เปิดตัวแอปพลิเคชัน “Wheel-go-round” ช่วยผู้พิการ-ผู้สูงอายุ
เปิดตัวแอปพลิเคชัน “Wheel-go-round” ช่วยค้นหาสถานที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้วีลแชร์และผู้สูงอายุ ให้สามารถใช้ชีวิตนอกบ้านได้อย่างมีอิสระ สะดวกสบายมากขึ้น หลังพบสภาพ แวดล้อมปัจจุบันเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตนอกบ้าน
วันที่ 24 ก.ย. เมื่อเวลา 13.00 น.ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซอมงามดูพลี ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้ จัดการ สสส.กล่าวแถลงข่าวเปิดตัวแอปพลิเคชัน “Wheel-go-round” ภายใต้โครงการเผยแพร่ข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้รถเข็น ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สสส. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ว่า ปัจจุบันผู้พิการที่ลงทะเบียนไว้กับภาครัฐมีมากถึง 1.4 ล้านคน และมีผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 12 ของประชากรทั้งประเทศ และในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า จะมีผู้สูงอายุมากถึง 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ แต่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการยังคงมีน้อย ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตนอกบ้านของบุคคลทั้งสองกลุ่ม ซึ่ง สสส.ได้เร่งดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มบุคคลดังกล่าว โดยสนับสนุนพัฒนางานวิชาการ เพื่อแนะนำให้คนทั่วไปปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ โดยใช้เงินไม่มาก กระตุ้นสังคมรับรู้การมีอยู่ของคนพิการ และผลักดันนโยบายภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชนให้เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่บุคคลทั้งสองกลุ่ม ทั้งนี้ เพื่อลดช่องว่างและเสริมสร้างความเป็นธรรมทางด้านสุขภาพและการใช้ชีวิตของคน กลุ่มนี้ เพื่อให้มนุษย์ทุกคนมีสิทธิและสามารถเข้าถึงสิทธิในการดำรงชีวิตได้อย่าง เป็นรูปธรรมและเท่าเทียม เข้าใจในความแตกต่างของบุคคลอันจะนำไปสู่สังคมแห่งเท่าเทียมของคนทุกกลุ่ม
“สำหรับโครงการเผยแพร่ข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้รถเข็น (Wheel-go-round) สสส.ได้สนับสนุนโดยเล็งเห็นว่าโครงการนี้จะช่วยจุดประกายให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้ใช้วีลแชร์ รวมถึงสร้างความตระหนักแก่สังคมให้เห็นถึงความสำคัญของการมีพื้นที่ ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยปราศจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรค” ผู้จัดการ สสส.กล่าว
น.ส.ศิริพร พัชรวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ได้ให้การสนับสนุนแอปพลิเคชันดังกล่าว ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มจากน้องๆ กลุ่ม Wheel-go-round ที่ได้มาเข้าร่วมโครงการ Innovate For Good ภายใต้ Youth Spark ซึ่งเป็นโครงการเพื่อสังคมที่ไมโครซอฟท์จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชน สร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม โดยน้องกลุ่ม Wheel-go-round ได้พยายามรวบรวมข้อมูลสถานที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ ซึ่งไมโครซอฟท์เห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ จึงนำทีมน้องๆ โครงการ Microsoft Student Partners ที่ไมโครซอฟท์รับสมัครทุกปี เพื่อเฟ้นหานักศึกษาที่ชื่นชอบในเทคโนโลยีมาพัฒนาสร้างเสริมขีดความสามารถ ให้เพิ่มขึ้นมารวมกลุ่มด้วยกัน โดยน้องโครงการ Microsoft Student Partners จะนำความรู้ด้านไอทีมาช่วยออกแบบเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน เพื่อสานฝันให้แก่น้องกลุ่ม Wheel-go-round ให้เป็นความจริง
