‘พาราลิมปิก’ จากกีฬาบำบัดผู้ป่วยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่มหกรรมกีฬาคนพิการที่ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พาราลิมปิก’ จากกีฬาบำบัดผู้ป่วยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่มหกรรมกีฬาคนพิการที่ใหญ่ที่สุดในโลก

หลังจาก โอลิมปิก 2024 จบไปเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ทั่วโลกต่างให้ความสนใจและยินดีกับผู้ที่คว้าเหรียญรางวัลมาได้ แต่หลังจาก โอลิมปิก ยังมีมหกรรมกีฬาคนพิการที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง ‘พาราลิมปิก’ รออยู่ด้วย โดยจะเริ่มการแข่งขันในช่วงวันที่ 28 สิงหาคม - 8 กันยายนนี้

ปีนี้จะมีนักกีฬาเข้าร่วม พาราลิมปิก ทั้งหมด 4,400 คน จาก 184 ประเทศทั่วโลก มีกีฬาทั้งหมด 22 ประเภท ซึ่งประเทศไทยจะส่งนักกีฬาเข้าร่วม 69 คน จาก 13 ชนิดกีฬา เช่น ยิงธนู กรีฑา และวีลแชร์เรซซิ่ง แบดมินตัน บอคเซีย (กีฬาสำหรับผู้พิการทางสมองเล่นคล้ายเปตอง) จักรยาน พายเรือแคนู วีลแชร์ฟันดาบ ยกน้ำหนัก ยิงปืน ว่ายน้ำ ปิงปอง เทควันโด (ข้อมูลจาก กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ วันที่ 3 ก.ค. 67)

แม้คนไทยจะไม่นิยมชมกีฬาพาราลิมปิกเท่าโอลิมปิกมากนัก แต่พาราลิมปิกครั้งล่าสุดซึ่งจัดขึ้นที่โตเกียว เมื่อปี 2020 นักกีฬาพาราลิมปิกของไทยสามารถกวาดเหรียญทองมาได้ถึง 5 เหรียญ เหรียญเงิน 5 เหรียญ เหรียญทองแดง 8 เหรียญ รวมทั้งหมด 18 เหรียญ และติดอันดับที่ 25 ของโลก

ปัจจุบัน พาราลิมปิก กลายเป็นเกมกีฬาที่กำลังเติบโต และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จากเดิมเป็นเพียงการแข่งขันเล็กๆ ที่มีผู้เข้าร่วมเพียงไม่กี่คน เป็นคำถามว่าทำไม พาราลิมปิก ถึงกลายมาเป็นเกมการแข่งขันที่โด่งดังไปทั่วโลกได้กันนะ

‘พาราลิมปิก’ จากกีฬาบำบัดผู้ป่วยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่มหกรรมกีฬาคนพิการที่ใหญ่ที่สุดในโลก

พาราลิมปิก มีจุดเริ่มต้นขึ้นได้อย่างไร

เดิมทีกีฬาสำหรับคนพิการมีมานานกว่า 100 ปีแล้ว พาราลิมปิก ก่อตั้งขึ้นโดย ลุดวิก กัตต์มันน์ (Ludwig Guttmann) ศัลยแพทย์ระบบประสาทชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมันและผู้ลี้ภัยจากนาซี ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1939 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตและผู้พิการเป็นจำนวนมาก

‘พาราลิมปิก’ จากกีฬาบำบัดผู้ป่วยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่มหกรรมกีฬาคนพิการที่ใหญ่ที่สุดในโลก

จากนั้นในปี 1944 ลุดวิก เปิดศูนย์รักษาอาการบาดเจ็บกระดูกสันหลังที่โรงพยาบาลสโต๊ค แมนเดอวิลล์ (Stoke Mandeville Hospital) ในสหราชอาณาจักร ลุดวิก จึงใช้กีฬาเพื่อเข้ามาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย และพัฒนาให้เป็นกีฬาเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ

