ไอบีเอ็มเผย 5 นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนชีวิตคนในอีก 5 ปีข้างหน้า

แสดงความคิดเห็น

5 นวัตกรรม แห่งโลกอนาคต

ไอบีเอ็มเปิดเผยรายงาน “ไอบีเอ็ม ไฟว์ อิน ไฟว์” (#IBM5in5) ฉบับล่าสุด ที่แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมและความก้าวล้ำทางวิทยาศาสตร์ที่มีแนวโน้มจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการทำงานของคนในอีก 5 ปีข้างหน้า ประกอบด้วย

1.เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้เราสามารถทราบสุขภาพจิตของแต่ละคนได้จากรูปแบบถ้อยคำที่ใช้ ทุกวันนี้ ผู้ใหญ่หนึ่งใน 5 คนในสหรัฐอเมริกามีปัญหาด้านสุขภาพจิต ทั้งที่เกี่ยวข้องกับสมอง (อาทิ โรคฮันติงตัน โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน) หรือจิตใจ (อาทิ โรคซึมเศร้า โรควิกลจริต) ในแต่ละปีประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชขั้นรุนแรงไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการผิดปกติทางจิตก็สูงกว่าค่ารักษาโรคเบาหวาน โรคความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ และโรคมะเร็งรวมกันเสียอีก เฉพาะในสหรัฐอเมริกา มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากความผิดปกติทางจิตมีตัวเลขสูงถึง3ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

ใน 5 ปีข้างหน้า สิ่งที่เราพูดและเขียนจะกลายเป็นเครื่องบ่งชี้สุขภาพกายและจิตของเรา ระบบค็อกนิทิฟจะสามารถวิเคราะห์แพทเทิร์นในคำพูดและสิ่งที่เราเขียน พร้อมระบุถึงสัญญานของโรคทางจิตและสมองขั้นต้นเพื่อช่วยให้แพทย์และคนไข้สามารถคาดการณ์ สอดส่อง และตรวจสอบความคืบหน้าในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มได้เริ่มนำบันทึกคำพูดจากการสัมภาษณ์และการตรวจสภาพจิตเพื่อวินิจฉัยโรคทางจิตเวช ประกอบร่วมกับเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิ่ง เพื่อหาแพทเทิร์นในคำพูดที่จะช่วยให้แพทย์สามารถคาดการณ์และเฝ้าระวังอาการโรคจิต โรคจิตเภท อาการคุ้มคลั่ง และโรคซึมเศร้าได้อย่างแม่นยำ โดยปัจจุบันสามารถทำนายความน่าจะเป็นของอาการทางจิตได้จากถ้อยคำเพียง300คำ

ในอนาคตเราจะสามารถนำเทคนิคคล้ายๆ กันนี้ไปใช้ช่วยผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรคฮันติงตัน โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง หรือแม้แต่อาการผิดปกติทางพฤติกรรมอย่างออทิสติกหรือโรคสมาธิสั้นได้ โดยผลการวิเคราะห์แพทเทิร์นในคำพูดและสิ่งที่เราเขียน (อาทิ ความหมาย วากยสัมพันธ์ การออกเสียงสูงต่ำ) ด้วยระบบค็อกนิทิฟ ร่วมกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์สวมใส่และระบบภาพ (MRIs และ EEGs) จะให้ภาพรวมของสภาวะทางจิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อความเข้าใจและการรักษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2. เทคโนโลยีไฮเปอร์อิมเมจจิงและปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้เราเห็นในสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ทุกวันนี้เราทุ่มเทเก็บข้อมูลปริมาณมหาศาล แต่ข้อมูลส่วนใหญ่กลับไม่เป็นระบบ มีการคาดการณ์ว่านักวิทยาศาสตร์ข้อมูลต้องใช้เวลากว่า80%ในการจัดการข้อมูลแทนที่จะเอาเวลามาวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น

อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ยังกลายเป็นแหล่งใหม่ที่เชื่อมโยงข้อมูลมหาศาลจากอุปกรณ์กว่า 6 พันล้านชิ้น ตั้งแต่ตู้เย็น หลอดไฟ เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ โดรน กล้องถ่ายรูป ดาวเทียม ไปจนถึงกล้องโทรทัศน์ ก่อให้เกิดข้อมูลอีกหลายสิบเอ็กซะไบท์ต่อเดือน

ในอีก 5 ปีข้างหน้า สิ่งที่เรียกว่า “มาโครสโคป” นี้จะไม่ได้แค่ช่วยให้เราสามารถมองเห็นสิ่งเล็กๆ ได้เหมือนกล้องจุลทรรศน์หรือมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลออกไปได้เหมือนกล้องโทรทรรศน์ แต่จะเป็นซอฟต์แวร์และอัลกอริธึ่มแมชชีนเลิร์นนิ่งที่จะเข้ามาช่วยถอดรหัสข้อมูลมหาศาลที่ซับซ้อนของโลก และเมื่อผนวกรวมกับข้อมูลสภาพอากาศ สภาพดิน ระดับน้ำ และระบบชลประทาน จะช่วยให้เกษตรกรในอนาคตสามารถทราบว่าควรปลูกพืชชนิดใด ที่ไหน จะทำอย่างไรให้ได้ผลผลิตสูงสุดโดยใช้น้ำน้อยที่สุด

ในปี พ.ศ. 2555 ศูนย์วิจัยไอบีเอ็มได้เริ่มทดลองคอนเซ็ปต์ดังกล่าวกับแกลโลไวน์เนอรี่แล้ว โดยการผนวกรวมข้อมูลด้านชลประทาน ดิน และสภาพอากาศ เข้ากับภาพถ่ายดาวเทียมและเซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อวิเคราะห์หารูปแบบของระบบน้ำที่ช่วยให้องุ่นให้ผลผลิตสูงสุดและมีคุณภาพดีที่สุด และในอนาคตเทคโนโลยีมาโครสโคปจะช่วยให้เราสามารถนำคอนเซ็ปต์นี้ไปใช้ได้อย่างแพร่หลายทั่วโลก ในระดับที่เหนือขึ้นไป เทคโนโลยีมาโครสโคปยังจะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลมหาศาลที่รวบรวมได้จากกล้องโทรทรรศน์เพื่อทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบหรือคาดการณ์การชนกันของดาวเคราะห์น้อยต่างๆ

4. ห้องแล็บที่ “อยู่ในชิพ” จะทำหน้าที่เป็นเครื่องตรวจจับร่องรอยเชื้อโรคในระดับนาโนสเกล

ในหลายกรณีที่ผ่านมา การตรวจพบโรคต่างๆ ได้ยิ่งเร็วถือว่ายิ่งดี เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะควบคุมหรือรักษาโรคนั้นๆ การสกัดของเหลวในร่างกาย อาทิ น้ำลาย น้ำตา เลือด ปัสสาวะ และเหงื่อออกมาวิเคราะห์ ช่วยให้เราสามารถทราบข้อมูลสุขภาพได้ อย่างไรก็ดี เทคนิคทางการแพทย์ในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในการวิเคราะห์สารที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์หลายพันเท่านี้

ใน 5 ปีข้างหน้า ห้องแล็บที่ถูกย่อส่วนให้อยู่ในชิพจะทำหน้าที่เป็นเครื่องตรวจสุขภาพนาโนเทคโนโลยี ทำหน้าที่ตรวจจับเงื่อนงำที่มองไม่เห็นที่อยู่ในของเหลวในร่างกายเรา และแจ้งให้เราทราบทันทีหากควรต้องพบแพทย์ เป้าหมายคือการทำห้องวิจัยชีวเคมีเต็มรูปแบบให้อยู่ในขนาดเท่าแผ่นชิพซิลิคอนหนึ่งแผ่น เพื่อใส่ไว้ในอุปกรณ์แบบพกพาต่างๆ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบตัวเองได้จากของเหลวจากร่างกายในปริมาณเพียงน้อยนิด ก่อนที่จะส่งข้อมูลผ่านคลาวด์ ร่วมกับข้อมูลจากอุปกรณ์อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์อื่นๆ เช่น เครื่องตรวจคุณภาพการนอนหลับและสมาร์ทวอทช์เพื่อให้ระบบปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์และตรวจหาสัญญาณของโรคต่างๆ

