ใช้"สมาร์ทโฟน" ตรวจจับแผ่นดินไหว

แสดงความคิดเห็น

ตึก อาคาร บ้านเรือน

ทีมนักวิจัยจาก สถาบันภูเขาไฟวิทยาและธรณีฟิสิกส์แห่งชาติ (เอ็นไอจีวี) ของอิตาลี ประสบความสำเร็จในการทดสอบใช้เซ็นเซอร์ ซึ่งมีอยู่ในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนทั้งหลายมาประยุกต์ใช้ในการตรวจจับแผ่นดินไหว และเสนอให้ผลิตอุปกรณ์เฉพาะด้านซึ่งติดตั้งเซ็นเซอร์ดังกล่าวไว้มาใช้เพื่อการนี้

เซ็นเซอร์ดังกล่าวเรียกว่า "ไมโคร อีเลคโตร เมคานิคอล ซิสเต็ม" หรือ "เมมส์" ซึ่งเป็นตัววัดสภาวะของโทรศัพท์ในแบบ 3 มิติ ที่จะไปกำหนดให้หน้าจอโทรศัพท์เปลี่ยนกลับไปกลับมาระหว่างแนวนอนกับแนวตั้ง ได้โดยอัตโนมัติ ตามสภาพของโทรศัพท์ที่อยู่ในมือของเรา เซ็นเซอร์ตัวเดียวกันนี้มีใช้อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กจำนวนหนึ่ง เช่นเดียวกัน แต่จะทำหน้าที่ปิดการทำงานของฮาร์ดดิสก์โดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันการเสียหายของข้อมูลเมื่อเครื่องร่วงลงจากโต๊ะหรือหลุดมืดหล่นลงพื้น

นักวิจัย ของเอ็นไอจีวี ทดสอบขีดความสามารถของเมมส์ ด้วยการนำเอาเซ็นเซอร์แบบเดียวกับที่ติดตั้งอยู่ในไอโฟน 4 และไอโฟน 5 ไปติดเข้ากับอุปกรณ์อ่านค่าซึ่งใช้กันอยู่ในเครื่องวัดความรุนแรงของแผ่นดิน ไหวทั่วไป จากนั้นก็ติดตั้งทั้งชุดเข้ากับโต๊ะทดสอบ ซึ่งจะถูกเขย่าด้วยความรุนแรงในระดับต่างๆ กัน เพื่อตรวจสอบว่าเมมส์สามารถอ่านค่าของแรงสั่นสะเทือนได้ถูกต้องหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องมืออ่านค่าแผ่นดินไหวปกติทั่วไป

ผลการทดสอบปรากฏว่าชิปเมมส์สามารถเก็บข้อมูลการสั่นสะเทือนได้เทียบเท่ากับ อุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ แต่สามารถตรวจจับข้อมูลที่แม่นยำได้ในการเขย่าที่เทียบเท่ากับการเกิดแผ่น ดินไหวปานกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีความรุนแรงสูง กล่าวคือตั้งแต่ระดับ 5 ริกเตอร์ขึ้นไป โดยมีข้อแม้ว่าเซ็นเซอร์ดังกล่าวต้องอยู่ไม่ไกลจากบริเวณจุดศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหว

ชิปเมมส์ดังกล่าวไม่สามารถอ่านค่าแผ่นดินไหวขนาดเล็กได้ถูกต้อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจนถึงตอนนี้ยังนำมาใช้ประโยชน์ในการตรวจจับแผ่นดินไหว ระดับต่ำๆ ได้ แต่ทีมวิจัยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ชิปเมมส์พัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ และราคาก็ถูกลงเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน ในอนาคตอันใกล้ก็อาจนำมาใช้เพื่อตรวจจับความเคลื่อนไหวของแผ่นดินไหวขนาดย่อมได้เช่นกัน

