สเปเชียล โอลิมปิค ภาคตะวันออก..เวทีนี้ เพื่อคนพิเศษ
''ขอชนะสักครั้ง หากไม่ได้ดังที่หวัง ก็ขอให้ได้มุ่งมั่น กล้าแข่งขันตลอดไป''
นี่คือคำปฏิญาณของนักกีฬา สเปเชียล โอลิมปิค หรือการแข่งขันกีฬาสเปเชียล โอลิมปิคไทย เกมกีฬาของผู้พิการทางสมองและสติปัญญา ซึ่งจัดมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ถือว่าเป็นโครงการพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย และความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของบุคคลที่พิการทางสมองและปัญญาอย่างเป็น ธรรมชาติ โดยใช้การกีฬาเป็นสื่อเป็นกิจกรรมที่ให้นักกีฬาพิเศษทุกคนมีความสำคัญที่สุด ได้รับโอกาส และประโยชน์มากที่สุดตามศักยภาพของตนเอง
รายการ นี้ แสนสิริ ร่วมกับ องค์การ ยูนิเซฟ ได้ให้การสนับสนุน สเปเชียล โอลิมปิคไทย ในการจัดการแข่งขันขึ้น จนเข้ามาสู่ ภาคตะวันออก ครั้งที่ 6 ณ สนามกีฬาโรงเรียนเมืองพัทยา 7 จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 19-20 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งการแข่งขันที่สนามแห่งนี้ มี 3 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย กรีฑาลู่-ลาน มีทั้ง วิ่ง 50, 100, 200, 400, 800, 1500, 4x100, 4x400, ยืนกระโดดไกล และขว้างลูกซอฟท์บอล, การแข่งขันบอชชี่ประเภทเดี่ยวและทีม รวมทั้งการแข่งขันคริกเกต ซึ่งเป็นครั้งแรกที่กีฬาชนิดนี้
สเปเชียลโอลิมปิคไทย ภาคตะวันออก มีนักกีฬาเข้าร่วมการชิงชัยมากถึง 149 คน จาก 9 โรงเรียน ประกอบด้วย ร.ร.ฉะเชิงเทราปัญญานุกูล, สถานสงเคราะห์คนพิการการุณยเวศม์, ศูนย์การศึกษาพิเศษ จ.สมุทรปราการ, ศูนย์การศึกษาพิเศษ จ.ระยอง, ศูนย์การศึกษาพิเศษ จ.จันทบุรี, บ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษ, ศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษพระมหาไถ่, ร.ร.ลพบุรีปัญญานุกูล และ ร.ร.สุพรรณบุรีปัญญานุกูล
สังคม บนโลกใบนี้ พื้นที่แสดงความสามารถของผู้พิการทางสมองและสติปัญญา มีน้อยเหลือเกิน แถมผู้ปกครองของคนกลุ่มนี้หลายครอบครัวไม่กล้าที่จะนำเอาเด็กเหล่านี้เข้า สู่สังคม เพราะกลัวอับอายหรืออาจคิดว่าคนพิเศษเหล่านี้อยู่ร่วมกับสังคมไม่ได้ แต่ สเปเชียล โอลิมปิคไทย ได้ทำให้กลุ่มคนพิเศษทุกคนในเมืองไทย สามารถพัฒนาการทางด้านสติปัญญา และอยู่ร่วมกับสังคมไทยได้อย่างมีความสุข
รัชนี วรรณ บูลกุล ผู้อำนวยการประเทศ สเปเชียล โอลิมปิคไทย กล่าวว่า เราคือองค์กรหนึ่งที่ขับเคลื่อนให้กับคนที่เป็นผู้พิการทางสมองและปัญญา โดยนำกีฬาเป็นสื่อให้ผู้มีเชาวน์ทางปัญญาต่ำกว่า 85 ลงมาให้ได้มีโอกาสพัฒนาและเรียนรู้ มีประสบการณ์ที่มีคุณค่ากับชีวิต ซึ่งในประเทศไทยเราทำงานกันมาแล้ว 25 ปี มีนักกีฬากว่า 16,000 คน ทั่วประเทศ จากทั้งหมด 69 จังหวัด โดยจัดกิจกรรม 30-40 รายการ ซึ่งจัดในทุกภูมิภาค รวมทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และกลุ่มของชาวเขา นอกจากนี้เรายังมีการแข่งขันในระดับประเทศ รวมไปถึงการส่งแข่งระดับเอเชียแปซิฟิก ซึ่งกิจกรรมในแต่ละปีเราใช้อาสาสมัครกว่าพันคน โดยพวกเขาเหล่านี้มาทำงานด้วยใจจริงๆ
