มจธ.พัฒนาเครื่องสแกน “เด็กพิการทางสมอง” จากการทรงท่า

แสดงความคิดเห็น

นักวิจัย มจธ.พัฒนาเครื่องสแกนการทรงท่าของเด็กทารก คัดกรองเด็กพัฒนาช้าหรือพิการทางสมอง หลังเห็นความสำคัญว่าการคัดกรองได้เร็ว ช่วยลดความพิการถาวรลงได้ และแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ผู้มีประสบการณ์ในการสังเกตการทรงท่าของทารก

เครื่องสแกนการทรงท่าของเด็กทารก คัดกรองเด็กพัฒนาช้าหรือพิการทางสมอง

ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโป้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) วิจัยและพัฒนา “เครื่องวิเคราะห์การทรงท่าของทารก” หรือเครื่องสแกนเด็กพิการทางสมอง หลังเห็นความสำคัญว่าการตรวจคัดกรองเด็กทารกที่มีพัฒนาการช้าได้เร็ว จะช่วยลดความพิการถาวรลงได้ โดยองค์การอนามัยโลกได้ประมาณการไว้ว่าปัญหาความพิการด้านใดด้านหนึ่งในระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรงจะเกิดขึ้นกับประชากรเด็กมากถึง5%

ทว่าการคัดกรองที่แม่นยำยังมีข้อจำกัด โดยเฉพาะในกรณีที่มีความผิดปกติไม่รุนแรงหรือมีการแสดงออกของอาการไม่ชัดเจน ซึ่งการประเมินพัฒนาการในด้านความสามารถในการทรงท่าและการเคลื่อนไหวร่างกาย ยังต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์จากการสังเกตการเคลื่อนไหวของทารกด้วยตาเปล่าจึงเป็นที่มาของการพัฒนาเครื่องดังกล่าว

ดร.ปราการเกียรติ ยังคง อาจารย์ประจำสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า การพัฒนาต้นแบบเครื่องวิเคราะห์การทรงท่าดังกล่าวตอบโจทย์ให้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของเด็ก โดยเป็นเครื่องที่ใช้วัดความสมมาตรของการทรงท่า ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กควรต้องมีพัฒนาการที่สมวัย เช่น ทารกในวัยก่อนสามเดือนจะมีการทรงท่านอนหงายที่ไม่สมมาตร เอียงซ้ายขวาสลับไปมา แต่เมื่อหลังอายุสามเดือนเด็กปกติจะมีการทรงท่าที่มีการลงน้ำหนักตัวอย่างสมดุลอยู่ในแนวกลางตัวได้มากและนานขึ้น ดังนั้น ต้นแบบเครื่องวิเคราะห์การทรงท่าของทารกที่พัฒนาขึ้นนี้ จะถูกนำไปใช้สำหรับการตรวจคัดกรองเด็กทารกที่มีพัฒนาการช้าในด้านการทรงท่าและการเคลื่อนไหวซึ่งเหมาะกับเด็กทารกในระหว่างอายุแรกเกิดถึง4เดือน

“เครื่องวิเคราะห์การทรงท่ามีลักษณะคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร มีการติดตั้งกล้องและระบบเซ็นเซอร์ไว้ภายใน โดยนำเด็กทารกวางลงบนกระจกใสที่อยู่ด้านบน เบื้องต้นพื้นที่สัมผัสระหว่างทารกกับเครื่องจะทำการวิเคราะห์ในท่านอนคว่ำและท่านอนหงาย การเอียงซ้าย เอียงขวา หรือ การทรงท่าของเด็กทารกจะถูกเก็บบันทึกด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพดิจิตอลเพื่อใช้ในการคำนวณหาค่าดัชนีความสมมาตร และเครื่องจะทำการจัดเก็บข้อมูลและถ่ายภาพการเคลื่อนไหวของเด็กในท่าทางต่างๆ เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูเด็กนำไปใช้ประกอบในการวินิจฉัยต่อไป ว่าเด็กคนดังกล่าวมีพัฒนาการสมวัยหรือมีแนวโน้มความผิดปกติทางสมองหรือไม่ เป็นการช่วยคัดกรองในเบื้องต้น หากเราสามารถพบเด็กทารกที่มีพัฒนาการช้าได้เร็วเท่าไหร่ก็จะช่วยให้การรักษาได้เร็วและถูกต้องตั้งแต่ต้นทาง หากพบปัญหาดังกล่าวเมื่อเด็กโตขึ้นแล้วจะสามารถทำได้เพียงรักษาตามอาการเท่านั้นซึ่งเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ”นักวิจัยอธิบายการทำงานของเครื่อง

