ไอบีเอ็มเผย 5 นวัตกรรมเปลี่ยนชีวิต

แสดงความคิดเห็น

ไอบีเอ็มเผย 5 นวัตกรรมเปลี่ยนชีวิต

ไอบีเอ็มเผยรายงานประจำปี “ไอบีเอ็ม ไฟว์ อิน ไฟว์ (IBM 5 in 5)” ฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ทั่วโลกติดต่อกันมาเป็นปีที่ 8 แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมที่มีแนวโน้มเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การทำงาน และการติดต่อสื่อสารของเราในอนาคตอีก 5 ปีข้างหน้า โดยศึกษาจากแนวโน้มของตลาดและสังคม ประกอบกับความล้ำหน้าของเทคโนโลยีจากห้องปฏิบัติการทั่วโลกของไอบีเอ็ม ซึ่งส่งผลให้นวัตกรรมเกิดขึ้นและใช้งานได้จริง

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ไอบีเอ็ม ไฟว์ อิน ไฟว์ ในปีนี้เน้นการศึกษาต่อยอดจากแนวคิดที่ว่าในอนาคตทุกสิ่งจะสามารถเรียนรู้ได้ โดยเชื่อว่าขณะนี้เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่ระบบต่าง ๆ มีความสามารถในการเข้าใจ ได้รับการฝึกฝนและสื่อสารกับเราได้ใกล้เคียงกับการสื่อสารของมนุษย์มากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้นยังเฉพาะเจาะจงถึงระดับปัจเจกบุคคลมากขึ้นด้วย ซึ่งเบื้องหลังความสามารถเหล่านี้ขับเคลื่อนมาจากการผสมผสานของทั้งคลาวด์ คอมพิวติ้ง บิ๊กดาต้า การวิเคราะห์ผลขั้นสูง ระบบเพื่อสร้างการเรียนรู้ ตลอดจนระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง ทั้งนี้ในช่วง 5 ปีข้างหน้านี้ ไอบีเอ็มคาดว่านวัตกรรมทั้ง 5 ต่อไปนี้ จะมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในระดับปัจเจกบุคคล

โดยนวัตกรรมแรกก็คือ ห้องเรียนจะรู้จักนักเรียนในอนาคตอันใกล้นี้ ห้องเรียนจะรู้จักนักเรียนแต่ละคนจากข้อมูลประจำตัว ต่าง ๆ เช่น ผลการสอบ การเข้าเรียน และพฤติกรรมการเรียนผ่านอีเลิร์นนิ่ง โดยเมื่อข้อมูลทั้งหลายได้รับการวิเคราะห์เชิงลึก โดยผู้สอนจะสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่านักเรียนคนใดมีปัญหา อะไรคือข้อบกพร่อง รวมไปถึงเสนอหลักสูตรที่เหมาะสมกับเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคนตั้งแต่ระดับ อนุบาลไปจนถึงเข้าทำงาน

นวัตกรรมต่อมาคือ การชอปปิงที่ร้านจะกลับมาชนะการชอปปิงออนไลน์ แม้ว่ายอดการชอปปิงออนไลน์จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแตะ 1 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรกในปีที่ผ่านมา แต่ในอนาคตการชอปปิงตามห้างร้านจะกลับมาคึกคักอีกครั้งโดยอาศัยความรวดเร็ว และความใกล้ชิดกับลูกค้าเป็นข้อได้เปรียบ และในอีก 5 ปีข้างหน้าร้านค้าจะใช้เทคโนโลยีที่มีความสามารถในการประมวลผลขั้นสูงจาก ข้อมูลมหาศาลมาช่วยให้ผู้ขายมีความเชี่ยวชาญในสินค้าทุกชิ้นของร้าน

เมื่อประกอบกับข้อมูลพฤติกรรมการซื้อและข้อมูลย้อนหลังต่าง ๆ ที่ถูกประมวลขึ้นมาผ่านอุปกรณ์โมบาย ผู้ขายจะรู้จักลูกค้าทันทีเมื่อลูกค้าก้าวเข้ามาในร้านเสมือนนำประสบการณ์ การชอปปิงออนไลน์มาไว้ในที่ซึ่งลูกค้าสามารถจับต้องสินค้าได้ จึงช่วยขยายประสบการณ์การจับจ่ายของลูกค้าและทำให้ร้านค้าสามารถสนองตอบความ ต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคลได้ตรงใจ

