"วิชั่นเนียร์" ช่วยคนตาบอดแยกธนบัตร-สีสัน-ยี่ห้อสินค้า-ไฟห้องเปิดปิด

แสดงความคิดเห็น

นักศึกษา มจธ.เจ๋ง พัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์ภาพจากกล้องถ่ายรูป สู่ “วิชั่นเนียร์” นวัตกรรมแว่นแยกแยะวัตถุพร้อมเสียงบรรยาย ช่วยคนตาบอดแยกธนบัตร-สีสัน-ยี่ห้อสินค้า-ไฟห้องเปิดปิดได้ภายใน 5 วินาทีคว้ารางวัลที่2เวทีสิ่งประดิษฐ์เพื่อคนพิการi-CREATEdประเทศสิงคโปร์

วิชั่นเนียร์ นวัตกรรมแว่นแยกแยะวัตถุพร้อมเสียงบรรยาย ช่วยคนตาบอดแยกธนบัตร-สีสัน-ยี่ห้อสินค้า-ไฟห้องเปิดปิดได้ภายใน 5 วินาที

นางสาวบุษภาณี พงษ์ศิริยาภรณ์ บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หนึ่งในผู้ประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์สวมใส่สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้พิการทางสายตามากกว่า 2 แสนคน เมื่อต้องเลือกพัฒนานวัตกรรมสำหรับการทำโครงงานจบการศึกษา เธอจึงมุ่งเป้าไปที่นวัตกรรมเพื่อกลุ่มคนตาบอด ซึ่งตรงกับความถนัดของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานของเธอที่สร้างสรรค์ผลงานเพื่อคนตาบอดมาแล้วหลายต่อหลายชิ้น

บุษภาณี กล่าวว่า ช่วงแรกเธอยังไม่มีแนวความคิดชัดเจนว่าจะทำนวัตกรรมอะไร แต่เมื่อได้ลงพื้นที่วิจัยในสถานที่จริงกับผู้พิการทางสายตาที่สมาคมคนตาบอด กรุงเทพฯ ทำให้เธอทราบว่า ปัญหาสำคัญที่คนตาบอดต้องการ การแก้ไขมีด้วยกัน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ การแยะแยะธนบัตร, การแยกแยะสีสัน, การเลือกซื้อสินค้า และการประเมินการเปิดปิดไฟในห้อง ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันแสนง่ายของคนทั่วไป แต่เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบากสำหรับผู้พิการทางสายตา

เมื่อได้โจทย์วิจัย เธอและทีมจึงสร้างชุดประมวลผล ด้วยการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลภาพ ที่ได้จากกล้องขนาดเล็ก ความละเอียด 5 ล้านพิกเซล ซึ่งติดอยู่บริเวณด้านหน้าของแว่นผู้พิการ ที่จะคอยจับรายละเอียดของลายน้ำบนธนบัตร, ความเข้มสีบนเสื้อผ้า, บาร์โค้ดของผลิตภัณฑ์ และแหล่งกำเนิดแสงในห้องก่อนจะประมวลผลแล้วสั่งการผ่านเสียงเพื่อบอกให้ผู้ใช้รับรู้ว่าสิ่งที่กำลังตรวจสอบอยู่คือวัตถุชนิดใด

วิชั่นเนียร์ แว่นแยกแยะวัตถุพร้อมเสียงบรรยาย

"เวลาจะใช้ก็แค่หมุนปุ่มปรับที่กล่องประมวลผลว่าจะใช้โหมดใด แล้วเอาวัตถุนั้นมาไว้ใกล้ๆ ตา ประมาณ 5 วินาทีก็จะมีเสียงจากลำโพงว่าแบงค์นี้คือแบงค์อะไร เพราะกล้องจะจับรายละเอียดแล้วส่งข้อมูลผ่านบลูทูธไปยังส่วนวิเคราะห์ เพื่อเทียบกับฐานข้อมูล ซึ่งจะทำให้ผู้พิการใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น" บุษภาณีเผย

บุษภาณี เผยว่า จุดเด่นที่ทำให้วิชั่นเนียร์ได้รางวัลเหรียญเงินด้านเทคโนโลยีสำหรับคนพิการและสูงอายุ จากเวทีการประกวดนวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ i-CREATEd ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ อยู่ที่การใช้งานซึ่งมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริง และด้วยการออกแบบที่เรียบง่าย ใช้งานง่ายทำให้วิชั่นเนียร์เข้าถึงผู้บกพร่องทางการมองเห็นทุกระดับตั้งแต่ตาพร่ามัวจนถึงบอดสนิท อีกทั้งมีราคาที่เหมาะสมทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะต่อยอดไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์