นายอันโตนิโน ดาเลสซานโดร หนึ่งในทีมวิจัยและเป็นผู้เขียนรายงานการวิจัยครั้งนี้ ระบุว่า ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ก็อาศัยแนวความคิดในการใช้ประโยชน์จากเมมส์เช่นเดียวกันนี้ทดลองสร้างเครือข่ายแผ่นดินไหวขึ้นมา กระทั่งเริ่มต้นจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครนานาชาติเพื่อตรวจจับและรายงาน แผ่นดินไหวผ่านอินเตอร์เน็ต ที่เรียกว่า "เควก-แคทเชอร์ เน็ตเวิร์ก" ขึ้นมาแล้ว แต่นายดาเลสซานโดรตั้งข้อสังเกตว่าเครือข่ายดังกล่าวแม้จะยังประโยชน์มหาศาล แต่ไม่อาจนำมาใช้งานอย่างได้ผลในพื้นที่ซึ่งการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีน้อย หรือไม่สามารถเข้าถึงได้ จึงเสนอให้มีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้ชิปเมมส์ขึ้นมาเพื่อการตรวจจับแผ่นดินไหว โดยเฉพาะสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลด้านนี้ แล้วแจกจ่ายอุปกรณ์ดังกล่าวผ่านทีมจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ที่เกิด ภัยแผ่นดินไหวบ่อย เพื่อนำไปติดตั้งในจุดที่ทีมเห็นว่าเหมาะสมต่อไป

คุณประโยชน์สำคัญของอุปกรณ์ดังกล่าว มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าการกู้ภัยและบรรเทาทุกข์ในภาวะแผ่นดินไหวนั้น จุดสำคัญอยู่ตรงที่การชี้จุดที่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพราะจุดที่แผ่นดินไหวรุนแรงมากดังกล่าวจะมีผู้ประสบภัยมากที่สุด การชี้จุดได้เร็ว ทำให้การช่วยเหลือทำได้เร็วและตรงจุดซึ่งจะได้ผลดีกว่ามาก

นาย ดาเลสซานโดรจึงเชื่อว่าถ้าหากมีเครือข่ายที่ให้ข้อมูลตามเวลาจริงได้ก็จะ ยิ่งช่วยลดการสูญเสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวได้มากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380727671&grpid=03&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ต.ค.56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 4/10/2556 เวลา 02:32:11 ดูภาพสไลด์โชว์ ใช้"สมาร์ทโฟน" ตรวจจับแผ่นดินไหว

