2เด็กชายแชมป์ว่ายน้ำคนพิการโลกอยากขอ‘พรวิเศษ’

แสดงความคิดเห็น

น้องทัก และ น้องออฟ 2 เด็กชายแชมป์ว่ายน้ำคนพิการโลก

ความสามารถของเด็กพิการไทยได้รับการยอมรับไปทั่วโลกอีกครั้ง หลังจาก "น้องทัก" ด.ช.ภูชิต อิงชัยภูมิ และ "น้องออฟ" ด.ช.ณัฐพงศ์ วิประจง สามารถคว้ารางวัลเหรียญทองและเหรียญเงินรวมกัน 6 เหรียญจาก “การแข่งขันกีฬานักเรียนคนพิการระดับโลก” เมืองสเต็คคาแนล ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่2-8กรกฎาคมที่ผ่านมา

เป็นที่ยินดีของทีมโค้ช คณะครูโรงเรียนศรีสังวาลย์และมูลนิธิอนุุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และกรมพลศึกษา โดยสำนักการกีฬาที่ช่วยกันสนับสนุนและให้กำลังใจมาตลอด "น้องออฟ" วัย 15 ปี ผู้คว้าชัยชนะเหรียญทองท่ากรรเชียง 50 เมตร และเหรียญเงิน 2 เหรียญจากท่าฟรีสไตล์และผีเสื้อ 50 เมตร เผยความในใจว่าดีใจที่ได้เป็นตัวแทนเยาวชนประเทศไทยไปแข่งต่างประเทศโดยก่อนหน้านี้ไปแข่งว่ายน้ำที่อเมริกาและอังกฤษมาแล้วในปี2010และ2014

“ผมหัดว่ายน้ำตั้งแต่ 7 ขวบ แรกๆ คิดว่าคงว่ายไม่ได้ มันยาก แขนของผมไม่เหมือนคนปกติ แต่พอฝึกบ่อยๆ ก็รู้ว่าแขนที่พิการว่ายน้ำได้ เพราะใช้ขา ผมลงแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกเป็นกีฬานักเรียนคนพิการปี 2554 แข่งเรื่อยมา ปี 2557 แข่งเชียงราย ได้มา 9 เหรียญทอง ตอนไปอเมริกากับอังกฤษได้เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง" น้องออฟ เล่าต่อว่า ท่าว่ายน้ำ “ฟรีสไตล์” เป็นท่ายากสุด เพราะแขนยกไม่ขึ้น และรู้สึกเจ็บขาทุกครั้งที่ตีในน้ำ ตอนว่ายน้ำในใจคิดอย่างเดียว คือ ต้องทำให้ได้ ว่ายให้เร็วที่สุด และคิดถึงพ่อแม่คิดถึงครู มันทำให้มีพลังใจขึ้นมา

น้องออฟบอกว่า “ถ้าผมขอพรวิเศษได้ 1 อย่าง ตอนนี้ผมอยากได้แขนที่สมบูรณ์ปกติเหมือนคนอื่น นี่แหละคือสิ่งที่ผมอยากได้ที่สุดในชีวิต แต่ถ้าขอจากรัฐบาล 1 อย่าง ผมอยากได้กางเกงว่ายน้ำใหม่ และอุปกรณ์ที่ใช้ซ้อมว่ายน้ำตอนนี้มันเก่าและเปื่อยแล้ว”

ขณะที่ "น้องทัก" ได้รับเหรียญทอง ประเภทว่ายน้ำท่ากบ 50 เมตร และเหรียญเงิน 2 เหรียญจากท่ากรรเชียงและฟรีสไตล์ 50 เมตร “ตอนว่ายน้ำผมคิดอย่างเดียว ต้องไปให้ถึงนักกีฬาทีมชาติชุดใหญ่ ก่อนลงแข่งผมจะคิดถึงหน้าพ่อแม่ คิดแล้วทำให้ผมมีพลังมีแรงสู้ พอกรรมการเป่านกหวีด ผมคิดว่าต้องไปให้ถึงฝั่งโดยเร็วที่สุด ถ้าถามว่าอยากได้พรวิเศษ 1 อย่างอะไรตอนนี้ ผมอยากได้รถวีลแชร์คันใหม่ครับ เพราะคันนี้มันคับแน่น ผมตัวใหญ่ขึ้นแล้ว”

และถ้าเป็นไปได้ “น้องทัก” อยากให้ขอทุนการศึกษาถึงปริญญาตรี และสนับสนุนให้จนเป็นทีมชาติชุดใหญ่ไปแข่ง“พาราลิมปิกเกมส์” “มันเป็นความฝันสูงสุดของผมและนักกีฬาคนพิการทุกคน ถ้าเราไปไกลถึงขนาดนั้นเราจะมีอาชีพติดตัวเลี้ยงดูครอบครัวได้"น้องทักกล่าวถึงความใฝ่ฝันในอนาคต