"งบประมาณในแต่ละปีที่ใช้ มากกว่า 20 ล้านบาท ซึ่งเราได้มีการหาทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักกีฬาของเรามีสุขภาพที่สมบูรณ์ นอกจากกิจกรรมกีฬาแล้ว เรามีกิจกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพ โดยเชิญแพทย์พยาบาลอาสา หรือสาธารณสุขเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพให้กับนักกีฬา เพราะเราคิดว่าผู้พิการทางสมองและสติปัญญาเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีมากถึง 2 ล้านคน ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่มีใครมองเห็น ไม่มีใครได้ยิน และในการที่เขาจะได้รับการบริการทางสุขภาพ หรือโอกาสในสังคม ค่อนข้างมีจำกัด เราคิดว่า สเปเชียล โอลิมปิค ที่ใช้กีฬาเป็นสื่อ จะแสดงให้สังคมเห็นว่าถ้าเราให้โอกาส เขาสามารถที่จะพัฒนาได้ และก็ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน" รัชนีวรรณกล่าว
เรียกได้ว่า ไม่มีสเปเชียล โอลิมปิคไทย ไม่มีเวทีของผู้พิการทางสมองและสติปัญญา มันคือกีฬาของคนพิเศษ ผู้ที่ไม่เคยคิดทำร้ายใคร ไม่เคยทำให้ใครเดือดร้อน และเขาคือประชากรของประเทศไทยที่มีสิทธิทัดเทียมเท่ามนุษย์ทุกคน
ด้าน พรธิดา พัดทอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายสารนิเทศ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ได้กล่าวถึงการเข้ามาร่วมสนับสนุนว่า ยูนิเซฟ ได้ร่วมกับ แสนสิริ เพื่อสนับสนุน สเปเชียล โอลิมปิคไทย ในการร่วมมือกันสร้างความตระหนักเรื่องสิทธิในการเล่นของเด็กโดยเฉพาะ เพราะการเล่นเป็นเป็นส่วนสำคัญของชีวิตเด็ก การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กเริ่มจากการได้เล่น ซึ่งงานวิจัยทางการแพทย์ยืนยันว่าการเล่นมีส่วนสำคัญอย่างมากในการเปลี่ยน แปลงโครงสร้างสมอง โดยการเล่นจะกระตุ้นให้มีการเพิ่มขึ้นของการส่งสัญญาณประสาทและเพิ่มการ ประสานงานระหว่างเซลส์สมองกับการทำงานของร่างกายได้ดี เด็กผู้พิการทางสมองและสติปัญญาก็ต้องได้รับสิทธิ์ในการเล่น พวกเขาสมควรได้รับสิทธิอย่างเต็มรูปแบบ และการแข่งขันสเปเชียล โอลิมปิค ก็ถือว่าเป็นการให้โอกาสเด็กเหล่านี้ได้เล่น เพื่อพัฒนาสติปัญญาอย่างแท้จริง เราได้เห็นเด็กจำนวนมากเข้าร่วมกิจกรรม และองค์กรเอกชนต่างๆ ให้การสนับสนุนมากขึ้น
นับว่าเป็นเรื่องดีที่องค์กรต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญกับ สเปเชียล โอลิมปิค มากขึ้น และเราได้เห็นผู้พิการทางสมองและสติปัญญาที่ร่วมกิจกรรมได้พัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางคนมีความสามารถจนเป็นตัวแทนของประเทศไทย ไปแข่งขัน สเปเชียลโอลิมปิคระดับโลก จนคว้าความสำเร็จมาให้ เช่น ชลธิชากร จำนงค์ผล นักฟุตบอลในตำแหน่งผู้รักษาประตู สามารถคว้ารองแชมป์โลก ที่กรีซ เมื่อปีที่แล้ว
ส่วนการประลองความสามารถ สเปเชียล โอลิมปิคไทย ภาคตะวันออก ในการแข่งขัน วิ่ง 50 ม. รุ่นอายุ 12-15 ปี ชาย แชมป์ตกเป็นของ ด.ช.กฤษณ์ เจริญผล จาก ร.ร.ฉะเชิงเทราปัญญานุกูล เวลา 10.33 วินาที ที่ 2. โกวิทย์ วงษ์อยู่ (ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดระยอง) 10.91 วิ. ที่ 3. จรรษณะ สิงหศิริ (ร.ร.ฉะเชิงเทราฯ) 12.05 วิ., ฝ่ายหญิง ที่ 1. ปวีณา กู้เมือง (บ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิการ) 12.54 วิ. ที่ 2.วราภรณ์ อ่อนพาณิชย์ (ร.ร.ฉะเชิงเทราฯ) ที่ 3. กมลชนก สุขจิตร (ร.ร.ฉะเชิงบเทราฯ) 23.14 วิ.
