‘กล่องนำทาง’ผลงานวิจัยเพื่อคนตาบอด

แสดงความคิดเห็น

„สำหรับหลักการทำงานผู้ป่วยสวมชุดกล่องนำทางไว้ที่เอว เมื่อผู้ป่วยเคลื่อนไหวตนเองด้วยการเดิน เจอสิ่งกีดขวางคลื่นอัลตร้าโซนิกจะตรวจจับและวัดสัญญาณสะท้อนกลับมา“

„แม้ในปัจจุบัน กระแสการรณรงค์ให้ทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้เอื้อต่อผู้พิการต่าง ๆ อาทิ ทางลาดขึ้นลง ลิฟต์ หรือมีอักษรเบรลล์กำกับ เป็นต้น แต่ก็ต้องยอมรับว่า ด้วยสภาพแวดล้อมที่อาจจะไม่ได้ถูกวางแผนมาสำหรับสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ทำให้ยังมีข้อจำกัดต่อการใช้ชีวิตของบุคคลเหล่านี้

ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ ผู้ออกแบบกล่องนำทาง “PMK Blind Navigator”

3 สถาบัน อันประกอบด้วย วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โดย พ.อ.รศ.นพ.สุธี พานิชกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ และ พ.อ.ผศ.นพ.อารมย์ ขุนภาษี ผู้อำนวยการกองเวชศาสตร์ฟื้นฟู มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี โดย ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม หัวหน้าสาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย ผศ.ดร.เบญจลักษณ์ เมืองมีศรี จึงได้ร่วมกันวิจัยและคิดค้น กล่องนำทาง “PMK Blind Navigator” เพื่อช่วยผู้พิการทางสายตาดำเนินชีวิตประจำวันได้สะดวกยิ่งขึ้น

พ.อ.รศ.นพ.สุธี เปิดเผยว่า เนื่องจากโรงพยาบาลพระมงกฎเกล้ามีทหารที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะและใบหน้า ในบางรายนอกจากบาดเจ็บทางสมองแล้วอาจสูญเสียการมองเห็น ดังนั้นอุปกรณ์กล่องนำทางนี้จะมีประโยชน์ในการช่วยให้พัฒนาทักษะในด้านการเดิน โดยกล่องนำทางนี้จะช่วยในการฝึกเดินหลบหลีกสิ่งกีดขวาง ผู้ป่วยทางสายตาไม่ได้พิการมาแต่กำเนิด อุปกรณ์กล่องนำทางเข้าช่วยให้ผู้ป่วยได้เดินอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยที่ตาบอดรายอื่น ๆ ได้อีกด้วย

ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ ผู้ออกแบบกล่องนำทาง “PMK Blind Navigator” กล่าวว่า กล่องนำทาง ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ส่วนแรกเป็นโครงสร้าง (Hardware) จะประกอบไปด้วยโครงสร้างกล่องพลาสติกแบบสี่เหลี่ยม ไมโครคอนโทรลเลอร์ ชุดตรวจจับและวัดระยะทางด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิก ชุดบันทึกเสียง แบตเตอรี่ ขนาด 9 โวลต์ จอแสดงผล LCD ส่วนที่สองจะเป็นซอฟต์แวร์ โดยใช้ภาษาซีในการเขียนควบคุมการทำงานทั้งระบบ

สำหรับหลักการทำงานผู้ป่วยสวมชุดกล่องนำทางไว้ที่เอว เมื่อผู้ป่วยเคลื่อนไหวตนเองด้วยการเดิน เจอสิ่งกีดขวางคลื่นอัลตร้าโซนิกจะตรวจจับและวัดสัญญาณสะท้อนกลับมา พร้อมกับมีเสียงบอกระยะเพื่อให้ผู้ป่วยได้ยินเสียงและสามารถรับรู้ถึงสิ่งกีดขวางด้านหน้าว่าอยู่ที่ระยะเท่าไร จะได้หลบหลีกสิ่งกีดขวางได้

กล่องนำทางนี้สามารถวัดระยะได้ไกลถึง 2 เมตร น้ำหนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม สำหรับระยะเวลาในการใช้งานขึ้นอยู่กับผู้ป่วย จากการทดลองแบตเตอรี่ขนาด 9 โวลต์ อยู่ได้ประมาณ 2 เดือน อย่างไรก็ตาม กล่องนำทางยังเป็นเพียงเครื่องต้นแบบที่ผู้วิจัยร่วมมือกัน โดยได้นำไปใช้กับผู้ป่วยโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยมีต้นทุนในการผลิตเครื่องละประมาณ 3,000-4,000 บาทเท่านั้น ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง สามารถติดไว้ที่ไม้เท้า หรือประยุกต์ใส่ไว้ที่แขน เพื่อไม่ให้เกะกะและสะดวกต่อการใช้งาน. นภาพร พานิชชาติ napapornp@dailynews.co.th

