เปิดไฟให้คนตาบอด

แสดงความคิดเห็น

ถ้าพูดถึงความช่วยเหลือจากโลกไซเบอร์ไปยังคนตาบอด (ผมหมายรวมถึงคนตาบอดและกลุ่มผู้พิการทางสายตาอื่น ๆ ด้วยนะครับ) มีแอพพลิเคชั่นจำนวนมากถูกสร้างขึ้นมาก่อนหน้านี้ ถ้าจะไล่เรียงกันก็อย่างเช่น กลุ่มอ่านหน้าจอ (Screen Reader) กลุ่มหนังสือเสียง (อย่าง Chula Daisy) หรือกลุ่มที่กำลังเกิดใหม่ในปัจจุบัน คือ กลุ่มที่พยายามถ่ายทอดข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวให้คนตาบอดได้รับรู้ เช่น แอพ อย่าง Be My Eyes ที่ระดมคนในแบบคราวด์ซอร์สซิง (Crowdsourcing) ที่กลุ่มคนในโลกไซเบอร์ถ่ายทอดข้อมูลในภาพที่ส่งมาจากคนตาบอด เพื่ออธิบายคนตาบอดเหล่านั้นได้รู้ว่าภาพนั้นคืออะไร หรืออย่าง แอพพลิเคชั่นของทีมงานจากภาควิชาวิศว กรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Bright Sight ทำหน้าที่อ่านข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจากภาพถ่ายหรือภาพสแกนเอกสาร ให้คนตาบอดได้ฟัง หรือล่าสุดจากมหาวิทยาลัยแห่งลินคอล์น (University of Lincoln) ที่ นำอุปกรณ์พิเศษ ซึ่งสามารถวัดระยะ และ ถ่ายภาพ ในแบบเดียวกันกับโครงการแทงโก้ (Tango) ของกูเกิลที่มีเซ็นเซอร์วัดระยะใช้งานร่วมกับกล้องถ่ายภาพ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงจุดต่าง ๆ ในภาพที่ได้กับระยะทางจากจุดนั้นมายังกล้อง

มือถือแบบสมาร์ทโฟน

ระบบในกลุ่มหลังนี้ คือ ความพยายามในการอธิบาย หรือบอกเล่าข้อมูลของสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้กับคนตาบอดได้รับรู้ แต่จริง ๆ แล้วยังมีความพยายามอีกหลายช่องทางสำหรับนักพัฒนาที่สนใจจะช่วยเหลือคนตาบอดได้ลองทำ ซึ่งหลาย ๆ ช่องทางนั้น อาจรวมเอาความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันของผู้พัฒนามาใส่ลงไปในระบบ เช่น ในกรณีของมหาวิทยาลัยแห่งลินคอล์นได้เพิ่มความสามารถพิเศษทางด้านการวัดระยะ มีมิติของระยะทางเพิ่มเข้าไป ในภาพ ทำให้คนตาบอดได้รับรู้ข้อมูล ในเชิงระยะทาง ซึ่งแตกต่างจากการอ่านภาพโดยทั่วไป การให้ข้อมูลแบบนี้ จะช่วยคนตาบอดได้เป็นอย่างดี สามารถบอกได้ว่า สิ่งต่าง ๆ ในภาพนั้น อยู่ห่างออกไปเท่าไร เมื่อคนตาบอดต้องไปในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย จะสามารถรู้ได้ว่า สิ่งที่อยู่ตรงหน้านั้นห่างออกไปเท่าใด

มีความพยายามอีกรูปแบบหนึ่งในกลุ่มนี้ จากนิสิตในโครงการอินโนเวชันฮับ (Innovation Hub) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังสร้างโครงการชื่อ “เปิดไฟให้คนตาบอด” ด้วยการสร้างอุปกรณ์พิเศษ ที่ติดตั้งไว้ในสถานที่ใด ๆ ก็ได้ เมื่อคนตาบอดเดินเข้าไปในระยะทางที่ตั้งไว้ จะมีเสียงพูด อธิบายถึงสภาพแวดล้อมภายในห้อง หรือสภาพแวดล้อมตรงนั้น จะทำให้ตาบอดได้รับรู้ถึงสภาพแวดล้อมตรงนั้น โดยไม่ต้องร้องขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เปรียบเสมือนกับการที่คนปกติ เดินเข้าไปในห้องห้องหนึ่งที่มีแสงสว่างเตรียมไว้ให้ คนปกติเหล่านั้นก็จะสามารถมองเห็นและรับรู้ถึงสภาพแวดล้อมตรงนั้นได้ เพียงแต่หลอดไฟส่องสว่างเหล่านั้น เกิดจากคนปกติที่เตรียมไว้ให้คนปกติ หากพวกเราในฐานะคนสร้างและพัฒนาคำนึงถึงเรื่องละเอียดอ่อนเหล่านั้น เราก็จะสามารถทำให้คนตาบอดรับรู้ข้อมูลของสถานที่และสภาพแวดล้อมตรงนั้นได้...ไม่ต่างจากเรา