น.ส.ศิริพร กล่าวอีกว่า สำหรับแอปพลิเคชัน Wheel-go-round บนโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์สโฟน จะช่วยให้ผู้ใช้วีลแชร์สามารถทราบและเข้าถึงข้อมูลการเดินทางไปในสถานที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวก โดยผ่านการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนอกจากผู้ใช้วีลแชร์แล้ว ข้อมูลเหล่านี้ยังสามารถนำเสนอไปสู่ยังกลุ่มคนที่กว้างขึ้นและเข้าถึงได้ ง่ายขึ้น นับเป็นการรวมพลังสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถมาร่วมกันสร้าง สรรค์สิ่งดีๆ เพื่อสังคมไทย
น.ส.ลิปดา จารุเธียร ตัวแทนเยาวชนกลุ่ม Wheel-go-round กล่าวว่า ที่มาของแอปพลิเคชันนี้ เพราะตนมีญาติที่ใช้วีลแชร์ ซึ่งมักจะพบปัญหาเรื่องการเดินทางอยู่บ่อยครั้ง จนได้มีโอกาสร่วมกับเพื่อน คิดค้น และต่อยอดปัญหาดังกล่าว โดยออกไปเรียนรู้ ไปสำรวจปัญหาจริงๆ และได้ไปคุยกับกลุ่มผู้ใช้วีลแชร์ที่อยู่ศูนย์ดำรงชีวิตอิสระ กลุ่มนักกีฬาวีลแชร์ และกลุ่มผู้ใช้วีลแชร์ที่ออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านเป็นประจำ ได้รับฟังและแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง พบว่าส่วนใหญ่เค้าก็มักจะไปแต่ที่เดิมๆ ที่เคยไปมาแล้ว หรือการจะไปที่ใหม่ๆ แต่ละครั้งก็มักจะสอบถามเพื่อนๆ มนุษย์ล้อกันเอง ยังไม่กล้าเสี่ยงที่จะออกไปเจอกับสภาพที่ไม่แน่นอนของสถานที่ ซึ่งหลังจากปรึกษากับอาจารย์ก็เลยลงมือทำสำรวจข้อมูลสถานที่ต่างๆ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ โดยเริ่มจากการเปิดแฟนเพจเฟซบุ๊ก เพื่อให้ข้อมูลและรับข้อมูลจากประชาชนทั่วไปก่อน จนเมื่อได้มีโอกาสมาเข้าเวิร์กชอป Innovate For Good ของไมโครซอฟท์ และได้มีโอกาสรู้จักกับทีม Microsoft Student Partners โดยน้องๆ กลุ่มนี้ได้ช่วยเปิดมุมมองของเราให้กว้างขึ้น ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยในแต่ละขั้นตอนที่น้องๆ ทำมา เราได้นำไปให้ผู้ใช้วีลแชร์จริงๆ ทดลองใช้ เพื่อนำฟีดแบ็กจากผู้ใช้งานจริงมาบอกต่อให้น้องๆ ได้ปรับปรุงแก้ไข จนได้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้แอปพลิเคชันนี้
ด้าน นายบริสุทธิ์ ประสพทรัพย์ ผู้อำนวยการภูมิภาคตะวันออก ททท.กล่าวว่า งานด้านการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุและผู้พิการออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น หากสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ มีการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้แก่บุคคลทั้งสองกลุ่ม เชื่อว่าจะสามารถช่วยสร้างรายได้จำนวนมากให้แก่ประเทศ เพราะกลุ่มบุคคลทั้งสองกลุ่มถือเป็นบุคคลที่มีกำลังในการจ่าย ที่สำคัญผู้สูงอายุและผู้พิการเมื่อออกมานอกบ้านจะต้องมีผู้ดูแลด้วย ก็จะช่วยให้รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น อย่างพัทยาขณะนี้มีการออกแบบให้เป็นเมืองเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) โดยมีทางลาดสำหรับผู้ใช้รถเข็นให้สามารถลงไปถึงชายหาด ขณะที่ผู้ประกอบการก็มีการปรับโรงแรม ทั้งสร้างทางลาด ห้องพัก ห้องน้ำ ประตู เตียง ฯลฯ ให้เอื้ออำนวยแก่บุคคลทั้งสองกลุ่ม เห็นได้ชัดเลยว่าหลังจากปรับรูปแบบแล้วรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น เป็น 2 เท่า นอกจากพัทยาแล้ว สถานที่ท่องเที่ยวที่เริ่มมีการรองรับผู้พิการและผู้สูงอายุยังมีที่ภูเก็ต เชียงใหม่ อุบลราชธานี อุดรธานี และขอนแก่นแล้วด้วย
“การจะปรับให้สถานที่ท่องเที่ยวมีการรองรับผู้พิการและผู้สูงอายุ นั้นคงต้องเป็นเรื่องของความร่วมมือจากผู้ประกอบการเอง ททท.ไม่สามารถเข้าไปบังคับให้เขาทำได้ แต่ ททท.ก็พยายามที่จะสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการว่า หากหันมาเจาะตลาดทั้งสองกลุ่มนี้ก็จะสามารถช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้น แต่จะต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยด้วย” นายบริสุทธิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเข้าไปแอปพลิเคชัน Wheel-go-round แล้ว จะพบหน้าจอที่มีเมนูให้เลือกว่าต้องการไปยังสถานที่ใด ดังนี้ 1.กลุ่มท่องเที่ยว ชอปปิ้ง บันเทิง 2.ขนส่งมวลชน เช่น MRY BYS รถเมล์ 3.ศาสนสถาน 4.สถานที่ราชการ ธนาคาร ไปรษณีย์ต่างๆ 5.โรงพยาบาล และ 6.ร้านอาหาร โดยสามารถเลือกค้นหาได้ว่าสถานที่เหล่านี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดรองรับได้ บ้างคือ ลิฟต์ ห้องน้ำ ทางลาด และที่จอดรถ หรือสามารถเลือกเมนูค้นหาสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวในบริเวณใกล้เคียงกับ ที่ผู้ใช้แอปพลิเคชันอยู่ได้ ซึ่งขณะนี้มีการลงข้อมูลสถานที่ต่างๆ ประมาณ 200 จุดทั่ว กทม.นอกจากนี้ แอปพลิเคชันดังกล่าว ยังให้ผู้ใช้สามารถถ่ายรูป เพื่อเพิ่มสถานที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ หรือผู้สูงอายุได้ด้วย โดยก่อนที่จะเพิ่มจะมีการให้ตอบแบบสอบถามว่าสถานที่ดังกล่าวมีสิ่งอำนวยความ สะดวกอยู่ในระดับใด
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000120562 (ขนาดไฟล์: 164)
ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.ย.56
1 เจน 25/09/2556 08:49:16
นอกจากแอพพลิเคชั่นแล้ว ยังมีอีก 2 ช่องทางนะคะ
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เปิดตัวแอปพลิเคชัน “Wheel-go-round” ช่วยค้นหาสถานที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้วีลแชร์และผู้สูงอายุ ให้สามารถใช้ชีวิตนอกบ้านได้อย่างมีอิสระ สะดวกสบายมากขึ้น หลังพบสภาพ แวดล้อมปัจจุบันเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตนอกบ้าน แอปพิเคชัน Wheel-go-round วันที่ 24 ก.ย. เมื่อเวลา 13.00 น.ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซอมงามดูพลี ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้ จัดการ สสส.กล่าวแถลงข่าวเปิดตัวแอปพลิเคชัน “Wheel-go-round” ภายใต้โครงการเผยแพร่ข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้รถเข็น ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สสส. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ว่า ปัจจุบันผู้พิการที่ลงทะเบียนไว้กับภาครัฐมีมากถึง 1.4 ล้านคน และมีผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 12 ของประชากรทั้งประเทศ และในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า จะมีผู้สูงอายุมากถึง 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ แต่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการยังคงมีน้อย ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตนอกบ้านของบุคคลทั้งสองกลุ่ม ซึ่ง สสส.