อจ.มฟล.เจ๋ง-ทำเครื่องนำทางคนตาบอดทุนแค่พันบาท

แสดงความคิดเห็น

นายสุรพล วรภัทราทร อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กับผลงานเครื่องนำทางคนตาบอด เชียงราย - อาจารย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เจ๋ง ประดิษฐ์เครื่อง “ไอโซน่าร์” ช่วยนำทางคนตาบอดสำเร็จ ต้นทุนแค่พันบาท ขณะที่ของนอกราคาเรือนหมื่นขึ้น สามารถช่วยคนใช้รู้ตัวก่อนเดินไปกระทบวัตถุรอบตัว ตั้งแต่เดินเข้าใกล้ระยะ 1.30 เมตร ล่าสุดจดสิทธิบัตรแล้ว พร้อมเตรียมต่อยอดช่วยผู้สูงอายุต่อ

สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง แจ้งว่า ได้มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่คือ "เครื่องบอกเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับผู้พิการทางสายตา" ที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก โดยมีชื่อว่าไอโซน่าร์ (iSonar) ซึ่งคิดประดิษฐ์ขึ้นโดยนายสุรพล วรภัทราทร อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตัวอย่างการทำงานของเครื่องนำทางคนตาบอด เครื่องไอโซน่าร์ที่ว่านี้มีขนาดเกือบเท่ากล่องไม้ขีด มีน้ำหนักเบาไม่ถึง 2 กรัม ลักษณะเป็นกล่องสีขาว และมีสายไว้คล้องคอ เพื่อให้เครื่องอยู่ระดับอก และหันส่วนปฏิบัติการออกไปทางด้านหน้า เมื่อผู้คล้องอุปกรณ์เปิดเครื่องและเดินตรงไปห่างจากวัตถุกำแพง ฯลฯ ระยะตั้งแต่ 1.30 เมตรลงมา เครื่องก็จะเริ่มสั่น และยิ่งเดินเข้าไปใกล้วัตถุเครื่องก็จะสั่นไหวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ช่วยให้ผู้พิการทางสายตาสามารถทราบการเข้าใกล้วัตถุที่อยู่ด้านหน้าได้ มีรัศมีแนวกว้างทั้งด้านบน ล่าง ซ้าย ขวา ข้างละ 40 ซม.

นายสุรพล กล่าวว่า แรงจูงใจที่ทำให้ประดิษฐ์เครื่องไอโซน่าร์ เพราะช่วงที่ศึกษา และเป็นอาจารย์สอนหนังสือได้ทำงานคลุกคลีกับผู้พิการทางสายตามาตลอด พบเห็นความทุกข์ยากของผู้พิการที่ต้องเดินชนกับวัตถุต่างๆ จนบางครั้งได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะที่ศีรษะ ดังนั้น จึงเริ่มศึกษาอุปกรณ์ที่คนพิการทางสายตาได้ใช้กันทั่วโลก ซึ่งพบว่ามีขนาดใหญ่และใช้ไม่สะดวก รวมทั้งมีราคาแพงตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ขณะที่ผู้คนพิการส่วนใหญ่ในประเทศไทยซึ่งสถิติในปี 2544 มีจำนวน 123,200 คน ยังไม่มีใช้กัน ส่วนใหญ่ใช้เพียงไม้เท้าหรือคนช่วยพยุงไป

เครื่องนำทางคนตาบอด เมื่อมีโอกาสได้ทำงานวิจัยร่วมกับทีมงาน ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จึงได้คิดค้นเครื่องไอโซน่าร์ขึ้น โดยใช้เวลาศึกษาวิจัยร่วม 1 ปี มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้พิการในสมาคมคนตาบอด จ.เชียงราย และการศึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์ที่มีวางจำหน่ายอยู่แล้วทั่วโลก จึงสอบถามและโดยนำอุปกรณ์ที่ค้นขึ้นใหม่ไปให้ผู้พิการทดลองใช้ควบ คู่กับการจัดทำวัตถุจำลองที่จะเดินไปกระทบหลายรอบ จนพบผลว่า เครื่องไอโซน่าร์สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีสูงสุด เช่น อัตราการเดินชนวัตถุของส่วนต่างๆ ของร่างกายต่ำลงหรือบางส่วนไม่กระทบเลย และผู้ใช้ยังมีความพึงพอใจสูงสุดเพราะมีคุณสมบัติคือ ใช้งานจริงได้อย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย หรือใช้ได้โดยไม่ต้องถือไว้ในมือ ทำให้เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย รวมทั้งขนาดเล็กและมีต้นทุนต่ำเพียงเครื่องละประมาณ 1,000 บาท