จริง ๆ แล้ว ท่านผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้อ่านที่เป็นผู้บริหาร เป็นเจ้าของกิจการ หรือเป็นนักพัฒนา ยังสามารถใช้ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญของตนเองในการสร้างช่องทางอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือคนตาบอดหรือคนพิการอื่น ๆ ได้ เพียงแต่ต้องเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เข้าใจในสถานการณ์ที่จะใช้จริง ๆ “อย่างละเอียด” เช่น ถ้าอยากสร้างระบบสำหรับคนตาบอด ก็ต้องเข้าใจว่า คนตาบอดใช้ชีวิตอยู่อย่างไร ตรงไหน คือ ความสามารถที่เขาเหล่านั้นมีอยู่แล้ว ตรงไหนคือความสามารถที่เขามีโดดเด่นกว่าคนทั่วไป ตรงไหนเราสามารถช่วยได้ อะไรคือส่วนที่เขาอยากได้ อะไรที่เขาไม่ต้องการ

ถ้ามองโลกและเข้าใจคนอื่น ๆ รับรู้ถึงศักยภาพและขีดความสามารถที่เขาเหล่านั้นมี เราจะสามารถสร้างระบบที่ช่วยให้คนทุกคนสามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างเท่าเทียมกันและเป็นสุขได้นะครับ.“