“ขนิษฐา เทวินทรภักติ” ประธานมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการฯ เปิดเผยถึงความรู้สึกว่ายินดีและชื่นชมในความสามารถของเด็กทั้งสองคนมาก เพราะรางวัลที่ได้เป็นการแข่งขันระดับโลก เด็กไทยเก่งมาก เพราะการไปแข่งขันแล้วเอาชนะนักกีฬาต่างชาติไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ความสามารถ ความพยายาม และตั้งใจอย่างถึงที่สุด

ทั้งนี้ พรวิเศษที่น้องๆ นักกีฬาพิการใฝ่ฝันที่สุดคือ “ความเสมอภาคเท่าเทียม” ในการได้รับความสนับสนุน แม้ว่าการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศระดับเยาวชนจะมีแต่เหรียญไม่มีเงินรางวัล แต่เมื่อพวกเขากลับประเทศ จะมีหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนให้เงินสนับสนุน ทุนการศึกษา หรือรางวัลต่างๆ แต่ในประเทศไทยมีแต่นักกีฬาทั่วไปจากโรงเรียนดังหรือตัวแทนสมาคมดังๆที่มีโอกาสได้รับรางวัลเหล่านี้

ณัฐวุฒิ เรืองเวส ผอ.ฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ยอมรับว่า รางวัลนักกีฬาเยาวชนพิการของไทยยังไม่มีเงินรางวัลหรือเงินสนับสนุน มีแต่เงินรางวัลให้นักกีฬาเยาวชนปกติเท่านั้น “ตอนนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กำลังปรับปรุงระเบียบและหลักเกณฑ์ใหม่ โดยเฉพาะเรื่องเงินรางวัลนักกีฬาพิการทั้งผู้ใหญ่และเยาวชน ให้มีความเสมอภาคเหมือนกับนักกีฬาปกติ ต้องกำหนดเป็นพระราชกฤษฎีกา ออกมาเป็นกฎหมายใหม่อยู่ระหว่างการแก้ไขคาดว่าใช้เวลาไม่เกิน1ปี" ณัฐวุฒิกล่าวและความหวังสุดท้ายที่จะได้พรวิเศษที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ นโยบายที่ชัดเจนของหน่วยงานรัฐที่จะช่วยเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมให้พวกเขา

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พก.) ให้สัมภาษณ์ว่า นโยบายสำคัญที่อยากขับเคลื่อนให้สำเร็จคือ การทำให้คนพิการมีศักยภาพ สามารถยืนด้วยตัวเองได้ในสังคมอย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี “ต้องช่วยสร้างอาชีพ แรงบันดาลใจและให้กำลังใจ ยิ่งใครที่เป็นนักกีฬา เมื่อไปแข่งขันแล้วได้รางวัลมา ต้องให้เงินรางวัลเขา เพื่อส่งเสริมให้ทำต่อไป สำหรับเรื่องปัญหาเงินรางวัลไม่เท่าเทียมกัน ตอนนี้รัฐกำลังดำเนินการอยู่ผมจะผลักดันในส่วนนี้อย่างเต็มที่”พล.ต.อ.อดุลย์กล่าวยืนยันทิ้งท้าย

ทั้งนี้ ความไม่ทัดเทียมหรือการเพิกเฉยในการสนับสนุนเงินหรือรางวัลสำหรับนักกีฬาพิการนั้น ไม่ได้มีเฉพาะของประเทศไทยเท่านั้น แม้แต่เงินรางวัลของ “มหกรรมการแข่งขันกีฬาระดับโลก” ก็กำหนดไว้ไม่เท่ากัน เช่น โอลิมปิกเกมส์-พาราลิมปิกเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์-เอเชี่ยนพาราเกมส์ และซีเกมส์-อาเซียนพาราเกมส์ พบว่า มีความแตกต่างในเงินรางวัลมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เช่น เหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ได้เงินรางวัล 5 ล้านบาท ส่วนเหรียญทองพาราลิมปิกเกมส์ได้เพียง 2 ล้านบาทฯลฯ ทุกครั้งที่กล่าวถึงคำว่า “สิทธิ” นั้น คนพิการมักกล่าวว่า "ไม่ต้องให้สิทธิอะไรพวกเขาเป็นพิเศษแต่แค่ให้เท่ากับคนปกติทั่วไปก็พอ...”

