อีพับ อีบุ๊กมาตรฐานอ่านได้ทุกคน

แสดงความคิดเห็น

ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ  พร้อมผลงาน อีพับ อีบุ๊กมาตรฐานอ่านได้ทุกคน

การทำหนังสือได้ปรับตัวไปตามเทคโนโลยี จากกระดาษเปลี่ยนมาเป็นอีบุ๊ก หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลด้วยอุปกรณ์พกพาคู่กาย แต่การเข้าถึงอีบุ๊กในปัจจุบันก็ยังมีช่องว่างโดยเฉพาะในกลุ่มผู้พิการทางสายตา

ดังนั้นจึงมีการพัฒนาสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publication ) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อีพับ (EPUB) ขึ้นเพื่อให้เป็นอีกหนึ่งมาตรฐานของการสร้างหนังสืออิเล็ก ทรอนิกส์ ที่แม้แต่ผู้พิการทางสายตาก็สามารถเข้าถึงได้ และเป็นมาตรฐานที่ไม่มีลิขสิทธิ์

“ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล” นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค บอกว่า อีพับเกิดจากการร่วมมือระหว่างองค์กรระหว่างประเทศ คือ The International Digital Publication Forum (IDPF) และ Daisy Consortium ปัจจุบันพัฒนามาถึงเวอร์ชั่นที่ 3 เกิดขึ้นเพราะความต้องการของผู้พิการทางสายตาที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แม้ปัจจุบันจะสามารถดาวน์โหลดไฟล์ต่าง ๆ และมีโปรแกรมแปลงข้อความเป็นเสียงพูดได้ แต่ก็ยังมีไฟล์บางประเภทที่ไม่สามารถแปลงเป็นเสียงได้ เช่น พีดีเอฟไฟล์ ที่อีบุ๊กส่วนใหญ่ชอบใช้นั่นเอง

อีพับ จึงเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงไฟล์ข้อมูลเดียวกับคนสายตาดีทั่ว ๆ ไป แม้มองไม่เห็นภาพ แต่ก็สามารถที่จะฟังการบรรยายภาพต่าง ๆ ได้ ดร.ณัฐนันท์ บอกว่า อีพับไม่ใช่แอพพลิเคชั่น แต่เป็นโครงสร้างไฟล์มาตรฐาน ที่ต้องใช้เครื่องมือในการสร้าง โดยการใช้งาน อีพับ ผู้ใช้จะเปิดไฟล์ อีพับด้วยโปรแกรมอ่านไฟล์เอกสารที่รองรับไฟล์ดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันทั้งระบบไอโอเอสและแอนดรอยด์ และใช้โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดในการอ่านข้อความในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออีบุ๊ก ทำให้ผู้ใช้ที่เป็นผู้พิการทางสายตาเข้าใจข้อความต่าง ๆ ในหนังสือได้

นอกจากนี้ ในการสร้างอีพับ สามารถแนบไฟล์ภาพ ไฟล์เสียง และไฟล์วิดีโอลงไปได้ ทำให้สามารถสร้างอีบุ๊กที่มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นได้ และด้วยจุดเด่นนี้เอง ทำให้เหมาะที่จะเป็นหนังสือให้กับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และคนปกติ

สำหรับการใช้งานอีพับในไทย ดร.ณัฐนันท์ บอกว่า เนคเทคได้มีการพัฒนาในส่วนของเครื่องมือในการสร้างอีบุ๊กตามมาตรฐานอีพับ 3.0 ซึ่งมีเทคโนโลยีการตัดคำ (Word Segmentation) เพื่อแก้ปัญหาการตัดกลางคำ เวลามีการจัดเรียงหน้าหนังสือใหม่แบบอัตโนมัติ ในกรณีที่มีการกลับหนังสือระหว่างแนวนอนและแนวตั้ง หรือมีการขยายตัวอักษรรองรับการแสดงผลภาษาไทย ด้วยการเพิ่มฟังก์ชั่นในการแนบฟอนต์ลงไปในอีพับ มีการพัฒนาโปรแกรมอ่านรวมถึงสร้างร้านค้าหรือสโตร์ที่รวบรวมหนังสือที่ สร้างด้วยมาตรฐานใหม่นี้ นอกจากนี้ยังนำร่องยื่นต่อสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. เพื่อผลักดันให้อีพับเป็นมาตรฐานในการทำอีบุ๊กของไทยต่อไปเพื่ออนาคตเราจะมีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาษาไทยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม.