"ก่อนนำไปแข่งขันก็นำไปให้ผู้พิการใช้ ซึ่งพวกเขาก็ให้การตอบรับค่อนข้างดี บอกว่าใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น แต่ก็พบปัญหาใหม่คือแว่นค่อนข้างหลวม ขั้นต่อไปจึงเป็นการพัฒนาให้แว่นมีความกระชับของแว่นรับกับสรีระใบหน้าของแต่ละคนมากขึ้น ส่วนแบตเตอรี่ที่ใช้กับกล่องประมวลผลไม่มีปัญหา ใช้ได้นานพอๆ กับแบตเตอรี่โทรศัพท์ แล้วในอนาคตก็มีแผนที่จะพัฒนาให้เป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ด้วย โดยจะพยายามทำให้ราคาถูกที่สุดเพื่อให้เข้าถึงผู้พิการทางสายตาทุกคน ซึ่งตอนนี้มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ 3,000-5,000 บาท" บุษภาณี กล่าวทิ้งท้ายแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000104528 (ขนาดไฟล์: 168)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ต.ค.58
วันที่โพสต์: 5/10/2558 เวลา 13:07:40 ดูภาพสไลด์โชว์ "วิชั่นเนียร์" ช่วยคนตาบอดแยกธนบัตร-สีสัน-ยี่ห้อสินค้า-ไฟห้องเปิดปิด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักศึกษา มจธ.เจ๋ง พัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์ภาพจากกล้องถ่ายรูป สู่ “วิชั่นเนียร์” นวัตกรรมแว่นแยกแยะวัตถุพร้อมเสียงบรรยาย ช่วยคนตาบอดแยกธนบัตร-สีสัน-ยี่ห้อสินค้า-ไฟห้องเปิดปิดได้ภายใน 5 วินาทีคว้ารางวัลที่2เวทีสิ่งประดิษฐ์เพื่อคนพิการi-CREATEdประเทศสิงคโปร์ วิชั่นเนียร์ นวัตกรรมแว่นแยกแยะวัตถุพร้อมเสียงบรรยาย ช่วยคนตาบอดแยกธนบัตร-สีสัน-ยี่ห้อสินค้า-ไฟห้องเปิดปิดได้ภายใน 5 วินาที นางสาวบุษภาณี พงษ์ศิริยาภรณ์ บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หนึ่งในผู้ประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์สวมใส่สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้พิการทางสายตามากกว่า 2 แสนคน เมื่อต้องเลือกพัฒนานวัตกรรมสำหรับการทำโครงงานจบการศึกษา เธอจึงมุ่งเป้าไปที่นวัตกรรมเพื่อกลุ่มคนตาบอด ซึ่งตรงกับความถนัดของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานของเธอที่สร้างสรรค์ผลงานเพื่อคนตาบอดมาแล้วหลายต่อหลายชิ้น บุษภาณี กล่าวว่า ช่วงแรกเธอยังไม่มีแนวความคิดชัดเจนว่าจะทำนวัตกรรมอะไร แต่เมื่อได้ลงพื้นที่วิจัยในสถานที่จริงกับผู้พิการทางสายตาที่สมาคมคนตาบอด กรุงเทพฯ ทำให้เธอทราบว่า ปัญหาสำคัญที่คนตาบอดต้องการ การแก้ไขมีด้วยกัน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ การแยะแยะธนบัตร, การแยกแยะสีสัน, การเลือกซื้อสินค้า และการประเมินการเปิดปิดไฟในห้อง ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันแสนง่ายของคนทั่วไป แต่เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบากสำหรับผู้พิการทางสายตา เมื่อได้โจทย์วิจัย เธอและทีมจึงสร้างชุดประมวลผล ด้วยการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลภาพ ที่ได้จากกล้องขนาดเล็ก ความละเอียด 5 ล้านพิกเซล ซึ่งติดอยู่บริเวณด้านหน้าของแว่นผู้พิการ ที่จะคอยจับรายละเอียดของลายน้ำบนธนบัตร, ความเข้มสีบนเสื้อผ้า, บาร์โค้ดของผลิตภัณฑ์ และแหล่งกำเนิดแสงในห้องก่อนจะประมวลผลแล้วสั่งการผ่านเสียงเพื่อบอกให้ผู้ใช้รับรู้ว่าสิ่งที่กำลังตรวจสอบอยู่คือวัตถุชนิดใด วิชั่นเนียร์ แว่นแยกแยะวัตถุพร้อมเสียงบรรยาย "เวลาจะใช้ก็แค่หมุนปุ่มปรับที่กล่องประมวลผลว่าจะใช้โหมดใด แล้วเอาวัตถุนั้นมาไว้ใกล้ๆ ตา ประมาณ 5 วินาทีก็จะมีเสียงจากลำโพงว่าแบงค์นี้คือแบงค์อะไร เพราะกล้องจะจับรายละเอียดแล้วส่งข้อมูลผ่านบลูทูธไปยังส่วนวิเคราะห์ เพื่อเทียบกับฐานข้อมูล ซึ่งจะทำให้ผู้พิการใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น" บุษภาณีเผย บุษภาณี เผยว่า จุดเด่นที่ทำให้วิชั่นเนียร์ได้รางวัลเหรียญเงินด้านเทคโนโลยีสำหรับคนพิการและสูงอายุ จากเวทีการประกวดนวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ i-CREATEd ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ อยู่ที่การใช้งานซึ่งมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริง และด้วยการออกแบบที่เรียบง่าย ใช้งานง่ายทำให้วิชั่นเนียร์เข้าถึงผู้บกพร่องทางการมองเห็นทุกระดับตั้งแต่ตาพร่ามัวจนถึงบอดสนิท อีกทั้งมีราคาที่เหมาะสมทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะต่อยอดไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ "ก่อนนำไปแข่งขันก็นำไปให้ผู้พิการใช้ ซึ่งพวกเขาก็ให้การตอบรับค่อนข้างดี บอกว่าใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น แต่ก็พบปัญหาใหม่คือแว่นค่อนข้างหลวม ขั้นต่อไปจึงเป็นการพัฒนาให้แว่นมีความกระชับของแว่นรับกับสรีระใบหน้าของแต่ละคนมากขึ้น ส่วนแบตเตอรี่ที่ใช้กับกล่องประมวลผลไม่มีปัญหา ใช้ได้นานพอๆ กับแบตเตอรี่โทรศัพท์ แล้วในอนาคตก็มีแผนที่จะพัฒนาให้เป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ด้วย โดยจะพยายามทำให้ราคาถูกที่สุดเพื่อให้เข้าถึงผู้พิการทางสายตาทุกคน ซึ่งตอนนี้มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ 3,000-5,000 บาท" บุษภาณี กล่าวทิ้งท้ายแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000104528

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...