เมื่อผู้พิการทางสมองและสติปัญญาได้รับโอกาสจากสังคม...ชัยชนะไม่ใช่สิ่งสำคัญใน ชีวิตพวกเขา แต่สิ่งสำคัญคือ หัวใจและความกล้าที่จะสู้บนโลกใบนี้
ขอบคุณ... http://www.siamsport.co.th/othersports/view.php?code=131121154028 (ขนาดไฟล์: 167)
(siamsportออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 พ.ย.56)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พิธีเปิดงานสเปเชียล โอลิมปิคไทย ในการจัดการแข่งขันขึ้น จนเข้ามาสู่ ภาคตะวันออก ครั้งที่ 6 ณ สนามกีฬาโรงเรียนเมืองพัทยา 7 จ.ชลบุรี ''ขอชนะสักครั้ง หากไม่ได้ดังที่หวัง ก็ขอให้ได้มุ่งมั่น กล้าแข่งขันตลอดไป'' นี่คือคำปฏิญาณของนักกีฬา สเปเชียล โอลิมปิค หรือการแข่งขันกีฬาสเปเชียล โอลิมปิคไทย เกมกีฬาของผู้พิการทางสมองและสติปัญญา ซึ่งจัดมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ถือว่าเป็นโครงการพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย และความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของบุคคลที่พิการทางสมองและปัญญาอย่างเป็น ธรรมชาติ โดยใช้การกีฬาเป็นสื่อเป็นกิจกรรมที่ให้นักกีฬาพิเศษทุกคนมีความสำคัญที่สุด ได้รับโอกาส และประโยชน์มากที่สุดตามศักยภาพของตนเอง รัชนีวรรณ บูลกุล ผอ.ประเทศสเปเชียลโอลิมปิคไทย อธิบายถึงความเป็นมาในการจัดกิจกรรม รายการ นี้ แสนสิริ ร่วมกับ องค์การ ยูนิเซฟ ได้ให้การสนับสนุน สเปเชียล โอลิมปิคไทย ในการจัดการแข่งขันขึ้น จนเข้ามาสู่ ภาคตะวันออก ครั้งที่ 6 ณ สนามกีฬาโรงเรียนเมืองพัทยา 7 จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 19-20 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งการแข่งขันที่สนามแห่งนี้ มี 3 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย กรีฑาลู่-ลาน มีทั้ง วิ่ง 50, 100, 200, 400, 800, 1500, 4x100, 4x400, ยืนกระโดดไกล และขว้างลูกซอฟท์บอล, การแข่งขันบอชชี่ประเภทเดี่ยวและทีม รวมทั้งการแข่งขันคริกเกต ซึ่งเป็นครั้งแรกที่กีฬาชนิดนี้ พรธิดา พัดทอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศองค์กรทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ กล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของเด็กๆ สเปเชียลโอลิมปิคไทย ภาคตะวันออก มีนักกีฬาเข้าร่วมการชิงชัยมากถึง 149 คน จาก 9 โรงเรียน ประกอบด้วย ร.ร.ฉะเชิงเทราปัญญานุกูล, สถานสงเคราะห์คนพิการการุณยเวศม์, ศูนย์การศึกษาพิเศษ จ.สมุทรปราการ, ศูนย์การศึกษาพิเศษ จ.ระยอง, ศูนย์การศึกษาพิเศษ จ.จันทบุรี, บ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษ, ศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษพระมหาไถ่, ร.ร.ลพบุรีปัญญานุกูล และ ร.