‘สเปเชียลโอลิมปิก’ เสียงจากคนพิเศษ ในวันที่โลกจะเห็นเรา
“เข้าที่...ระวัง...ปรี๊ดดดดด” เสียงนกหวีดถูกเป่าดังสนั่น ทันทีที่ได้ยินเสียงสัญญาณ นักกีฬาทุกคนก็ออกวิ่งอย่างไม่รีบร้อน เพราะจุดมุ่งหมายของผู้ลงแข่งขันไม่ใช่การเข้าเส้นชัยเป็นที่หนึ่ง แต่เป็นการวิ่งไปให้ถึงเส้นชัย ไม่ว่าจะใช้เวลานานเพียงไรก็ตาม
แตกต่างจากการแข่งขันทั่วไปที่นักกีฬาต้องฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อเป็นที่หนึ่ง และจะได้รับการแสดงความยินดีเฉพาะผู้ชนะเลิศเท่านั้น
เพราะนี่คือ “สเปเชียลโอลิมปิก” กีฬาสำหรับบุคคลที่มีความพิการทางสมองและปัญญา โดยมีเชาวน์ปัญญา (ไอคิว) ต่ำกว่า 85 เป็นการแข่งขันที่ไม่ต้องกี่คนที่เล่นกีฬาได้เก่งที่สุด แต่เพื่อสร้างโอกาสให้คนพิเศษเหล่านี้ได้พัฒนาศักยภาพ ทำให้สังคมยอมรับมีตัวตนของพวกเขา
การแข่งขันกีฬาสเปเชียลโอลิมปิกในไทย มีการแข่งขัน 4 ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา ฟุตบอล เทเบิลเทนนิส บอชชี่ และแบดมินตัน
ผู้พิการทางสมองและปัญญาส่วนใหญ่มีทักษะในการสื่อสารน้อย ทำให้ถูกสังคมมองข้ามกลายเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีพื้นที่ในสังคม จึงเป็นหน้าที่ของสังคมที่จะต้องช่วยกันพัฒนาศักยภาพของคนพิเศษเหล่านี้ให้สามารถกลับมาร่วมใช้ชีวิตในสังคม และมีพื้นที่เหยียบยืนเท่ากับคนอื่นๆ ด้วยสิทธิในความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน
รัชนีวรรณ บูลกุล อดีตนักว่ายน้ำเอเชี่ยนเกมส์ที่วันนี้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสเปเชียลโอลิมปิก ประเทศไทย กล่าวว่า ต้องทำให้เด็กๆ ผู้พิการทางสมองมีส่วนร่วมในสังคมความสนุกสนานในการเล่นกีฬาจะดึงดูดทำให้เด็กอยากทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการพัฒนาการทางอารมณ์ การเข้าสังคม สร้างสมาธิ จึงต้องเริ่มการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
“สเปเชียลโอลิมปิกเป็นการจัดกิจกรรมที่รองรับคนทุกระดับความสามารถ สำหรับคนพิการซ้ำซ้อน จะมีการแข่งทักษะ กลไก กลิ้งม้วนตัว ย้ายลูกเทนนิส เป็นกิจกรรมจากการทำกายภาพบำบัด หรือหากเป็นคนที่มีทักษะสูง จะได้แข่งขันในกีฬายูนิฟายด์ ในทีมจะประกอบด้วยนักกีฬาพิเศษและนักกีฬาปกติที่มีความสามารถเท่าเทียมกันในจำนวนเท่ากัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าคนพิเศษสามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้”
