คืนความสุขให้เด็กตาบอดด้วยตัวต่อในร่ม
ของเล่นสร้างสรรค์เพื่อเด็กตาบอด “BLIX POP” ตัวต่อสนามเด็กเล่นในร่มผลงานสุดล้ำของดีไซเนอร์ไทย ที่โด่งดังไกลถึงสิงคโปร์ด้วยรูปลักษณ์และสีสันอันสวยงาม พร้อมเปิดระดมทุน 100 ชุดแรก เพื่อบริจาคให้โรงเรียนสอนคนตาบอด
ของเล่นสำหรับเด็กทั่วไป มีให้เลือกซื้อมากมายในท้องตลาด แต่สำหรับเด็กด้อยโอกาสโดยเฉพาะเด็กที่พิการทางสายตาแล้ว ของเล่นที่ปลอดภัยและทำมาเพื่อเขาแทบไม่ค่อยมี ทำให้ดีไซเนอร์เนอร์สาวเท่อย่าง “ณัชชา โรจน์วิโรจน์”นักศึกษาปริญญาโทจากสหรัฐฯคิดออกแบบของเล่นแบบใหม่เพื่อคืนคุณค่าให้สังคม
ณัชชา โรจน์วิโรจน์ ดีไซเนอร์ชาวไทย กล่าวแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า สิ่งประดิษฐ์ที่เธอทำเป็นตัวต่อสนามเด็กเล่นที่สามารถยกเข้าออกถอดประกอบหรือเปลี่ยนรูปทรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยความพิเศษอยู่ที่การออกแบบมาให้รองรับกับเด็กช่วงอายุระหว่าง 6-8 ปีที่พิการทางสายตา ให้มีของเล่นใหม่ๆ ที่นอกจากจะเล่นสนุกยังช่วยส่งเสริมจินตนาการและพัฒนากล้ามเนื้อไปพร้อมๆกัน
การออกแบบ BLIX POP หรือ ตัวต่อสนามเด็กเล่นในร่มสำหรับพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กพิการทางสายตา เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณเกือบ 2 ปีก่อน ตอนที่ณัชชาเป็นนักศึกษาปริญญาโทด้านการออกแบบอุตสาหกรรม ณ สถาบันศิลปศาสตร์ ซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ ที่ขณะนั้นอาจารย์ได้ให้โจทย์การออกแบบเป็นนวัตกรรมเพื่อคนพิการ ซึ่งเธอให้ความสนใจกับกลุ่มเด็กตาบอดเป็นพิเศษ เพราะครั้งอยู่ประเทศไทยเธอได้มีโอกาสเป็นจิตอาสาตามโรงเรียนสอนเด็กตาบอดอยู่บ่อยครั้ง
ณัชชา เล่าว่าเด็กตาบอดที่เธอเคยคลุกคลีส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมการก้าวเดินที่ผิดปกติ เพราะขาดความมั่นใจในทางเดินข้างหน้า ทำให้ไม่กล้าเดินหรือเล่นแบบที่ต้องเคลื่อนไหว จึงทำให้การทรงตัวมีปัญหา ลามไปถึงกล้ามเนื้อขาที่ไม่ค่อยแข็งแรง เพราะขาดการออกกำลัง ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นคือ ตามสถานรับเลี้ยงหรือโรงเรียนก็ไม่ค่อยมีของเล่นกลางแจ้งที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับเด็ก เด็กตาบอดส่วนใหญ่จึงคุ้นเคยกับการเล่นอยู่ในที่ร่มโดยปริยายเธอจึงคิดที่จะทำสนามเด็กเล่นในร่มเพื่อทำลายข้อจำกัดในอดีตที่เคยสัมผัสมา
การทำงานวิจัยกับเด็กพิการในสหรัฐฯ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความพิการในสหรัฐฯ จะถูกดูแลเข้มงวดเป็นพิเศษ จำกัดเวลาคนนอกให้อยู่ร่วมกับเด็กได้เพียง 1 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำหรับการลงพื้นที่เพื่อทำวิจัยของเธอ ณัชชาจึงทำหนังสือขออนุญาตไปยังอาจารย์ที่ปรึกษาและมหาวิทยาลัย เพื่อกลับมาทำวิจัยพฤติกรรมเด็กตาบอดพร้อมประดิษฐ์ชิ้นงานที่ประเทศไทย เมื่อถึงกำหนดสอบและแสดงผลงานจึงค่อยเดินทางกลับซึ่งก็ได้รับการยินยอมแต่โดยดีเพียงไม่กี่เดือนก็ประสบความสำเร็จ
