5 แนวโน้มกับการปฎิรูปเทคโนโลยีในเอเชียแปซิฟิก
ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เผยแนวโน้มด้านไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2557 “เอเดรียน เดอ ลูกา” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เอเชียแปซิฟิก ระบุถึง 5 แนวโน้มด้านไอทีที่สำคัญที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคแห่งนี้ในปี 2557 และจะส่งผลกระทบต่อการใช้งานเทคโนโลยีในองค์กรต่างๆ
โดย เดอ ลูกา คาดการณ์ถึงแนวโน้มแรกว่า การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ บิ๊กดาต้า (Big Data)จะก้าวไปไกลกว่าการพิสูจน์แนวคิดและเข้าสู่การใช้งานจริงในตลาด โดยองค์กรจะต้องหาวิธีที่จะช่วยเผยให้เห็นมูลค่าของข้อมูลที่ตนมีอยู่ ตลอดจนปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานในลักษณะปรับขยายได้เพื่อแยกผลลัพธ์ที่มีความ สำคัญออกจากข้อมูลขนาดใหญ่
ซึ่งจากการสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Economist Intelligence Unit (EIU) พบว่าองค์กรมากกว่า 70% ในภูมิภาคนี้เชื่อว่าการนำข้อมูลขนาดใหญ่เข้ามาใช้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน การทำงาน ผลักดันให้เกิดความสามารถในการทำกำไร และช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมได้
อย่างไรก็ตาม องค์กรจำนวนมากพบว่าระบบข้อมูลที่ตนมีอยู่เป็นอุปสรรคในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ เนื่องจากข้อมูลที่ถูกจัดเก็บและถูกจัดการแยกส่วนกัน
ส่วนแนวโน้มต่อมาคือ เมื่อโมเดลของผู้ให้บริการระบบคลาวด์ (Cloud-Broker Model)เริ่มได้รับความนิยมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก องค์กรจะปฏิรูปฝ่ายไอทีของตนจากผู้ใช้เทคโนโลยีให้กลายเป็นผู้สร้างนวัตกรรม ทางธุรกิจโดยเมื่อถึงเวลาฟื้นฟูเทคโนโลยี พวกเขาจะให้ความสำคัญกับแอพพลิเคชั่นและผลลัพธ์ทางธุรกิจมากกว่าโครงสร้างพื้นฐาน โดยองค์กรจะเริ่มหันไปหาผู้ผสานรวมระบบ ฝ่ายไอทีภายในองค์กร หรือผู้ให้บริการภายนอกที่มีบทบาทเป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์
แนวโน้มที่สาม ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับสูงสุด ไม่เพียงแต่ข้อมูลในมือถือที่ถูกส่งไปมาระหว่างอุปกรณ์กับระบบคลาวด์เท่า นั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลที่อยู่ในพื้นที่จัดเก็บด้วย
สำหรับแนวโน้มที่สี่ คือ พบว่า มีการขยายตัวอย่างมหาศาลของข้อมูลที่ไม่มีโครง สร้างจากการสื่อสารผ่านระบบไร้สายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งการเปิดตัวเทคโนโลยีมือถือ 4จี และราคาสมาร์ทโฟนที่สามารถซื้อมาใช้งานได้ไม่ยาก มีผลอย่างมากต่อการขยายตัวของข้อมูลไร้สายในภูมิภาคนี้ และเพื่อจัดการกับเนื้อหาดิจิทัลจำนวนมากของผู้ใช้ ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมจึงต้องพัฒนาโครงสร้างด้านไอทีให้น่าเชื่อถือ มีประสิทธิ ภาพสูง และสามารถปรับขยายได้ ด้วยการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟลช โดยผสานรวมเข้ากับเครือข่ายขนาดใหญ่อันชาญฉลาด เพื่อสนองความต้องการใช้แบนด์วิธในระดับสูง
และแนวโน้มสุดท้าย คือการแข่งขันระหว่างประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อต้อง การก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งเอเชียจะเริ่มชัดเจนมากขึ้นในปี 2557 โดยบรรดาผู้ให้บริการจะเดินหน้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขั้นสูงและทันสมัย เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับบริการของตน
“ข้อมูลขนาดใหญ่, ระบบคลาวด์ และการเข้ารหัสลับข้อมูล เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มด้านไอทีที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงทั่วโลก โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีลักษณะทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานที่มี เอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เราเชื่อว่าแนวโน้มเทคโนโลยีที่กำลังแพร่หลายเพิ่มมากขึ้นเหล่านี้จะ เปลี่ยนมุมมองและบทบาทด้านไอทีและระบบจัดเก็บข้อมูลของภูมิภาคนี้ในปี 2557” เดอ ลูกา กล่าว.