ขณะที่ พรธิดา พัดทอง เจ้าหน้าที่องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟองค์กรที่เข้ามาช่วยสนับสนุนสเปเชียลโอลิมปิก อธิบายว่า อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ระบุว่า เด็กมีสิทธิจะเล่นและร่วมกิจกรรมสันทนาการ แต่เด็กบางกลุ่มขาดโอกาสทางสังคม ซึ่งรัฐต้องเติมเต็มจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้เด็กได้รับสิทธินี้
“เรื่องการเล่านี้สำคัญ เพราะเด็กจะมีพัฒนาการจากการเคลื่อนไหว การเล่นกีฬานอกจากจะพัฒนาทักษะทางร่างกายแล้ว ยังเป็นการพัฒนาทางสมองและความมั่นคงทางจิตใจ ทำให้เด็กรู้จักวิธีสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งช่วยพัฒนาเด็กพิการทางสติปัญญาให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้” พรธิดายืนยัน
จากที่มีโอกาสได้ไปชมการแข่งขัน “สเปเชียลโอลิมปิก” ล่าสุด ระหว่างการแข่งขันในสนามนอกจากสีสันของนักกีฬาที่วิ่งโดยไม่หวังชนะ วิ่งรอกันบ้าง วิ่งออกนอกลู่บ้าง หรือบางคนเหนื่อยมากก็เดินเสียเฉยๆ ยังมีสีสันจากเสียงพากย์ของ ครูสมพงษ์ เครือโชติ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ จ.ปทุมธานี อาสามาช่วยพากย์การแข่งขันหลายปี หยอกล้อนักกีฬาอย่างสนุกสนานถูกอกถูกใจทั้งผู้เข้าแข่งขันและผู้ชม
“นักกีฬาพิเศษเวลาให้เข้าแถวก็จะเข้าแถวได้ นั่งเรียบร้อย จริงๆ แล้วเกพวกนี้ไม่สามารถจะนั่งได้นาน เด็กจะค่อยๆมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในแต่ละปี การเข้าร่วมสเปเชียลโอลิมปิกเป็นการเปิดโอกาส เพราะปกติเด็กเหล่านี้จะมีโอกาสออกจากบ้านน้อยมาก และช่วยฝึกวินัยให้เขามีสมาธิและความอดทนมากยิ่งขึ้น เป็นการสร้างคนที่ได้มากกว่าการสร้างสนามเด็กเล่นหรือสถานสงเคราะห์คนพิการ” ครูสมพงษ์พูดสรุปจากประสบการณ์
ว่าแล้วก็มาคุยกับ บี-ชลธิชากร จำนงภิมล ผู้รักษาประตูทีมชาติหญิงสเปเชียลโอลิมปิก วัย 20 ปี ที่เคยไปคว้าเหรียญเงินในการแข่งขันระดับนานาชาติ เมื่อปี 2554 แม้บีจะพูดไม่เก่ง แต่สามารถตอบคำถามและแสดงความเห็นสั้นๆ ได้ซึ่งเป็นพัฒนาการที่ดีของผู้พิการทางสติปัญญา
บีบอกว่า เล่นกีฬามาสิบปีแล้ว ชอบเล่นฟุตบอลมากที่สุด เล่นแล้วสนุก ไม่เหนื่อย เคยไปแข่งที่ต่างประเทศ ก็มีกลัวบ้าง แต่ก็ชนะมาได้บียืนยันว่าจะเล่นกีฬาต่อไปเรื่อยๆ และหันไปเล่นกีฬาชนิดอื่นๆบ้าง
นี่คือตัวอย่างหนึ่งของผู้พิการทางสติปัญญาที่เริ่มมีความกล้าพูดแสดงความคิดเห็นออกมาเมื่อมีความมั่นคงและความภูมิใจตนเองแล้วพวกเขาเหล่านี้ก็กล้าที่จะทำกิจกรรมปกติเยี่ยงคนทั่วไป ไปจนถึงกลับมาใช้ชีวิตในสังคม ออกจากห้องที่แสงแดดส่องไม่ถึง มายืนยันใต้ดวงตะวันดวงเดียวกันกับทุกคน : วจนา วรรลยางกูร
ขอบคุณ...มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ธ.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