นายสุรพล กล่าวอีกว่า รูปแบบการทำงานของเครื่องไอโซน่าร์ใช้ระบบอัลตราโซนิคที่ส่งคลื่นโซน่าร์ความถี่ 40 กิโลเฮิร์ต ซึ่งละเอียดจนมนุษย์ไม่ได้ยิน เพราะมนุษย์เราจะได้ยินในระดับ 20 กิโลเฮิร์ต จากนั้นคลื่นที่กระทบกับวัตถุข้างหน้าจะสะท้อนกลับไปยังตัวรับและควบคุม โดยตัวควบคุมหรือไมโคร คอนโทลเลอร์ จะส่งไปยังตัวสั่นสะเทือนทำให้เกิดการสั่นสะเทือนตั้งแต่ระยะ 1.30 เมตรขึ้นไป และจะค่อยๆ สั่นมากขึ้นเมื่อเข้าไปใกล้วัตถุที่คลื่นไปกระทบมากขึ้น ใช้พลังงานจากแบ๊ตเตอรี่ชนิดเดียวกับที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือที่มีขนาด เล็กและแบน ซึ่งสามารถใช้งานได้นานประมาณ 2 วัน และสามารถชาร์จได้เรื่อยๆ เมื่อไม่ใช้งานก็มีสวิตซ์เปิดและปิดได้ด้วย

เครื่องนำทางคนตาบอด "ที่ผ่านมาได้ ทดลองโดยให้ผู้พิการทางสายตาได้ใช้จริง เมื่อได้ผลแล้วก็นำมาปรับปรุงเรื่อยๆ เช่น เคยติดตั้งเสียงดัง เพื่อเตือนด้วย แต่ผู้พิการบอกว่า เขาก็ต้องการได้ยินเสียง อื่นๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากเครื่องนี้เสียงดังเพิ่มขึ้นอีกก็จะรบกวนการได้ยินด้านอื่นได้ เครื่องเดิมมีรัศมีการกระทบกับวัตถุเป็นวงกว้างเกินความจำเป็นจึงปรับให้มี รัศมีแคบลง จนได้ระดับที่ใช้งานได้จริง ผู้ใช้มีความพึงพอใจ ส่วนวุตถุที่อยู่ต่ำลงไปก็สามารถใช้ไม้เท้าได้อยู่แล้ว เป็นต้น"

นายสุรพล บอกอีกว่า ปัจจุบันได้นำเครื่องไอโซน่าร์ ไปมอบให้กับผู้พิการทางสายตาภายในสมาคมคนตาบอด จ.เชียงราย แล้ว 75 คน เพื่อให้แจ้งกลับความต้องการเพิ่มเติม และอุปสรรคปัญหา ซึ่งพบว่า ยังไม่มีการแจ้งเรื่องปัญหาอุปสรรคใดๆ กลับมา ทางมหาวิทยาลัยฯจึงทำการจดสิทธิบัตรเครื่องไอโซน่าร์ ซึ่งสามารถลอกเลียนแบบได้ยาก เพราะมีการใส่โปรแกรมควบคุมการทำงานเอาไว้เป็นการเฉพาะด้วย นอกจากนี้เมื่อนำไปจัดแสดงตามกิจกรรมต่างๆทั้งในและต่างประเทศพบว่า ได้รับความสนใจจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ-เอกชน ที่จะนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือคนพิการ ส่วนผู้พิการเองก็บอกต่อๆ กันไปจนคนที่ไม่มีใช้ก็อยากได้ใช้บ้าง

ขั้นตอนต่อไปคือ การพัฒนาให้เข้าสู่สายการผลิตเพื่อนำไปใช้ได้โดยทั่วไป โดยร่วมกับองค์กรที่สนใจ ขณะเดียวกันยังจะมีการพัฒนาเครื่องรุ่นต่อๆ ไป เพื่อให้ผู้ใช้พึงพอใจมากที่สุด เพราะจากการวิจัยที่ผ่านมามีข้อมูลที่เก็บไว้ เช่น ผู้พิการต้องการให้เครื่องสามารถกันน้ำได้ เปิดปิดเองได้เมื่อไม่ใช้ บอกเส้นทางได้ บอกเวลาได้ เป็นต้น

“คาดว่าปลายปี 2557 จะมีเครื่องรุ่นใหม่ออกมาต่อไป และพัฒนาต่อยอดไปถึงการใช้สำหรับช่วยเหลือผู้สูงอายุอีกด้วย”

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000136669 (ขนาดไฟล์: 166)

(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 พ.ย.56 )

