จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ราคาถูกกว่านำเข้า

แสดงความคิดเห็น

คณะแพทย์ - วิศวะ จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์

หมอเวชศาสตร์ฟื้นฟู เผย ใช้หุ่นยนต์บำบัดผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ผลดี คณะแพทย์ - วิศวะ จุฬาฯ จับมือสร้างหุ่นยนต์ฟื้นฟูแล้ว 3 ตัว ราคาถูกกว่านำเข้า เร่งทำวิจัยในมนุษย์คาดเริ่มได้กลางปี 59

วันที่ (1 มี.ค.) นพ.วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรคหลอดเลือดในสมองมักพบในผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ปัจจุบันพบได้ในคนอายุน้อยลง ประมาณ 35 - 40 ปี เนื่องจากลักษณะการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยสามารถพบได้ร้อยละ 2 ของประชากร แต่หากเป็นผู้พิการจะพบได้มากถึงร้อยละ 10 ทั้งนี้ ผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดในสมองแตก หรือตีบ ทำให้มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีก จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูบริหารกล้ามเนื้อในจุดที่อ่อนแรง ซึ่งที่ผ่านมามีการใช้นักกายภาพบำบัดเป็นผู้ดูแล แต่จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศพบว่าการใช้หุ่นยนต์ในการทำกายภาพบำบัดเทียบกับการใช้นักกายภาพบำบัดในเวลาเท่ากันหุ่นยนต์จะให้การฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยดีกว่า

นพ.วสุวัฒน์ กล่าวว่า ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจึงได้ร่วมกับ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องยนต์ ในการพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยทำกายภาพบำบัดผู้ป่วย และมีการทดลองนำร่องในผู้ป่วย 5 ราย โดยใช้หุ่นยนต์ทำกายภาพเป็นเวลา 30 นาที โดยนักกายภาพบำบัดอีก 30 นาที และอีกลักษณะหนึ่งคือการใช้นักกายภาพบำบัด 1 ชั่วโมง หุ่นยนต์อีก 30 นาที เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวช่วงหัวไหล่ ข้อศอก เป็นระยะเวลา 20 ชั่วโมง ผลก็พบว่าผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้ดี แต่ยังไม่สามารถวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ และขณะนี้อยู่ระหว่างทำการวิจัยในมนุษย์ กลุ่มตัวอย่าง 60 คน ซึ่งจะใช้เวลาในการวิจัยและเก็บข้อมูลประมาณ 1 ปีครึ่ง ซึ่งคาดว่าน่าจะสามารถเริ่มโครงการได้ภายในกลางปีนี้

คณะแพทย์ - วิศวะ จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์

ด้าน ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องยนต์ กล่าวว่า ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องยนต์ใช้เวลาในการพัฒนาหุ่นยนต์ประมาณ 1 ปีครึ่ง โดยใช้งบของ รพ.จุฬาลงกรณ์ เน้นระบบความปลอดภัยของตัวเครื่องกับผู้ป่วยเป็นสำคัญ ส่วนวิธีการบำบัด สามารถควบคุมได้ด้วยระบบคอม

พิวเตอร์ ให้มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันได้ และมีเกมให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวตาม โดยยึดที่พละกำลังของผู้ป่วยเป็นหลักก่อน หากแรงไม่ถึงหุ่นยนต์ถึงจะช่วยออกแรงส่งให้การเคลื่อนไหวครั้งนั้นประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งจะช่วยเรื่องสภาพจิตใจของผู้ป่วยให้รู้สึกภูมิใจว่าสามารถเคลื่อนไหวได้ และมีความต้องการในการบำบัดต่อไป ขณะนี้ผลิตหุ่นยนต์แล้ว 3 ตัว เฉลี่ยตัวละประมาณ 2 - 3 ล้านบาท แต่ถือว่าราคาถูกเมื่อเทียบกับหุ่นยนต์นำเข้าจากต่างประเทศซึ่งราคาประมาณ4ล้านบาท

“หุ่นยนต์ของไทยมีข้อดี คือ มีการใช้มอเตอร์ตัวเล็กกว่า อยู่ที่ 90 วัตต์ ตรงนี้กำลังจะมีการไปจดลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ มีการเสริมบาลานซ์ทำให้หุ่นยนต์สามารถใช้งานได้นานทั้งวันโดยที่ไม่ร้อน อย่างไรก็ตาม ราคาเครื่องมือที่ใช้จริง ๆ จะอยู่ที่ประมาณ 5 แสนบาท แต่ที่ใช้งบเยอะตอนนี้เนื่องจากเป็นการพัฒนาที่มีการลองผิดลองถูก เพราะฉะนั้นในอนาคตจะสามารถผลิตได้ในราคาที่ถูกลง และอยู่ในวิสัยที่สามารถผลิตให้โรงพยาบาลไว้ใช้ฟรีได้ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบาย”ดร.วิบูลย์กล่าว

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000022091 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 01 มี.ค.59
วันที่โพสต์: 15/03/2559 เวลา 11:08:47 ดูภาพสไลด์โชว์ จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ราคาถูกกว่านำเข้า

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คณะแพทย์ - วิศวะ จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ หมอเวชศาสตร์ฟื้นฟู เผย ใช้หุ่นยนต์บำบัดผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ผลดี คณะแพทย์ - วิศวะ จุฬาฯ จับมือสร้างหุ่นยนต์ฟื้นฟูแล้ว 3 ตัว ราคาถูกกว่านำเข้า เร่งทำวิจัยในมนุษย์คาดเริ่มได้กลางปี 59 วันที่ (1 มี.ค.) นพ.วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรคหลอดเลือดในสมองมักพบในผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ปัจจุบันพบได้ในคนอายุน้อยลง ประมาณ 35 - 40 ปี เนื่องจากลักษณะการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยสามารถพบได้ร้อยละ 2 ของประชากร แต่หากเป็นผู้พิการจะพบได้มากถึงร้อยละ 10 ทั้งนี้ ผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดในสมองแตก หรือตีบ ทำให้มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีก จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูบริหารกล้ามเนื้อในจุดที่อ่อนแรง ซึ่งที่ผ่านมามีการใช้นักกายภาพบำบัดเป็นผู้ดูแล แต่จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศพบว่าการใช้หุ่นยนต์ในการทำกายภาพบำบัดเทียบกับการใช้นักกายภาพบำบัดในเวลาเท่ากันหุ่นยนต์จะให้การฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยดีกว่า นพ.วสุวัฒน์ กล่าวว่า ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจึงได้ร่วมกับ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องยนต์ ในการพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยทำกายภาพบำบัดผู้ป่วย และมีการทดลองนำร่องในผู้ป่วย 5 ราย โดยใช้หุ่นยนต์ทำกายภาพเป็นเวลา 30 นาที โดยนักกายภาพบำบัดอีก 30 นาที และอีกลักษณะหนึ่งคือการใช้นักกายภาพบำบัด 1 ชั่วโมง หุ่นยนต์อีก 30 นาที เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวช่วงหัวไหล่ ข้อศอก เป็นระยะเวลา 20 ชั่วโมง ผลก็พบว่าผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้ดี แต่ยังไม่สามารถวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ และขณะนี้อยู่ระหว่างทำการวิจัยในมนุษย์ กลุ่มตัวอย่าง 60 คน ซึ่งจะใช้เวลาในการวิจัยและเก็บข้อมูลประมาณ 1 ปีครึ่ง ซึ่งคาดว่าน่าจะสามารถเริ่มโครงการได้ภายในกลางปีนี้ คณะแพทย์ - วิศวะ จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ ด้าน ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องยนต์ กล่าวว่า ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องยนต์ใช้เวลาในการพัฒนาหุ่นยนต์ประมาณ 1 ปีครึ่ง โดยใช้งบของ รพ.จุฬาลงกรณ์ เน้นระบบความปลอดภัยของตัวเครื่องกับผู้ป่วยเป็นสำคัญ ส่วนวิธีการบำบัด สามารถควบคุมได้ด้วยระบบคอม พิวเตอร์ ให้มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันได้ และมีเกมให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวตาม โดยยึดที่พละกำลังของผู้ป่วยเป็นหลักก่อน หากแรงไม่ถึงหุ่นยนต์ถึงจะช่วยออกแรงส่งให้การเคลื่อนไหวครั้งนั้นประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งจะช่วยเรื่องสภาพจิตใจของผู้ป่วยให้รู้สึกภูมิใจว่าสามารถเคลื่อนไหวได้ และมีความต้องการในการบำบัดต่อไป ขณะนี้ผลิตหุ่นยนต์แล้ว 3 ตัว เฉลี่ยตัวละประมาณ 2 - 3 ล้านบาท แต่ถือว่าราคาถูกเมื่อเทียบกับหุ่นยนต์นำเข้าจากต่างประเทศซึ่งราคาประมาณ4ล้านบาท “หุ่นยนต์ของไทยมีข้อดี คือ มีการใช้มอเตอร์ตัวเล็กกว่า อยู่ที่ 90 วัตต์ ตรงนี้กำลังจะมีการไปจดลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ มีการเสริมบาลานซ์ทำให้หุ่นยนต์สามารถใช้งานได้นานทั้งวันโดยที่ไม่ร้อน อย่างไรก็ตาม ราคาเครื่องมือที่ใช้จริง ๆ จะอยู่ที่ประมาณ 5 แสนบาท แต่ที่ใช้งบเยอะตอนนี้เนื่องจากเป็นการพัฒนาที่มีการลองผิดลองถูก เพราะฉะนั้นในอนาคตจะสามารถผลิตได้ในราคาที่ถูกลง และอยู่ในวิสัยที่สามารถผลิตให้โรงพยาบาลไว้ใช้ฟรีได้ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบาย”ดร.วิบูลย์กล่าว ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000022091

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...