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/it/332150 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย3ก.ค.58
วันที่โพสต์: 3/07/2558 เวลา 11:35:06 ดูภาพสไลด์โชว์ เปิดไฟให้คนตาบอด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ถ้าพูดถึงความช่วยเหลือจากโลกไซเบอร์ไปยังคนตาบอด (ผมหมายรวมถึงคนตาบอดและกลุ่มผู้พิการทางสายตาอื่น ๆ ด้วยนะครับ) มีแอพพลิเคชั่นจำนวนมากถูกสร้างขึ้นมาก่อนหน้านี้ ถ้าจะไล่เรียงกันก็อย่างเช่น กลุ่มอ่านหน้าจอ (Screen Reader) กลุ่มหนังสือเสียง (อย่าง Chula Daisy) หรือกลุ่มที่กำลังเกิดใหม่ในปัจจุบัน คือ กลุ่มที่พยายามถ่ายทอดข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวให้คนตาบอดได้รับรู้ เช่น แอพ อย่าง Be My Eyes ที่ระดมคนในแบบคราวด์ซอร์สซิง (Crowdsourcing) ที่กลุ่มคนในโลกไซเบอร์ถ่ายทอดข้อมูลในภาพที่ส่งมาจากคนตาบอด เพื่ออธิบายคนตาบอดเหล่านั้นได้รู้ว่าภาพนั้นคืออะไร หรืออย่าง แอพพลิเคชั่นของทีมงานจากภาควิชาวิศว กรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Bright Sight ทำหน้าที่อ่านข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจากภาพถ่ายหรือภาพสแกนเอกสาร ให้คนตาบอดได้ฟัง หรือล่าสุดจากมหาวิทยาลัยแห่งลินคอล์น (University of Lincoln) ที่ นำอุปกรณ์พิเศษ ซึ่งสามารถวัดระยะ และ ถ่ายภาพ ในแบบเดียวกันกับโครงการแทงโก้ (Tango) ของกูเกิลที่มีเซ็นเซอร์วัดระยะใช้งานร่วมกับกล้องถ่ายภาพ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงจุดต่าง ๆ ในภาพที่ได้กับระยะทางจากจุดนั้นมายังกล้อง มือถือแบบสมาร์ทโฟน ระบบในกลุ่มหลังนี้ คือ ความพยายามในการอธิบาย หรือบอกเล่าข้อมูลของสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้กับคนตาบอดได้รับรู้ แต่จริง ๆ แล้วยังมีความพยายามอีกหลายช่องทางสำหรับนักพัฒนาที่สนใจจะช่วยเหลือคนตาบอดได้ลองทำ ซึ่งหลาย ๆ ช่องทางนั้น อาจรวมเอาความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันของผู้พัฒนามาใส่ลงไปในระบบ เช่น ในกรณีของมหาวิทยาลัยแห่งลินคอล์นได้เพิ่มความสามารถพิเศษทางด้านการวัดระยะ มีมิติของระยะทางเพิ่มเข้าไป ในภาพ ทำให้คนตาบอดได้รับรู้ข้อมูล ในเชิงระยะทาง ซึ่งแตกต่างจากการอ่านภาพโดยทั่วไป การให้ข้อมูลแบบนี้ จะช่วยคนตาบอดได้เป็นอย่างดี สามารถบอกได้ว่า สิ่งต่าง ๆ ในภาพนั้น อยู่ห่างออกไปเท่าไร เมื่อคนตาบอดต้องไปในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย จะสามารถรู้ได้ว่า สิ่งที่อยู่ตรงหน้านั้นห่างออกไปเท่าใด มีความพยายามอีกรูปแบบหนึ่งในกลุ่มนี้ จากนิสิตในโครงการอินโนเวชันฮับ (Innovation Hub) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังสร้างโครงการชื่อ “เปิดไฟให้คนตาบอด” ด้วยการสร้างอุปกรณ์พิเศษ ที่ติดตั้งไว้ในสถานที่ใด ๆ ก็ได้ เมื่อคนตาบอดเดินเข้าไปในระยะทางที่ตั้งไว้ จะมีเสียงพูด อธิบายถึงสภาพแวดล้อมภายในห้อง หรือสภาพแวดล้อมตรงนั้น จะทำให้ตาบอดได้รับรู้ถึงสภาพแวดล้อมตรงนั้น โดยไม่ต้องร้องขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เปรียบเสมือนกับการที่คนปกติ เดินเข้าไปในห้องห้องหนึ่งที่มีแสงสว่างเตรียมไว้ให้ คนปกติเหล่านั้นก็จะสามารถมองเห็นและรับรู้ถึงสภาพแวดล้อมตรงนั้นได้ เพียงแต่หลอดไฟส่องสว่างเหล่านั้น เกิดจากคนปกติที่เตรียมไว้ให้คนปกติ หากพวกเราในฐานะคนสร้างและพัฒนาคำนึงถึงเรื่องละเอียดอ่อนเหล่านั้น เราก็จะสามารถทำให้คนตาบอดรับรู้ข้อมูลของสถานที่และสภาพแวดล้อมตรงนั้นได้...ไม่ต่างจากเรา จริง ๆ แล้ว ท่านผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้อ่านที่เป็นผู้บริหาร เป็นเจ้าของกิจการ หรือเป็นนักพัฒนา ยังสามารถใช้ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญของตนเองในการสร้างช่องทางอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือคนตาบอดหรือคนพิการอื่น ๆ ได้ เพียงแต่ต้องเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เข้าใจในสถานการณ์ที่จะใช้จริง ๆ “อย่างละเอียด” เช่น ถ้าอยากสร้างระบบสำหรับคนตาบอด ก็ต้องเข้าใจว่า คนตาบอดใช้ชีวิตอยู่อย่างไร ตรงไหน คือ ความสามารถที่เขาเหล่านั้นมีอยู่แล้ว ตรงไหนคือความสามารถที่เขามีโดดเด่นกว่าคนทั่วไป ตรงไหนเราสามารถช่วยได้ อะไรคือส่วนที่เขาอยากได้ อะไรที่เขาไม่ต้องการ ถ้ามองโลกและเข้าใจคนอื่น ๆ รับรู้ถึงศักยภาพและขีดความสามารถที่เขาเหล่านั้นมี เราจะสามารถสร้างระบบที่ช่วยให้คนทุกคนสามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างเท่าเทียมกันและเป็นสุขได้นะครับ.“ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/it/332150

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...