ดร.ปราการเกียรติ กล่าวว่า เบื้องต้น เครื่องวิเคราะห์การทรงท่าถูกนำไปทดสอบเปรียบเทียบการทรงท่าของเด็กปกติที่มีอายุระหว่าง 2 เดือน กับ 4 เดือน พบว่า ค่าดัชนีความสมมาตรของร่างกายในกลุ่มเด็กแตกต่างกัน โดยกลุ่มเด็กสุขภาพดีจะมีค่าดัชนีความสมมาตรต่ำ ( ทรงท่าดี ) ทั้งท่านอนหงายและท่านอนคว่ำ นอกจากนี้ เครื่องวิเคราะห์การทรงท่ายังช่วยวิเคราะห์พื้นที่สัมผัสของเด็กที่กระทำกับพื้น โดยได้รับการออกแบบให้ใช้หลอดไฟแอลอีดี (LED) สีเขียวติดตั้งเข้ากับด้านข้างของแผ่นอะครีลิคที่อยู่ด้านบนของเครื่อง ทำให้แสงสะท้อนกลับหมดไม่ส่องเข้าตาเด็กทารก และทำให้ได้ภาพพื้นที่สัมผัสที่แนบกับแผ่นอะครีลิคเกิดแสงสีเขียวสำหรับการคำนวณหาค่าดัชนีความสมมาตร

ดร.ปราการเกียรติ ยังคง อาจารย์ประจำสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) หัวหน้าทีมวิจัย

การทดลองวัดพื้นที่สัมผัสเบื้องต้นเกิดขึ้น ณ โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ กับเด็กทารกที่มีอายุแรกเกิดถึง 8 เดือน จำนวน 20 คน พบว่า ในขณะที่ทารกทรงตัวในท่านอนหงายบริเวณส่วนหัวจะถ่ายแรงในทิศตรงข้ามเสมอ ทำให้การคำนวณดัชนีความไม่สมมาตรได้ค่าที่ไม่เหมาะสม จึงต้องตัดพื้นที่ส่วนนี้ออกไปและใช้เพียงพื้นที่สัมผัสส่วนลำตัวในการคำนวณ

“ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ภายหลังปรับปรุงแล้วพบว่า ทารกที่มีอายุมากกว่า 5 เดือน จะวัดการทรงท่าได้ยาก เนื่องจากทารกเริ่มพลิกตัวหรือคลานเองได้แล้ว ขณะที่ท่านอนคว่ำมีค่าความแปรปรวนของข้อมูลสูง จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในการหาค่า และเมื่อเปรียบเทียบภาพของพื้นที่สัมผัสในท่านอนหงายของทารกอายุ 2 เดือน กับ 4 เดือน พบว่า ทารกมีลักษณะการทรงท่าและการลงน้ำหนักตัวที่แตกต่างกัน คือ ดัชนีความสมมาตรของทารกอายุ 2 เดือน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.601 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.926 ในขณะที่ทารกอายุ 4 เดือนมีค่าดัชนีความสมมาตรเฉลี่ยเท่ากับ 5.585 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.795 ทำให้สามารถสรุปได้ว่า ทารกอายุ 4 เดือนสามารถทรงท่าได้สมมาตรมากกว่า”ดร.ปราการระบุ

ทั้งนี้ ต้นแบบเครื่องวิเคราะห์การทรงท่าของทารกนี้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐานเครื่องมือแพทย์รองรับและอยู่ในระหว่างการจดสิทธิบัตร คาดว่าน่าจะสำเร็จลุล่วงในปี 2559 และเป็นเครื่องวิเคราะห์การทรงท่าสำหรับทารกเครื่องแรกโดยฝีมือนักวิจัยไทย

