นวัตกรรม "เนิร์สอาย" เพื่อดูแลผู้สูงอายุ

แสดงความคิดเห็น

นวัตกรรม "เนิร์สอาย" เพื่อดูแลผู้สูงอายุ

นักวิจัยจากสถาบัน ฟรอนฮอฟเฟอร์ ในประเทศเยอรมนี พัฒนาระบบวิดีโอเพื่อการติดตามดูแลสำหรับติดตั้งในโรงพยาบาลหรือบ้านที่ให้ บริการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อแก้ปัญหาภาวะขาดแคลนบุคลากรทางด้านการแพทย์ หรือพยาบาล ในขณะที่ปริมาณผู้สูงอายุในแต่ละสังคมมีเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

"เนิร์สอาย" เป็นนวัตกรรมใหม่ที่คิดค้นเพิ่มเติมมาจากระบบการติดตามตรวจสอบด้วยวิดีโอ ทั่วๆ ไป เพราะไม่เพียงสามารถตรวจจับได้ว่ามีผู้สูงอายุรายไหนหกล้ม ตกบันได ฯลฯ แล้ว ยังสามารถบ่งชี้ได้ด้วยว่ามีผู้สูงอายุคนไหนตกอยู่ในภาวะกดดันทางจิตใจหรือเกิดอาการหดหู่ซึมเศร้าหรือไม่

เป้าหมายของ "เนิร์สอาย" ก็เพื่อให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนและทำให้การทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการดูแล และพยาบาลทั้งหลาย ระบบดังกล่าวนี้จำเป็นต้องมีกล้องวิดีโอติดตั้งไว้ตามมุมบ้าน หรือเฉลียงที่ลับตาของสถานที่ เพื่อทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับภาพป้อนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ติด ตั้งซอฟต์แวร์ จดจำใบหน้า (เฟซ รีคอกนิชั่น) ที่สามารถเปรียบเทียบใบหน้าปกติของผู้สูงอายุกับลักษณะของใบหน้าที่เปลี่ยน แปลงไปเมื่อเกิดอาการซึมเศร้าหรือหดหู่ ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะทำหน้าที่ประมวล ประเมินเพื่อส่งสัญญาณเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือของพนักงานประจำสถานพยาบาลหรือสถานรับดูแลผู้สูงอายุโดยอัตโนมัติ

เมื่อพนักงานหรือพยาบาลได้ รับสัญญาณแจ้งเตือน ก็สามารถเข้าถึงภาพวิดีโอดังกล่าวได้ในทันทีเพื่อให้ได้รับรู้ตำแหน่งที่แน่ชัดของผู้สูงอายุรายนั้นว่าอยู่ตรงจุดไหนกันแน่ ก่อนให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนตามความเหมาะสมต่อไป

นายเอริค เครมเปล หัวหน้าโครงการเนิร์สอาย ระบุว่า ปัญหาท้าทายที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาระบบวิดีโอดังกล่าวก็คือ ทำอย่างไรถึงสามารถทำให้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวนี้ทำงานร่วมกับระบบวิดีโอวงจรปิด ที่มีขายกันอยู่ทั่วไปได้ และติดตามหรือเตือนให้พนักงานได้รับรู้ถึงความผิดปกติในความรู้สึกของผู้สูง อายุได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ในทางเทคนิค ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ไม่ยากนัก ด้วยการใช้กล้องวิดีโอที่ทำงานแบบสเตอริโอ อย่างไรก็ตาม กล้องดังกล่าวมีราคาแพงและจะส่งผลกระทบต่อการยอมรับและนำเอาระบบนี้ไปใช้งานเนื่องจากต้นทุนในการลงทุนมีสูงเกินไป

ความยุ่งยากประการถัดมา ก็คือปัญหาในเชิงกฎหมายว่าด้วยความเป็นส่วนตัว ซึ่งในประเทศตะวันตกมีความอ่อนไหวมาก จึงจำเป็นต้องมีระบบป้องกันข้อมูลที่อยู่ในระบบในระดับที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้แน่ใจได้ว่า ทุกอย่างยังคงเป็นความลับ ข้อมูลจากกล้องวิดีโอทุกตัว ผ่านการวิเคราะห์ประเมินด้วยซอฟต์แวร์พิเศษเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ หรือพยาบาลก็ไม่สามารถขอดูได้ เว้นเสียแต่จะเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้นเท่านั้น

ระบบปฏิบัติการเนิร์สอาย ยังคงเป็นระบบต้นแบบที่อยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุง นายเครมเปลเชื่อว่า ในอนาคตหากระบบนี้สามารถพัฒนาจนมีประสิทธิภาพ แม่นยำสูงสุด ผู้ที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินอาจไม่ใช่พยาบาล หรือบุรุษพยาบาลอีกต่อไปแต่อาจเป็นหุ่นยนต์พยาบาลก็เป็นได้

