สหรัฐฯคิดค้น'ม่านตาเทียม'รักษาตาบอด

แสดงความคิดเห็น

นักวิจัยสหรัฐฯ คิดค้นม่านตาเทียม และแว่นอัจฉริยะที่ช่วยให้ผู้พิการทางสายตา สามารถอ่านหนังสือได้โดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับอักษรเบรลล์

ชายชาวฝรั่งเศสคนนี้ กำลังขะมักเขม้นกับการอ่านหนังสือผ่านม่านตาเทียม และแว่นตาอัจฉริยะ ที่คิดค้นขึ้นโดยบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกัน ซึ่งเขาบอกว่า อุปกรณ์ชิ้นนี้ ทำให้เขารู้สึกเพลิดเพลินกับการมองเห็นตัวหนังสือ หลังจากที่เขาไม่สามารถมองเห็นมาเกือบตลอดชีวิต

ชาวฝรั่งเศสคนนี้ เป็นหนึ่งในอาสาสมัคร 50 คน ที่ได้รับการทดลองฝังม่านตาเทียมชนิดใหม่ ซึ่งผลิตโดยบริษัท Second Sight ของสหรัฐฯ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้พิการทางสายตาที่ยังมีลูกตาอยู่ สามารถกลับมามองเห็นตัวหนังสือได้อีกครั้ง

นายโทมัส ลอริทเซ็น นักวิจัยอาวุโส ของบริษัท Second Sight อธิบายถึงขั้นตอนการทำงานของม่านตาเทียม เริ่มด้วยการฝังเซ็นเซอร์บริเวณม่านตา โดยเซ็นเซอร์ดังกล่าว จะเป็นตัวรับสัญญาณภาพจากกล้องวีดีโอขนาดเล็ก ที่ติดอยู่บริเวณแว่นตาชนิดพิเศษ โดยภาพที่ได้จากวีดีโอ จะถูกประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา ที่แนบอยู่กับตัวผู้ใช้ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะทำการส่งภาพที่ได้ไปยังเซ็นเซอร์ที่ติดอยู่บริเวณม่านตา ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นภาพตัวอักษรในรูปแบบจุดได้สูงสุด 4 ตัว ต่อการทอดสายตา 1 ครั้ง

ทั้งนี้ ม่านตาเทียมของบริษัท Second Light ยังไม่สามารถช่วยให้ผู้พิการทางสายตา สามารถมองเห็นได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อย มันก็ช่วยให้ผู้พิการทางสายตา สามารถใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ควบคู่กับการอ่านอักษรเบรลล์ เพื่อช่วยให้อ่านหนังสือได้เร็วยิ่งขึ้น แต่สำหรับชายชาวฝรั่งเศสคนนี้แล้ว การกลับมามองเห็นตัวหนังสืออีกครั้งผ่านม่านตาเทียม เสมือนเป็นการเริ่มต้นของชีวิตใหม่ ที่ช่วยให้การอ่านไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การอ่านอักษรเบรลล์อีกต่อไป

โดยในอนาคต บริษัท Second Light ยังมีแผนที่จะผลิตม่านตาเทียมที่สามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้พิการทางสายตา สามารถมองเห็นตัวหนังสือขนาดเล็กบนหนังสือพิมพ์ หรือฉลากต่างๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วย

ขอบคุณ... http://news.voicetv.co.th/global/63206.html

VOICETV ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.พ.56

ที่มา: VOICETV ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.พ.56
วันที่โพสต์: 17/02/2556 เวลา 03:48:50

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักวิจัยสหรัฐฯ คิดค้นม่านตาเทียม และแว่นอัจฉริยะที่ช่วยให้ผู้พิการทางสายตา สามารถอ่านหนังสือได้โดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับอักษรเบรลล์ ชายชาวฝรั่งเศสคนนี้ กำลังขะมักเขม้นกับการอ่านหนังสือผ่านม่านตาเทียม และแว่นตาอัจฉริยะ ที่คิดค้นขึ้นโดยบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกัน ซึ่งเขาบอกว่า อุปกรณ์ชิ้นนี้ ทำให้เขารู้สึกเพลิดเพลินกับการมองเห็นตัวหนังสือ หลังจากที่เขาไม่สามารถมองเห็นมาเกือบตลอดชีวิต ชาวฝรั่งเศสคนนี้ เป็นหนึ่งในอาสาสมัคร 50 คน ที่ได้รับการทดลองฝังม่านตาเทียมชนิดใหม่ ซึ่งผลิตโดยบริษัท Second Sight ของสหรัฐฯ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้พิการทางสายตาที่ยังมีลูกตาอยู่ สามารถกลับมามองเห็นตัวหนังสือได้อีกครั้ง นายโทมัส ลอริทเซ็น นักวิจัยอาวุโส ของบริษัท Second Sight อธิบายถึงขั้นตอนการทำงานของม่านตาเทียม เริ่มด้วยการฝังเซ็นเซอร์บริเวณม่านตา โดยเซ็นเซอร์ดังกล่าว จะเป็นตัวรับสัญญาณภาพจากกล้องวีดีโอขนาดเล็ก ที่ติดอยู่บริเวณแว่นตาชนิดพิเศษ โดยภาพที่ได้จากวีดีโอ จะถูกประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา ที่แนบอยู่กับตัวผู้ใช้ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะทำการส่งภาพที่ได้ไปยังเซ็นเซอร์ที่ติดอยู่บริเวณม่านตา ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นภาพตัวอักษรในรูปแบบจุดได้สูงสุด 4 ตัว ต่อการทอดสายตา 1 ครั้ง ทั้งนี้ ม่านตาเทียมของบริษัท Second Light ยังไม่สามารถช่วยให้ผู้พิการทางสายตา สามารถมองเห็นได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อย มันก็ช่วยให้ผู้พิการทางสายตา สามารถใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ควบคู่กับการอ่านอักษรเบรลล์ เพื่อช่วยให้อ่านหนังสือได้เร็วยิ่งขึ้น แต่สำหรับชายชาวฝรั่งเศสคนนี้แล้ว การกลับมามองเห็นตัวหนังสืออีกครั้งผ่านม่านตาเทียม เสมือนเป็นการเริ่มต้นของชีวิตใหม่ ที่ช่วยให้การอ่านไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การอ่านอักษรเบรลล์อีกต่อไป โดยในอนาคต บริษัท Second Light ยังมีแผนที่จะผลิตม่านตาเทียมที่สามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้พิการทางสายตา สามารถมองเห็นตัวหนังสือขนาดเล็กบนหนังสือพิมพ์ หรือฉลากต่างๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วย ขอบคุณ... http://news.voicetv.co.th/global/63206.html VOICETV ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.พ.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...