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ตึก อาคาร บ้านเรือน ทีมนักวิจัยจาก สถาบันภูเขาไฟวิทยาและธรณีฟิสิกส์แห่งชาติ (เอ็นไอจีวี) ของอิตาลี ประสบความสำเร็จในการทดสอบใช้เซ็นเซอร์ ซึ่งมีอยู่ในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนทั้งหลายมาประยุกต์ใช้ในการตรวจจับแผ่นดินไหว และเสนอให้ผลิตอุปกรณ์เฉพาะด้านซึ่งติดตั้งเซ็นเซอร์ดังกล่าวไว้มาใช้เพื่อการนี้ เซ็นเซอร์ดังกล่าวเรียกว่า "ไมโคร อีเลคโตร เมคานิคอล ซิสเต็ม" หรือ "เมมส์" ซึ่งเป็นตัววัดสภาวะของโทรศัพท์ในแบบ 3 มิติ ที่จะไปกำหนดให้หน้าจอโทรศัพท์เปลี่ยนกลับไปกลับมาระหว่างแนวนอนกับแนวตั้ง ได้โดยอัตโนมัติ ตามสภาพของโทรศัพท์ที่อยู่ในมือของเรา เซ็นเซอร์ตัวเดียวกันนี้มีใช้อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กจำนวนหนึ่ง เช่นเดียวกัน แต่จะทำหน้าที่ปิดการทำงานของฮาร์ดดิสก์โดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันการเสียหายของข้อมูลเมื่อเครื่องร่วงลงจากโต๊ะหรือหลุดมืดหล่นลงพื้น นักวิจัย ของเอ็นไอจีวี ทดสอบขีดความสามารถของเมมส์ ด้วยการนำเอาเซ็นเซอร์แบบเดียวกับที่ติดตั้งอยู่ในไอโฟน 4 และไอโฟน 5 ไปติดเข้ากับอุปกรณ์อ่านค่าซึ่งใช้กันอยู่ในเครื่องวัดความรุนแรงของแผ่นดิน ไหวทั่วไป จากนั้นก็ติดตั้งทั้งชุดเข้ากับโต๊ะทดสอบ ซึ่งจะถูกเขย่าด้วยความรุนแรงในระดับต่างๆ กัน เพื่อตรวจสอบว่าเมมส์สามารถอ่านค่าของแรงสั่นสะเทือนได้ถูกต้องหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องมืออ่านค่าแผ่นดินไหวปกติทั่วไป ผลการทดสอบปรากฏว่าชิปเมมส์สามารถเก็บข้อมูลการสั่นสะเทือนได้เทียบเท่ากับ อุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ แต่สามารถตรวจจับข้อมูลที่แม่นยำได้ในการเขย่าที่เทียบเท่ากับการเกิดแผ่น ดินไหวปานกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีความรุนแรงสูง กล่าวคือตั้งแต่ระดับ 5 ริกเตอร์ขึ้นไป โดยมีข้อแม้ว่าเซ็นเซอร์ดังกล่าวต้องอยู่ไม่ไกลจากบริเวณจุดศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหว ชิปเมมส์ดังกล่าวไม่สามารถอ่านค่าแผ่นดินไหวขนาดเล็กได้ถูกต้อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจนถึงตอนนี้ยังนำมาใช้ประโยชน์ในการตรวจจับแผ่นดินไหว ระดับต่ำๆ ได้ แต่ทีมวิจัยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ชิปเมมส์พัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ และราคาก็ถูกลงเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน ในอนาคตอันใกล้ก็อาจนำมาใช้เพื่อตรวจจับความเคลื่อนไหวของแผ่นดินไหวขนาดย่อมได้เช่นกัน นายอันโตนิโน ดาเลสซานโดร หนึ่งในทีมวิจัยและเป็นผู้เขียนรายงานการวิจัยครั้งนี้ ระบุว่า ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ก็อาศัยแนวความคิดในการใช้ประโยชน์จากเมมส์เช่นเดียวกันนี้ทดลองสร้างเครือข่ายแผ่นดินไหวขึ้นมา กระทั่งเริ่มต้นจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครนานาชาติเพื่อตรวจจับและรายงาน แผ่นดินไหวผ่านอินเตอร์เน็ต ที่เรียกว่า "เควก-แคทเชอร์ เน็ตเวิร์ก" ขึ้นมาแล้ว แต่นายดาเลสซานโดรตั้งข้อสังเกตว่าเครือข่ายดังกล่าวแม้จะยังประโยชน์มหาศาล แต่ไม่อาจนำมาใช้งานอย่างได้ผลในพื้นที่ซึ่งการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีน้อย หรือไม่สามารถเข้าถึงได้ จึงเสนอให้มีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้ชิปเมมส์ขึ้นมาเพื่อการตรวจจับแผ่นดินไหว โดยเฉพาะสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลด้านนี้ แล้วแจกจ่ายอุปกรณ์ดังกล่าวผ่านทีมจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ที่เกิด ภัยแผ่นดินไหวบ่อย เพื่อนำไปติดตั้งในจุดที่ทีมเห็นว่าเหมาะสมต่อไป คุณประโยชน์สำคัญของอุปกรณ์ดังกล่าว มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าการกู้ภัยและบรรเทาทุกข์ในภาวะแผ่นดินไหวนั้น จุดสำคัญอยู่ตรงที่การชี้จุดที่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพราะจุดที่แผ่นดินไหวรุนแรงมากดังกล่าวจะมีผู้ประสบภัยมากที่สุด การชี้จุดได้เร็ว ทำให้การช่วยเหลือทำได้เร็วและตรงจุดซึ่งจะได้ผลดีกว่ามาก นาย ดาเลสซานโดรจึงเชื่อว่าถ้าหากมีเครือข่ายที่ให้ข้อมูลตามเวลาจริงได้ก็จะ ยิ่งช่วยลดการสูญเสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวได้มากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380727671&grpid=03&catid=&subcatid= มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...