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์วิจัยไอบีเอ็มกำลังพัฒนาห้องแล็บที่อยู่ในชิพแบบนาโนเทคโนโลยี ที่สามารถแยกเซลล์ชีวภาพลงได้ถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นาโนเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ดีเอ็นเอ ไวรัส และเอ็กโซโซม สามารถผ่านเข้าไปได้

5. สมาร์ทเซ็นเซอร์จะสามารถตรวจจับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้ในระดับความเร็วแสง

มลสารพิษส่วนใหญ่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ตัวอย่างเช่นมีเทน ส่วนประกอบหลักของก๊าซธรรมชาติที่ถูกมองว่าเป็นพลังงานสะอาด แต่หากรั่วเข้าไปในอากาศจะทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกร้อนขึ้น ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักอันดับ2ของสภาวะโลกร้อนรองจากคาร์บอนไดอ็อกไซด์

ในอีก 5 ปี เทคโนโลยีตรวจจับแบบใหม่จะได้รับการติดตั้งใกล้บ่อแยกก๊าซธรรมชาติ รอบๆ หน่วยจัดเก็บ และตลอดแนวท่อก๊าซ เพื่อให้สามารถตรวจจับรอยรั่วที่มองไม่เห็นได้แบบเรียลไทม์ เครือข่ายของเซ็นเซอร์ไอโอทีจะเชื่อมต่อกับคลาวด์เพื่อสอดส่องความผิดปกติภายในเวลาไม่กี่นาทีแทนที่จะต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ช่วยลดมลภาวะและเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ไอบีเอ็มกำลังทำงานร่วมกับผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอย่างเซาธ์เวสเทิร์นเอนเนอร์จีในการพัฒนาระบบสอดส่องก๊าซมีเทนอัจฉริยะแล้ว โดยใช้เทคโนโลยีซิลิคอนโฟโตนิคส์ที่สามารถส่งข้อมูลผ่านแสง ช่วยให้สามารถประมวลผลได้ในระดับความเร็วแสง ชิพนี้สามารถฝังอยู่ในเซ็นเซอร์บนพื้น ภายในระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ หรือติดอยู่กับโดรน และเมื่อผนวกรวมกับข้อมูลลมและดาวเทียมแบบเรียลไทม์ รวมถึงข้อมูลย้อนหลังต่างๆ จะสามารถนำมาพัฒนาเป็นโมเดลที่ซับซ้อนเพื่อตรวจจับจุดกำเนิดและปริมาณของมลสารพิษได้ทันทีที่เกิดขึ้น

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ไอบีเอ็ม ไฟว์ อิน ไฟว์” หรือรายงาน 5 นวัตกรรมที่จะส่งผลกับชีวิตของคนเราในอีก 5 ปีข้างหน้าครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ของเทคโนโลยีอย่าง ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) อินเทอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ (Internet of Things) และนาโนเทคโนโลยี ในการช่วยมนุษย์แก้ไขปัญหาหรือสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกับปัจจัยสำคัญรอบตัวอย่างที่ไม่เคยทำได้ในอดีต ทั้งเรื่องสุขภาพร่างกาย สิ่งแวดล้อม ตลอดจนกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ซึ่งล้วนสร้างประโยชน์อย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของเรา รวมไปถึงการยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น”

ขอบคุณ... http://hitech.sanook.com/1415641/ (ขนาดไฟล์: 0 )