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395634620

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 มี.ค.57

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 25/03/2557 เวลา 04:01:39 ดูภาพสไลด์โชว์ นวัตกรรม "เนิร์สอาย" เพื่อดูแลผู้สูงอายุ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นวัตกรรม \"เนิร์สอาย\" เพื่อดูแลผู้สูงอายุ นักวิจัยจากสถาบัน ฟรอนฮอฟเฟอร์ ในประเทศเยอรมนี พัฒนาระบบวิดีโอเพื่อการติดตามดูแลสำหรับติดตั้งในโรงพยาบาลหรือบ้านที่ให้ บริการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อแก้ปัญหาภาวะขาดแคลนบุคลากรทางด้านการแพทย์ หรือพยาบาล ในขณะที่ปริมาณผู้สูงอายุในแต่ละสังคมมีเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ "เนิร์สอาย" เป็นนวัตกรรมใหม่ที่คิดค้นเพิ่มเติมมาจากระบบการติดตามตรวจสอบด้วยวิดีโอ ทั่วๆ ไป เพราะไม่เพียงสามารถตรวจจับได้ว่ามีผู้สูงอายุรายไหนหกล้ม ตกบันได ฯลฯ แล้ว ยังสามารถบ่งชี้ได้ด้วยว่ามีผู้สูงอายุคนไหนตกอยู่ในภาวะกดดันทางจิตใจหรือเกิดอาการหดหู่ซึมเศร้าหรือไม่ เป้าหมายของ "เนิร์สอาย" ก็เพื่อให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนและทำให้การทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการดูแล และพยาบาลทั้งหลาย ระบบดังกล่าวนี้จำเป็นต้องมีกล้องวิดีโอติดตั้งไว้ตามมุมบ้าน หรือเฉลียงที่ลับตาของสถานที่ เพื่อทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับภาพป้อนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ติด ตั้งซอฟต์แวร์ จดจำใบหน้า (เฟซ รีคอกนิชั่น) ที่สามารถเปรียบเทียบใบหน้าปกติของผู้สูงอายุกับลักษณะของใบหน้าที่เปลี่ยน แปลงไปเมื่อเกิดอาการซึมเศร้าหรือหดหู่ ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะทำหน้าที่ประมวล ประเมินเพื่อส่งสัญญาณเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือของพนักงานประจำสถานพยาบาลหรือสถานรับดูแลผู้สูงอายุโดยอัตโนมัติ เมื่อพนักงานหรือพยาบาลได้ รับสัญญาณแจ้งเตือน ก็สามารถเข้าถึงภาพวิดีโอดังกล่าวได้ในทันทีเพื่อให้ได้รับรู้ตำแหน่งที่แน่ชัดของผู้สูงอายุรายนั้นว่าอยู่ตรงจุดไหนกันแน่ ก่อนให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนตามความเหมาะสมต่อไป นายเอริค เครมเปล หัวหน้าโครงการเนิร์สอาย ระบุว่า ปัญหาท้าทายที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาระบบวิดีโอดังกล่าวก็คือ ทำอย่างไรถึงสามารถทำให้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวนี้ทำงานร่วมกับระบบวิดีโอวงจรปิด ที่มีขายกันอยู่ทั่วไปได้ และติดตามหรือเตือนให้พนักงานได้รับรู้ถึงความผิดปกติในความรู้สึกของผู้สูง อายุได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ในทางเทคนิค ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ไม่ยากนัก ด้วยการใช้กล้องวิดีโอที่ทำงานแบบสเตอริโอ อย่างไรก็ตาม กล้องดังกล่าวมีราคาแพงและจะส่งผลกระทบต่อการยอมรับและนำเอาระบบนี้ไปใช้งานเนื่องจากต้นทุนในการลงทุนมีสูงเกินไป ความยุ่งยากประการถัดมา ก็คือปัญหาในเชิงกฎหมายว่าด้วยความเป็นส่วนตัว ซึ่งในประเทศตะวันตกมีความอ่อนไหวมาก จึงจำเป็นต้องมีระบบป้องกันข้อมูลที่อยู่ในระบบในระดับที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้แน่ใจได้ว่า ทุกอย่างยังคงเป็นความลับ ข้อมูลจากกล้องวิดีโอทุกตัว ผ่านการวิเคราะห์ประเมินด้วยซอฟต์แวร์พิเศษเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ หรือพยาบาลก็ไม่สามารถขอดูได้ เว้นเสียแต่จะเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้นเท่านั้น ระบบปฏิบัติการเนิร์สอาย ยังคงเป็นระบบต้นแบบที่อยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุง นายเครมเปลเชื่อว่า ในอนาคตหากระบบนี้สามารถพัฒนาจนมีประสิทธิภาพ แม่นยำสูงสุด ผู้ที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินอาจไม่ใช่พยาบาล หรือบุรุษพยาบาลอีกต่อไปแต่อาจเป็นหุ่นยนต์พยาบาลก็เป็นได้ ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395634620 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...