3 องค์กรหนุนกีฬาผู้พิการ เสริมสร้างสิทธิการเล่นเพื่อการพัฒนา
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่ง ชาติพบว่าปี 2555 ประเทศไทยมีผู้พิการ 1.9 ล้านคน หรือคิดเป็น 2.9% ของประชากรทั้งหมดที่มีอยู่ 66.6 ล้านคน และจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติปี 2555 ระบุว่ามีผู้พิการทางสติปัญญาได้รับการลงทะเบียนเพียง 10.7% ของจำนวนผู้พิการทางสติปัญญาทั้งหมด
ขณะเดียวกัน ยังมีการวิจัยพบว่าผู้พิการทางสมองและปัญญาที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เยาว์วัยสามารถพัฒนาทักษะด้านสังคม จิตใจ การสื่อสาร รวมถึงมีความสามารถในการเรียนรู้ และเกิดการปรับเปลี่ยนด้านพฤติกรรมได้ดีถึงขั้น 74-85% โดยประเทศไทยมีองค์กรการกุศลอย่างสเปเชียล โอลิมปิค ขับเคลื่อนกิจกรรมให้กับคนพิการทางสมองและปัญญาผ่านการเล่นกีฬา ซึ่งจัดให้มีการเรียนรู้ ฝึกซ้อมกีฬา และจัดแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ
"รัชนีวรรณ บูลกุล" ผู้อำนวยการสเปเชียล โอลิมปิค ประเทศไทย กล่าวว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นไม่ได้เป็นการแข่งขันโดยมีเป้าหมายชนะและได้เหรียญรางวัล แต่ต้องการให้เป็นกิจกรรมที่เป็นสะพานเชื่อมโยงให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเข้าร่วมกับสังคมได้ ซึ่งมีกีฬาที่จัดตลอดปี 40 รายการ และจัดทุกภูมิภาคของประเทศ ทั้งนี้ มีหลายประเภทกีฬาตามระดับความสามารถของผู้พิการ เช่น ผู้พิการซ้ำซ้อน จะแข่งกลิ้งม้วนตัว หรือย้ายลูกเทนนิส หรือผู้พิการที่มีทักษะสูง จะได้แข่งในกีฬายูนิฟายด์ ซึ่งเป็นการเล่นร่วมกับนักกีฬาปกติ
นอกจากนั้น การจัดกีฬาแต่ละแห่งจะมีความร่วมมือกับคนในชุมชน โดยเปิดรับอาสาสมัครมาร่วมทำงานด้วย เพราะมองว่า การสื่อสารกับสังคมที่ชัดเจนที่สุด คือการให้สังคมมาสัมผัสกับกิจกรรมด้วยตัวเอง ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะมีอาสาสมัครปีละ 1,200 คน
"ก่อนเขามาเล่นกีฬาต้องซ้อม โดยมีพ่อแม่มาดูแล ซึ่งจะมีการพูดคุยกัน กลายเป็นว่ามีสังคมที่เป็นคนพิการเหมือนกัน และมีกิจกรรมทำร่วมกัน อีกทั้งการแข่งกีฬาทำให้พวกเขาออกนอกพื้นที่ที่เขาอยู่มาเจอสังคมภายนอก โดยเรามองว่า การเล่นกีฬาสามารถต่อยอดไปสู่การอยู่ร่วมกับสังคมได้ เพราะกีฬามีกติกาเช่นเดียวกับสังคม การที่นักกีฬาเข้าใจกติกาในสนาม เขาจะไปเรียนรู้กติกาของสังคมได้" ยิ่งกว่านั้น การเล่นกีฬาของผู้พิการยังสอดคล้องกับสิทธิที่พึงได้รับตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององค์การทุน เพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือยูนิเซฟ (UNICEF) ซึ่งมี 4 ด้าน หนึ่ง สร้างหลักประกันว่าเด็กจะต้องเกิดรอด มีตัวตน มีสถานะตามกฎหมาย สอง สิทธิในการได้รับการพัฒนา ได้เล่น ได้เรียนรู้ ทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ สาม สิทธิที่ได้รับการคุ้มครอง และ สี่ สิทธิในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม
