ผลิตหนังสือเสียง 10,000 เล่ม ชูศักยภาพคนตาบอดไม่ตกงานยุคดิจิทัล
สสส.-มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม-มูลนิธิธรรมิกชนฯ ชูศักยภาพคนพิการทางการเห็น เสริมทักษะจำเป็นช่วยให้ไม่ตกงานยุคดิจิทัล เน้น “รู้เท่าทันเทคโนโลยี มีทักษะภาษาต่างประเทศ ทำงานเป็นทีมได้” เพิ่มโอกาสจ้างงาน ผุดนวัตกรรม AI สร้างงานใหม่ ชี้คนพิการต้องมีงานทำ MOU โครงการผลิตหนังสือเสียง 10,000 เล่ม ของมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท Vulcan Coalition Social Enterprise
เด็กทุกคนมีสิทธิฝันและสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานดังความใฝ่ฝัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มีร่างกายสมบูรณ์หรือเด็กพิการทางสายตา โลกที่ไร้แสง พิการทางหู โลกที่ไร้เสียง ฯลฯ ก็ควรได้รับสิทธิเดินบนเส้นทางแห่งความฝัน เข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ขณะนี้อุโมงค์ที่เคยมืดสนิทสำหรับคนพิการ ที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในการเรียนและการสอบ เพื่อเข้าทำงานบนพื้นฐานข้อมูลเดียวกันเป็นจริงแล้ว ทั้งนี้จะเห็นเป็นผลงานหนังสือเสียงที่ AI อ่านออกเสียงใกล้เคียงมนุษย์ในอีก 3 ปีข้างหน้า เป็นนวัตกรรมแรกของโลกที่น่าสนใจ
ในการแถลงข่าว “ถอดรหัสศักยภาพคนพิการทางการมองเห็น สู่…โอกาสการจ้างงาน” ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงผลสำรวจจากโครงการลักษณะงานที่เหมาะสมกับคนพิการทางการเห็นและสนับสนุนการทำงานอย่างสมเหตุสมผล สสส.ให้น้ำหนักกับสุขภาวะคนพิการเพื่อสนับสนุนมิติสุขภาพ การพึ่งพาตนเอง ปัจจุบันประเทศไทยมีคนพิการร้อยละ 3.08 ของประชากรทั้งหมด ขณะนี้คนพิการ 2 ล้านคน มีโอกาสเรียนต่อระดับอุดมศึกษาเพียง 2 หมื่นคน หรือร้อยละ 1.04 เกินครึ่งเป็นคนพิการทางการมองเห็น ซึ่งได้รับการจ้างงานน้อยกว่าคนพิการประเภทอื่นๆ
ผู้พิการทางสายตากว่าจะฟันฝ่าอุปสรรคเรียนจบการศึกษาได้ต้องมีศักยภาพและความสามารถมากกว่าคนอื่นๆ อีก 7 ประเภท การเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างศักยภาพให้กับผู้พิการทางสายตาด้วยโครงการ IW (Inclusive Workplace) ใช้ทักษะ O&M ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งนี้ทิพยประกันภัยดูแลสุขภาพ การจ้างงาน บุคคลไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้าในที่ทำงาน สสส.อาสาเข้ามาปรับทัศนคติของสังคมในการอยู่ร่วมกับคนพิการ ทุกคนสามารถใช้ชีวิตที่แตกต่างอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข การเตรียมความพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ขณะนี้มหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญในการจ้างงานคนพิการ ภาคเอกชนช่วยสนับสนุนปรับตัวให้เท่าทันกับเทคโนโลยี
สสส.สนับสนุนโครงการสำรวจลักษณะงาน ทักษะที่จำเป็นในการทำงาน และการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผลต่อผู้พิการทางการเห็น โดยมีวัตถุประสงค์สำรวจอาชีพและทักษะที่เหมาะกับคนพิการทางการเห็น ในอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ หรือยุค AI ซึ่งทักษะที่จำเป็นได้แก่ 1.ทักษะที่ต้องใช้ความรู้ (Hard Skill) เช่น การใช้สื่ออินเทอร์เน็ต ทักษะภาษาต่างประเทศ ฯลฯ 2.ทักษะทางสังคม (Soft Skill) เช่น ยอมรับตนเองในระดับดีมาก มีสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ดี และ 3.ทักษะสนับสนุน (Support skill) เช่น ปรับตัวเข้ากับองค์กรได้ดี เข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ได้รวดเร็ว