ที่มา: hitech.sanook.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 08 ม.ค.60
วันที่โพสต์: 10/01/2560 เวลา 10:36:51 ดูภาพสไลด์โชว์ ไอบีเอ็มเผย 5 นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนชีวิตคนในอีก 5 ปีข้างหน้า

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

5 นวัตกรรม แห่งโลกอนาคต ไอบีเอ็มเปิดเผยรายงาน “ไอบีเอ็ม ไฟว์ อิน ไฟว์” (#IBM5in5) ฉบับล่าสุด ที่แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมและความก้าวล้ำทางวิทยาศาสตร์ที่มีแนวโน้มจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการทำงานของคนในอีก 5 ปีข้างหน้า ประกอบด้วย 1.เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้เราสามารถทราบสุขภาพจิตของแต่ละคนได้จากรูปแบบถ้อยคำที่ใช้ ทุกวันนี้ ผู้ใหญ่หนึ่งใน 5 คนในสหรัฐอเมริกามีปัญหาด้านสุขภาพจิต ทั้งที่เกี่ยวข้องกับสมอง (อาทิ โรคฮันติงตัน โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน) หรือจิตใจ (อาทิ โรคซึมเศร้า โรควิกลจริต) ในแต่ละปีประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชขั้นรุนแรงไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการผิดปกติทางจิตก็สูงกว่าค่ารักษาโรคเบาหวาน โรคความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ และโรคมะเร็งรวมกันเสียอีก เฉพาะในสหรัฐอเมริกา มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากความผิดปกติทางจิตมีตัวเลขสูงถึง3ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ใน 5 ปีข้างหน้า สิ่งที่เราพูดและเขียนจะกลายเป็นเครื่องบ่งชี้สุขภาพกายและจิตของเรา ระบบค็อกนิทิฟจะสามารถวิเคราะห์แพทเทิร์นในคำพูดและสิ่งที่เราเขียน พร้อมระบุถึงสัญญานของโรคทางจิตและสมองขั้นต้นเพื่อช่วยให้แพทย์และคนไข้สามารถคาดการณ์ สอดส่อง และตรวจสอบความคืบหน้าในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มได้เริ่มนำบันทึกคำพูดจากการสัมภาษณ์และการตรวจสภาพจิตเพื่อวินิจฉัยโรคทางจิตเวช ประกอบร่วมกับเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิ่ง เพื่อหาแพทเทิร์นในคำพูดที่จะช่วยให้แพทย์สามารถคาดการณ์และเฝ้าระวังอาการโรคจิต โรคจิตเภท อาการคุ้มคลั่ง และโรคซึมเศร้าได้อย่างแม่นยำ โดยปัจจุบันสามารถทำนายความน่าจะเป็นของอาการทางจิตได้จากถ้อยคำเพียง300คำ ในอนาคตเราจะสามารถนำเทคนิคคล้ายๆ กันนี้ไปใช้ช่วยผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรคฮันติงตัน โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง หรือแม้แต่อาการผิดปกติทางพฤติกรรมอย่างออทิสติกหรือโรคสมาธิสั้นได้ โดยผลการวิเคราะห์แพทเทิร์นในคำพูดและสิ่งที่เราเขียน (อาทิ ความหมาย วากยสัมพันธ์ การออกเสียงสูงต่ำ) ด้วยระบบค็อกนิทิฟ ร่วมกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์สวมใส่และระบบภาพ (MRIs และ EEGs) จะให้ภาพรวมของสภาวะทางจิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อความเข้าใจและการรักษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. เทคโนโลยีไฮเปอร์อิมเมจจิงและปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้เราเห็นในสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ทุกวันนี้เราทุ่มเทเก็บข้อมูลปริมาณมหาศาล