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000137007 (ขนาดไฟล์: 168)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ธ.ค.58
วันที่โพสต์: 15/12/2558 เวลา 14:04:39 ดูภาพสไลด์โชว์ มจธ.พัฒนาเครื่องสแกน “เด็กพิการทางสมอง” จากการทรงท่า

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักวิจัย มจธ.พัฒนาเครื่องสแกนการทรงท่าของเด็กทารก คัดกรองเด็กพัฒนาช้าหรือพิการทางสมอง หลังเห็นความสำคัญว่าการคัดกรองได้เร็ว ช่วยลดความพิการถาวรลงได้ และแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ผู้มีประสบการณ์ในการสังเกตการทรงท่าของทารก เครื่องสแกนการทรงท่าของเด็กทารก คัดกรองเด็กพัฒนาช้าหรือพิการทางสมอง ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโป้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) วิจัยและพัฒนา “เครื่องวิเคราะห์การทรงท่าของทารก” หรือเครื่องสแกนเด็กพิการทางสมอง หลังเห็นความสำคัญว่าการตรวจคัดกรองเด็กทารกที่มีพัฒนาการช้าได้เร็ว จะช่วยลดความพิการถาวรลงได้ โดยองค์การอนามัยโลกได้ประมาณการไว้ว่าปัญหาความพิการด้านใดด้านหนึ่งในระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรงจะเกิดขึ้นกับประชากรเด็กมากถึง5% ทว่าการคัดกรองที่แม่นยำยังมีข้อจำกัด โดยเฉพาะในกรณีที่มีความผิดปกติไม่รุนแรงหรือมีการแสดงออกของอาการไม่ชัดเจน ซึ่งการประเมินพัฒนาการในด้านความสามารถในการทรงท่าและการเคลื่อนไหวร่างกาย ยังต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์จากการสังเกตการเคลื่อนไหวของทารกด้วยตาเปล่าจึงเป็นที่มาของการพัฒนาเครื่องดังกล่าว ดร.ปราการเกียรติ ยังคง อาจารย์ประจำสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า การพัฒนาต้นแบบเครื่องวิเคราะห์การทรงท่าดังกล่าวตอบโจทย์ให้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของเด็ก โดยเป็นเครื่องที่ใช้วัดความสมมาตรของการทรงท่า ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กควรต้องมีพัฒนาการที่สมวัย เช่น ทารกในวัยก่อนสามเดือนจะมีการทรงท่านอนหงายที่ไม่สมมาตร เอียงซ้ายขวาสลับไปมา แต่เมื่อหลังอายุสามเดือนเด็กปกติจะมีการทรงท่าที่มีการลงน้ำหนักตัวอย่างสมดุลอยู่ในแนวกลางตัวได้มากและนานขึ้น ดังนั้น ต้นแบบเครื่องวิเคราะห์การทรงท่าของทารกที่พัฒนาขึ้นนี้ จะถูกนำไปใช้สำหรับการตรวจคัดกรองเด็กทารกที่มีพัฒนาการช้าในด้านการทรงท่าและการเคลื่อนไหวซึ่งเหมาะกับเด็กทารกในระหว่างอายุแรกเกิดถึง4เดือน “เครื่องวิเคราะห์การทรงท่ามีลักษณะคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร มีการติดตั้งกล้องและระบบเซ็นเซอร์ไว้ภายใน โดยนำเด็กทารกวางลงบนกระจกใสที่อยู่ด้านบน เบื้องต้นพื้นที่สัมผัสระหว่างทารกกับเครื่องจะทำการวิเคราะห์ในท่านอนคว่ำและท่านอนหงาย การเอียงซ้าย เอียงขวา หรือ การทรงท่าของเด็กทารกจะถูกเก็บบันทึกด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพดิจิตอลเพื่อใช้ในการคำนวณหาค่าดัชนีความสมมาตร และเครื่องจะทำการจัดเก็บข้อมูลและถ่ายภาพการเคลื่อนไหวของเด็กในท่าทางต่างๆ เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูเด็กนำไปใช้ประกอบในการวินิจฉัยต่อไป