นวัตกรรมที่สาม คือ หมอจะใช้ดีเอ็นเอของผู้ป่วยในการรักษา อย่างเช่น โรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกถึงปีละ 8.1 ล้านคน หากการบำบัดรักษาได้รับการออกแบบให้เหมาะสมจากการวิเคราะห์เชิงลึกถึงดีเอ็น เอ ข้อมูลทางพันธุกรรม รวมถึงการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย จะสร้างความแม่นยำและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามากยิ่งขึ้น

ซึ่งในอีก 5 ปี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีบิ๊ก ดาต้าและการประมวลผลขั้นสูง คลาวด์คอมพิวติ้ง ผนวกกับการศึกษาทางพันธุกรรม จะช่วยให้หมอวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดมะเร็งและออกแบบการรักษาได้เฉพาะ เจาะจงต่อผู้ป่วยแต่ละคนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบคลาวด์-เบสยังจะช่วยให้หมอเข้าถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการรักษาได้อย่างกว้างขวาง

นวัตกรรมที่สี่คือ ผู้คุ้มครองดิจิทัลจะปกป้องคุณในโลกออนไลน์ ทั้งนี้ ในปี ค.ศ. 2012 รวมผู้เสียหายจากมิจฉาชีพในโลกออนไลน์ในอเมริกาเพียงประเทศเดียวมียอดถึง 12 ล้านคน การรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ที่เราเคยใช้ เช่น พาสเวิร์ด โปรแกรมป้องกันไวรัส และไฟร์ วอลล์ จึงอาจไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะวิธีดังกล่าวเป็นการป้องกันการคุกคามที่เรารู้จักมันมาก่อนและสามารถหา หนทางในการป้องกันได้แล้ว แต่ในอนาคตเราจะมีผู้คุ้มครองดิจิทัลดูแลแต่ละคนเพื่อลดความเสี่ยงในการ ท่องโลกออนไลน์ โดยผู้คุ้มครองดิจิทัลนี้จะใช้เรียนรู้พฤติกรรมการใช้งานของเราทุกบริบท แต่ละสถานการณ์ ในทุกอุปกรณ์การเชื่อมต่อ ดังนั้นมันจะรู้ว่ากิจกรรมใดสมเหตุสมผลและอันใดที่ไม่ใช่ จากนั้นมันให้คำแนะนำกับเราได้ว่าควรทำอย่างไรเมื่อเกิดกิจกรรมที่ไม่น่าไว้ ใจ

และนวัตกรรมที่ห้า เมืองจะตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัย จากการคาดการณ์ว่า ภายในปี ค.ศ. 2030 คน 80 เปอร์เซ็นต์จะอาศัยในเมืองใหญ่ ในประเทศที่กำลังพัฒนาและในปี ค.ศ. 2050 ประชากร 7 ใน 10 คน จะเป็นผู้อยู่อาศัยในเมือง เมืองอันชาญฉลาดในอีก 5 ปีข้างหน้าจะรับรู้เหตุการณ์นับล้านที่เกิดขึ้นในเมืองแบบเรียลไทม์ เข้าใจว่าคนต้องการอะไร ชอบหรือไม่พอใจอะไร รวมถึงพวกเขาใช้เส้นทางกันอย่างไร

โดยข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากผู้อยู่อาศัยเองจากทั้งอุปกรณ์มือถือและการปฏิสัมพันธ์ในโลกโซเชียลต่าง ๆ ดังนั้นผู้นำของเมืองจะตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นว่าเมืองต้องการอะไร ที่ไหนและเมื่อไร ทำให้การพัฒนาเมืองสนองตอบความต้องการของผู้คนจริงๆ อีกทั้งยังสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในเมืองและผู้นำอีกด้วย.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/IT/209836/ไอบีเอ็มเผย+5+นวัตกรรมเปลี่ยนชีวิต (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ม.ค.57