ร.สุพรรณบุรีปัญญานุกูล สังคม บนโลกใบนี้ พื้นที่แสดงความสามารถของผู้พิการทางสมองและสติปัญญา มีน้อยเหลือเกิน แถมผู้ปกครองของคนกลุ่มนี้หลายครอบครัวไม่กล้าที่จะนำเอาเด็กเหล่านี้เข้า สู่สังคม เพราะกลัวอับอายหรืออาจคิดว่าคนพิเศษเหล่านี้อยู่ร่วมกับสังคมไม่ได้ แต่ สเปเชียล โอลิมปิคไทย ได้ทำให้กลุ่มคนพิเศษทุกคนในเมืองไทย สามารถพัฒนาการทางด้านสติปัญญา และอยู่ร่วมกับสังคมไทยได้อย่างมีความสุข กฤษณ์ เจริญผล จาก ร.ร.ฉะเชิงเทราปัญญานุกุล สปีดเข้าเส้นชัยเป็นที่หนึ่งในการแข่งขันวิ่ง 50ม. รุ่น 12-15ปี ชาย รัชนี วรรณ บูลกุล ผู้อำนวยการประเทศ สเปเชียล โอลิมปิคไทย กล่าวว่า เราคือองค์กรหนึ่งที่ขับเคลื่อนให้กับคนที่เป็นผู้พิการทางสมองและปัญญา โดยนำกีฬาเป็นสื่อให้ผู้มีเชาวน์ทางปัญญาต่ำกว่า 85 ลงมาให้ได้มีโอกาสพัฒนาและเรียนรู้ มีประสบการณ์ที่มีคุณค่ากับชีวิต ซึ่งในประเทศไทยเราทำงานกันมาแล้ว 25 ปี มีนักกีฬากว่า 16,000 คน ทั่วประเทศ จากทั้งหมด 69 จังหวัด โดยจัดกิจกรรม 30-40 รายการ ซึ่งจัดในทุกภูมิภาค รวมทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และกลุ่มของชาวเขา นอกจากนี้เรายังมีการแข่งขันในระดับประเทศ รวมไปถึงการส่งแข่งระดับเอเชียแปซิฟิก ซึ่งกิจกรรมในแต่ละปีเราใช้อาสาสมัครกว่าพันคน โดยพวกเขาเหล่านี้มาทำงานด้วยใจจริงๆ "งบประมาณในแต่ละปีที่ใช้ มากกว่า 20 ล้านบาท ซึ่งเราได้มีการหาทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักกีฬาของเรามีสุขภาพที่สมบูรณ์ นอกจากกิจกรรมกีฬาแล้ว เรามีกิจกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพ โดยเชิญแพทย์พยาบาลอาสา หรือสาธารณสุขเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพให้กับนักกีฬา เพราะเราคิดว่าผู้พิการทางสมองและสติปัญญาเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีมากถึง 2 ล้านคน ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่มีใครมองเห็น ไม่มีใครได้ยิน และในการที่เขาจะได้รับการบริการทางสุขภาพ หรือโอกาสในสังคม ค่อนข้างมีจำกัด เราคิดว่า สเปเชียล โอลิมปิค ที่ใช้กีฬาเป็นสื่อ จะแสดงให้สังคมเห็นว่าถ้าเราให้โอกาส เขาสามารถที่จะพัฒนาได้ และก็ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน" รัชนีวรรณกล่าว เรียกได้ว่า ไม่มีสเปเชียล โอลิมปิคไทย ไม่มีเวทีของผู้พิการทางสมองและสติปัญญา มันคือกีฬาของคนพิเศษ ผู้ที่ไม่เคยคิดทำร้ายใคร ไม่เคยทำให้ใครเดือดร้อน และเขาคือประชากรของประเทศไทยที่มีสิทธิทัดเทียมเท่ามนุษย์ทุกคน แอ๊บท่าน่ารักๆ ให้ถ่ายขณะเข้าแถวทำพิธีเปิด ด้าน พรธิดา พัดทอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายสารนิเทศ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ได้กล่าวถึงการเข้ามาร่วมสนับสนุนว่า