ผลิตเครื่อง'เดินดี' ช่วยเหลือผู้ป่วยอัมพาต

แสดงความคิดเห็น

ผู้ป่วยอัมพาต ทดลองใช้ อุปกรณ์ชื่อ 'เดินดี' วงการแพทย์ไทยก้าวหน้าไปอีกขั้นกับการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ช่วยเหลือผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต แขนขาอ่อนแรงด้วยการพัฒนาอุปกรณ์ชื่อ"เดินดี"ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเดินได้ดีขึ้น จากข้อมูลสำนักโรคไม่ ติดต่อ กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะตัวเลขจากปี พ.ศ.2540 มีผู้ป่วยจำนวน 50,000 คน และเพิ่มขึ้นในปี 2554 เป็น200,000คน

ผู้ป่วยอัมพาต ทดลองใช้ อุปกรณ์ชื่อ \'เดินดี\' ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร.เซง เลิศมโนรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ไฟฟ้า) พร้อมทีมผู้ช่วยวิจัยประกอบด้วย นายจิรวัฒน์ จิตประสูติวิทย์ และ นายรติกร ชัยวัฒนธรรม นักศึกษาปริญญาโท จึงร่วมกันคิดค้นอุปกรณ์ช่วยเดินให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีปัญหาระหว่างการทำกายภาพบำบัด โดยเฉพาะปัญหาปลายเท้าตก ทำให้เดินลำบาก จนได้รับรางวัลชนะเลิศจากเวทีการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศ ไทย ครั้งที่ 13 และรางวัล Best Contribution Award ที่ประเทศจีน และต่อยอดพัฒนาอุปกรณ์สร้างกระแสประสาทเทียมชื่อว่าเครื่อง "เดินดี" ในเชิงพาณิชย์แล้ว

เครื่อง'เดินดี' ช่วยเหลือผู้ป่วยอัมพาต ผศ.ดร.เซง บอกว่า เครื่องเดินดีจะมีอุปกรณ์หลัก 3 ตัว คือ ตัวเครื่อง ตัวเซ็นเซอร์ และขั้วกระตุ้น ซึ่งหลักการทำงาน คือ ตัวเครื่องเดินดีจะตรวจสอบการก้าวเดินจากเซ็นเซอร์ที่ติดอยู่บริเวณส้นเท้า เมื่อผู้ป่วยจะก้าวเดิน ส้นเท้าจะยกขึ้นพ้นพื้น โดยเซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณไปยังเครื่องที่ติดอยู่ใต้หัวเข่า แล้วตัวเครื่องจะจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านขั้วอิเล็กโทรดไปยังเส้นประสาท เมื่อเส้นประสาทได้รับสัญญาณไฟฟ้า กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัว ทำให้เวลาก้าวเดิน ปลายเท้าจะพ้นพื้น

"โดยเครื่องที่ทีมวิจัยผลิตขึ้นจะมีราคาประมาณ 6,000 บาท ถูกกว่าต่างประเทศมาก มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาเพียง 12 กรัม จึงพกพาสะดวก เหมาะกับการใช้งานผู้ป่วยมาก" ปัจจุบันเครื่องเดินดีผลิตไป แล้ว 500 เครื่อง โดย 250 เครื่องจำหน่ายให้กับคนทั่วไป อีก 250 เครื่องจะนำไปมอบให้กับโรงพยาบาลศูนย์ 24 แห่งทั่วประเทศ พร้อมฝึกอบรมการใช้งานของเครื่องให้กับเจ้าหน้าที่ร.พ.ด้วย เพราะผู้ป่วยที่ต้องการใช้เครื่องนี้ ต้องได้รับการทดสอบก่อนว่าอาการของโรคเหมาะกับการใช้เครื่องนี้หรือไม่ ผู้ใช้จึงต้องได้รับคำแนะนำอย่างใกล้ชิด

โดยต้องขอบคุณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัท นานมี จำกัด บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) และ กลุ่มบริษัท ไทยอีสเทิร์น ที่สนับสนุนต่อยอดการผลิตผลงานชิ้นนี้ ผู้ป่วยที่สนใจอุปกรณ์นี้ ติดตามได้ที่ ช่องทาง www.facebook.com/DearnDee (ขนาดไฟล์: 0 )