ว่าเด็กคนดังกล่าวมีพัฒนาการสมวัยหรือมีแนวโน้มความผิดปกติทางสมองหรือไม่ เป็นการช่วยคัดกรองในเบื้องต้น หากเราสามารถพบเด็กทารกที่มีพัฒนาการช้าได้เร็วเท่าไหร่ก็จะช่วยให้การรักษาได้เร็วและถูกต้องตั้งแต่ต้นทาง หากพบปัญหาดังกล่าวเมื่อเด็กโตขึ้นแล้วจะสามารถทำได้เพียงรักษาตามอาการเท่านั้นซึ่งเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ”นักวิจัยอธิบายการทำงานของเครื่อง ดร.ปราการเกียรติ กล่าวว่า เบื้องต้น เครื่องวิเคราะห์การทรงท่าถูกนำไปทดสอบเปรียบเทียบการทรงท่าของเด็กปกติที่มีอายุระหว่าง 2 เดือน กับ 4 เดือน พบว่า ค่าดัชนีความสมมาตรของร่างกายในกลุ่มเด็กแตกต่างกัน โดยกลุ่มเด็กสุขภาพดีจะมีค่าดัชนีความสมมาตรต่ำ ( ทรงท่าดี ) ทั้งท่านอนหงายและท่านอนคว่ำ นอกจากนี้ เครื่องวิเคราะห์การทรงท่ายังช่วยวิเคราะห์พื้นที่สัมผัสของเด็กที่กระทำกับพื้น โดยได้รับการออกแบบให้ใช้หลอดไฟแอลอีดี (LED) สีเขียวติดตั้งเข้ากับด้านข้างของแผ่นอะครีลิคที่อยู่ด้านบนของเครื่อง ทำให้แสงสะท้อนกลับหมดไม่ส่องเข้าตาเด็กทารก และทำให้ได้ภาพพื้นที่สัมผัสที่แนบกับแผ่นอะครีลิคเกิดแสงสีเขียวสำหรับการคำนวณหาค่าดัชนีความสมมาตร ดร.ปราการเกียรติ ยังคง อาจารย์ประจำสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) หัวหน้าทีมวิจัย การทดลองวัดพื้นที่สัมผัสเบื้องต้นเกิดขึ้น ณ โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ กับเด็กทารกที่มีอายุแรกเกิดถึง 8 เดือน จำนวน 20 คน พบว่า ในขณะที่ทารกทรงตัวในท่านอนหงายบริเวณส่วนหัวจะถ่ายแรงในทิศตรงข้ามเสมอ ทำให้การคำนวณดัชนีความไม่สมมาตรได้ค่าที่ไม่เหมาะสม จึงต้องตัดพื้นที่ส่วนนี้ออกไปและใช้เพียงพื้นที่สัมผัสส่วนลำตัวในการคำนวณ “ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ภายหลังปรับปรุงแล้วพบว่า ทารกที่มีอายุมากกว่า 5 เดือน จะวัดการทรงท่าได้ยาก เนื่องจากทารกเริ่มพลิกตัวหรือคลานเองได้แล้ว ขณะที่ท่านอนคว่ำมีค่าความแปรปรวนของข้อมูลสูง จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในการหาค่า และเมื่อเปรียบเทียบภาพของพื้นที่สัมผัสในท่านอนหงายของทารกอายุ 2 เดือน กับ 4 เดือน พบว่า ทารกมีลักษณะการทรงท่าและการลงน้ำหนักตัวที่แตกต่างกัน คือ ดัชนีความสมมาตรของทารกอายุ 2 เดือน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.601 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.926 ในขณะที่ทารกอายุ 4 เดือนมีค่าดัชนีความสมมาตรเฉลี่ยเท่ากับ 5.585 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.795 ทำให้สามารถสรุปได้ว่า ทารกอายุ 4 เดือนสามารถทรงท่าได้สมมาตรมากกว่า”ดร.ปราการระบุ ทั้งนี้ ต้นแบบเครื่องวิเคราะห์การทรงท่าของทารกนี้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐานเครื่องมือแพทย์รองรับและอยู่ในระหว่างการจดสิทธิบัตร คาดว่าน่าจะสำเร็จลุล่วงในปี 2559 และเป็นเครื่องวิเคราะห์การทรงท่าสำหรับทารกเครื่องแรกโดยฝีมือนักวิจัยไทย ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000137007

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...