ต่อมาในปี 1948 ลุดวิก จัดการแข่งขันสำหรับนักกีฬาวีลแชร์เป็นครั้งแรก ตั้งชื่อว่า ‘สโต๊คแมนเดอวิลล์เกมส์’ ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่มีทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บจำนวน 16 นาย เข้าร่วมการแข่งขันยิงธนู จากนั้นในปี 1952 สโต๊คแมนเดอวิลล์เกมส์ ถูกตั้งให้เป็นเกมระดับนานาชาติ

เมื่อเวลาผ่านไป สโต๊คแมนเดอวิลล์เกมส์ จึงกลายมาเป็น พาราลิมปิกเกมส์ ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกที่ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ปี 1960 มีนักกีฬาเข้าร่วมทั้งหมด 400 คน จาก 23 ประเทศ และตั้งแต่นั้นมาก็จัดการแข่งขันนี้ขึ้นทุกๆ 4 ปี เหมือนกับโอลิมปิก โดยคำว่า พาราลิมปิก มาจากคำภาษากรีก para (ข้างๆ หรือข้างๆ) ซึ่งหมายถึงว่า พาราลิมปิกจะเป็นกีฬาคู่ขนานไปกับโอลิมปิกด้วย

หลังจากนั้น สมาคมกีฬาคนพิการ เริ่มก่อตั้งขึ้นมา และเปิดโอกาสให้ผู้พิการประเภทต่างๆ เข้ามาร่วมการแข่งขันกีฬานี้มากขึ้น

‘พาราลิมปิก’ จากกีฬาบำบัดผู้ป่วยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่มหกรรมกีฬาคนพิการที่ใหญ่ที่สุดในโลก

กีฬาพาราลิมปิก มีความพิเศษอะไรบ้าง

แน่นอนว่ากีฬาประเภทนี้จะมีกฎกติกาพิเศษเพื่อเอื้อให้กับผู้พิการประเภทต่างๆ ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน เช่น กีฬาฟุตบอลจะมีลูกบอลที่ใส่กระดิ่งไว้เพื่อช่วยให้นักกีฬาตาบอดจับตำแหน่งลูกได้ และผู้ชมจะไม่ส่งเสียงใดๆ จนกว่านักกีฬาจะทำคะแนนได้

กีฬาฟันดาบวีลแชร์ก็จะยึดวีลแชร์ของนักกีฬาติดกับพื้น และอนุญาตให้นักกีฬาใช้เพียงร่างกายส่วนบนเท่านั้น ส่วนกีฬายิงธนู หรือปิงปอง อนุญาตให้นักกีฬาใช้เท้าเพื่อยิงธนู หรือเสิร์ฟลูกได้

‘พาราลิมปิก’ จากกีฬาบำบัดผู้ป่วยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่มหกรรมกีฬาคนพิการที่ใหญ่ที่สุดในโลก

แต่นอกเหนือจากนั้นกติกาทั่วไปก็จะยังคงเดิมไว้ เช่น แป้นบาสเกตบอลในพาราลิมปิกจะมีความสูงเท่ากับสนามของโอลิมปิก มีเวลาและจำนวนผู้เล่นเท่ากัน ซึ่งวีลแชร์จะถูกนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายนักกีฬาด้วย

แม้การแข่งขัน พาราลิมปิก อาจยังถูกมองว่าเป็นสนามแข่งขันที่เล็กและคู่แข่งน้อย แต่ปัจจุบันนักกีฬาผู้พิการเริ่มมาเข้าร่วม พาราลิมปิก เพิ่มขึ้นทั่วโลก ทำให้จำนวนนักกีฬาเพิ่มขึ้นถึง 11 เท่า จากการจัดการแข่งขันครั้งแรกที่อิตาลี

เกมนี้จึงกลายเป็นสนามที่ตื่นเต้นและสนุกมากขึ้นในทุกๆ ปี รวมถึงปี 2024 นี้ที่ผู้ชมต่างเฝ้ารอชมการแข่งขันอันดุเดือดนี้ไม่แพ้โอลิมปิกเลย

ขอบคุณ... https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/104704

ที่มา: plus.thairath.co.th/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ส.ค. 67
วันที่โพสต์: 22/08/2567 เวลา 15:04:01 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘พาราลิมปิก’ จากกีฬาบำบัดผู้ป่วยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่มหกรรมกีฬาคนพิการที่ใหญ่ที่สุดในโลก