ซิป้าหนุน'โมบายแอพฯ' เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก

แสดงความคิดเห็น

โมบายแอพพลิเคชั่น

ผู้ปกครองและแพทย์ผู้ดูแลเด็กพิเศษจากโรงเรียนกุลจินต์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เตรียมใช้ 'โมบายแอพพลิเคชั่น' เพื่อช่วยสังเกตการณ์การพัฒนาของเด็กที่ป่วยเป็นออทิสติก หลังสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ SIPA (ซิป้า) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นมือถือผ่านทางระบบปฏิบัติการไอโอเอส,แอนดรอยด์และวินโดวส์โฟน

โรงเรียนกุลจินต์ เปิดการเรียนการสอนให้กับ 'เด็กพิเศษ' หรือเด็กออทิสติก มาเป็นเวลากว่า 20 ปี มุ่งเน้นส่งเสริมให้เด็กกลุ่มนี้เรียนร่วมกับเด็กปกติ โดยทั้งโรงเรียนมีเด็กพิเศษราว 30 คนเรียนร่วมกับเด็กปกติทั้งหมด 100 คน นับตั้งแต่ 'กิติพันธ์ ใจฐิติวิทย์' ลูกชายเจ้าของโรงเรียนกุลจินต์เข้ามาช่วยงานมารดา โรงเรียนได้เริ่มเปิดระบบฐานข้อมูลในเว็บไซต์ เพื่อเก็บข้อมูลนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษ ก่อนนำไปสู่การประสานงานกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ SIPA จนเกิดการสร้างแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ให้แพทย์และผู้ปกครองตรวจสอบพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กพิเศษที่ป่วยเป็นออทิสติก

แอพฯ KJ School Application ฉบับเบต้าซึ่งนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 4 คนได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น จากฐานข้อมูลของโรงเรียนที่อยู่บนเว็บไซต์ www.kunlajin-hy.com ถูกตั้งเป้าให้เป็นแอพพลิเคชั่นตัวกลางที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา อาการป่วยของเด็กพิเศษ โดยอนุญาตให้แพทย์และผู้ปกครองของเด็กแต่ละคน สามารถเห็นพัฒนาการของเด็กผ่านทางวิดีโอแบบเรียลไทม์เพื่อศึกษาพัฒนาการ และให้คำแนะนำในการรักษาและปฏิบัติได้อย่างทันท่วงทีได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา

ในส่วนของการสังเกตการณ์ทั้งระบบเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น ผู้ปกครองและแพทย์จะต้องล็อกอินเข้าสู่ระบบ เพื่อดูวิดีโอและคำแนะนำในการรักษา ตารางเรียน และความเห็นของแพทย์และครู ที่เกี่ยวข้องกับเด็กในการดูแลของตนเท่านั้น

กิติพันธ์ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าจากสำนักศึกษาวิชาสารสนเทศศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ แกนนำหลักในการขับเคลื่อนแนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้ามาส่งเสริมพัฒนาการของเด็กพิเศษ ได้เริ่มต้นพัฒนาเว็บไซต์ของโรงเรียน ให้เป็นศูนย์รวมข้อมูลในการให้ความช่วยเหลือด้านพัฒนาการของเด็กพิเศษ และเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคลให้เป็นแฟ้มประวัติรวมทั้งผลักดันการใช้กล้องวงจรปิดเก็บภาพพฤติกรรมเด็ก

กิติพันธ์ ระบุว่า ในขั้นแรกคิดว่าจะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายของโรงเรียนในการพาเด็กไปพบแพทย์ รวมทั้งอนุญาตให้ผู้ปกครองเห็นพัฒนาการของเด็ก วิธีการปฏิบัติของคณะครูต่อนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษในช่วงที่เด็กไม่รู้ตัวซึ่งจะแสดงให้เห็นพัฒนาการของเด็กที่แท้จริง

แตกต่างจากเดิมโรงเรียนต้องใช้ระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ โดยมีครูเล่าอาการให้ผู้ปกครองและแพทย์ฟังซึ่งไม่ชัดเจนเท่าการเห็นภาพจริง หลังจากพัฒนาเว็บไซต์ไปได้ระยะหนึ่ง กิติพันธ์สังเกตว่า การสื่อสารผ่านทางเว็บมีข้อจำกัด คือแพทย์และผู้ปกครองจะต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น จึงเกิดความคิดที่จะพัฒนาแอพฯ บนมือถือเพื่อปิดช่องว่างดังกล่าว โดยหลังจากปรึกษากับอาจารย์จาก ม.วลัยลักษณ์ โครงการพัฒนาแอพฯ 'KJ School' จึงเกิดขึ้น โดยมี ดร.ชัชนันท์ จันแดง และ ดร.จิรารัตน์ สิทธิวรชาติ อาจารย์ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์เป็นที่ปรึกษา