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 3/11/2556 เวลา 03:24:42 ดูภาพสไลด์โชว์ อจ.มฟล.เจ๋ง-ทำเครื่องนำทางคนตาบอดทุนแค่พันบาท

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายสุรพล วรภัทราทร อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กับผลงานเครื่องนำทางคนตาบอดเชียงราย - อาจารย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เจ๋ง ประดิษฐ์เครื่อง “ไอโซน่าร์” ช่วยนำทางคนตาบอดสำเร็จ ต้นทุนแค่พันบาท ขณะที่ของนอกราคาเรือนหมื่นขึ้น สามารถช่วยคนใช้รู้ตัวก่อนเดินไปกระทบวัตถุรอบตัว ตั้งแต่เดินเข้าใกล้ระยะ 1.30 เมตร ล่าสุดจดสิทธิบัตรแล้ว พร้อมเตรียมต่อยอดช่วยผู้สูงอายุต่อ สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง แจ้งว่า ได้มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่คือ "เครื่องบอกเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับผู้พิการทางสายตา" ที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก โดยมีชื่อว่าไอโซน่าร์ (iSonar) ซึ่งคิดประดิษฐ์ขึ้นโดยนายสุรพล วรภัทราทร อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างการทำงานของเครื่องนำทางคนตาบอด เครื่องไอโซน่าร์ที่ว่านี้มีขนาดเกือบเท่ากล่องไม้ขีด มีน้ำหนักเบาไม่ถึง 2 กรัม ลักษณะเป็นกล่องสีขาว และมีสายไว้คล้องคอ เพื่อให้เครื่องอยู่ระดับอก และหันส่วนปฏิบัติการออกไปทางด้านหน้า เมื่อผู้คล้องอุปกรณ์เปิดเครื่องและเดินตรงไปห่างจากวัตถุกำแพง ฯลฯ ระยะตั้งแต่ 1.30 เมตรลงมา เครื่องก็จะเริ่มสั่น และยิ่งเดินเข้าไปใกล้วัตถุเครื่องก็จะสั่นไหวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ช่วยให้ผู้พิการทางสายตาสามารถทราบการเข้าใกล้วัตถุที่อยู่ด้านหน้าได้ มีรัศมีแนวกว้างทั้งด้านบน ล่าง ซ้าย ขวา ข้างละ 40 ซม. นายสุรพล กล่าวว่า แรงจูงใจที่ทำให้ประดิษฐ์เครื่องไอโซน่าร์ เพราะช่วงที่ศึกษา และเป็นอาจารย์สอนหนังสือได้ทำงานคลุกคลีกับผู้พิการทางสายตามาตลอด พบเห็นความทุกข์ยากของผู้พิการที่ต้องเดินชนกับวัตถุต่างๆ จนบางครั้งได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะที่ศีรษะ ดังนั้น จึงเริ่มศึกษาอุปกรณ์ที่คนพิการทางสายตาได้ใช้กันทั่วโลก ซึ่งพบว่ามีขนาดใหญ่และใช้ไม่สะดวก รวมทั้งมีราคาแพงตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ขณะที่ผู้คนพิการส่วนใหญ่ในประเทศไทยซึ่งสถิติในปี 2544 มีจำนวน 123,200 คน ยังไม่มีใช้กัน ส่วนใหญ่ใช้เพียงไม้เท้าหรือคนช่วยพยุงไป เครื่องนำทางคนตาบอด เมื่อมีโอกาสได้ทำงานวิจัยร่วมกับทีมงาน ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จึงได้คิดค้นเครื่องไอโซน่าร์ขึ้น โดยใช้เวลาศึกษาวิจัยร่วม 1 ปี มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้พิการในสมาคมคนตาบอด จ.