“โรงเรียนเด็กตาบอดที่นั่นเข้าถึงตัวเด็กยากมาก แล้วก็จำกัดเวลาแค่วันละ 1 ชั่วโมง ซึ่งไม่คุ้มเลย เพราะโรงเรียนเด็กอยู่นอกเมือง เราต้องขับรถไปหลายชั่วโมง เลยขอกลับมาทำที่ไทยซึ่งง่ายมาก เพราะตัวเองเป็นอาสาสมัครเก่าอยู่แล้ว ตอนแรกก็ไปอยู่ให้เด็กคุ้นเคย สักพักก็เริ่มให้เด็กลองเล่นของหลายๆ อย่าง ทำให้เราเห็นว่าเขามีปัญหาการทรงตัว เดินไม่มั่นคง ไม่กล้าเดินไปไหน เลยเป็นที่มาของการทำของเล่นให้เด็กได้หัดเผชิญกับปัญหา ในรูปแบบของสนามเด็กเล่นที่มีพื้นผิว ความสูงแบบต่างๆ แบบที่เขาเล่นในร่มได้อย่างปลอดภัย”ผู้ออกแบบกล่าวแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์
เธอจึงออกแบบให้ชุด BLIX POP ประกอบไปด้วยโครงสร้าง 4 ลักษณะ คือ ตัวรองที่ทั้ง 6 ด้านจะมีร่องและปุ่มนูนสำหรับรองรับการต่อเป็นรูปทรงต่างๆ ซึ่งมีแถบแม่เหล็กเป็นตัวช่วยยึดความแข็งแรงอีกชั้น, ตัวเพิ่มความสูง ที่เด็กๆ สามารถต่อชั้นความสูงขึ้นไปเพื่อเพิ่มความลาดชันและความท้าทาย, แผ่นหญ้า ให้ผิวสัมผัสที่แตกต่างเสมือนได้เล่นอยู่ภายนอกอาคาร และพื้นไม้ที่มีลาดลายต่างๆ พร้อมความโค้งนูนสำหรับให้เด็กๆ ได้ฝึกทักษะการทรงตัว โดยวัสดุทั้งหมดผลิตจากโฟมอีวีเอที่มีความนิ่มและยืดหยุ่นจึงไม่อันตราย อีกทั้งยังแข็งแรง ทนทาน เหมาะกับการเล่นแบบคนเดียวและเป็นกลุ่ม
ณัชชา กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ต้องการออกแบบให้บล็อกต่อได้ง่ายเป็น เพราะอ้างอิงจากรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่า เด็กตาบอดจะเรียนรู้ด้วยการสร้างแผนความคิด (mind mapping) ขึ้นในสมอง การยกตัวต่อขึ้นเป็นทางเดินของเด็กๆ จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่การเสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่จากการเดิน แต่ยังเป็นการเสริมสร้างจินตนาการให้กับพวกเขาด้วย ซึ่งหลังจากได้นำอุปกรณ์ไปให้เด็กทดลองเล่นที่โรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพฯ ถึง 3 ครั้งก็พบว่า เด็กที่เล่นส่วนใหญ่มีความกล้ามากขึ้น อยากเดินมากขึ้น และมีรูปแบบการต่อที่แตกต่างกันออกไปซึ่งถือว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จ
อย่างไรก็ดี ณัชชา กล่าวว่ายังต้องปรับปรุงและทดลองต่ออีกสักพัก ก่อนจะผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยเบื้องต้นเธอตั้งใจว่าจะเปิดรับระดมทุนเพื่อผลิต BLIX POP 100 ชุดแรก ในราคาชุดละ 10,000 บาท ที่จะประกอบไปด้วยแผ่นวัสดุ 40 แผ่น สำหรับแจกจ่ายให้แก่โรงเรียนสอนคนตาบอด สถานเลี้ยงดูเด็กพิเศษ และจัดจำหน่ายให้แก่โรงเรียนทั่วไปที่สนใจ เพราะนอกจากเด็กตาบอดจะเล่นได้อย่างสนุกสนานและปลอดภัยแล้ว เด็กปกติก็สามารถเล่นได้เช่นกัน