"พรธิดา พัดทอง" เจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ ยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า สิทธิในการเล่นเป็นหนึ่งในส่วนของการพัฒนาของเด็ก จริง ๆ แล้วประเทศไทยให้โอกาสเด็กในการมีส่วนร่วมอย่างมาก เห็นได้จากอัตราการเข้าเรียนสูงมาก แต่กระนั้น ยังมีเด็กบางส่วนที่ไม่ได้เรียน และไม่ได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างเต็มที่ เช่น เด็กที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง เด็กพิการ เด็กที่ยากจนมาก ๆ
"คนกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ถือเป็นกลุ่มเปราะบางที่เราเข้ามาเอาใส่ใจ และคุยกับรัฐว่าจะคุ้มครองเด็กกลุ่มนี้อย่างไร โชคดีที่ประเทศไทยมีนโยบายดูแลเด็กพิการอย่างชัดเจน แต่ในด้านการปฏิบัติอาจไม่ทั่วถึงเท่าไรนัก เราจึงทำงานร่วมกับสเปเชียล โอลิมปิค สนับสนุนการดำเนินงานจัดการแข่งขันกีฬา เพื่อให้พวกเขามีโอกาสตามสิทธิที่ควรจะได้รับ" ที่สำคัญ ยังมีอีกหนึ่งองค์กรที่สนับสนุนการจัดงานของสเปเชียล โอลิมปิค ประเทศไทย คือบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) โดยแสนสิริเข้ามาทำงานร่วมกับยูนิเซฟ ประเทศไทย ตั้งแต่การมองปัญหา ร่วมวางแผน ดำเนินโครงการ และวัดผล อันเป็นไปตามแนวคิดที่ต้องการตอบแทนสังคมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเดิม (Social Change)
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1390198810
(prachachat ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ม.ค.57)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผู้พิการทางสติปัญญา กำลังแข่งขันกีฬาเปตอง จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่ง ชาติพบว่าปี 2555 ประเทศไทยมีผู้พิการ 1.9 ล้านคน หรือคิดเป็น 2.9% ของประชากรทั้งหมดที่มีอยู่ 66.6 ล้านคน และจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติปี 2555 ระบุว่ามีผู้พิการทางสติปัญญาได้รับการลงทะเบียนเพียง 10.7% ของจำนวนผู้พิการทางสติปัญญาทั้งหมด ขณะเดียวกัน ยังมีการวิจัยพบว่าผู้พิการทางสมองและปัญญาที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เยาว์วัยสามารถพัฒนาทักษะด้านสังคม จิตใจ การสื่อสาร รวมถึงมีความสามารถในการเรียนรู้ และเกิดการปรับเปลี่ยนด้านพฤติกรรมได้ดีถึงขั้น 74-85% โดยประเทศไทยมีองค์กรการกุศลอย่างสเปเชียล โอลิมปิค ขับเคลื่อนกิจกรรมให้กับคนพิการทางสมองและปัญญาผ่านการเล่นกีฬา ซึ่งจัดให้มีการเรียนรู้ ฝึกซ้อมกีฬา และจัดแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ "รัชนีวรรณ บูลกุล" ผู้อำนวยการสเปเชียล โอลิมปิค ประเทศไทย กล่าวว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นไม่ได้เป็นการแข่งขันโดยมีเป้าหมายชนะและได้เหรียญรางวัล แต่ต้องการให้เป็นกิจกรรมที่เป็นสะพานเชื่อมโยงให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเข้าร่วมกับสังคมได้ ซึ่งมีกีฬาที่จัดตลอดปี 40 รายการ และจัดทุกภูมิภาคของประเทศ ทั้งนี้ มีหลายประเภทกีฬาตามระดับความสามารถของผู้พิการ เช่น ผู้พิการซ้ำซ้อน จะแข่งกลิ้งม้วนตัว หรือย้ายลูกเทนนิส