เสียงร้องที่เริ่มแผ่ว...จากนักกีฬาคนพิการ
ผู้จัดการรายวัน 360 – เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์ คือเสียงที่เป็นตัวแทนของนักกีฬาคนพิการ เรียกร้องถึงเงินสนับสนุนที่ไม่มากพอ ซึ่งที่ผ่านมาทุกคนได้ดิ้นรนกันอย่างเต็มที่จนแทบจะหมดแรง บ้างก็หาอาชีพเสริมมาประคับประคองเพื่อหาเงินซ้อมและเดินทางแข่งขัน
สำหรับ เรวัตร์ ต๋านะ เพิ่งสร้างผลงานกระหึ่มเวทีโลกไปหมาดๆ ด้วยการคว้า 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน ในศึกกีฬาคนพิการชิงแชมป์โลก “ไอพีซี แอธเลติกส์ เวิลด์ แชมเปียนชิป 2015” ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากบรรดาสื่อมวลชนจึงทำให้แทบไม่มีใครทราบว่าสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาตินอกจากนี้จึงไม่ถึงหูของบรรดาเอกชนที่มีกำลังพร้อมสนับสนุน
การแข่งขันระดับนี้ไม่ใช่ทัวร์นาเมนต์อาชีพ ดังนั้นจึงไม่มีเงินรางวัลเพื่อที่จะนำมาใช้ต่อยอด ขณะที่รัฐบาลก็ไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าที่ควร ทำให้ได้รวมตัวไปร้องเรียนต่อ การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพราะเริ่มมีบางคนที่ต้องตัดสินใจเพื่อปากท้องโอนสัญชาติไปเล่นให้ชาติอื่น อาทิญี่ปุ่นที่มีสวัสดิการและค่าตอบแทนมากกว่า
เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์ เรซซิ่ง 1,500 และ 5,000 เมตร ที 54 ที่คว้าโควตาไปแข่งขัน พาราลิมปิก เกมส์ 2016 ที่ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เรียบร้อยแล้วนั้น เผยถึงความน้อยใจที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมในฐานะนักกีฬาที่มีธงชาติไทยอยู่บนอก แต่ด้วยความที่อยากรับใช้แผ่นดินเกิด ทำให้เจ้าตัวยอมควักทุนตนเองเพื่อฝึกซ้อม ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ต่อเดือน เดินทางไปฝึกซ้อมที่จังหวัดนครราชสีมา และดูแลค่าที่พัก อาหารการกินเองทั้งหมด นอกจากนี้ได้อาศัยประกอบอาชีพขายลอตเตอรีควบคู่ไปด้วยซึ่งก็มีรายได้เพียง9,000บาทเท่านั้น
จนถึงวันนี้ เรวัตร์ ต๋านะ วัย 40 ปี ระบายความในใจว่า "เมื่อปี 2012 นักกีฬาพิการได้รับเงินรางวัลชิงแชมป์โลกเพียง 50,000 บาท ในขณะที่นักกีฬาปกติจะได้รับ 1 ล้านบาท ทั้งที่เป็นนักกีฬา ต้องฝึกซ้อม แข่งขันเหมือนกันแต่เห็นชัดเจนว่าความเท่าเทียมของคนพิการมันมีค่าไม่เท่ากับคนปกติ"
แม้จะน้อยใจไปบ้างในความไม่เท่าเทียมที่ได้รับ แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเลือกเดินทางนี้แล้วสิ่งที่สร้างแรงใจให้นักกีฬาคนพิการก็คือศึก พาราลิมปิก เกมส์ ที่ถือเป็นที่สุด โดย เรวัตร์ ยอดนักกีฬาวีลแชร์เรซซิงหมายเลข 1 ของไทยคนนี้ ก็ประกาศที่จะสู้ต่อใน ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เพื่อพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่านักกีฬาผู้พิการก็สามารถสร้างประวัติศาสตร์และเป็นฮีโร่ในหัวใจคนไทยได้เหมือนกัน
ที่ผ่านมาในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีเพียง “บิ๊กนิดหน่อย” จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย ที่ให้การสนับสนุนนักกีฬาคนพิการอย่างจริงจังต่อยอดจากศึก พาราลิมปิก ครั้งที่ 14 ลอนดอนเกมส์ 2012 ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทำผลงานยอดเยี่ยมคว้า 4 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง ไม่ว่าจะเป็น พัทธยา เทศทอง (บอคเซีย) รุ่งโรจน์ ไทยนิยม (ปิงปอง) และ สายสุนีย์ จ๊ะนะ (วีลแชร์ฟันดาบ) โดยส่งแข่งทั้งในประเทศที่รับหน้าเสื่อเองรวมถึงส่งไปแข่งต่างประเทศเพื่อล่าตั๋ว พาราลิมปิก และเก็บเกี่ยวประสบการณ์กระนั้นก็ตามคงยากที่จะแบกภาระทั้งหมด
เรื่องนี้คงจะต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพราะตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งดูเหมือนจะมองข้ามเรื่องของนักกีฬาคนพิการเหล่านี้ไป ทว่าเหมือนทุกอย่างล่าช้าต้องเป็นไปตามขั้นตอนคือนำเรื่องดังกล่าวเสนอบอร์ดกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ซึ่งเชื่อว่าจะจัดตั้งภายในเดือนมกราคม ปี 2559 ส่วนการสนับสนุนนั้นจะมากน้อยแค่ไหนคงต้องหารือร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/sport/ViewNews.aspx?NewsID=9580000129607 (ขนาดไฟล์: 166)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์ ผู้จัดการรายวัน 