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 21/01/2557 เวลา 03:25:22 ดูภาพสไลด์โชว์ ไอบีเอ็มเผย 5 นวัตกรรมเปลี่ยนชีวิต

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ไอบีเอ็มเผย 5 นวัตกรรมเปลี่ยนชีวิต ไอบีเอ็มเผยรายงานประจำปี “ไอบีเอ็ม ไฟว์ อิน ไฟว์ (IBM 5 in 5)” ฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ทั่วโลกติดต่อกันมาเป็นปีที่ 8 แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมที่มีแนวโน้มเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การทำงาน และการติดต่อสื่อสารของเราในอนาคตอีก 5 ปีข้างหน้า โดยศึกษาจากแนวโน้มของตลาดและสังคม ประกอบกับความล้ำหน้าของเทคโนโลยีจากห้องปฏิบัติการทั่วโลกของไอบีเอ็ม ซึ่งส่งผลให้นวัตกรรมเกิดขึ้นและใช้งานได้จริง นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ไอบีเอ็ม ไฟว์ อิน ไฟว์ ในปีนี้เน้นการศึกษาต่อยอดจากแนวคิดที่ว่าในอนาคตทุกสิ่งจะสามารถเรียนรู้ได้ โดยเชื่อว่าขณะนี้เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่ระบบต่าง ๆ มีความสามารถในการเข้าใจ ได้รับการฝึกฝนและสื่อสารกับเราได้ใกล้เคียงกับการสื่อสารของมนุษย์มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นยังเฉพาะเจาะจงถึงระดับปัจเจกบุคคลมากขึ้นด้วย ซึ่งเบื้องหลังความสามารถเหล่านี้ขับเคลื่อนมาจากการผสมผสานของทั้งคลาวด์ คอมพิวติ้ง บิ๊กดาต้า การวิเคราะห์ผลขั้นสูง ระบบเพื่อสร้างการเรียนรู้ ตลอดจนระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง ทั้งนี้ในช่วง 5 ปีข้างหน้านี้ ไอบีเอ็มคาดว่านวัตกรรมทั้ง 5 ต่อไปนี้ จะมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในระดับปัจเจกบุคคล โดยนวัตกรรมแรกก็คือ ห้องเรียนจะรู้จักนักเรียนในอนาคตอันใกล้นี้ ห้องเรียนจะรู้จักนักเรียนแต่ละคนจากข้อมูลประจำตัว ต่าง ๆ เช่น ผลการสอบ การเข้าเรียน และพฤติกรรมการเรียนผ่านอีเลิร์นนิ่ง โดยเมื่อข้อมูลทั้งหลายได้รับการวิเคราะห์เชิงลึก โดยผู้สอนจะสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่านักเรียนคนใดมีปัญหา อะไรคือข้อบกพร่อง รวมไปถึงเสนอหลักสูตรที่เหมาะสมกับเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคนตั้งแต่ระดับ อนุบาลไปจนถึงเข้าทำงาน นวัตกรรมต่อมาคือ การชอปปิงที่ร้านจะกลับมาชนะการชอปปิงออนไลน์ แม้ว่ายอดการชอปปิงออนไลน์จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแตะ 1 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรกในปีที่ผ่านมา แต่ในอนาคตการชอปปิงตามห้างร้านจะกลับมาคึกคักอีกครั้งโดยอาศัยความรวดเร็ว และความใกล้ชิดกับลูกค้าเป็นข้อได้เปรียบ และในอีก 5 ปีข้างหน้าร้านค้าจะใช้เทคโนโลยีที่มีความสามารถในการประมวลผลขั้นสูงจาก ข้อมูลมหาศาลมาช่วยให้ผู้ขายมีความเชี่ยวชาญในสินค้าทุกชิ้นของร้าน เมื่อประกอบกับข้อมูลพฤติกรรมการซื้อและข้อมูลย้อนหลังต่าง ๆ ที่ถูกประมวลขึ้นมาผ่านอุปกรณ์โมบาย ผู้ขายจะรู้จักลูกค้าทันทีเมื่อลูกค้าก้าวเข้ามาในร้านเสมือนนำประสบการณ์ การชอปปิงออนไลน์มาไว้ในที่ซึ่งลูกค้าสามารถจับต้องสินค้าได้ จึงช่วยขยายประสบการณ์การจับจ่ายของลูกค้าและทำให้ร้านค้าสามารถสนองตอบความ ต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคลได้ตรงใจ นวัตกรรมที่สาม คือ หมอจะใช้ดีเอ็นเอของผู้ป่วยในการรักษา อย่างเช่น โรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกถึงปีละ 8.1 ล้านคน หากการบำบัดรักษาได้รับการออกแบบให้เหมาะสมจากการวิเคราะห์เชิงลึกถึงดีเอ็น เอ ข้อมูลทางพันธุกรรม รวมถึงการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย จะสร้างความแม่นยำและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามากยิ่งขึ้น ซึ่งในอีก 5 ปี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีบิ๊ก ดาต้าและการประมวลผลขั้นสูง คลาวด์คอมพิวติ้ง ผนวกกับการศึกษาทางพันธุกรรม จะช่วยให้หมอวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดมะเร็งและออกแบบการรักษาได้เฉพาะ เจาะจงต่อผู้ป่วยแต่ละคนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบคลาวด์-เบสยังจะช่วยให้หมอเข้าถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการรักษาได้อย่างกว้างขวาง นวัตกรรมที่สี่คือ ผู้คุ้มครองดิจิทัลจะปกป้องคุณในโลกออนไลน์ ทั้งนี้ ในปี ค.ศ. 2012 รวมผู้เสียหายจากมิจฉาชีพในโลกออนไลน์ในอเมริกาเพียงประเทศเดียวมียอดถึง 12 ล้านคน การรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ที่เราเคยใช้ เช่น พาสเวิร์ด โปรแกรมป้องกันไวรัส และไฟร์ วอลล์ จึงอาจไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะวิธีดังกล่าวเป็นการป้องกันการคุกคามที่เรารู้จักมันมาก่อนและสามารถหา หนทางในการป้องกันได้แล้ว แต่ในอนาคตเราจะมีผู้คุ้มครองดิจิทัลดูแลแต่ละคนเพื่อลดความเสี่ยงในการ ท่องโลกออนไลน์ โดยผู้คุ้มครองดิจิทัลนี้จะใช้เรียนรู้พฤติกรรมการใช้งานของเราทุกบริบท แต่ละสถานการณ์ ในทุกอุปกรณ์การเชื่อมต่อ ดังนั้นมันจะรู้ว่ากิจกรรมใดสมเหตุสมผลและอันใดที่ไม่ใช่ จากนั้นมันให้คำแนะนำกับเราได้ว่าควรทำอย่างไรเมื่อเกิดกิจกรรมที่ไม่น่าไว้ ใจ และนวัตกรรมที่ห้า เมืองจะตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัย จากการคาดการณ์ว่า ภายในปี ค.ศ. 2030 คน 80 เปอร์เซ็นต์จะอาศัยในเมืองใหญ่ ในประเทศที่กำลังพัฒนาและในปี ค.ศ. 2050 ประชากร 7 ใน 10 คน จะเป็นผู้อยู่อาศัยในเมือง เมืองอันชาญฉลาดในอีก 5 ปีข้างหน้าจะรับรู้เหตุการณ์นับล้านที่เกิดขึ้นในเมืองแบบเรียลไทม์ เข้าใจว่าคนต้องการอะไร ชอบหรือไม่พอใจอะไร รวมถึงพวกเขาใช้เส้นทางกันอย่างไร โดยข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากผู้อยู่อาศัยเองจากทั้งอุปกรณ์มือถือและการปฏิสัมพันธ์ในโลกโซเชียลต่าง ๆ ดังนั้นผู้นำของเมืองจะตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นว่าเมืองต้องการอะไร ที่ไหนและเมื่อไร ทำให้การพัฒนาเมืองสนองตอบความต้องการของผู้คนจริงๆ อีกทั้งยังสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในเมืองและผู้นำอีกด้วย. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/IT/209836/ไอบีเอ็มเผย+5+นวัตกรรมเปลี่ยนชีวิต เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ม.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...