หรือผู้พิการที่มีทักษะสูง จะได้แข่งในกีฬายูนิฟายด์ ซึ่งเป็นการเล่นร่วมกับนักกีฬาปกติ นอกจากนั้น การจัดกีฬาแต่ละแห่งจะมีความร่วมมือกับคนในชุมชน โดยเปิดรับอาสาสมัครมาร่วมทำงานด้วย เพราะมองว่า การสื่อสารกับสังคมที่ชัดเจนที่สุด คือการให้สังคมมาสัมผัสกับกิจกรรมด้วยตัวเอง ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะมีอาสาสมัครปีละ 1,200 คน "ก่อนเขามาเล่นกีฬาต้องซ้อม โดยมีพ่อแม่มาดูแล ซึ่งจะมีการพูดคุยกัน กลายเป็นว่ามีสังคมที่เป็นคนพิการเหมือนกัน และมีกิจกรรมทำร่วมกัน อีกทั้งการแข่งกีฬาทำให้พวกเขาออกนอกพื้นที่ที่เขาอยู่มาเจอสังคมภายนอก โดยเรามองว่า การเล่นกีฬาสามารถต่อยอดไปสู่การอยู่ร่วมกับสังคมได้ เพราะกีฬามีกติกาเช่นเดียวกับสังคม การที่นักกีฬาเข้าใจกติกาในสนาม เขาจะไปเรียนรู้กติกาของสังคมได้" ยิ่งกว่านั้น การเล่นกีฬาของผู้พิการยังสอดคล้องกับสิทธิที่พึงได้รับตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององค์การทุน เพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือยูนิเซฟ (UNICEF) ซึ่งมี 4 ด้าน หนึ่ง สร้างหลักประกันว่าเด็กจะต้องเกิดรอด มีตัวตน มีสถานะตามกฎหมาย สอง สิทธิในการได้รับการพัฒนา ได้เล่น ได้เรียนรู้ ทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ สาม สิทธิที่ได้รับการคุ้มครอง และ สี่ สิทธิในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม "พรธิดา พัดทอง" เจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ ยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า สิทธิในการเล่นเป็นหนึ่งในส่วนของการพัฒนาของเด็ก จริง ๆ แล้วประเทศไทยให้โอกาสเด็กในการมีส่วนร่วมอย่างมาก เห็นได้จากอัตราการเข้าเรียนสูงมาก แต่กระนั้น ยังมีเด็กบางส่วนที่ไม่ได้เรียน และไม่ได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างเต็มที่ เช่น เด็กที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง เด็กพิการ เด็กที่ยากจนมาก ๆ "คนกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ถือเป็นกลุ่มเปราะบางที่เราเข้ามาเอาใส่ใจ และคุยกับรัฐว่าจะคุ้มครองเด็กกลุ่มนี้อย่างไร โชคดีที่ประเทศไทยมีนโยบายดูแลเด็กพิการอย่างชัดเจน แต่ในด้านการปฏิบัติอาจไม่ทั่วถึงเท่าไรนัก เราจึงทำงานร่วมกับสเปเชียล โอลิมปิค สนับสนุนการดำเนินงานจัดการแข่งขันกีฬา เพื่อให้พวกเขามีโอกาสตามสิทธิที่ควรจะได้รับ" ที่สำคัญ ยังมีอีกหนึ่งองค์กรที่สนับสนุนการจัดงานของสเปเชียล โอลิมปิค ประเทศไทย คือบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) โดยแสนสิริเข้ามาทำงานร่วมกับยูนิเซฟ ประเทศไทย ตั้งแต่การมองปัญหา ร่วมวางแผน ดำเนินโครงการ และวัดผล อันเป็นไปตามแนวคิดที่ต้องการตอบแทนสังคมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเดิม (Social Change) ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1390198810 (prachachat ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ม.ค.57)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)