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ม.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
“เอเดรียน เดอ ลูกา” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เอเชียแปซิฟิก ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เผยแนวโน้มด้านไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2557 “เอเดรียน เดอ ลูกา” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เอเชียแปซิฟิก ระบุถึง 5 แนวโน้มด้านไอทีที่สำคัญที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคแห่งนี้ในปี 2557 และจะส่งผลกระทบต่อการใช้งานเทคโนโลยีในองค์กรต่างๆ โดย เดอ ลูกา คาดการณ์ถึงแนวโน้มแรกว่า การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ บิ๊กดาต้า (Big Data)จะก้าวไปไกลกว่าการพิสูจน์แนวคิดและเข้าสู่การใช้งานจริงในตลาด โดยองค์กรจะต้องหาวิธีที่จะช่วยเผยให้เห็นมูลค่าของข้อมูลที่ตนมีอยู่ ตลอดจนปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานในลักษณะปรับขยายได้เพื่อแยกผลลัพธ์ที่มีความ สำคัญออกจากข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งจากการสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Economist Intelligence Unit (EIU) พบว่าองค์กรมากกว่า 70% ในภูมิภาคนี้เชื่อว่าการนำข้อมูลขนาดใหญ่เข้ามาใช้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน การทำงาน ผลักดันให้เกิดความสามารถในการทำกำไร และช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ อย่างไรก็ตาม องค์กรจำนวนมากพบว่าระบบข้อมูลที่ตนมีอยู่เป็นอุปสรรคในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ เนื่องจากข้อมูลที่ถูกจัดเก็บและถูกจัดการแยกส่วนกัน ส่วนแนวโน้มต่อมาคือ เมื่อโมเดลของผู้ให้บริการระบบคลาวด์ (Cloud-Broker Model)เริ่มได้รับความนิยมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก องค์กรจะปฏิรูปฝ่ายไอทีของตนจากผู้ใช้เทคโนโลยีให้กลายเป็นผู้สร้างนวัตกรรม ทางธุรกิจโดยเมื่อถึงเวลาฟื้นฟูเทคโนโลยี พวกเขาจะให้ความสำคัญกับแอพพลิเคชั่นและผลลัพธ์ทางธุรกิจมากกว่าโครงสร้างพื้นฐาน โดยองค์กรจะเริ่มหันไปหาผู้ผสานรวมระบบ ฝ่ายไอทีภายในองค์กร หรือผู้ให้บริการภายนอกที่มีบทบาทเป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์ แนวโน้มที่สาม ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับสูงสุด ไม่เพียงแต่ข้อมูลในมือถือที่ถูกส่งไปมาระหว่างอุปกรณ์กับระบบคลาวด์เท่า นั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลที่อยู่ในพื้นที่จัดเก็บด้วย สำหรับแนวโน้มที่สี่ คือ พบว่า มีการขยายตัวอย่างมหาศาลของข้อมูลที่ไม่มีโครง สร้างจากการสื่อสารผ่านระบบไร้สายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งการเปิดตัวเทคโนโลยีมือถือ 4จี และราคาสมาร์ทโฟนที่สามารถซื้อมาใช้งานได้ไม่ยาก มีผลอย่างมากต่อการขยายตัวของข้อมูลไร้สายในภูมิภาคนี้ และเพื่อจัดการกับเนื้อหาดิจิทัลจำนวนมากของผู้ใช้ ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมจึงต้องพัฒนาโครงสร้างด้านไอทีให้น่าเชื่อถือ มีประสิทธิ ภาพสูง และสามารถปรับขยายได้ ด้วยการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟลช โดยผสานรวมเข้ากับเครือข่ายขนาดใหญ่อันชาญฉลาด เพื่อสนองความต้องการใช้แบนด์วิธในระดับสูง และแนวโน้มสุดท้าย คือการแข่งขันระหว่างประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อต้อง การก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งเอเชียจะเริ่มชัดเจนมากขึ้นในปี 2557 โดยบรรดาผู้ให้บริการจะเดินหน้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขั้นสูงและทันสมัย เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับบริการของตน “ข้อมูลขนาดใหญ่, ระบบคลาวด์ และการเข้ารหัสลับข้อมูล เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มด้านไอทีที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงทั่วโลก โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีลักษณะทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานที่มี เอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เราเชื่อว่าแนวโน้มเทคโนโลยีที่กำลังแพร่หลายเพิ่มมากขึ้นเหล่านี้จะ เปลี่ยนมุมมองและบทบาทด้านไอทีและระบบจัดเก็บข้อมูลของภูมิภาคนี้ในปี 2557” เดอ ลูกา กล่าว. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/IT/206868/5+แนวโน้มกับการปฎิรูปเทคโนโลยีในเอเชียแปซิฟิก เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ม.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)