แต่ข้อมูลส่วนใหญ่กลับไม่เป็นระบบ มีการคาดการณ์ว่านักวิทยาศาสตร์ข้อมูลต้องใช้เวลากว่า80%ในการจัดการข้อมูลแทนที่จะเอาเวลามาวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ยังกลายเป็นแหล่งใหม่ที่เชื่อมโยงข้อมูลมหาศาลจากอุปกรณ์กว่า 6 พันล้านชิ้น ตั้งแต่ตู้เย็น หลอดไฟ เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ โดรน กล้องถ่ายรูป ดาวเทียม ไปจนถึงกล้องโทรทัศน์ ก่อให้เกิดข้อมูลอีกหลายสิบเอ็กซะไบท์ต่อเดือน ในอีก 5 ปีข้างหน้า สิ่งที่เรียกว่า “มาโครสโคป” นี้จะไม่ได้แค่ช่วยให้เราสามารถมองเห็นสิ่งเล็กๆ ได้เหมือนกล้องจุลทรรศน์หรือมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลออกไปได้เหมือนกล้องโทรทรรศน์ แต่จะเป็นซอฟต์แวร์และอัลกอริธึ่มแมชชีนเลิร์นนิ่งที่จะเข้ามาช่วยถอดรหัสข้อมูลมหาศาลที่ซับซ้อนของโลก และเมื่อผนวกรวมกับข้อมูลสภาพอากาศ สภาพดิน ระดับน้ำ และระบบชลประทาน จะช่วยให้เกษตรกรในอนาคตสามารถทราบว่าควรปลูกพืชชนิดใด ที่ไหน จะทำอย่างไรให้ได้ผลผลิตสูงสุดโดยใช้น้ำน้อยที่สุด ในปี พ.ศ. 2555 ศูนย์วิจัยไอบีเอ็มได้เริ่มทดลองคอนเซ็ปต์ดังกล่าวกับแกลโลไวน์เนอรี่แล้ว โดยการผนวกรวมข้อมูลด้านชลประทาน ดิน และสภาพอากาศ เข้ากับภาพถ่ายดาวเทียมและเซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อวิเคราะห์หารูปแบบของระบบน้ำที่ช่วยให้องุ่นให้ผลผลิตสูงสุดและมีคุณภาพดีที่สุด และในอนาคตเทคโนโลยีมาโครสโคปจะช่วยให้เราสามารถนำคอนเซ็ปต์นี้ไปใช้ได้อย่างแพร่หลายทั่วโลก ในระดับที่เหนือขึ้นไป เทคโนโลยีมาโครสโคปยังจะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลมหาศาลที่รวบรวมได้จากกล้องโทรทรรศน์เพื่อทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบหรือคาดการณ์การชนกันของดาวเคราะห์น้อยต่างๆ 4. ห้องแล็บที่ “อยู่ในชิพ” จะทำหน้าที่เป็นเครื่องตรวจจับร่องรอยเชื้อโรคในระดับนาโนสเกล ในหลายกรณีที่ผ่านมา การตรวจพบโรคต่างๆ ได้ยิ่งเร็วถือว่ายิ่งดี เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะควบคุมหรือรักษาโรคนั้นๆ การสกัดของเหลวในร่างกาย อาทิ น้ำลาย น้ำตา เลือด ปัสสาวะ และเหงื่อออกมาวิเคราะห์ ช่วยให้เราสามารถทราบข้อมูลสุขภาพได้ อย่างไรก็ดี เทคนิคทางการแพทย์ในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในการวิเคราะห์สารที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์หลายพันเท่านี้ ใน 5 ปีข้างหน้า ห้องแล็บที่ถูกย่อส่วนให้อยู่ในชิพจะทำหน้าที่เป็นเครื่องตรวจสุขภาพนาโนเทคโนโลยี ทำหน้าที่ตรวจจับเงื่อนงำที่มองไม่เห็นที่อยู่ในของเหลวในร่างกายเรา และแจ้งให้เราทราบทันทีหากควรต้องพบแพทย์ เป้าหมายคือการทำห้องวิจัยชีวเคมีเต็มรูปแบบให้อยู่ในขนาดเท่าแผ่นชิพซิลิคอนหนึ่งแผ่น เพื่อใส่ไว้ในอุปกรณ์แบบพกพาต่างๆ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบตัวเองได้จากของเหลวจากร่างกายในปริมาณเพียงน้อยนิด ก่อนที่จะส่งข้อมูลผ่านคลาวด์ ร่วมกับข้อมูลจากอุปกรณ์อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์อื่นๆ เช่น เครื่องตรวจคุณภาพการนอนหลับและสมาร์ทวอทช์เพื่อให้ระบบปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์และตรวจหาสัญญาณของโรคต่างๆ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์วิจัยไอบีเอ็มกำลังพัฒนาห้องแล็บที่อยู่ในชิพแบบนาโนเทคโนโลยี ที่สามารถแยกเซลล์ชีวภาพลงได้ถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นาโนเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ดีเอ็นเอ ไวรัส และเอ็กโซโซม สามารถผ่านเข้าไปได้ 5. สมาร์ทเซ็นเซอร์จะสามารถตรวจจับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้ในระดับความเร็วแสง มลสารพิษส่วนใหญ่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ตัวอย่างเช่นมีเทน ส่วนประกอบหลักของก๊าซธรรมชาติที่ถูกมองว่าเป็นพลังงานสะอาด แต่หากรั่วเข้าไปในอากาศจะทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกร้อนขึ้น ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักอันดับ2ของสภาวะโลกร้อนรองจากคาร์บอนไดอ็อกไซด์ ในอีก 5 ปี เทคโนโลยีตรวจจับแบบใหม่จะได้รับการติดตั้งใกล้บ่อแยกก๊าซธรรมชาติ รอบๆ หน่วยจัดเก็บ และตลอดแนวท่อก๊าซ เพื่อให้สามารถตรวจจับรอยรั่วที่มองไม่เห็นได้แบบเรียลไทม์ เครือข่ายของเซ็นเซอร์ไอโอทีจะเชื่อมต่อกับคลาวด์เพื่อสอดส่องความผิดปกติภายในเวลาไม่กี่นาทีแทนที่จะต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ช่วยลดมลภาวะและเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ไอบีเอ็มกำลังทำงานร่วมกับผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอย่างเซาธ์เวสเทิร์นเอนเนอร์จีในการพัฒนาระบบสอดส่องก๊าซมีเทนอัจฉริยะแล้ว โดยใช้เทคโนโลยีซิลิคอนโฟโตนิคส์ที่สามารถส่งข้อมูลผ่านแสง ช่วยให้สามารถประมวลผลได้ในระดับความเร็วแสง ชิพนี้สามารถฝังอยู่ในเซ็นเซอร์บนพื้น ภายในระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ หรือติดอยู่กับโดรน และเมื่อผนวกรวมกับข้อมูลลมและดาวเทียมแบบเรียลไทม์ รวมถึงข้อมูลย้อนหลังต่างๆ จะสามารถนำมาพัฒนาเป็นโมเดลที่ซับซ้อนเพื่อตรวจจับจุดกำเนิดและปริมาณของมลสารพิษได้ทันทีที่เกิดขึ้น นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ไอบีเอ็ม ไฟว์ อิน ไฟว์” หรือรายงาน 5 นวัตกรรมที่จะส่งผลกับชีวิตของคนเราในอีก 5 ปีข้างหน้าครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ของเทคโนโลยีอย่าง ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) อินเทอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ (Internet of Things) และนาโนเทคโนโลยี ในการช่วยมนุษย์แก้ไขปัญหาหรือสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกับปัจจัยสำคัญรอบตัวอย่างที่ไม่เคยทำได้ในอดีต ทั้งเรื่องสุขภาพร่างกาย สิ่งแวดล้อม ตลอดจนกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ซึ่งล้วนสร้างประโยชน์อย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของเรา รวมไปถึงการยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น” ขอบคุณ... http://hitech.sanook.com/1415641/

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...