากจนสิ่งอำนวยความสะดวกไม่มี ไหนคนละแวกบ้านที่เข้ามาเยี่ยมก็ปลอบว่า “เป็นเวรเป็นกรรมของมึงจริง ๆ ทนเอาหน่อยเดี๋ยวกรรมก็หมดไป” พอชาวบ้านมาพูดอย่างนี้บ่อย ๆ ยิ่งรู้สึกอยากหนีจากโลกภายนอก หันมาเก็บตัวอยู่ในห้องมืด ๆ คนเดียว เพื่อนชวนไปไหนไม่ไป อยู่อย่างนั้นจนผ่านไป 2 ปี พ่อกับแม่เลิกกัน เหตุผลมาจากหนี้สิน และเราก็หาเงินไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน จึงตัดสินใจพาตัวเองไปอยู่ในสถานสงเคราะห์ที่เชียงใหม่
พอไปถึงที่นั่นเราตกใจ เพราะเห็นคนพิการมากมายอาศัยอยู่จนเปลี่ยนแนว คิดว่าเราไม่ใช่คนพิการคนเดียวในโลก ที่สำคัญได้ฝึกซ้อมการเล่นกีฬาบาสเกตบอล และเมื่อมีเฟสปิกเกมส์ปี ค.ศ. 1999 มีการจัดอบรมกีฬาฟันดาบเนื่องจากเป็นกีฬาใหม่ยังไม่มีตัวนักกีฬา หลังจากนั้นมีหนังสือแจ้งว่าเราติดทีมชาติทั้งบาสเกตบอลและฟันดาบแต่เลือกฟันดาบ หลังจากนั้นเข้ามาเก็บตัวที่กรุงเทพฯ พยายามฝึกซ้อมเวลาโค้ชสั่งให้ทำอะไรต้องทำเป็นสองเท่า เพราะประเทศไทยตอนนั้นยังไม่มีประสบการณ์และเป็นครั้งแรก หลังจากไปแข่งได้ 2 เหรียญทอง พอกลับบ้านทุกอย่างเปลี่ยนไปอีกแบบ จากชาวบ้านที่ว่าเป็นเวรเป็นกรรมก็บอกว่า “ เป็นบุญของมึงจริง ๆ” ครั้งนั้นเป็นหนแรกที่เห็นคนในครอบครัวยิ้มได้เต็มแก้มกว่าเมื่อก่อน
“สำหรับคนที่ท้อแท้อยู่อยากให้ลุกขึ้นมา เปลี่ยนจากทุกข์ให้เป็นโอกาส คนทุกคนมีความท้อแท้เหมือนกัน แต่ถ้าเชื่อมั่นในตัวเองว่าทำได้ปัญหาบางปัญหาที่แก้ยากก็แก้ได้ ถ้าแพ้ก็เอาใหม่ ถ้าทำไม่ได้เราถือว่าเสมอตัว”
คนพิการที่อยากเล่นกีฬาเพื่อเอาชนะตัวเอง สิ่งสำคัญนอกจากการดูแลสุขภาพแล้ว การได้เจอเพื่อนใหม่หรือการมีสังคมของนักกีฬาคนพิการก็จะช่วยได้ แม้บางครั้งเมื่อคนพิการออกไปใช้ชีวิตในสังคมคนปกติจะรู้สึกสะกิดใจในความ ไม่สมประกอบของตัวเองบ้าง แต่เดี๋ยวนี้การอำนวยความสะดวกดีขึ้น ผิดจากแต่ก่อนที่คนพิการโบกแท็กซี่ก็ไม่ยอมรับเพราะคนขับต้องลงมาช่วยเหลือ
“หากคนพิการที่อยากเล่นกีฬาสามารถติดต่อกับศาลากลางจังหวัดใกล้บ้านเพื่อรับ การแนะนำจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อดูความเหมาะสมของประเภทกีฬา และพัฒนาศักยภาพต่อไป” สายสุนีย์ ทิ้งท้าย “ความพิการแม้เป็นอุปสรรคทางร่างกาย แต่หากหัวใจยังสู้สามารถก้าวข้ามความเจ็บป่วยไปได้ไม่มากก็น้อย”.