เชียงราย และการศึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์ที่มีวางจำหน่ายอยู่แล้วทั่วโลก จึงสอบถามและโดยนำอุปกรณ์ที่ค้นขึ้นใหม่ไปให้ผู้พิการทดลองใช้ควบ คู่กับการจัดทำวัตถุจำลองที่จะเดินไปกระทบหลายรอบ จนพบผลว่า เครื่องไอโซน่าร์สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีสูงสุด เช่น อัตราการเดินชนวัตถุของส่วนต่างๆ ของร่างกายต่ำลงหรือบางส่วนไม่กระทบเลย และผู้ใช้ยังมีความพึงพอใจสูงสุดเพราะมีคุณสมบัติคือ ใช้งานจริงได้อย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย หรือใช้ได้โดยไม่ต้องถือไว้ในมือ ทำให้เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย รวมทั้งขนาดเล็กและมีต้นทุนต่ำเพียงเครื่องละประมาณ 1,000 บาท นายสุรพล กล่าวอีกว่า รูปแบบการทำงานของเครื่องไอโซน่าร์ใช้ระบบอัลตราโซนิคที่ส่งคลื่นโซน่าร์ความถี่ 40 กิโลเฮิร์ต ซึ่งละเอียดจนมนุษย์ไม่ได้ยิน เพราะมนุษย์เราจะได้ยินในระดับ 20 กิโลเฮิร์ต จากนั้นคลื่นที่กระทบกับวัตถุข้างหน้าจะสะท้อนกลับไปยังตัวรับและควบคุม โดยตัวควบคุมหรือไมโคร คอนโทลเลอร์ จะส่งไปยังตัวสั่นสะเทือนทำให้เกิดการสั่นสะเทือนตั้งแต่ระยะ 1.30 เมตรขึ้นไป และจะค่อยๆ สั่นมากขึ้นเมื่อเข้าไปใกล้วัตถุที่คลื่นไปกระทบมากขึ้น ใช้พลังงานจากแบ๊ตเตอรี่ชนิดเดียวกับที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือที่มีขนาด เล็กและแบน ซึ่งสามารถใช้งานได้นานประมาณ 2 วัน และสามารถชาร์จได้เรื่อยๆ เมื่อไม่ใช้งานก็มีสวิตซ์เปิดและปิดได้ด้วย เครื่องนำทางคนตาบอด "ที่ผ่านมาได้ ทดลองโดยให้ผู้พิการทางสายตาได้ใช้จริง เมื่อได้ผลแล้วก็นำมาปรับปรุงเรื่อยๆ เช่น เคยติดตั้งเสียงดัง เพื่อเตือนด้วย แต่ผู้พิการบอกว่า เขาก็ต้องการได้ยินเสียง อื่นๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากเครื่องนี้เสียงดังเพิ่มขึ้นอีกก็จะรบกวนการได้ยินด้านอื่นได้ เครื่องเดิมมีรัศมีการกระทบกับวัตถุเป็นวงกว้างเกินความจำเป็นจึงปรับให้มี รัศมีแคบลง จนได้ระดับที่ใช้งานได้จริง ผู้ใช้มีความพึงพอใจ ส่วนวุตถุที่อยู่ต่ำลงไปก็สามารถใช้ไม้เท้าได้อยู่แล้ว เป็นต้น" นายสุรพล บอกอีกว่า ปัจจุบันได้นำเครื่องไอโซน่าร์ ไปมอบให้กับผู้พิการทางสายตาภายในสมาคมคนตาบอด จ.เชียงราย แล้ว 75 คน เพื่อให้แจ้งกลับความต้องการเพิ่มเติม และอุปสรรคปัญหา ซึ่งพบว่า ยังไม่มีการแจ้งเรื่องปัญหาอุปสรรคใดๆ กลับมา ทางมหาวิทยาลัยฯจึงทำการจดสิทธิบัตรเครื่องไอโซน่าร์ ซึ่งสามารถลอกเลียนแบบได้ยาก เพราะมีการใส่โปรแกรมควบคุมการทำงานเอาไว้เป็นการเฉพาะด้วย นอกจากนี้เมื่อนำไปจัดแสดงตามกิจกรรมต่างๆทั้งในและต่างประเทศพบว่า ได้รับความสนใจจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ-เอกชน ที่จะนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือคนพิการ ส่วนผู้พิการเองก็บอกต่อๆ กันไปจนคนที่ไม่มีใช้ก็อยากได้ใช้บ้าง ขั้นตอนต่อไปคือ การพัฒนาให้เข้าสู่สายการผลิตเพื่อนำไปใช้ได้โดยทั่วไป โดยร่วมกับองค์กรที่สนใจ ขณะเดียวกันยังจะมีการพัฒนาเครื่องรุ่นต่อๆ ไป เพื่อให้ผู้ใช้พึงพอใจมากที่สุด เพราะจากการวิจัยที่ผ่านมามีข้อมูลที่เก็บไว้ เช่น ผู้พิการต้องการให้เครื่องสามารถกันน้ำได้ เปิดปิดเองได้เมื่อไม่ใช้ บอกเส้นทางได้ บอกเวลาได้ เป็นต้น “คาดว่าปลายปี 2557 จะมีเครื่องรุ่นใหม่ออกมาต่อไป และพัฒนาต่อยอดไปถึงการใช้สำหรับช่วยเหลือผู้สูงอายุอีกด้วย” ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000136669 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 พ.ย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...