“คนพิการทางการเห็นโดดเด่นเรื่องการฟัง พูด อ่าน พิมพ์สัมผัส และถอดเทปได้ดี ดังนั้นงานที่ทำได้ 1.งานที่ใช้การสื่อสาร เช่น ประสานงาน ประชาสัมพันธ์ 2.งานที่ใช้ความรู้/ทักษะเฉพาะ เช่น งานด้านกฎหมาย งานด้านภาษา 3.งานธุรการ เช่น จดบันทึก เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 4.งานที่ใช้เทคโนโลยี เช่น ผลิตสื่อ ฐานข้อมูล 5.งานบริการและงานนันทนาการ เช่น สร้างความบันเทิง งานให้บริการ และ 6.งานที่ใช้ประสาท สัมผัสอื่น เช่น ผู้เชี่ยวชาญในบริษัทน้ำหอม นอกจากนี้ สสส.ยังสนับสนุนเรื่องการส่งเสริมโอกาสการมีงานทำโดยสนับสนุนการเตรียมความพร้อมของคนพิการและสถานประกอบการ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการผ่านการมีส่วนร่วมในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการมีส่วนร่วมในสังคม ทั้งกิจกรรมวิ่งด้วยกัน ดูหนังด้วยกัน เป็นต้น” ภรณีกล่าว
ภรณียังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ยังมีกลุ่มผู้สูงวัยที่สายตาไม่ดีในการอ่าน กลุ่มคนที่ไม่อยากอ่านหนังสือแต่ชอบฟังหนังสือเสียง จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ขณะเดียวกันยังมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์หนังสือที่จะนำมาทำหนังสือเสียง หากเจ้าของลิขสิทธิ์สนใจทำกิจกรรม CSR เพื่อให้คนพิการทางสายตาได้รับความรู้เท่าเทียมกับคนตาดีก็เป็นเรื่องที่ควรให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
อภิชาต การุณกรสกุล ประธานมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม กล่าวเปิดตัวโครงการยกระดับความพร้อมบัณฑิตพิการในการหางาน สมัครงานและพร้อมทำงาน โครงการจ้างงานกระแสหลัก Inclusive workplace หรือ IW ทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการจ้างงานบัณฑิตและเยาวชนที่พิการ ทำหน้าที่ออกแบบ พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน ให้เตรียมความพร้อมก่อนเข้าทำงานจริง แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1.สร้างและพัฒนากระบวนการประสานงานและส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน 2.ส่งเสริมความพร้อมในการทำงานกับบัณฑิตพิการ 3.ส่งเสริมให้นักศึกษาพิการได้ฝึกงาน 4.สนับสนุนทุนอาชีพแก่ครอบครัวเยาวชนพิการให้เข้าถึงการศึกษา ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2556
“เราได้โจทย์จาก สสส.ทำสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะคนพิการด้วยการให้งบประมาณสนับสนุน 6 ปี ภารกิจมูลนิธิฯ หานวัตกรรมเกี่ยวกับสุขภาวะจะดีได้ ปากท้องต้องดีก่อน ทำอย่างไรให้คนพิการซึ่งเป็นกลุ่มในสังคมลดความเหลื่อมล้ำในด้านโอกาส มีรายได้เลี้ยงปากท้องได้ นวัตกรรมการจ้างงานเชิงสังคมขณะนีมี 500 บริษัทให้การสนับสนุนเป็นภาคีร่วมกันทำงาน หน่วยงาน 2,000 แห่งให้โอกาสคนพิการทำงานตามภูมิลำเนาของตัวเอง บางบริษัทสนับสนุนเงินเข้ากองทุนฯ และอีกหลายบริษัทก็จ้างคนพิการทำงานเกิน 90% ทำให้คนพิการได้มีอาชีพ ได้เห็นเงินจากการทำงาน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ขณะนี้คนพิการ 7,000 คนเข้าถึงอาชีพอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 9 ก.ย. รัฐมนตรีฯ แรงงานเปิดโอกาสให้เข้าพบเพื่อจะทำให้คนพิการเข้าถึงงาน เป็นการพิสูจน์นวัตกรรมนี้ขยายผล”