ยูนิเซฟ ได้ร่วมกับ แสนสิริ เพื่อสนับสนุน สเปเชียล โอลิมปิคไทย ในการร่วมมือกันสร้างความตระหนักเรื่องสิทธิในการเล่นของเด็กโดยเฉพาะ เพราะการเล่นเป็นเป็นส่วนสำคัญของชีวิตเด็ก การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กเริ่มจากการได้เล่น ซึ่งงานวิจัยทางการแพทย์ยืนยันว่าการเล่นมีส่วนสำคัญอย่างมากในการเปลี่ยน แปลงโครงสร้างสมอง โดยการเล่นจะกระตุ้นให้มีการเพิ่มขึ้นของการส่งสัญญาณประสาทและเพิ่มการ ประสานงานระหว่างเซลส์สมองกับการทำงานของร่างกายได้ดี เด็กผู้พิการทางสมองและสติปัญญาก็ต้องได้รับสิทธิ์ในการเล่น พวกเขาสมควรได้รับสิทธิอย่างเต็มรูปแบบ และการแข่งขันสเปเชียล โอลิมปิค ก็ถือว่าเป็นการให้โอกาสเด็กเหล่านี้ได้เล่น เพื่อพัฒนาสติปัญญาอย่างแท้จริง เราได้เห็นเด็กจำนวนมากเข้าร่วมกิจกรรม และองค์กรเอกชนต่างๆ ให้การสนับสนุนมากขึ้น หนุ่มน้อยใช้ความคิดในการออกแรงทอยลูกบอชชี่ นับว่าเป็นเรื่องดีที่องค์กรต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญกับ สเปเชียล โอลิมปิค มากขึ้น และเราได้เห็นผู้พิการทางสมองและสติปัญญาที่ร่วมกิจกรรมได้พัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางคนมีความสามารถจนเป็นตัวแทนของประเทศไทย ไปแข่งขัน สเปเชียลโอลิมปิคระดับโลก จนคว้าความสำเร็จมาให้ เช่น ชลธิชากร จำนงค์ผล นักฟุตบอลในตำแหน่งผู้รักษาประตู สามารถคว้ารองแชมป์โลก ที่กรีซ เมื่อปีที่แล้ว โชว์การสาธิตวิถีเล่นกีฬาคริกเกต ส่วนการประลองความสามารถ สเปเชียล โอลิมปิคไทย ภาคตะวันออก ในการแข่งขัน วิ่ง 50 ม. รุ่นอายุ 12-15 ปี ชาย แชมป์ตกเป็นของ ด.ช.กฤษณ์ เจริญผล จาก ร.ร.ฉะเชิงเทราปัญญานุกูล เวลา 10.33 วินาที ที่ 2. โกวิทย์ วงษ์อยู่ (ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดระยอง) 10.91 วิ. ที่ 3. จรรษณะ สิงหศิริ (ร.ร.ฉะเชิงเทราฯ) 12.05 วิ., ฝ่ายหญิง ที่ 1. ปวีณา กู้เมือง (บ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิการ) 12.54 วิ. ที่ 2.วราภรณ์ อ่อนพาณิชย์ (ร.ร.ฉะเชิงเทราฯ) ที่ 3. กมลชนก สุขจิตร (ร.ร.ฉะเชิงบเทราฯ) 23.14 วิ. สุฑาทิพย์ แสงศักดิ์ (ซ้าย) จาก ร.ร.ฉะเชิงเทราปัญญานุกุล สปีดเข้าเส้นชัยเป็นอันดับหนึ่งในการแข่งขันวิ่ง 100ม. รุ่น 16-21ปีหญิง เมื่อผู้พิการทางสมองและสติปัญญาได้รับโอกาสจากสังคม...ชัยชนะไม่ใช่สิ่งสำคัญใน ชีวิตพวกเขา แต่สิ่งสำคัญคือ หัวใจและความกล้าที่จะสู้บนโลกใบนี้ ขอบคุณ...http://www.siamsport.co.th/othersports/view.php?code=131121154028 (siamsportออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 พ.ย.56)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)