ทั้งนี้ผลงาน BLIX POP ของณัชชา ถูกคัดเลือกให้เป็นผลงานตัวแทนของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ตัวแทนผู้จัดงานประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (i-CREATe015) ฝ่ายไทยให้นำนิทรรศการไปจัดแสดงที่ประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นผลงานที่ได้รับความสนใจโดดเด่น ใช้ประโยชน์เพื่อผู้พิการได้จริงและได้รับคำปรึกษาร่วมจากนักวิจัยเนคเทคมาก่อนหน้าไม่ได้เข้าร่วมการประกวดเพราะการแข่งขันที่สิงคโปร์จำกัดเฉพาะผลงานของนักศึกษาปริญญาตรี
“ตอนไปร่วมในงาน i-CREATe ที่สิงคโปร์เป็นประสบการณ์ที่ดีมากค่ะ แม้จะไม่ได้ร่วมประกวด แค่ได้นำผลงานไปร่วมจัดแสดงก็เป็นเกียรติมาก เพราะผลงานได้รับการตอบรับดีมาก ผู้ใหญ่บางคนยังอยากเล่นเพราะนอกจากการต่อที่ง่าย อุปสรรคที่ไม่ยากและไม่ง่ายเกินไปสำหรับเด็กตาบอด เราก็ใส่เรื่องของสีสันสดใสไว้ด้วยสำหรับเด็กปกติ แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ทำขายนะคะ ขอพัฒนาอีกนิด แล้วก็ตั้งใจไว้ว่าจะผลิตแบบระดมทุนค่ะ ใครที่อยากได้ก็ช่วยกันสนับสนุนให้เกิดเป็นรูปร่างขึ้นมาผลิตเสร็จก็เอาไป โดยภายในชุดหนึ่งจะมีแผ่นวัสดุอยู่ 40 แผ่น ส่วนตัวตั้งใจไว้ว่าจะนำไปไว้ที่โรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพ 4 ชุด ให้พวกเขาได้เล่นสนุก ได้เคลื่อนไหวร่างกาย แค่นี้ก็เป็นความสุขแล้ว” ณัชชา กล่าวทิ้งท้ายแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000106652 (ขนาดไฟล์: 168)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ของเล่นสร้างสรรค์เพื่อเด็กตาบอด “BLIX POP” ตัวต่อสนามเด็กเล่นในร่มผลงานสุดล้ำของดีไซเนอร์ไทย ที่โด่งดังไกลถึงสิงคโปร์ด้วยรูปลักษณ์และสีสันอันสวยงาม พร้อมเปิดระดมทุน 100 ชุดแรก เพื่อบริจาคให้โรงเรียนสอนคนตาบอด ณัชชา โรจน์วิโรจน์ กับตัวต่อสนามเด็กเล่นสารพัดรูปแบบที่เธอออกแบบ ของเล่นสำหรับเด็กทั่วไป มีให้เลือกซื้อมากมายในท้องตลาด แต่สำหรับเด็กด้อยโอกาสโดยเฉพาะเด็กที่พิการทางสายตาแล้ว ของเล่นที่ปลอดภัยและทำมาเพื่อเขาแทบไม่ค่อยมี ทำให้ดีไซเนอร์เนอร์สาวเท่อย่าง “ณัชชา โรจน์วิโรจน์”นักศึกษาปริญญาโทจากสหรัฐฯคิดออกแบบของเล่นแบบใหม่เพื่อคืนคุณค่าให้สังคม ณัชชา โรจน์วิโรจน์ ดีไซเนอร์ชาวไทย กล่าวแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า สิ่งประดิษฐ์ที่เธอทำเป็นตัวต่อสนามเด็กเล่นที่สามารถยกเข้าออกถอดประกอบหรือเปลี่ยนรูปทรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยความพิเศษอยู่ที่การออกแบบมาให้รองรับกับเด็กช่วงอายุระหว่าง 6-8 ปีที่พิการทางสายตา ให้มีของเล่นใหม่ๆ ที่นอกจากจะเล่นสนุกยังช่วยส่งเสริมจินตนาการและพัฒนากล้ามเนื้อไปพร้อมๆกัน การออกแบบ BLIX POP หรือ ตัวต่อสนามเด็กเล่นในร่มสำหรับพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กพิการทางสายตา เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณเกือบ 2 ปีก่อน ตอนที่ณัชชาเป็นนักศึกษาปริญญาโทด้านการออกแบบอุตสาหกรรม ณ สถาบันศิลปศาสตร์ ซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ ที่ขณะนั้นอาจารย์ได้ให้โจทย์การออกแบบเป็นนวัตกรรมเพื่อคนพิการ ซึ่งเธอให้ความสนใจกับกลุ่มเด็กตาบอดเป็นพิเศษ เพราะครั้งอยู่ประเทศไทยเธอได้มีโอกาสเป็นจิตอาสาตามโรงเรียนสอนเด็กตาบอดอยู่บ่อยครั้ง ณัชชา เล่าว่าเด็กตาบอดที่เธอเคยคลุกคลีส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมการก้าวเดินที่ผิดปกติ เพราะขาดความมั่นใจในทางเดินข้างหน้า ทำให้ไม่กล้าเดินหรือเล่นแบบที่ต้องเคลื่อนไหว จึงทำให้การทรงตัวมีปัญหา ลามไปถึงกล้ามเนื้อขาที่ไม่ค่อยแข็งแรง เพราะขาดการออกกำลัง ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นคือ ตามสถานรับเลี้ยงหรือโรงเรียนก็ไม่ค่อยมีของเล่นกลางแจ้งที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับเด็ก เด็กตาบอดส่วนใหญ่จึงคุ้นเคยกับการเล่นอยู่ในที่ร่มโดยปริยายเธอจึงคิดที่จะทำสนามเด็กเล่นในร่มเพื่อทำลายข้อจำกัดในอดีตที่เคยสัมผัสมา ด้านข้างบริเวณปุ่มสีดำคือแม่เหล็ก ช่วยยึดให้วัสดุแต่ละแผ่นไม่เคลื่อนออกจากกัน การทำงานวิจัยกับเด็กพิการในสหรัฐฯ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความพิการในสหรัฐฯ จะถูกดูแลเข้มงวดเป็นพิเศษ จำกัดเวลาคนนอกให้อยู่ร่วมกับเด็กได้เพียง 1 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำหรับการลงพื้นที่เพื่อทำวิจัยของเธอ ณัชชาจึงทำหนังสือขออนุญาตไปยังอาจารย์ที่ปรึกษาและมหาวิทยาลัย เพื่อกลับมาทำวิจัยพฤติกรรมเด็กตาบอดพร้อมประดิษฐ์ชิ้นงานที่ประเทศไทย เมื่อถึงกำหนดสอบและแสดงผลงานจึงค่อยเดินทางกลับซึ่งก็ได้รับการยินยอมแต่โดยดีเพียงไม่กี่เดือนก็ประสบความสำเร็จ “โรงเรียนเด็กตาบอดที่นั่นเข้าถึงตัวเด็กยากมาก แล้วก็จำกัดเวลาแค่วันละ 1 ชั่วโมง ซึ่งไม่คุ้มเลย เพราะโรงเรียนเด็กอยู่นอกเมือง เราต้องขับรถไปหลายชั่วโมง เลยขอกลับมาทำที่ไทยซึ่งง่ายมาก เพราะตัวเองเป็นอาสาสมัครเก่าอยู่แล้ว ตอนแรกก็ไปอยู่ให้เด็กคุ้นเคย สักพักก็เริ่มให้เด็กลองเล่นของหลายๆ อย่าง ทำให้เราเห็นว่าเขามีปัญหาการทรงตัว เดินไม่มั่นคง ไม่กล้าเดินไปไหน เลยเป็นที่มาของการทำของเล่นให้เด็กได้หัดเผชิญกับปัญหา ในรูปแบบของสนามเด็กเล่นที่มีพื้นผิว ความสูงแบบต่างๆ แบบที่เขาเล่นในร่มได้อย่างปลอดภัย”ผู้ออกแบบกล่าวแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ เธอจึงออกแบบให้ชุด BLIX POP ประกอบไปด้วยโครงสร้าง 4 ลักษณะ คือ ตัวรองที่ทั้ง 6 ด้านจะมีร่องและปุ่มนูนสำหรับรองรับการต่อเป็นรูปทรงต่างๆ ซึ่งมีแถบแม่เหล็กเป็นตัวช่วยยึดความแข็งแรงอีกชั้น, ตัวเพิ่มความสูง ที่เด็กๆ สามารถต่อชั้นความสูงขึ้นไปเพื่อเพิ่มความลาดชันและความท้าทาย, แผ่นหญ้า ให้ผิวสัมผัสที่แตกต่างเสมือนได้เล่นอยู่ภายนอกอาคาร และพื้นไม้ที่มีลาดลายต่างๆ พร้อมความโค้งนูนสำหรับให้เด็กๆ ได้ฝึกทักษะการทรงตัว โดยวัสดุทั้งหมดผลิตจากโฟมอีวีเอที่มีความนิ่มและยืดหยุ่นจึงไม่อันตราย อีกทั้งยังแข็งแรง ทนทาน เหมาะกับการเล่นแบบคนเดียวและเป็นกลุ่ม ณัชชา กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ต้องการออกแบบให้บล็อกต่อได้ง่ายเป็น เพราะอ้างอิงจากรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่า เด็กตาบอดจะเรียนรู้ด้วยการสร้างแผนความคิด (mind mapping) ขึ้นในสมอง การยกตัวต่อขึ้นเป็นทางเดินของเด็กๆ จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่การเสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่จากการเดิน แต่ยังเป็นการเสริมสร้างจินตนาการให้กับพวกเขาด้วย ซึ่งหลังจากได้นำอุปกรณ์ไปให้เด็กทดลองเล่นที่โรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพฯ ถึง 3 ครั้งก็พบว่า เด็กที่เล่นส่วนใหญ่มีความกล้ามากขึ้น อยากเดินมากขึ้น และมีรูปแบบการต่อที่แตกต่างกันออกไปซึ่งถือว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จ วัสดุถูกออกแบบมาให้มีปุ่มเว้าและปุ่มโค้งเพื่อให้ต่อและล็อคกันไว้อย่างแข็งแรง อย่างไรก็ดี ณัชชา กล่าวว่ายังต้องปรับปรุงและทดลองต่ออีกสักพัก ก่อนจะผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยเบื้องต้นเธอตั้งใจว่าจะเปิดรับระดมทุนเพื่อผลิต BLIX POP 100 ชุดแรก ในราคาชุดละ 10,000 บาท ที่จะประกอบไปด้วยแผ่นวัสดุ 40 แผ่น สำหรับแจกจ่ายให้แก่โรงเรียนสอนคนตาบอด สถานเลี้ยงดูเด็กพิเศษ และจัดจำหน่ายให้แก่โรงเรียนทั่วไปที่สนใจ เพราะนอกจากเด็กตาบอดจะเล่นได้อย่างสนุกสนานและปลอดภัยแล้ว เด็กปกติก็สามารถเล่นได้เช่นกัน ทั้งนี้ผลงาน BLIX POP ของณัชชา ถูกคัดเลือกให้เป็นผลงานตัวแทนของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ตัวแทนผู้จัดงานประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (i-CREATe015) ฝ่ายไทยให้นำนิทรรศการไปจัดแสดงที่ประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นผลงานที่ได้รับความสนใจโดดเด่น ใช้ประโยชน์เพื่อผู้พิการได้จริงและได้รับคำปรึกษาร่วมจากนักวิจัยเนคเทคมาก่อนหน้าไม่ได้เข้าร่วมการประกวดเพราะการแข่งขันที่สิงคโปร์จำกัดเฉพาะผลงานของนักศึกษาปริญญาตรี “ตอนไปร่วมในงาน i-CREATe ที่สิงคโปร์เป็นประสบการณ์ที่ดีมากค่ะ แม้จะไม่ได้ร่วมประกวด แค่ได้นำผลงานไปร่วมจัดแสดงก็เป็นเกียรติมาก เพราะผลงานได้รับการตอบรับดีมาก ผู้ใหญ่บางคนยังอยากเล่นเพราะนอกจากการต่อที่ง่าย อุปสรรคที่ไม่ยากและไม่ง่ายเกินไปสำหรับเด็กตาบอด เราก็ใส่เรื่องของสีสันสดใสไว้ด้วยสำหรับเด็กปกติ แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ทำขายนะคะ ขอพัฒนาอีกนิด แล้วก็ตั้งใจไว้ว่าจะผลิตแบบระดมทุนค่ะ ใครที่อยากได้ก็ช่วยกันสนับสนุนให้เกิดเป็นรูปร่างขึ้นมาผลิตเสร็จก็เอาไป โดยภายในชุดหนึ่งจะมีแผ่นวัสดุอยู่ 40 แผ่น ส่วนตัวตั้งใจไว้ว่าจะนำไปไว้ที่โรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพ 4 ชุด ให้พวกเขาได้เล่นสนุก ได้เคลื่อนไหวร่างกาย แค่นี้ก็เป็นความสุขแล้ว” ณัชชา กล่าวทิ้งท้ายแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000106652
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)