อินเทลสาธิตเสื้ออัจฉริยะของนักปั่น
ผู้บริหารและนักจิตวิทยาของอินเทล ระบุ มนุษย์คือสุดยอดโมบายแพลตฟอร์ม เทคโนโลยีในอนาคตจะต้องถูกนำมาใช้เพื่อเสริมการทำงานของร่างกายหรือแก้ไข ความบกพร่องทางกายภาพ
ดร.เจเนวีฟ เบล ผู้บริหารของอินเทล ซึ่งเป็นนักมานุษยวิทยา กล่าวในงาน อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรั่ม หรือ ไอดีเอฟ (Intel Developer Forum - IDF) ณ เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ว่า อนาคตของโมบายล์ จะมีมากถึงเจ็ดพันล้านแบบ มนุษย์ คือ สุดยอดโมบายล์แพลตฟอร์มและจะเป็นแบบนี้ต่อไป เพราะเทคโนโลยีโมบายล์ถูกนำมาใช้กันยาวนานเพื่อเสริมการทำงานทางกายภาพและ ร่างกาย หรือเพื่อแก้ไขความบกพร่องของมนุษย์ และช่วยเสริมศักยภาพในการทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ
“เทคโนโลยีโมบายล์เข้ามาเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมมนุษย์มานานหลายศตวรรษแล้ว ในอนาคต แรงบันดาลใจของเราไม่ควรจะมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ควรมาจากความต้องการและความปรารถนาของมนุษย์เอง”
ภายในงานได้สาธิต เครื่องแต่งกายอัจฉริยะ จากสถาบัน Fraunhofer Institute for Reliability and Microintegration กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี ใช้เทคโนโลยีนำแผงวงจรที่ยืดหดได้ไปฝังอยู่ในเสื้อแจ็กเก็ตของนักปั่น จักรยาน ถ้านักปั่นจักรยานเหยียบเบรก แผงไฟสีแดงบนเสื้อจะส่องสว่างทันทีเพื่อทำให้คนรอบข้างเห็นถึงการสื่อสารของ นักปั่นจักรยานได้ทันที
ดร.เบล ย้ำว่า เทคโนโลยีที่ดีที่สุดต้องเข้าใจถึงลักษณะเฉพาะของผู้ใช้แต่ละคน และสามารถตอบสนองการใช้งานที่มีความเฉพาะตัวที่แท้จริงได้ด้วย แนวทางนี้ คือตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐานของเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วยชิป ระบบปฏิบัติการ มิดเดิลแวร์ แอพพลิเคชั่น การบริการ และประสบการณ์จากการใช้งาน
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/233738 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โลโก้ intel ผู้บริหารและนักจิตวิทยาของอินเทล ระบุ มนุษย์คือสุดยอดโมบายแพลตฟอร์ม เทคโนโลยีในอนาคตจะต้องถูกนำมาใช้เพื่อเสริมการทำงานของร่างกายหรือแก้ไข ความบกพร่องทางกายภาพ ดร.เจเนวีฟ เบล ผู้บริหารของอินเทล ซึ่งเป็นนักมานุษยวิทยา กล่าวในงาน อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรั่ม หรือ ไอดีเอฟ (Intel Developer Forum - IDF) ณ เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ว่า อนาคตของโมบายล์ จะมีมากถึงเจ็ดพันล้านแบบ มนุษย์ คือ สุดยอดโมบายล์แพลตฟอร์มและจะเป็นแบบนี้ต่อไป เพราะเทคโนโลยีโมบายล์ถูกนำมาใช้กันยาวนานเพื่อเสริมการทำงานทางกายภาพและ ร่างกาย หรือเพื่อแก้ไขความบกพร่องของมนุษย์ และช่วยเสริมศักยภาพในการทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ “เทคโนโลยีโมบายล์เข้ามาเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมมนุษย์มานานหลายศตวรรษแล้ว ในอนาคต แรงบันดาลใจของเราไม่ควรจะมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ควรมาจากความต้องการและความปรารถนาของมนุษย์เอง” ภายในงานได้สาธิต เครื่องแต่งกายอัจฉริยะ จากสถาบัน Fraunhofer Institute for Reliability and Microintegration กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี ใช้เทคโนโลยีนำแผงวงจรที่ยืดหดได้ไปฝังอยู่ในเสื้อแจ็กเก็ตของนักปั่น จักรยาน ถ้านักปั่นจักรยานเหยียบเบรก แผงไฟสีแดงบนเสื้อจะส่องสว่างทันทีเพื่อทำให้คนรอบข้างเห็นถึงการสื่อสารของ นักปั่นจักรยานได้ทันที ดร.เบล ย้ำว่า เทคโนโลยีที่ดีที่สุดต้องเข้าใจถึงลักษณะเฉพาะของผู้ใช้แต่ละคน และสามารถตอบสนองการใช้งานที่มีความเฉพาะตัวที่แท้จริงได้ด้วย แนวทางนี้ คือตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐานของเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วยชิป ระบบปฏิบัติการ มิดเดิลแวร์ แอพพลิเคชั่น การบริการ และประสบการณ์จากการใช้งาน ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/233738 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)