360 – เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์ คือเสียงที่เป็นตัวแทนของนักกีฬาคนพิการ เรียกร้องถึงเงินสนับสนุนที่ไม่มากพอ ซึ่งที่ผ่านมาทุกคนได้ดิ้นรนกันอย่างเต็มที่จนแทบจะหมดแรง บ้างก็หาอาชีพเสริมมาประคับประคองเพื่อหาเงินซ้อมและเดินทางแข่งขัน สำหรับ เรวัตร์ ต๋านะ เพิ่งสร้างผลงานกระหึ่มเวทีโลกไปหมาดๆ ด้วยการคว้า 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน ในศึกกีฬาคนพิการชิงแชมป์โลก “ไอพีซี แอธเลติกส์ เวิลด์ แชมเปียนชิป 2015” ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากบรรดาสื่อมวลชนจึงทำให้แทบไม่มีใครทราบว่าสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาตินอกจากนี้จึงไม่ถึงหูของบรรดาเอกชนที่มีกำลังพร้อมสนับสนุน เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์ การแข่งขันระดับนี้ไม่ใช่ทัวร์นาเมนต์อาชีพ ดังนั้นจึงไม่มีเงินรางวัลเพื่อที่จะนำมาใช้ต่อยอด ขณะที่รัฐบาลก็ไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าที่ควร ทำให้ได้รวมตัวไปร้องเรียนต่อ การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพราะเริ่มมีบางคนที่ต้องตัดสินใจเพื่อปากท้องโอนสัญชาติไปเล่นให้ชาติอื่น อาทิญี่ปุ่นที่มีสวัสดิการและค่าตอบแทนมากกว่า เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์ เรซซิ่ง 1,500 และ 5,000 เมตร ที 54 ที่คว้าโควตาไปแข่งขัน พาราลิมปิก เกมส์ 2016 ที่ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เรียบร้อยแล้วนั้น เผยถึงความน้อยใจที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมในฐานะนักกีฬาที่มีธงชาติไทยอยู่บนอก แต่ด้วยความที่อยากรับใช้แผ่นดินเกิด ทำให้เจ้าตัวยอมควักทุนตนเองเพื่อฝึกซ้อม ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ต่อเดือน เดินทางไปฝึกซ้อมที่จังหวัดนครราชสีมา และดูแลค่าที่พัก อาหารการกินเองทั้งหมด นอกจากนี้ได้อาศัยประกอบอาชีพขายลอตเตอรีควบคู่ไปด้วยซึ่งก็มีรายได้เพียง9,000บาทเท่านั้น จนถึงวันนี้ เรวัตร์ ต๋านะ วัย 40 ปี ระบายความในใจว่า "เมื่อปี 2012 นักกีฬาพิการได้รับเงินรางวัลชิงแชมป์โลกเพียง 50,000 บาท ในขณะที่นักกีฬาปกติจะได้รับ 1 ล้านบาท ทั้งที่เป็นนักกีฬา ต้องฝึกซ้อม แข่งขันเหมือนกันแต่เห็นชัดเจนว่าความเท่าเทียมของคนพิการมันมีค่าไม่เท่ากับคนปกติ" จุตินันท์ (ซ้าย) แบกภาระทั้งหมดไม่ไหว แม้จะน้อยใจไปบ้างในความไม่เท่าเทียมที่ได้รับ แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเลือกเดินทางนี้แล้วสิ่งที่สร้างแรงใจให้นักกีฬาคนพิการก็คือศึก พาราลิมปิก เกมส์ ที่ถือเป็นที่สุด โดย เรวัตร์ ยอดนักกีฬาวีลแชร์เรซซิงหมายเลข 1 ของไทยคนนี้ ก็ประกาศที่จะสู้ต่อใน ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เพื่อพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่านักกีฬาผู้พิการก็สามารถสร้างประวัติศาสตร์และเป็นฮีโร่ในหัวใจคนไทยได้เหมือนกัน ที่ผ่านมาในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีเพียง “บิ๊กนิดหน่อย” จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย ที่ให้การสนับสนุนนักกีฬาคนพิการอย่างจริงจังต่อยอดจากศึก พาราลิมปิก ครั้งที่ 14 ลอนดอนเกมส์ 2012 ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทำผลงานยอดเยี่ยมคว้า 4 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง ไม่ว่าจะเป็น พัทธยา เทศทอง (บอคเซีย) รุ่งโรจน์ ไทยนิยม (ปิงปอง) และ สายสุนีย์ จ๊ะนะ (วีลแชร์ฟันดาบ) โดยส่งแข่งทั้งในประเทศที่รับหน้าเสื่อเองรวมถึงส่งไปแข่งต่างประเทศเพื่อล่าตั๋ว พาราลิมปิก และเก็บเกี่ยวประสบการณ์กระนั้นก็ตามคงยากที่จะแบกภาระทั้งหมด เรื่องนี้คงจะต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพราะตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งดูเหมือนจะมองข้ามเรื่องของนักกีฬาคนพิการเหล่านี้ไป ทว่าเหมือนทุกอย่างล่าช้าต้องเป็นไปตามขั้นตอนคือนำเรื่องดังกล่าวเสนอบอร์ดกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ซึ่งเชื่อว่าจะจัดตั้งภายในเดือนมกราคม ปี 2559 ส่วนการสนับสนุนนั้นจะมากน้อยแค่ไหนคงต้องหารือร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/sport/ViewNews.aspx?NewsID=9580000129607
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)