นาตยา คชินทร

nattayap.k@gmail.com

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/IT/210254/‘อีพับ’+อีบุ๊กมาตรฐานอ่านได้ทุกคน (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ม.ค.57

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 23/01/2557 เวลา 02:39:44 ดูภาพสไลด์โชว์ อีพับ อีบุ๊กมาตรฐานอ่านได้ทุกคน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ พร้อมผลงาน อีพับ อีบุ๊กมาตรฐานอ่านได้ทุกคน การทำหนังสือได้ปรับตัวไปตามเทคโนโลยี จากกระดาษเปลี่ยนมาเป็นอีบุ๊ก หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลด้วยอุปกรณ์พกพาคู่กาย แต่การเข้าถึงอีบุ๊กในปัจจุบันก็ยังมีช่องว่างโดยเฉพาะในกลุ่มผู้พิการทางสายตา ดังนั้นจึงมีการพัฒนาสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publication ) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อีพับ (EPUB) ขึ้นเพื่อให้เป็นอีกหนึ่งมาตรฐานของการสร้างหนังสืออิเล็ก ทรอนิกส์ ที่แม้แต่ผู้พิการทางสายตาก็สามารถเข้าถึงได้ และเป็นมาตรฐานที่ไม่มีลิขสิทธิ์ “ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล” นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค บอกว่า อีพับเกิดจากการร่วมมือระหว่างองค์กรระหว่างประเทศ คือ The International Digital Publication Forum (IDPF) และ Daisy Consortium ปัจจุบันพัฒนามาถึงเวอร์ชั่นที่ 3 เกิดขึ้นเพราะความต้องการของผู้พิการทางสายตาที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แม้ปัจจุบันจะสามารถดาวน์โหลดไฟล์ต่าง ๆ และมีโปรแกรมแปลงข้อความเป็นเสียงพูดได้ แต่ก็ยังมีไฟล์บางประเภทที่ไม่สามารถแปลงเป็นเสียงได้ เช่น พีดีเอฟไฟล์ ที่อีบุ๊กส่วนใหญ่ชอบใช้นั่นเอง อีพับ จึงเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงไฟล์ข้อมูลเดียวกับคนสายตาดีทั่ว ๆ ไป แม้มองไม่เห็นภาพ แต่ก็สามารถที่จะฟังการบรรยายภาพต่าง ๆ ได้ ดร.ณัฐนันท์ บอกว่า อีพับไม่ใช่แอพพลิเคชั่น แต่เป็นโครงสร้างไฟล์มาตรฐาน ที่ต้องใช้เครื่องมือในการสร้าง โดยการใช้งาน อีพับ ผู้ใช้จะเปิดไฟล์ อีพับด้วยโปรแกรมอ่านไฟล์เอกสารที่รองรับไฟล์ดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันทั้งระบบไอโอเอสและแอนดรอยด์ และใช้โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดในการอ่านข้อความในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออีบุ๊ก ทำให้ผู้ใช้ที่เป็นผู้พิการทางสายตาเข้าใจข้อความต่าง ๆ ในหนังสือได้ นอกจากนี้ ในการสร้างอีพับ สามารถแนบไฟล์ภาพ ไฟล์เสียง และไฟล์วิดีโอลงไปได้ ทำให้สามารถสร้างอีบุ๊กที่มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นได้ และด้วยจุดเด่นนี้เอง ทำให้เหมาะที่จะเป็นหนังสือให้กับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และคนปกติ สำหรับการใช้งานอีพับในไทย ดร.ณัฐนันท์ บอกว่า เนคเทคได้มีการพัฒนาในส่วนของเครื่องมือในการสร้างอีบุ๊กตามมาตรฐานอีพับ 3.0 ซึ่งมีเทคโนโลยีการตัดคำ (Word Segmentation) เพื่อแก้ปัญหาการตัดกลางคำ เวลามีการจัดเรียงหน้าหนังสือใหม่แบบอัตโนมัติ ในกรณีที่มีการกลับหนังสือระหว่างแนวนอนและแนวตั้ง หรือมีการขยายตัวอักษรรองรับการแสดงผลภาษาไทย ด้วยการเพิ่มฟังก์ชั่นในการแนบฟอนต์ลงไปในอีพับ มีการพัฒนาโปรแกรมอ่านรวมถึงสร้างร้านค้าหรือสโตร์ที่รวบรวมหนังสือที่ สร้างด้วยมาตรฐานใหม่นี้ นอกจากนี้ยังนำร่องยื่นต่อสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. เพื่อผลักดันให้อีพับเป็นมาตรฐานในการทำอีบุ๊กของไทยต่อไปเพื่ออนาคตเราจะมีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาษาไทยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม. นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/IT/210254/‘อีพับ’+อีบุ๊กมาตรฐานอ่านได้ทุกคน เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ม.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...