ดร.ชัชนันท์ ระบุว่า การพัฒนาโมบายแอพฯ ในตอนนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งใช้เวลาในการพัฒนามาแล้วประมาณ 2 เดือน และยังไม่สามารถใช้งานแบบเรียลไทม์ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบ 3G ซึ่งที่จังหวัดสงขลายังไม่มีเครือข่ายรองรับเหมือนในกรุงเทพฯ แต่การเชื่อมต่อผ่านทางอินเตอร์เน็ตไร้สายแบบไวไฟสามารถเชื่อมต่อได้ไม่มีปัญหา

ด้าน 'ลักขณา กระบวนสิน' ผู้ปกครองของนักเรียนซึ่งเป็นเด็กพิเศษวัย 23 ปีที่เข้ารับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กับโรงเรียนกุลจินต์ เผยว่า ตั้งแต่เข้ารับการศึกษากับที่ร.ร. ลูกชายของตนสามารถที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ได้ และเดินทางไปเที่ยวพร้อมครอบครัวเป็นระยะทางไกลได้บ้างแล้วหลังจากเมื่อก่อนเวลานั่งรถไปด้วยกันลูกควบคุมอารมณ์ไม่ได้

หากแอพฯ ดังกล่าวใช้ได้จริงบนมือถือ สามีซึ่งอยู่คนละจังหวัดกันคงจะดูพัฒนาการของลูกได้ ขณะเดียวกันแพทย์จะได้ให้การรักษาที่ส่งเสริมพัฒนาการของลูกชายได้อย่างเต็มที่'ปริญญา ชาตินักรบ' ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาบุคลากรและวิชาการจาก SIPA ระบุว่า SIPA ทำบันทึกความเข้าใจกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วประเทศ เพื่อตกลงที่จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการพัฒนาฝีมือเพื่อสร้าง ประสบการณ์ในการทำงาน โดยเฉพาะ ม.วลัยลักษณ์ ในปีการศึกษา 2556 SIPA อุดหนุนเงินให้กับนักศึกษาทั้งหมด 3,000 คน เฉลี่ยคนละ 10,000 บาท : วรวิตา แย้มสุดา