ได้เร่งดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มบุคคลดังกล่าว โดยสนับสนุนพัฒนางานวิชาการ เพื่อแนะนำให้คนทั่วไปปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ โดยใช้เงินไม่มาก กระตุ้นสังคมรับรู้การมีอยู่ของคนพิการ และผลักดันนโยบายภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชนให้เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่บุคคลทั้งสองกลุ่ม ทั้งนี้ เพื่อลดช่องว่างและเสริมสร้างความเป็นธรรมทางด้านสุขภาพและการใช้ชีวิตของคน กลุ่มนี้ เพื่อให้มนุษย์ทุกคนมีสิทธิและสามารถเข้าถึงสิทธิในการดำรงชีวิตได้อย่าง เป็นรูปธรรมและเท่าเทียม เข้าใจในความแตกต่างของบุคคลอันจะนำไปสู่สังคมแห่งเท่าเทียมของคนทุกกลุ่ม “สำหรับโครงการเผยแพร่ข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้รถเข็น (Wheel-go-round) สสส.ได้สนับสนุนโดยเล็งเห็นว่าโครงการนี้จะช่วยจุดประกายให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้ใช้วีลแชร์ รวมถึงสร้างความตระหนักแก่สังคมให้เห็นถึงความสำคัญของการมีพื้นที่ ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยปราศจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรค” ผู้จัดการ สสส.กล่าว น.ส.ศิริพร พัชรวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ได้ให้การสนับสนุนแอปพลิเคชันดังกล่าว ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มจากน้องๆ กลุ่ม Wheel-go-round ที่ได้มาเข้าร่วมโครงการ Innovate For Good ภายใต้ Youth Spark ซึ่งเป็นโครงการเพื่อสังคมที่ไมโครซอฟท์จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชน สร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม โดยน้องกลุ่ม Wheel-go-round ได้พยายามรวบรวมข้อมูลสถานที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ ซึ่งไมโครซอฟท์เห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ จึงนำทีมน้องๆ โครงการ Microsoft Student Partners ที่ไมโครซอฟท์รับสมัครทุกปี เพื่อเฟ้นหานักศึกษาที่ชื่นชอบในเทคโนโลยีมาพัฒนาสร้างเสริมขีดความสามารถ ให้เพิ่มขึ้นมารวมกลุ่มด้วยกัน โดยน้องโครงการ Microsoft Student Partners จะนำความรู้ด้านไอทีมาช่วยออกแบบเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน เพื่อสานฝันให้แก่น้องกลุ่ม Wheel-go-round ให้เป็นความจริง น.ส.ศิริพร กล่าวอีกว่า สำหรับแอปพลิเคชัน Wheel-go-round บนโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์สโฟน จะช่วยให้ผู้ใช้วีลแชร์สามารถทราบและเข้าถึงข้อมูลการเดินทางไปในสถานที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวก โดยผ่านการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนอกจากผู้ใช้วีลแชร์แล้ว ข้อมูลเหล่านี้ยังสามารถนำเสนอไปสู่ยังกลุ่มคนที่กว้างขึ้นและเข้าถึงได้ ง่ายขึ้น นับเป็นการรวมพลังสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถมาร่วมกันสร้าง สรรค์สิ่งดีๆ เพื่อสังคมไทย น.ส.ลิปดา จารุเธียร ตัวแทนเยาวชนกลุ่ม Wheel-go-round กล่าวว่า ที่มาของแอปพลิเคชันนี้ เพราะตนมีญาติที่ใช้วีลแชร์ ซึ่งมักจะพบปัญหาเรื่องการเดินทางอยู่บ่อยครั้ง จนได้มีโอกาสร่วมกับเพื่อน คิดค้น และต่อยอดปัญหาดังกล่าว โดยออกไปเรียนรู้ ไปสำรวจปัญหาจริงๆ และได้ไปคุยกับกลุ่มผู้ใช้วีลแชร์ที่อยู่ศูนย์ดำรงชีวิตอิสระ กลุ่มนักกีฬาวีลแชร์ และกลุ่มผู้ใช้วีลแชร์ที่ออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านเป็นประจำ ได้รับฟังและแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง พบว่าส่วนใหญ่เค้าก็มักจะไปแต่ที่เดิมๆ ที่เคยไปมาแล้ว หรือการจะไปที่ใหม่ๆ แต่ละครั้งก็มักจะสอบถามเพื่อนๆ มนุษย์ล้อกันเอง ยังไม่กล้าเสี่ยงที่จะออกไปเจอกับสภาพที่ไม่แน่นอนของสถานที่ ซึ่งหลังจากปรึกษากับอาจารย์ก็เลยลงมือทำสำรวจข้อมูลสถานที่ต่างๆ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ โดยเริ่มจากการเปิดแฟนเพจเฟซบุ๊ก เพื่อให้ข้อมูลและรับข้อมูลจากประชาชนทั่วไปก่อน จนเมื่อได้มีโอกาสมาเข้าเวิร์กชอป Innovate For Good ของไมโครซอฟท์ และได้มีโอกาสรู้จักกับทีม Microsoft Student Partners โดยน้องๆ กลุ่มนี้ได้ช่วยเปิดมุมมองของเราให้กว้างขึ้น ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยในแต่ละขั้นตอนที่น้องๆ ทำมา เราได้นำไปให้ผู้ใช้วีลแชร์จริงๆ ทดลองใช้ เพื่อนำฟีดแบ็กจากผู้ใช้งานจริงมาบอกต่อให้น้องๆ ได้ปรับปรุงแก้ไข จนได้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้แอปพลิเคชันนี้ ด้าน นายบริสุทธิ์ ประสพทรัพย์ ผู้อำนวยการภูมิภาคตะวันออก ททท.กล่าวว่า งานด้านการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุและผู้พิการออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น หากสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ มีการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้แก่บุคคลทั้งสองกลุ่ม เชื่อว่าจะสามารถช่วยสร้างรายได้จำนวนมากให้แก่ประเทศ เพราะกลุ่มบุคคลทั้งสองกลุ่มถือเป็นบุคคลที่มีกำลังในการจ่าย ที่สำคัญผู้สูงอายุและผู้พิการเมื่อออกมานอกบ้านจะต้องมีผู้ดูแลด้วย ก็จะช่วยให้รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น อย่างพัทยาขณะนี้มีการออกแบบให้เป็นเมืองเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) โดยมีทางลาดสำหรับผู้ใช้รถเข็นให้สามารถลงไปถึงชายหาด ขณะที่ผู้ประกอบการก็มีการปรับโรงแรม ทั้งสร้างทางลาด ห้องพัก ห้องน้ำ ประตู เตียง ฯลฯ ให้เอื้ออำนวยแก่บุคคลทั้งสองกลุ่ม เห็นได้ชัดเลยว่าหลังจากปรับรูปแบบแล้วรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น เป็น 2 เท่า นอกจากพัทยาแล้ว สถานที่ท่องเที่ยวที่เริ่มมีการรองรับผู้พิการและผู้สูงอายุยังมีที่ภูเก็ต เชียงใหม่ อุบลราชธานี อุดรธานี และขอนแก่นแล้วด้วย “การจะปรับให้สถานที่ท่องเที่ยวมีการรองรับผู้พิการและผู้สูงอายุ นั้นคงต้องเป็นเรื่องของความร่วมมือจากผู้ประกอบการเอง ททท.ไม่สามารถเข้าไปบังคับให้เขาทำได้ แต่ ททท.ก็พยายามที่จะสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการว่า หากหันมาเจาะตลาดทั้งสองกลุ่มนี้ก็จะสามารถช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้น แต่จะต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยด้วย” นายบริสุทธิ์ กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเข้าไปแอปพลิเคชัน Wheel-go-round แล้ว จะพบหน้าจอที่มีเมนูให้เลือกว่าต้องการไปยังสถานที่ใด ดังนี้ 1.กลุ่มท่องเที่ยว ชอปปิ้ง บันเทิง 2.ขนส่งมวลชน เช่น MRY BYS รถเมล์ 3.ศาสนสถาน 4.สถานที่ราชการ ธนาคาร ไปรษณีย์ต่างๆ 5.โรงพยาบาล และ 6.ร้านอาหาร โดยสามารถเลือกค้นหาได้ว่าสถานที่เหล่านี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดรองรับได้ บ้างคือ ลิฟต์ ห้องน้ำ ทางลาด และที่จอดรถ หรือสามารถเลือกเมนูค้นหาสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวในบริเวณใกล้เคียงกับ ที่ผู้ใช้แอปพลิเคชันอยู่ได้ ซึ่งขณะนี้มีการลงข้อมูลสถานที่ต่างๆ ประมาณ 200 จุดทั่ว กทม.นอกจากนี้ แอปพลิเคชันดังกล่าว ยังให้ผู้ใช้สามารถถ่ายรูป เพื่อเพิ่มสถานที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ หรือผู้สูงอายุได้ด้วย โดยก่อนที่จะเพิ่มจะมีการให้ตอบแบบสอบถามว่าสถานที่ดังกล่าวมีสิ่งอำนวยความ สะดวกอยู่ในระดับใด ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000120562 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)