น้องๆ เด็กพิเศษ ร่วมแข่งขันกีฬาสเปเชียลโอลิมปิก “เข้าที่...ระวัง...ปรี๊ดดดดด” เสียงนกหวีดถูกเป่าดังสนั่น ทันทีที่ได้ยินเสียงสัญญาณ นักกีฬาทุกคนก็ออกวิ่งอย่างไม่รีบร้อน เพราะจุดมุ่งหมายของผู้ลงแข่งขันไม่ใช่การเข้าเส้นชัยเป็นที่หนึ่ง แต่เป็นการวิ่งไปให้ถึงเส้นชัย ไม่ว่าจะใช้เวลานานเพียงไรก็ตาม แตกต่างจากการแข่งขันทั่วไปที่นักกีฬาต้องฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อเป็นที่หนึ่ง และจะได้รับการแสดงความยินดีเฉพาะผู้ชนะเลิศเท่านั้น เพราะนี่คือ “สเปเชียลโอลิมปิก” กีฬาสำหรับบุคคลที่มีความพิการทางสมองและปัญญา โดยมีเชาวน์ปัญญา (ไอคิว) ต่ำกว่า 85 เป็นการแข่งขันที่ไม่ต้องกี่คนที่เล่นกีฬาได้เก่งที่สุด แต่เพื่อสร้างโอกาสให้คนพิเศษเหล่านี้ได้พัฒนาศักยภาพ ทำให้สังคมยอมรับมีตัวตนของพวกเขา การแข่งขันกีฬาสเปเชียลโอลิมปิกในไทย มีการแข่งขัน 4 ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา ฟุตบอล เทเบิลเทนนิส บอชชี่ และแบดมินตัน ผู้พิการทางสมองและปัญญาส่วนใหญ่มีทักษะในการสื่อสารน้อย ทำให้ถูกสังคมมองข้ามกลายเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีพื้นที่ในสังคม จึงเป็นหน้าที่ของสังคมที่จะต้องช่วยกันพัฒนาศักยภาพของคนพิเศษเหล่านี้ให้สามารถกลับมาร่วมใช้ชีวิตในสังคม และมีพื้นที่เหยียบยืนเท่ากับคนอื่นๆ ด้วยสิทธิในความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน รัชนีวรรณ บูลกุล อดีตนักว่ายน้ำเอเชี่ยนเกมส์ที่วันนี้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสเปเชียลโอลิมปิก ประเทศไทย กล่าวว่า ต้องทำให้เด็กๆ ผู้พิการทางสมองมีส่วนร่วมในสังคมความสนุกสนานในการเล่นกีฬาจะดึงดูดทำให้เด็กอยากทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการพัฒนาการทางอารมณ์ การเข้าสังคม สร้างสมาธิ จึงต้องเริ่มการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง สมพงษ์ เครือโชติ รัชนีวรรณ บลูกุล และพรธิดา พัดทอง “สเปเชียลโอลิมปิกเป็นการจัดกิจกรรมที่รองรับคนทุกระดับความสามารถ สำหรับคนพิการซ้ำซ้อน จะมีการแข่งทักษะ กลไก กลิ้งม้วนตัว ย้ายลูกเทนนิส เป็นกิจกรรมจากการทำกายภาพบำบัด หรือหากเป็นคนที่มีทักษะสูง จะได้แข่งขันในกีฬายูนิฟายด์ ในทีมจะประกอบด้วยนักกีฬาพิเศษและนักกีฬาปกติที่มีความสามารถเท่าเทียมกันในจำนวนเท่ากัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าคนพิเศษสามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้” ขณะที่ พรธิดา พัดทอง เจ้าหน้าที่องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟองค์กรที่เข้ามาช่วยสนับสนุนสเปเชียลโอลิมปิก อธิบายว่า อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ระบุว่า เด็กมีสิทธิจะเล่นและร่วมกิจกรรมสันทนาการ แต่เด็กบางกลุ่มขาดโอกาสทางสังคม ซึ่งรัฐต้องเติมเต็มจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้เด็กได้รับสิทธินี้ “เรื่องการเล่านี้สำคัญ เพราะเด็กจะมีพัฒนาการจากการเคลื่อนไหว การเล่นกีฬานอกจากจะพัฒนาทักษะทางร่างกายแล้ว ยังเป็นการพัฒนาทางสมองและความมั่นคงทางจิตใจ ทำให้เด็กรู้จักวิธีสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งช่วยพัฒนาเด็กพิการทางสติปัญญาให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้” พรธิดายืนยัน จากที่มีโอกาสได้ไปชมการแข่งขัน “สเปเชียลโอลิมปิก” ล่าสุด ระหว่างการแข่งขันในสนามนอกจากสีสันของนักกีฬาที่วิ่งโดยไม่หวังชนะ วิ่งรอกันบ้าง วิ่งออกนอกลู่บ้าง หรือบางคนเหนื่อยมากก็เดินเสียเฉยๆ ยังมีสีสันจากเสียงพากย์ของ ครูสมพงษ์ เครือโชติ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ จ.ปทุมธานี อาสามาช่วยพากย์การแข่งขันหลายปี หยอกล้อนักกีฬาอย่างสนุกสนานถูกอกถูกใจทั้งผู้เข้าแข่งขันและผู้ชม “นักกีฬาพิเศษเวลาให้เข้าแถวก็จะเข้าแถวได้ นั่งเรียบร้อย จริงๆ แล้วเกพวกนี้ไม่สามารถจะนั่งได้นาน เด็กจะค่อยๆมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในแต่ละปี การเข้าร่วมสเปเชียลโอลิมปิกเป็นการเปิดโอกาส เพราะปกติเด็กเหล่านี้จะมีโอกาสออกจากบ้านน้อยมาก และช่วยฝึกวินัยให้เขามีสมาธิและความอดทนมากยิ่งขึ้น เป็นการสร้างคนที่ได้มากกว่าการสร้างสนามเด็กเล่นหรือสถานสงเคราะห์คนพิการ” ครูสมพงษ์พูดสรุปจากประสบการณ์ ชลธิชากร จำนงภิมล ว่าแล้วก็มาคุยกับ บี-ชลธิชากร จำนงภิมล ผู้รักษาประตูทีมชาติหญิงสเปเชียลโอลิมปิก วัย 20 ปี ที่เคยไปคว้าเหรียญเงินในการแข่งขันระดับนานาชาติ เมื่อปี 2554 แม้บีจะพูดไม่เก่ง แต่สามารถตอบคำถามและแสดงความเห็นสั้นๆ ได้ซึ่งเป็นพัฒนาการที่ดีของผู้พิการทางสติปัญญา บีบอกว่า เล่นกีฬามาสิบปีแล้ว ชอบเล่นฟุตบอลมากที่สุด เล่นแล้วสนุก ไม่เหนื่อย เคยไปแข่งที่ต่างประเทศ ก็มีกลัวบ้าง แต่ก็ชนะมาได้บียืนยันว่าจะเล่นกีฬาต่อไปเรื่อยๆ และหันไปเล่นกีฬาชนิดอื่นๆบ้าง นี่คือตัวอย่างหนึ่งของผู้พิการทางสติปัญญาที่เริ่มมีความกล้าพูดแสดงความคิดเห็นออกมาเมื่อมีความมั่นคงและความภูมิใจตนเองแล้วพวกเขาเหล่านี้ก็กล้าที่จะทำกิจกรรมปกติเยี่ยงคนทั่วไป ไปจนถึงกลับมาใช้ชีวิตในสังคม ออกจากห้องที่แสงแดดส่องไม่ถึง มายืนยันใต้ดวงตะวันดวงเดียวกันกับทุกคน : วจนา วรรลยางกูร ขอบคุณ...มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ธ.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)