มูลนิธิฯ ขับเคลื่อนธรรมิกชนจะต้องทำหน้าที่เชื่อมต่อคนพิการทางการมองเห็น ลดความเหลื่อมล้ำ สามารถเข้าถึงความรู้ในรูปตัวหนังสือเสียง ปัจจุบันหนังสือเสียงในห้องสมุดเบญญาลัยมีหลักพันเล่ม เราพยายามผลิตหนังสือเสียงด้วยการนำหนังสือมาสแกนเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ตรวจแก้ไขถูกต้องก่อนให้คอมพ์อ่านเป็นภาษาเสียงแบบหุ่นยนต์เพื่อนำเข้าห้องสมุด 2 สัปดาห์ใช้ 4 คนช่วยกันทำเป็นเวลา 160 ชั่วโมง ทำหนังสือ 2 เล่มใช้เวลา 80 ชั่วโมง ใช้เวลา 8 แสนชั่วโมงผลิตหนังสือเป็นต้นทุนเวลายาวนาน แต่ถ้าใช้ปรากฏการณ์ Vulcan Coalition ทำปัญญาประดิษฐ์ AI อ่านหนังสือแปลงเป็นเสียงเล่มละ 5 นาที เป็นการผลักดันให้คนพิการทางการมองเห็นได้เข้าถึงความรู้โดยไม่เหลื่อมล้ำอีกต่อไป สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของความร่วมมือ คน 100 คน ทำงาน 1 ปี สัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง ใช้เวลา 1,000 ชั่วโมง 1 แสนชั่วโมงผลิต Data สอน AI Model อ่านภาษาไทย เป็นการใช้เวลา 1 แสนชั่วโมงจาก AI แทน 8 แสนชั่วโมงผลิตหนังสือ 1 หมื่น งานนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างคิงเพาเวอร์ หอการค้าไทย กลุ่มเซ็นทรัล สนับสนุนการจ้างคนพิการทางสายตา การเคลื่อนไหว สร้าง Data บน Platform เป็น AI Model
ธรรม จตุนาม รองประธานมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า โครงการห้องสมุดเบญญาลัย สำนักหอสมุดเบญญาลัย มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้วยปรัชญา ด้วยความรู้คือแสงสว่างนำทางเรา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดสำนักหอสมุดเบญญาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 ก.ค.2555 มีเป้าหมายให้คนพิการทางการเห็นมีงานทำในยุค AI โดยจะต้องส่งเสริมด้านการศึกษา อาชีพ ฟื้นฟูสมรรถภาพเต็มที่ผ่านระบบห้องสมุดออนไลน์ แพลตฟอร์มนี้ สามารถใช้ได้ทุกคนในการเพิ่มทักษะด้านต่างๆ เพื่อสะท้อนความเสมอภาคในสังคม เพราะความรู้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก ย่อมสามารถสร้างความเท่าเทียมกันในสิทธิ
ศรันยา เกษียรพรมราช ทีมงานสาธิตอุปกรณ์การใช้อักษรเบรลล์ร่วมกับโทรศัพท์มือถือ หอสมุดให้บริการห้องคอมพิวเตอร์สืบค้นข้อมูล รวมทั้งอบรมอาสาสมัครผลิตสื่อฯ สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็น ห้องบันทึกเสียงรองรับการอ่านหนังสือจากอาสาสมัคร ผลิตหนังสืออักษรเบรลล์โดยการพิมพ์หนังสือต้นฉบับลงในโปรแกรม Microsoft word ร่วมสมทบทุนหรือบริจาคอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ frash drive หูฟัง กระดาษพิมพ์อักษรเบรลล์ หนังสืออ่านนอกเวลา ใช้เป็นต้นฉบับในการผลิตหนังสือเสียง/เบรลล์ (อักษรภาษาไทย 44 ตัว อักษรอังกฤษ 26 ตัว) พร้อมกับร่วมสมทบทุนบริจาค ธ.กสิกรไทย สาขาสามแยกปักธงชัย ชื่อบัญชี มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่บัญชี 372-2-63851-3 หรือ ธ.กรุงไทย สาขาอัมพวัน ชื่อบัญชี มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (สำนักหอสมุดเบญญาลัย) เลขที่บัญชี 491-0-36250-9
เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วัลแคน โคอะลิชั่น โซเชียล เอ็นเตอร์ไพรซ์ กล่าวว่า เป็นความภาคภูมิใจในความร่วมมืออย่างฉลาดในการใช้เทคโนโลยีสร้างศักยภาพคนพิการ 100 คน เป็นครูสอนให้ AI อ่านออกเสียงใกล้เคียงมนุษย์ เป็นการใช้ศักยภาพคนตาบอดให้คนตาบอดเข้าถึงสื่อการเรียน Model เป็นนวัตกรรมแรกของโลกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ทั้งนี้ 3 ปีจะผลิตหนังสือ 1 หมื่นเล่มอยู่ในห้องสมุดเสียง
คำถามที่สงสัยกันว่าคนพิการทำอะไรได้บ้าง มีศักยภาพที่จะเป็น AI Trainer สอนนักศึกษาหูหนวกที่วิทยาลัยราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำงาน AI จัดเตรียมข้อมูล ขณะนี้ตลาดแรงงานทั่วโลกต้องการศักยภาพคนพิการ เป็นหัวใจหลักในงานอุตสาหกรรม พนักงาน AI สัญชาติไทยพ้นขีดข้อจำกัดด้วยการพัฒนา AI ให้ฉลาดขึ้นเทียบเท่า AI ประเทศจีน ประเทศสหรัฐ ที่ผ่านมานั้นคนพิการขาดโอกาสในการทำงาน บริษัท วัลแคนฯ เป็นอุตสาหกรรม AI แห่งอนาคต สร้างแพลตฟอร์มจัดเตรียมข้อมูลให้คนพิการ คนตาบอด จับคู่ฝึกฝน AI เป็นการพัฒนา AI ไปข้างหน้าโดยไม่ทิ้งคนพิการไว้ข้างหลัง คนพิการทางสายตามีจุดแข็งเกี่ยวกับประสาทการได้ยินและสัมผัสที่ดีกว่าคนปกติหลายเท่า คนหูหนวกมีจุดแข็งในการใช้สายตาได้ดีกว่าคนปกติ ดังนั้นเราต้องใช้จุดแข็งของคนพิการเหล่านี้ให้โลกเห็นว่าคนพิการทำได้ดี และยิ่งเป็นความร่วมมือกันก็จะเห็นผลงานสุดยอด
เมธาวีกล่าวว่า สำหรับโครงการผลิตหนังสือเสียง 10,000 เล่ม ทำขึ้นมาเพื่อคนพิการวัยทำงานกว่า 3 แสนคนที่กำลังว่างงานและต้องพึ่งพาสวัสดิการของรัฐ ให้มีทักษะเท่าทันอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ ที่กำลังขาดแคลนแรงงานด้านจัดเตรียมข้อมูล (Data Labelling) ในฐานะบริษัทพัฒนาด้านนี้ จึงมองเห็นโอกาสที่จะทำให้ผู้พิการมีทักษะด้านนี้ผ่านแพลตฟอร์มและหลักสูตรออนไลน์ เพื่อสร้างโอกาสการทำงานรูปแบบใหม่ ผ่านความถนัดของผู้พิการทางการเห็น
โปรแกรมนี้จะผ่านแพลตฟอร์มเป็น www. ด้วยวิธีการล็อกอินมีเมนูถอดคำเพื่อ MATCH Voice กับ Text ให้ AI จำข้อความอ่านออกเสียง เสมือนหนึ่งเก็บสะสมเหรียญ เหมือนการเล่นเกมจนกว่าจะได้หนังสือ 1 เล่ม พิมพ์งานไปเรื่อยๆ สัปดาห์ละ 1 บท คนตาบอดจะถอดเทปได้รวดเร็วกว่าคนปกติ เนื่องจากสมองส่วนหูทำงานได้ดีกว่า มีผลงานวิจัยว่าคนตาบอดจะมีประสาทหูดีกว่าคนปกติ 2.5 เท่า พิมพ์ได้เร็วกว่าปกติ 1.5 เท่า ในขณะที่คนหูหนวกจะมีประสาทตาดีกว่าคนปกติ มองเห็นภาพกว้างและรายละเอียดได้ดีกว่า
จิรพร ไชยพันธ์ (ดาด้า)
บัณฑิตฝึกงาน มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ความพิการทางการเห็น-สายตาเลือนราง
วัย 23 ปี พิการทางสายตา เป็นเด็กศรีสะเกษ
เรียนจบปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สาขาการพัฒนาสังคม
รับหน้าที่ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมเสวนา พร้อมแจกเอกสารประกอบการเสวนา ทำงานเป็นเดือนที่ 3 แล้ว
บิดามารดาและน้องทั้ง 2 คนมีสายตาปกติ จิราพรพิการทางสายตาตั้งแต่กำเนิด โดยหมอบอกว่าไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะตาข้างซ้ายมองไม่เห็น ส่วนตาข้างขวามองเห็นเลือนราง หมอให้ยาฆ่าเชื้อและใช้น้ำตาเทียมเพื่อไม่ให้ตาแห้ง
สามารถพูดภาษาอีสาน ภาษาเขมร ภาษาไทย ภาษาอังกฤษสื่อสารได้ เรียนหนังสือร่วมกับคนตาดีมาโดยตลอด จาก รร.บ้านโฮะ ศรีสะเกษ ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยใช้เครื่อง Zoom ประกอบการอ่านหนังสือ.