'นักวิจัย-น.ศ.'ม.มหิดลผุด'เครื่องช่วยขยับข้อเท้า'

แสดงความคิดเห็น

"ภาวะ ข้อเท้าตก" เป็นอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าขึ้น จากความผิดปกติของระบบประสาท ทำให้ไม่สามารถสั่งการให้กระดกข้อเท้าขึ้นตามต้องการได้ เกิดได้ทั้งจากความผิดปกติของทั้งระบบประสาทส่วนกลาง และส่วนปลาย ทำให้เกิดภาวะข้อเท้าตกตามมา

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ถูกวิธี อาทิ การช่วยขยับข้อเท้า และการออกกำลังกายที่ถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะข้อเท้าติด และภาวะกล้ามเนื้อหดรั้ง

ปัจจุบันเริ่มมีผู้ให้ความสนใจใช้ "เครื่องช่วยขยับข้อเท้าแบบต่อเนื่อง" (Continuous passive movement) ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเท้าตกมากขึ้น จึงมีนักวิจัยสนใจประดิษฐ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้าเพื่อช่วยในการขยับข้อเท้า ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อลดภาระของผู้ดูแลในการช่วยขยับข้อเท้าแก่ผู้ป่วย

น.ส.นิดา วงศ์สวัสดิ์ นักกายภาพบำบัด ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก นายกิตติชัย ทราวดีพิมุข นายสิทธิชัย เอี่ยมเพช็ร และ น.ส.ลัฐิกา เตี๋ยวงษ์สุวรรณ์ นักศึกษาภาค วิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรม ศาสตร์ ผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยขยับข้อเท้าสำหรับผู้ที่มีภาวะข้อเท้าตก ผลงานสิทธิบัตรทุนสนับสนุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) จึงคิดประดิษฐ์ เครื่องช่วยขยับข้อเท้าแบบต่อเนื่องขึ้น เพื่อการฟื้นฟู และป้องกันภาวะแทรกซ้อนภายหลังจากมีภาวะข้อเท้าตก

น.ส.นิดาเล่าว่า เครื่องนี้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการ Passive movement ซึ่งอุปกรณ์ช่วยขยับข้อเท้านี้ใช้ข้อเท้าข้างที่แข็งแรงเป็นตัวช่วยขยับข้อ เท้าข้างที่อ่อนแรง ทำให้ผู้ที่มีภาวะข้อเท้าตก ช่วยขยับข้อเท้าด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นช่วยขยับข้อเท้าให้ โดยออกแบบให้ใช้ได้ง่าย สามารถนำอุปกรณ์ไปช่วยขยับข้อเท้าที่บ้านได้ เพื่อการฟื้นฟูและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ถูกต้อง ซึ่งทำได้ทุกวัน

อุปกรณ์นี้ ปรับมุมการเคลื่อนไหวได้ตามความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ที่มีภาวะข้อเท้าตกจริงในทุกๆ 1 องศา ใช้ได้ทั้งในท่านั่งและท่านอน ในทุกสภาพแวดล้อม โดยเลือกการตอบสนองกลับในกรณีที่ช่วยขยับข้อเท้าถึงมุมที่กำหนดได้ 2 รูปแบบ ทั้งเสียง และแสง

เครื่องช่วยขยับข้อเท้า นอกจากนี้ ยังเชื่อมต่อกับเกมคอมพิวเตอร์ Virtual-Reality ซึ่งเป็นเกมเสมือนจริง เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการใช้อุปกรณ์ช่วยขยับข้อเท้า และควบคุมเรื่องความเร็วในการช่วยขยับข้อเท้าได้ โดยได้ทดลองใช้กับผู้ป่วยที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มม.พบว่าได้ผลดี หลังจากใช้อุปกรณ์ช่วยขยับข้อเท้า ผู้ป่วยมีภาวะกล้ามเนื้อข้อเท้าหดเกร็งลดลงตามลำดับ อุปกรณ์นี้ จะช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ผู้ป่วยยังติดตั้งใช้เองที่บ้าน ฟื้นฟูกล้ามเนื้อข้อเท้าให้มีอาการหดเกร็งลดลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 30 ต.ค.56