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdNVEkyTURrMU5nPT0= (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ย.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 27/09/2556 เวลา 03:20:45 ดูภาพสไลด์โชว์ ซิป้าหนุน'โมบายแอพฯ' เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โมบายแอพพลิเคชั่น ผู้ปกครองและแพทย์ผู้ดูแลเด็กพิเศษจากโรงเรียนกุลจินต์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เตรียมใช้ 'โมบายแอพพลิเคชั่น' เพื่อช่วยสังเกตการณ์การพัฒนาของเด็กที่ป่วยเป็นออทิสติก หลังสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ SIPA (ซิป้า) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นมือถือผ่านทางระบบปฏิบัติการไอโอเอส,แอนดรอยด์และวินโดวส์โฟน โรงเรียนกุลจินต์ เปิดการเรียนการสอนให้กับ 'เด็กพิเศษ' หรือเด็กออทิสติก มาเป็นเวลากว่า 20 ปี มุ่งเน้นส่งเสริมให้เด็กกลุ่มนี้เรียนร่วมกับเด็กปกติ โดยทั้งโรงเรียนมีเด็กพิเศษราว 30 คนเรียนร่วมกับเด็กปกติทั้งหมด 100 คน นับตั้งแต่ 'กิติพันธ์ ใจฐิติวิทย์' ลูกชายเจ้าของโรงเรียนกุลจินต์เข้ามาช่วยงานมารดา โรงเรียนได้เริ่มเปิดระบบฐานข้อมูลในเว็บไซต์ เพื่อเก็บข้อมูลนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษ ก่อนนำไปสู่การประสานงานกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ SIPA จนเกิดการสร้างแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ให้แพทย์และผู้ปกครองตรวจสอบพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กพิเศษที่ป่วยเป็นออทิสติก แอพฯ KJ School Application ฉบับเบต้าซึ่งนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 4 คนได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น จากฐานข้อมูลของโรงเรียนที่อยู่บนเว็บไซต์ www.kunlajin-hy.com ถูกตั้งเป้าให้เป็นแอพพลิเคชั่นตัวกลางที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา อาการป่วยของเด็กพิเศษ โดยอนุญาตให้แพทย์และผู้ปกครองของเด็กแต่ละคน สามารถเห็นพัฒนาการของเด็กผ่านทางวิดีโอแบบเรียลไทม์เพื่อศึกษาพัฒนาการ และให้คำแนะนำในการรักษาและปฏิบัติได้อย่างทันท่วงทีได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา ในส่วนของการสังเกตการณ์ทั้งระบบเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น ผู้ปกครองและแพทย์จะต้องล็อกอินเข้าสู่ระบบ เพื่อดูวิดีโอและคำแนะนำในการรักษา ตารางเรียน และความเห็นของแพทย์และครู ที่เกี่ยวข้องกับเด็กในการดูแลของตนเท่านั้น กิติพันธ์ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าจากสำนักศึกษาวิชาสารสนเทศศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ แกนนำหลักในการขับเคลื่อนแนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้ามาส่งเสริมพัฒนาการของเด็กพิเศษ ได้เริ่มต้นพัฒนาเว็บไซต์ของโรงเรียน ให้เป็นศูนย์รวมข้อมูลในการให้ความช่วยเหลือด้านพัฒนาการของเด็กพิเศษ และเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคลให้เป็นแฟ้มประวัติรวมทั้งผลักดันการใช้กล้องวงจรปิดเก็บภาพพฤติกรรมเด็ก กิติพันธ์ ระบุว่า ในขั้นแรกคิดว่าจะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายของโรงเรียนในการพาเด็กไปพบแพทย์ รวมทั้งอนุญาตให้ผู้ปกครองเห็นพัฒนาการของเด็ก วิธีการปฏิบัติของคณะครูต่อนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษในช่วงที่เด็กไม่รู้ตัวซึ่งจะแสดงให้เห็นพัฒนาการของเด็กที่แท้จริง แตกต่างจากเดิมโรงเรียนต้องใช้ระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ โดยมีครูเล่าอาการให้ผู้ปกครองและแพทย์ฟังซึ่งไม่ชัดเจนเท่าการเห็นภาพจริง หลังจากพัฒนาเว็บไซต์ไปได้ระยะหนึ่ง กิติพันธ์สังเกตว่า การสื่อสารผ่านทางเว็บมีข้อจำกัด คือแพทย์และผู้ปกครองจะต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น จึงเกิดความคิดที่จะพัฒนาแอพฯ บนมือถือเพื่อปิดช่องว่างดังกล่าว โดยหลังจากปรึกษากับอาจารย์จาก ม.วลัยลักษณ์ โครงการพัฒนาแอพฯ 'KJ School' จึงเกิดขึ้น โดยมี ดร.ชัชนันท์ จันแดง และ ดร.จิรารัตน์ สิทธิวรชาติ อาจารย์ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์เป็นที่ปรึกษา ดร.ชัชนันท์ ระบุว่า การพัฒนาโมบายแอพฯ ในตอนนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งใช้เวลาในการพัฒนามาแล้วประมาณ 2 เดือน และยังไม่สามารถใช้งานแบบเรียลไทม์ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบ 3G ซึ่งที่จังหวัดสงขลายังไม่มีเครือข่ายรองรับเหมือนในกรุงเทพฯ แต่การเชื่อมต่อผ่านทางอินเตอร์เน็ตไร้สายแบบไวไฟสามารถเชื่อมต่อได้ไม่มีปัญหา ด้าน 'ลักขณา กระบวนสิน' ผู้ปกครองของนักเรียนซึ่งเป็นเด็กพิเศษวัย 23 ปีที่เข้ารับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กับโรงเรียนกุลจินต์ เผยว่า ตั้งแต่เข้ารับการศึกษากับที่ร.ร. ลูกชายของตนสามารถที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ได้ และเดินทางไปเที่ยวพร้อมครอบครัวเป็นระยะทางไกลได้บ้างแล้วหลังจากเมื่อก่อนเวลานั่งรถไปด้วยกันลูกควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หากแอพฯ ดังกล่าวใช้ได้จริงบนมือถือ สามีซึ่งอยู่คนละจังหวัดกันคงจะดูพัฒนาการของลูกได้ ขณะเดียวกันแพทย์จะได้ให้การรักษาที่ส่งเสริมพัฒนาการของลูกชายได้อย่างเต็มที่'ปริญญา ชาตินักรบ' ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาบุคลากรและวิชาการจาก SIPA ระบุว่า SIPA ทำบันทึกความเข้าใจกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วประเทศ เพื่อตกลงที่จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการพัฒนาฝีมือเพื่อสร้าง ประสบการณ์ในการทำงาน โดยเฉพาะ ม.วลัยลักษณ์ ในปีการศึกษา 2556 SIPA อุดหนุนเงินให้กับนักศึกษาทั้งหมด 3,000 คน เฉลี่ยคนละ 10,000 บาท : วรวิตา แย้มสุดา ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdNVEkyTURrMU5nPT0= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...