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150713/209627.html (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ค.58
วันที่โพสต์: 14/07/2558 เวลา 10:43:08 ดูภาพสไลด์โชว์ 2เด็กชายแชมป์ว่ายน้ำคนพิการโลกอยากขอ‘พรวิเศษ’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

น้องทัก และ น้องออฟ 2 เด็กชายแชมป์ว่ายน้ำคนพิการโลก ความสามารถของเด็กพิการไทยได้รับการยอมรับไปทั่วโลกอีกครั้ง หลังจาก "น้องทัก" ด.ช.ภูชิต อิงชัยภูมิ และ "น้องออฟ" ด.ช.ณัฐพงศ์ วิประจง สามารถคว้ารางวัลเหรียญทองและเหรียญเงินรวมกัน 6 เหรียญจาก “การแข่งขันกีฬานักเรียนคนพิการระดับโลก” เมืองสเต็คคาแนล ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่2-8กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นที่ยินดีของทีมโค้ช คณะครูโรงเรียนศรีสังวาลย์และมูลนิธิอนุุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และกรมพลศึกษา โดยสำนักการกีฬาที่ช่วยกันสนับสนุนและให้กำลังใจมาตลอด "น้องออฟ" วัย 15 ปี ผู้คว้าชัยชนะเหรียญทองท่ากรรเชียง 50 เมตร และเหรียญเงิน 2 เหรียญจากท่าฟรีสไตล์และผีเสื้อ 50 เมตร เผยความในใจว่าดีใจที่ได้เป็นตัวแทนเยาวชนประเทศไทยไปแข่งต่างประเทศโดยก่อนหน้านี้ไปแข่งว่ายน้ำที่อเมริกาและอังกฤษมาแล้วในปี2010และ2014 “ผมหัดว่ายน้ำตั้งแต่ 7 ขวบ แรกๆ คิดว่าคงว่ายไม่ได้ มันยาก แขนของผมไม่เหมือนคนปกติ แต่พอฝึกบ่อยๆ ก็รู้ว่าแขนที่พิการว่ายน้ำได้ เพราะใช้ขา ผมลงแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกเป็นกีฬานักเรียนคนพิการปี 2554 แข่งเรื่อยมา ปี 2557 แข่งเชียงราย ได้มา 9 เหรียญทอง ตอนไปอเมริกากับอังกฤษได้เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง" น้องออฟ เล่าต่อว่า ท่าว่ายน้ำ “ฟรีสไตล์” เป็นท่ายากสุด เพราะแขนยกไม่ขึ้น และรู้สึกเจ็บขาทุกครั้งที่ตีในน้ำ ตอนว่ายน้ำในใจคิดอย่างเดียว คือ ต้องทำให้ได้ ว่ายให้เร็วที่สุด และคิดถึงพ่อแม่คิดถึงครู มันทำให้มีพลังใจขึ้นมา น้องออฟบอกว่า “ถ้าผมขอพรวิเศษได้ 1 อย่าง ตอนนี้ผมอยากได้แขนที่สมบูรณ์ปกติเหมือนคนอื่น นี่แหละคือสิ่งที่ผมอยากได้ที่สุดในชีวิต แต่ถ้าขอจากรัฐบาล 1 อย่าง ผมอยากได้กางเกงว่ายน้ำใหม่ และอุปกรณ์ที่ใช้ซ้อมว่ายน้ำตอนนี้มันเก่าและเปื่อยแล้ว” ขณะที่ "น้องทัก" ได้รับเหรียญทอง ประเภทว่ายน้ำท่ากบ 50 เมตร และเหรียญเงิน 2 เหรียญจากท่ากรรเชียงและฟรีสไตล์ 50 เมตร “ตอนว่ายน้ำผมคิดอย่างเดียว ต้องไปให้ถึงนักกีฬาทีมชาติชุดใหญ่ ก่อนลงแข่งผมจะคิดถึงหน้าพ่อแม่ คิดแล้วทำให้ผมมีพลังมีแรงสู้ พอกรรมการเป่านกหวีด ผมคิดว่าต้องไปให้ถึงฝั่งโดยเร็วที่สุด ถ้าถามว่าอยากได้พรวิเศษ 1 อย่างอะไรตอนนี้ ผมอยากได้รถวีลแชร์คันใหม่ครับ เพราะคันนี้มันคับแน่น ผมตัวใหญ่ขึ้นแล้ว” และถ้าเป็นไปได้ “น้องทัก” อยากให้ขอทุนการศึกษาถึงปริญญาตรี และสนับสนุนให้จนเป็นทีมชาติชุดใหญ่ไปแข่ง“พาราลิมปิกเกมส์” “มันเป็นความฝันสูงสุดของผมและนักกีฬาคนพิการทุกคน ถ้าเราไปไกลถึงขนาดนั้นเราจะมีอาชีพติดตัวเลี้ยงดูครอบครัวได้"น้องทักกล่าวถึงความใฝ่ฝันในอนาคต “ขนิษฐา เทวินทรภักติ” ประธานมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการฯ เปิดเผยถึงความรู้สึกว่ายินดีและชื่นชมในความสามารถของเด็กทั้งสองคนมาก เพราะรางวัลที่ได้เป็นการแข่งขันระดับโลก เด็กไทยเก่งมาก เพราะการไปแข่งขันแล้วเอาชนะนักกีฬาต่างชาติไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ความสามารถ ความพยายาม และตั้งใจอย่างถึงที่สุด ทั้งนี้ พรวิเศษที่น้องๆ นักกีฬาพิการใฝ่ฝันที่สุดคือ “ความเสมอภาคเท่าเทียม” ในการได้รับความสนับสนุน แม้ว่าการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศระดับเยาวชนจะมีแต่เหรียญไม่มีเงินรางวัล แต่เมื่อพวกเขากลับประเทศ จะมีหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนให้เงินสนับสนุน ทุนการศึกษา หรือรางวัลต่างๆ แต่ในประเทศไทยมีแต่นักกีฬาทั่วไปจากโรงเรียนดังหรือตัวแทนสมาคมดังๆที่มีโอกาสได้รับรางวัลเหล่านี้ ณัฐวุฒิ เรืองเวส ผอ.ฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ยอมรับว่า รางวัลนักกีฬาเยาวชนพิการของไทยยังไม่มีเงินรางวัลหรือเงินสนับสนุน มีแต่เงินรางวัลให้นักกีฬาเยาวชนปกติเท่านั้น “ตอนนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กำลังปรับปรุงระเบียบและหลักเกณฑ์ใหม่ โดยเฉพาะเรื่องเงินรางวัลนักกีฬาพิการทั้งผู้ใหญ่และเยาวชน ให้มีความเสมอภาคเหมือนกับนักกีฬาปกติ ต้องกำหนดเป็นพระราชกฤษฎีกา ออกมาเป็นกฎหมายใหม่อยู่ระหว่างการแก้ไขคาดว่าใช้เวลาไม่เกิน1ปี" ณัฐวุฒิกล่าวและความหวังสุดท้ายที่จะได้พรวิเศษที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ นโยบายที่ชัดเจนของหน่วยงานรัฐที่จะช่วยเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมให้พวกเขา พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พก.) ให้สัมภาษณ์ว่า นโยบายสำคัญที่อยากขับเคลื่อนให้สำเร็จคือ การทำให้คนพิการมีศักยภาพ สามารถยืนด้วยตัวเองได้ในสังคมอย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี “ต้องช่วยสร้างอาชีพ แรงบันดาลใจและให้กำลังใจ ยิ่งใครที่เป็นนักกีฬา เมื่อไปแข่งขันแล้วได้รางวัลมา ต้องให้เงินรางวัลเขา เพื่อส่งเสริมให้ทำต่อไป สำหรับเรื่องปัญหาเงินรางวัลไม่เท่าเทียมกัน ตอนนี้รัฐกำลังดำเนินการอยู่ผมจะผลักดันในส่วนนี้อย่างเต็มที่”พล.ต.อ.อดุลย์กล่าวยืนยันทิ้งท้าย ทั้งนี้ ความไม่ทัดเทียมหรือการเพิกเฉยในการสนับสนุนเงินหรือรางวัลสำหรับนักกีฬาพิการนั้น ไม่ได้มีเฉพาะของประเทศไทยเท่านั้น แม้แต่เงินรางวัลของ “มหกรรมการแข่งขันกีฬาระดับโลก” ก็กำหนดไว้ไม่เท่ากัน เช่น โอลิมปิกเกมส์-พาราลิมปิกเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์-เอเชี่ยนพาราเกมส์ และซีเกมส์-อาเซียนพาราเกมส์ พบว่า มีความแตกต่างในเงินรางวัลมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เช่น เหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ได้เงินรางวัล 5 ล้านบาท ส่วนเหรียญทองพาราลิมปิกเกมส์ได้เพียง 2 ล้านบาทฯลฯ ทุกครั้งที่กล่าวถึงคำว่า “สิทธิ” นั้น คนพิการมักกล่าวว่า "ไม่ต้องให้สิทธิอะไรพวกเขาเป็นพิเศษแต่แค่ให้เท่ากับคนปกติทั่วไปก็พอ...” ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150713/209627.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...