ขอบคุณ... http://www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news.php?names=01&news_id=4074 (ขนาดไฟล์: 198)

hiso.or.th/hiso5ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ต.ค.56

ที่มา: hiso.or.th/hiso5ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 31/10/2556 เวลา 03:45:03 ดูภาพสไลด์โชว์ 'นักวิจัย-น.ศ.'ม.มหิดลผุด'เครื่องช่วยขยับข้อเท้า'

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

"ภาวะ ข้อเท้าตก" เป็นอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าขึ้น จากความผิดปกติของระบบประสาท ทำให้ไม่สามารถสั่งการให้กระดกข้อเท้าขึ้นตามต้องการได้ เกิดได้ทั้งจากความผิดปกติของทั้งระบบประสาทส่วนกลาง และส่วนปลาย ทำให้เกิดภาวะข้อเท้าตกตามมา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ถูกวิธี อาทิ การช่วยขยับข้อเท้า และการออกกำลังกายที่ถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะข้อเท้าติด และภาวะกล้ามเนื้อหดรั้ง ปัจจุบันเริ่มมีผู้ให้ความสนใจใช้ "เครื่องช่วยขยับข้อเท้าแบบต่อเนื่อง" (Continuous passive movement) ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเท้าตกมากขึ้น จึงมีนักวิจัยสนใจประดิษฐ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้าเพื่อช่วยในการขยับข้อเท้า ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อลดภาระของผู้ดูแลในการช่วยขยับข้อเท้าแก่ผู้ป่วย น.ส.นิดา วงศ์สวัสดิ์ นักกายภาพบำบัด ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก นายกิตติชัย ทราวดีพิมุข นายสิทธิชัย เอี่ยมเพช็ร และ น.ส.ลัฐิกา เตี๋ยวงษ์สุวรรณ์ นักศึกษาภาค วิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรม ศาสตร์ ผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยขยับข้อเท้าสำหรับผู้ที่มีภาวะข้อเท้าตก ผลงานสิทธิบัตรทุนสนับสนุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) จึงคิดประดิษฐ์ เครื่องช่วยขยับข้อเท้าแบบต่อเนื่องขึ้น เพื่อการฟื้นฟู และป้องกันภาวะแทรกซ้อนภายหลังจากมีภาวะข้อเท้าตก น.ส.นิดาเล่าว่า เครื่องนี้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการ Passive movement ซึ่งอุปกรณ์ช่วยขยับข้อเท้านี้ใช้ข้อเท้าข้างที่แข็งแรงเป็นตัวช่วยขยับข้อ เท้าข้างที่อ่อนแรง ทำให้ผู้ที่มีภาวะข้อเท้าตก ช่วยขยับข้อเท้าด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นช่วยขยับข้อเท้าให้ โดยออกแบบให้ใช้ได้ง่าย สามารถนำอุปกรณ์ไปช่วยขยับข้อเท้าที่บ้านได้ เพื่อการฟื้นฟูและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ถูกต้อง ซึ่งทำได้ทุกวัน อุปกรณ์นี้ ปรับมุมการเคลื่อนไหวได้ตามความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ที่มีภาวะข้อเท้าตกจริงในทุกๆ 1 องศา ใช้ได้ทั้งในท่านั่งและท่านอน ในทุกสภาพแวดล้อม โดยเลือกการตอบสนองกลับในกรณีที่ช่วยขยับข้อเท้าถึงมุมที่กำหนดได้ 2 รูปแบบ ทั้งเสียง และแสง เครื่องช่วยขยับข้อเท้า นอกจากนี้ ยังเชื่อมต่อกับเกมคอมพิวเตอร์ Virtual-Reality ซึ่งเป็นเกมเสมือนจริง เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการใช้อุปกรณ์ช่วยขยับข้อเท้า และควบคุมเรื่องความเร็วในการช่วยขยับข้อเท้าได้ โดยได้ทดลองใช้กับผู้ป่วยที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มม.พบว่าได้ผลดี หลังจากใช้อุปกรณ์ช่วยขยับข้อเท้า ผู้ป่วยมีภาวะกล้ามเนื้อข้อเท้าหดเกร็งลดลงตามลำดับ อุปกรณ์นี้ จะช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ผู้ป่วยยังติดตั้งใช้เองที่บ้าน ฟื้นฟูกล้ามเนื้อข้อเท้าให้มีอาการหดเกร็งลดลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 30 ต.ค.56 ขอบคุณ... http://www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news.php?names=01&news_id=4074 hiso.or.th/hiso5ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...