ข้อควรระวังการเล่นกีฬาคนพิการ - อส.ทพ.ประหยัด มุคคาอ่อน ผู้ฝึกสอนกีฬายิงธนูคนพิการ บอกเล่าว่า สิ่งที่ต้องระวังในการซ้อมของนักกีฬาคนพิการอยู่ที่เวลานั่งซ้อมนานอาจมีแผลกดทับ เป็นผลร้ายต่อตัวนักกีฬาเอง ดังนั้นผู้ฝึกสอนต้องกำหนดเวลาประมาณครึ่งชั่วโมงให้นักกีฬาเปลี่ยนอิริยาบถ สิ่งสำคัญคือการให้กำลังใจกันและกันเพราะบางครั้งนักกีฬามุ่งมั่นจนล้มป่วย หากมีการฝึกที่ดีขึ้นจิตใจของนักกีฬาจะนิ่งกว่าเดิม ไม่หงุดหงิดง่าย ซึ่งใครสนใจสามารถโทรฯ เข้ามาในสมาคมกีฬาผู้พิการเพื่อรับการแนะนำได้ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิคณะกรรมการพาราลิมปิคแห่งประเทศไทย โทรศัพท์ 0-2216-7728, 0-2219-2429
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/212344 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
(ขบวนทัพนักกีฬาคนพิการ) (การแข่งขันกีฬายิงธนูคนพิการ) (สายสุนีย์ จ๊ะนะ นักกีฬาฟันดาบคนพิการ) สายธนูเขม็งตึงถูกปล่อยออกจากมือ ส.อ.ณัฐปกรณ์ พรหมหล้า แม้ลูกธนูไม่เข้าเป้าแต้มสูงสุด แต่การได้ลุกขึ้นจากเตียงคนไข้ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ก็ทำให้สดชื่นขึ้นหลังผ่าตัดขาขวาที่สูญเสียจากการปฏิบัติหน้าที่บริเวณแนว ป่าทางขึ้นเขาพระวิหารเมื่อ 8 เดือนก่อน อีกแค่ 2 เดือน...เจ้าสาวคนหนึ่งลาออกจากงานที่กรุงเทพฯ ตระเตรียมงานแต่ง และชีวิตใหม่ที่อุบลราชธานี เจ้าบ่าวซึ่งเป็นรั้วของชาติเหลือภารกิจอีกเดือนเดียวริมชายแดนเขาพระวิหาร เพราะก่อนหน้านั้นประจำการ 3 จังหวัดชายแดนใต้มาแล้ว 2 ปี ทุกอย่างใกล้เรียบร้อยเหลือแค่เวลาแห่งความสุขรออยู่เบื้องหน้า แต่ระเบิดตูมลูกนั้นที่เชิงเขาพระวิหารทำให้พิธีมงคลของทั้งคู่หยุดชะงักลง จนกว่า ส.อ.ณัฐปกรณ์ ผู้เป็นเจ้าบ่าวจะรักษาตัวจนหายเป็นปกติ “ทีแรกคิดว่าพอเราขาขาดแล้วแฟนจะไม่เหมือนเดิม ก็คอยสังเกตดูเวลามาเยี่ยม ซึ่งเขาไม่มีทีท่าตีจากไปอย่างที่เราคิด กลับกันเขาดูแลเราเป็นอย่างดีด้วยซ้ำ” นอกจากความรักที่พยุง ส.อ.ณัฐปกรณ์ ให้ลุกขึ้นได้แล้ว ความรักในฐานะ “ทหารอาชีพ” ก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยเช่นกัน เพราะวันที่ถูกระเบิด ตัวเองเป็นผู้บังคับหมู่ปืนเล็ก พาลูกน้องอีก 8 คน ลาดตระเวน ตอนขาขึ้นไปบนเขาพระวิหารไม่มีอะไร แต่ตอนขากลับลูกน้องทักท้วงให้กลับทางดินแดงที่รถวิ่งผ่านได้ แต่หัวหน้าชุดตัดสินใจกลับทางเดิมเพราะหากผู้บังคับบัญชามาเห็นอาจไม่เหมาะ สม เมื่อเหลืออีก 800 เมตรถึงฐาน เขาหันกลับมาบอกลูกน้องด้านหลังให้เดินระวัง พยายามเดินบนหินอย่าเดินบนดิน เพราะพื้นหินยากต่อการขุดฝังระเบิด พอหันกลับไปเดินได้ 2–3 ก้าว แรงระเบิดก็สาดดินบนพื้นเข้าหน้า และลำตัวกระเด็นจากจุดเกิดเหตุหลายเมตร ครั้นตั้งสติได้ยกขาขึ้นดูรู้แล้วว่ายังไงต้องตัดออกแน่ เพราะก่อนหน้านั้นรู้แล้วว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่เสี่ยงสักวันเหตุร้ายอาจ ต้องเกิดขึ้นกับเรา “ตัดขาเราไม่เสียใจ แต่จะเสียใจกว่านี้ถ้าลูกน้องที่มาด้วยกันเป็นอะไรไป ด้วยความที่เราเป็นหัวหน้าชุดพาลูกน้องออกลาดตระเวน ต้องคิดว่าจะดูแลชีวิตเขาอย่างไร เราพาเขามาเสี่ยงต้องดูแลกัน” การก้าวผ่านความเจ็บปวดของร่างกายช่วงแรกถือเป็นด่านหิน เพราะต้องเข้าห้องผ่าตัด 2–3 วันครั้งหนึ่ง ร่างกายโทรม เวลาล้างแผลเจ็บจนต้องกัดผ้าช่วย แต่ผ่านช่วงนั้นมาได้ถือว่าสุด ๆ ช่วงแรกคุมสภาพจิตใจตัวเองไม่ค่อยได้ก็หงุดหงิดใส่แฟน และคนอื่น ๆ ด้วยทำอะไรไม่ได้คล่องเหมือนแต่ก่อน พอควบคุมอารมณ์ได้ก็เข้าใจอะไรมากขึ้น 8 เดือนที่สูญเสียขาเราเรียนรู้ที่จะมองโลกในแง่บวกมากขึ้น ไม่ให้จมปรักอยู่กับคำว่า “เสียดายขา” อย่างน้อยเมื่อแผลหายใส่ขาเทียมได้สามารถช่วยประเทศชาติในแนวทางอื่นได้ ข้อดีของการเป็นทหารคือ สอนให้รู้จักผิดหวัง เช่นมีประกาศว่าพรุ่งนี้จะปล่อยกลับบ้าน แต่พอถึงเวลาจริงกลับไม่ให้กลับ อาชีพนี้มีอะไรมากกว่าที่คนภายนอกมองว่าเป็นงานที่เหนื่อยและลำบาก ส.อ.ณัฐปกรณ์ เล่าระหว่างรอให้แผลหายดีได้เข้าร่วมโครงการ “นำกำลังใจจากนักกีฬาคนพิการสู่ทหารพิการ” พร้อมด้วยโอกาสในการปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติในฐานะนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย ของมูลนิธิคณะกรรมการพาราลิมปิคแห่งประเทศไทย โดยคุณจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานมูลนิธิฯ ได้นำทหารที่ได้รับบาดเจ็บ 20 นาย มาเรียนรู้การเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ จากนักกีฬาผู้พิการทีมชาติไทย หลังจากเข้าร่วมได้สนใจกีฬายิงธนูและยิงปืน หลังจากแผลหายอาจเข้ามาฝึกซ้อมเพื่อเป็นนักกีฬาต่อไป พลังแห่งกีฬาสำหรับ สายสุนีย์จ๊ะนะ นักกีฬาวีลแชร์ฟันดาบทีมชาติไทย เป็นส่วนหนึ่งทำให้เริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง หลังประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อ 21 ปีที่แล้ว จนต้องอัมพาตครึ่งท่อนล่าง เดือนแรกอยู่โรงพยาบาลทำอะไรเองไม่ได้เลย แม้แต่ลุกนั่งก็ทำไม่ได้ ตอนนั้นโทษฟ้า โทษกรรมมั่วไปหมด ว่าทำไมไม่ให้เราตายไปเลยเพราะฐานะทางบ้านยากจนอยู่แล้ว “ตอนนั้นทุกข์มากจนคิดฆ่าตัวตาย วันนั้นไปทำกายภาพบำบัดพอดีแม่ออกไปซื้อของข้างนอก เลยคิดกระโดดหน้าต่างลงมาฆ่าตัวตาย พยายามสุดชีวิตแต่ร่างกายขยับไม่ได้ เราก็หันมาโทษตัวเองว่าปัญญาจะฆ่าตัวตายยังไม่มีเลย แล้วจะมีปัญญาช่วยเหลือตัวเองได้ยังไง พอแม่กลับมาเห็นก็ตีแล้วร้องไห้ว่าทำไมเลี้ยงมาตั้งหลายปีจะมาฆ่าตัว ตายอย่างนี้ เราร้องไห้และเปลี่ยนมุมมองความคิดว่าต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้” หลังช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้วออกจากโรงพยาบาลมาอยู่บ้านยิ่งแย่กว่าเก่า เพราะที่บ้านยากจนสิ่งอำนวยความสะดวกไม่มี ไหนคนละแวกบ้านที่เข้ามาเยี่ยมก็ปลอบว่า “เป็นเวรเป็นกรรมของมึงจริง ๆ ทนเอาหน่อยเดี๋ยวกรรมก็หมดไป” พอชาวบ้านมาพูดอย่างนี้บ่อย ๆ ยิ่งรู้สึกอยากหนีจากโลกภายนอก หันมาเก็บตัวอยู่ในห้องมืด ๆ คนเดียว เพื่อนชวนไปไหนไม่ไป อยู่อย่างนั้นจนผ่านไป 2 ปี พ่อกับแม่เลิกกัน เหตุผลมาจากหนี้สิน และเราก็หาเงินไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน จึงตัดสินใจพาตัวเองไปอยู่ในสถานสงเคราะห์ที่เชียงใหม่ พอไปถึงที่นั่นเราตกใจ เพราะเห็นคนพิการมากมายอาศัยอยู่จนเปลี่ยนแนว คิดว่าเราไม่ใช่คนพิการคนเดียวในโลก ที่สำคัญได้ฝึกซ้อมการเล่นกีฬาบาสเกตบอล และเมื่อมีเฟสปิกเกมส์ปี ค.ศ. 1999 มีการจัดอบรมกีฬาฟันดาบเนื่องจากเป็นกีฬาใหม่ยังไม่มีตัวนักกีฬา หลังจากนั้นมีหนังสือแจ้งว่าเราติดทีมชาติทั้งบาสเกตบอลและฟันดาบแต่เลือกฟันดาบ หลังจากนั้นเข้ามาเก็บตัวที่กรุงเทพฯ พยายามฝึกซ้อมเวลาโค้ชสั่งให้ทำอะไรต้องทำเป็นสองเท่า เพราะประเทศไทยตอนนั้นยังไม่มีประสบการณ์และเป็นครั้งแรก หลังจากไปแข่งได้ 2 เหรียญทอง พอกลับบ้านทุกอย่างเปลี่ยนไปอีกแบบ จากชาวบ้านที่ว่าเป็นเวรเป็นกรรมก็บอกว่า “ เป็นบุญของมึงจริง ๆ” ครั้งนั้นเป็นหนแรกที่เห็นคนในครอบครัวยิ้มได้เต็มแก้มกว่าเมื่อก่อน “สำหรับคนที่ท้อแท้อยู่อยากให้ลุกขึ้นมา เปลี่ยนจากทุกข์ให้เป็นโอกาส คนทุกคนมีความท้อแท้เหมือนกัน แต่ถ้าเชื่อมั่นในตัวเองว่าทำได้ปัญหาบางปัญหาที่แก้ยากก็แก้ได้ ถ้าแพ้ก็เอาใหม่ ถ้าทำไม่ได้เราถือว่าเสมอตัว” คนพิการที่อยากเล่นกีฬาเพื่อเอาชนะตัวเอง สิ่งสำคัญนอกจากการดูแลสุขภาพแล้ว การได้เจอเพื่อนใหม่หรือการมีสังคมของนักกีฬาคนพิการก็จะช่วยได้ แม้บางครั้งเมื่อคนพิการออกไปใช้ชีวิตในสังคมคนปกติจะรู้สึกสะกิดใจในความ ไม่สมประกอบของตัวเองบ้าง แต่เดี๋ยวนี้การอำนวยความสะดวกดีขึ้น ผิดจากแต่ก่อนที่คนพิการโบกแท็กซี่ก็ไม่ยอมรับเพราะคนขับต้องลงมาช่วยเหลือ “หากคนพิการที่อยากเล่นกีฬาสามารถติดต่อกับศาลากลางจังหวัดใกล้บ้านเพื่อรับ การแนะนำจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อดูความเหมาะสมของประเภทกีฬา และพัฒนาศักยภาพต่อไป” สายสุนีย์ ทิ้งท้าย “ความพิการแม้เป็นอุปสรรคทางร่างกาย แต่หากหัวใจยังสู้สามารถก้าวข้ามความเจ็บป่วยไปได้ไม่มากก็น้อย”. ข้อควรระวังการเล่นกีฬาคนพิการ - อส.ทพ.ประหยัด มุคคาอ่อน ผู้ฝึกสอนกีฬายิงธนูคนพิการ บอกเล่าว่า สิ่งที่ต้องระวังในการซ้อมของนักกีฬาคนพิการอยู่ที่เวลานั่งซ้อมนานอาจมีแผลกดทับ เป็นผลร้ายต่อตัวนักกีฬาเอง ดังนั้นผู้ฝึกสอนต้องกำหนดเวลาประมาณครึ่งชั่วโมงให้นักกีฬาเปลี่ยนอิริยาบถ สิ่งสำคัญคือการให้กำลังใจกันและกันเพราะบางครั้งนักกีฬามุ่งมั่นจนล้มป่วย หากมีการฝึกที่ดีขึ้นจิตใจของนักกีฬาจะนิ่งกว่าเดิม ไม่หงุดหงิดง่าย ซึ่งใครสนใจสามารถโทรฯ เข้ามาในสมาคมกีฬาผู้พิการเพื่อรับการแนะนำได้ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิคณะกรรมการพาราลิมปิคแห่งประเทศไทย โทรศัพท์ 0-2216-7728, 0-2219-2429 ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/212344
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)