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdOREF5TURnMU5nPT0=&sectionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE15MHdPQzB3TWc9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ส.ค.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 3/08/2556 เวลา 02:23:44 ดูภาพสไลด์โชว์ ผลิตเครื่อง'เดินดี' ช่วยเหลือผู้ป่วยอัมพาต

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้ป่วยอัมพาต ทดลองใช้ อุปกรณ์ชื่อ \'เดินดี\' วงการแพทย์ไทยก้าวหน้าไปอีกขั้นกับการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ช่วยเหลือผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต แขนขาอ่อนแรงด้วยการพัฒนาอุปกรณ์ชื่อ"เดินดี"ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเดินได้ดีขึ้น จากข้อมูลสำนักโรคไม่ ติดต่อ กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะตัวเลขจากปี พ.ศ.2540 มีผู้ป่วยจำนวน 50,000 คน และเพิ่มขึ้นในปี 2554 เป็น200,000คน ผู้ป่วยอัมพาต ทดลองใช้ อุปกรณ์ชื่อ \\\'เดินดี\\\'ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร.เซง เลิศมโนรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ไฟฟ้า) พร้อมทีมผู้ช่วยวิจัยประกอบด้วย นายจิรวัฒน์ จิตประสูติวิทย์ และ นายรติกร ชัยวัฒนธรรม นักศึกษาปริญญาโท จึงร่วมกันคิดค้นอุปกรณ์ช่วยเดินให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีปัญหาระหว่างการทำกายภาพบำบัด โดยเฉพาะปัญหาปลายเท้าตก ทำให้เดินลำบาก จนได้รับรางวัลชนะเลิศจากเวทีการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศ ไทย ครั้งที่ 13 และรางวัล Best Contribution Award ที่ประเทศจีน และต่อยอดพัฒนาอุปกรณ์สร้างกระแสประสาทเทียมชื่อว่าเครื่อง "เดินดี" ในเชิงพาณิชย์แล้ว เครื่อง\'เดินดี\' ช่วยเหลือผู้ป่วยอัมพาตผศ.ดร.เซง บอกว่า เครื่องเดินดีจะมีอุปกรณ์หลัก 3 ตัว คือ ตัวเครื่อง ตัวเซ็นเซอร์ และขั้วกระตุ้น ซึ่งหลักการทำงาน คือ ตัวเครื่องเดินดีจะตรวจสอบการก้าวเดินจากเซ็นเซอร์ที่ติดอยู่บริเวณส้นเท้า เมื่อผู้ป่วยจะก้าวเดิน ส้นเท้าจะยกขึ้นพ้นพื้น โดยเซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณไปยังเครื่องที่ติดอยู่ใต้หัวเข่า แล้วตัวเครื่องจะจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านขั้วอิเล็กโทรดไปยังเส้นประสาท เมื่อเส้นประสาทได้รับสัญญาณไฟฟ้า กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัว ทำให้เวลาก้าวเดิน ปลายเท้าจะพ้นพื้น "โดยเครื่องที่ทีมวิจัยผลิตขึ้นจะมีราคาประมาณ 6,000 บาท ถูกกว่าต่างประเทศมาก มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาเพียง 12 กรัม จึงพกพาสะดวก เหมาะกับการใช้งานผู้ป่วยมาก" ปัจจุบันเครื่องเดินดีผลิตไป แล้ว 500 เครื่อง โดย 250 เครื่องจำหน่ายให้กับคนทั่วไป อีก 250 เครื่องจะนำไปมอบให้กับโรงพยาบาลศูนย์ 24 แห่งทั่วประเทศ พร้อมฝึกอบรมการใช้งานของเครื่องให้กับเจ้าหน้าที่ร.พ.ด้วย เพราะผู้ป่วยที่ต้องการใช้เครื่องนี้ ต้องได้รับการทดสอบก่อนว่าอาการของโรคเหมาะกับการใช้เครื่องนี้หรือไม่ ผู้ใช้จึงต้องได้รับคำแนะนำอย่างใกล้ชิด โดยต้องขอบคุณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัท นานมี จำกัด บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) และ กลุ่มบริษัท ไทยอีสเทิร์น ที่สนับสนุนต่อยอดการผลิตผลงานชิ้นนี้ ผู้ป่วยที่สนใจอุปกรณ์นี้ ติดตามได้ที่ ช่องทาง www.facebook.com/DearnDee ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdOREF5TURnMU5nPT0=§ionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE15MHdPQzB3TWc9PQ== ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...