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/323215 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 พ.ค.58
วันที่โพสต์: 29/05/2558 เวลา 11:14:23 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘กล่องนำทาง’ผลงานวิจัยเพื่อคนตาบอด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

„สำหรับหลักการทำงานผู้ป่วยสวมชุดกล่องนำทางไว้ที่เอว เมื่อผู้ป่วยเคลื่อนไหวตนเองด้วยการเดิน เจอสิ่งกีดขวางคลื่นอัลตร้าโซนิกจะตรวจจับและวัดสัญญาณสะท้อนกลับมา“ „แม้ในปัจจุบัน กระแสการรณรงค์ให้ทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้เอื้อต่อผู้พิการต่าง ๆ อาทิ ทางลาดขึ้นลง ลิฟต์ หรือมีอักษรเบรลล์กำกับ เป็นต้น แต่ก็ต้องยอมรับว่า ด้วยสภาพแวดล้อมที่อาจจะไม่ได้ถูกวางแผนมาสำหรับสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ทำให้ยังมีข้อจำกัดต่อการใช้ชีวิตของบุคคลเหล่านี้ ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ ผู้ออกแบบกล่องนำทาง “PMK Blind Navigator” 3 สถาบัน อันประกอบด้วย วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โดย พ.อ.รศ.นพ.สุธี พานิชกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ และ พ.อ.ผศ.นพ.อารมย์ ขุนภาษี ผู้อำนวยการกองเวชศาสตร์ฟื้นฟู มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี โดย ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม หัวหน้าสาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย ผศ.ดร.เบญจลักษณ์ เมืองมีศรี จึงได้ร่วมกันวิจัยและคิดค้น กล่องนำทาง “PMK Blind Navigator” เพื่อช่วยผู้พิการทางสายตาดำเนินชีวิตประจำวันได้สะดวกยิ่งขึ้น พ.อ.รศ.นพ.สุธี เปิดเผยว่า เนื่องจากโรงพยาบาลพระมงกฎเกล้ามีทหารที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะและใบหน้า ในบางรายนอกจากบาดเจ็บทางสมองแล้วอาจสูญเสียการมองเห็น ดังนั้นอุปกรณ์กล่องนำทางนี้จะมีประโยชน์ในการช่วยให้พัฒนาทักษะในด้านการเดิน โดยกล่องนำทางนี้จะช่วยในการฝึกเดินหลบหลีกสิ่งกีดขวาง ผู้ป่วยทางสายตาไม่ได้พิการมาแต่กำเนิด อุปกรณ์กล่องนำทางเข้าช่วยให้ผู้ป่วยได้เดินอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยที่ตาบอดรายอื่น ๆ ได้อีกด้วย ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ ผู้ออกแบบกล่องนำทาง “PMK Blind Navigator” กล่าวว่า กล่องนำทาง ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ส่วนแรกเป็นโครงสร้าง (Hardware) จะประกอบไปด้วยโครงสร้างกล่องพลาสติกแบบสี่เหลี่ยม ไมโครคอนโทรลเลอร์ ชุดตรวจจับและวัดระยะทางด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิก ชุดบันทึกเสียง แบตเตอรี่ ขนาด 9 โวลต์ จอแสดงผล LCD ส่วนที่สองจะเป็นซอฟต์แวร์ โดยใช้ภาษาซีในการเขียนควบคุมการทำงานทั้งระบบ สำหรับหลักการทำงานผู้ป่วยสวมชุดกล่องนำทางไว้ที่เอว เมื่อผู้ป่วยเคลื่อนไหวตนเองด้วยการเดิน เจอสิ่งกีดขวางคลื่นอัลตร้าโซนิกจะตรวจจับและวัดสัญญาณสะท้อนกลับมา พร้อมกับมีเสียงบอกระยะเพื่อให้ผู้ป่วยได้ยินเสียงและสามารถรับรู้ถึงสิ่งกีดขวางด้านหน้าว่าอยู่ที่ระยะเท่าไร จะได้หลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ กล่องนำทางนี้สามารถวัดระยะได้ไกลถึง 2 เมตร น้ำหนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม สำหรับระยะเวลาในการใช้งานขึ้นอยู่กับผู้ป่วย จากการทดลองแบตเตอรี่ขนาด 9 โวลต์ อยู่ได้ประมาณ 2 เดือน อย่างไรก็ตาม กล่องนำทางยังเป็นเพียงเครื่องต้นแบบที่ผู้วิจัยร่วมมือกัน โดยได้นำไปใช้กับผู้ป่วยโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยมีต้นทุนในการผลิตเครื่องละประมาณ 3,000-4,000 บาทเท่านั้น ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง สามารถติดไว้ที่ไม้เท้า หรือประยุกต์ใส่ไว้ที่แขน เพื่อไม่ให้เกะกะและสะดวกต่อการใช้งาน. นภาพร พานิชชาติ napapornp@dailynews.co.th “ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/323215

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...