แอพฯ พาคนตาบอดขึ้นรถเมล์

แสดงความคิดเห็น

แอพพลิเคชั่นเพื่อการเดินทางของคนพิการทางสายตา

มจธ. เสนอไอเดียเจ๋งพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการเดินทางของคนพิการทางสายตา ทำให้การใช้บริการขนส่งสาธารณะเป็นเรื่องง่ายลบขีดจำกัดการออกมาใช้ชีวิตภายนอกของคนพิการ

ในโลกยุคดิจิทัล ปัจจุบันก้าวหน้าไปมากและผู้พัฒนาแอพพลิเคชันต่างๆ ได้เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับกลุ่มคนพิการกันมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวก และทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป ในหลายประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมานานแล้ว สำหรับในเรื่องการอำนวยความสะดวกในการเดินทางสำหรับคนพิการ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

รจเรข ทุ้ยมาก อารีมน เสริมทรัพย์ และววรินดา เรืองวงษ์ เป็นนักศึกษาจากกลุ่มวิชาเอกเทคโนโลยีมีเดียชีวการแพทย์ สาขาเทคโนโลยีมีเดีย โครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาตส์และ เทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นกลุ่มเด็กไทยรุ่นใหม่ที่เห็นปัญหาดังกล่าวจึงร่วมกันออกแบบและพัฒนาโปรเจกต์ ที่ชื่อว่า “Blind Buddy แอพพลิเคชั่นช่วยเหลือคนพิการ ทางสายตาในการเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง” ขึ้น โดยอารีมนกล่าวถึงแรงบันดาลใจในการพัฒนาผลงานว่าเป็นเรื่องที่เคยสัมผัสกับตัวเองมาหลายครั้ง

“เวลาที่คนพิการทางสายตาจะขึ้นรถเมล์จะใช้วิธีตะโกนถามจากคนแถวนั้นว่ารถเมล์สายนั้นสายนี้มาหรือยังบางครั้งก็มีคนใจดีช่วยบอก แต่ก็มีบางครั้งที่ไม่มีคนอยู่บริเวณป้ายรถเมล์เลย หรือบางครั้งเค้าจะเขียน ใส่กระดาษแล้วถือไว้เผื่อว่าจะมีคนช่วยบอก หรืออย่างน้อยกระเป๋ารถเมล์ก็ช่วยเรียกให้ขึ้นรถได้ แต่ถึงคนพิการทางสายตาจะมีทางออกในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง แต่พวกเราคิดว่ามันมีทางออกที่ดีกว่านี้ พวกเราเลยออกแบบแอพพลิเคชั่นดังกล่าวขึ้นมา โดยเริ่มไปสำรวจข้อมูลที่มูลนิธิคอลฟีลด์เพื่อคนตาบอดในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ซึ่ง เป็นคนพิการทางสายตาที่ต้องเดินทางโดยใช้บริการขนส่งสาธารณะเป็นประจำก็พบว่าสมาร์ทโฟนไม่ใช่เรื่องไกลตัวพวกเขา ดังนั้น การพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ต้องใช้งานบนสมาร์ทโฟนก็น่าจะช่วยอำนวยความสะดวกได้ทางหนึ่ง”

ทางด้าน รจเรข อธิบายเสริมถึงวิธีการใช้งานว่า แอพพลิเคชั่นนี้เป็นการพัฒนาขึ้นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยใช้โปรแกรม Android Studio ในการออกแบบและจัดทำแอพพลิเคชั่นที่มีการทำงานกันระหว่าง Ibeacon และแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนเพื่อส่งและรับข้อมูล จากนั้นจะแสดงผลออกมาผ่านแอพพลิเคชั่นในรูปแบบเสียง

ผู้ใช้เริ่มจากเปิดแอพพลิเคชั่น Blind Buddy ไว้จากนั้นเดินไปเรื่อยๆ จนกระทั่งแอพพลิเคชั่นจับสัญญาณบลูทูธ Ibeacon หรือตัวจับสัญญาณบลูทูธที่ติดตั้งไว้ที่ป้ายรถเมล์ได้แล้วก็จะมีการแจ้งเตือน ด้วยการสั่นและมีเสียงเตือนว่าขณะนี้ท่านได้อยู่บริเวณป้ายรถโดยสารแล้ว จากนั้นผู้ใช้ต้องแตะที่หน้าจอหนึ่งครั้ง แอพพลิเคชั่นจะบอกด้วยเสียงว่าที่ป้ายดังกล่าวมีรถเมล์สายใดผ่านบ้าง ผู้ใช้ต้องแตะที่หน้าจอ อีกหนึ่งครั้งเพื่อเลือกสายรถที่จะขึ้นแล้วก็ยืนรอจนกระทั่งรถเมล์สายที่เลือกไว้มาถึงก็จะมีการแจ้งเตือนด้วยเสียงว่ารถมาถึงแล้ว ซึ่งจะมีการติดตั้ง Ibeacon ไว้ที่รถเมล์ด้วย เมื่อขึ้นรถได้แล้วผู้ใช้ต้องแตะที่หน้าจอ อีกครั้ง แอพพลิเคชั่นจะบอกด้วยเสียงว่ารถคันนี้ผ่านป้ายไหนบ้าง และเมื่อผู้ใช้เลือกป้ายที่จะลงแล้วก็รอจนกระทั่งถึงป้ายดังกล่าว ซึ่งแอพพลิเคชั่นจะมีการแจ้งเตือนล่วงหน้าว่าใกล้จะถึงป้ายที่ผู้ใช้ต้องลงแล้วให้มีการเตรียมตัว”

อย่างไรก็ตามผลงานดังกล่าวเป็นเพียงแนวคิดและการออกแบบของเด็กไทยกลุ่มหนึ่งที่อยากจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม แต่เพียงกำลังของนักศึกษาคงไม่สามารถผลักดันออกมาสู่การใช้งาน จริงในสังคมวงกว้างได้ โดย วรินดา กล่าวทิ้งท้ายว่า เหตุผลหลักในการจัดทำแอพพลิเคชั่นนี้ก็เพราะอยากจะนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการทางสายตาในการเดินทางโดยรถ โดยสารประจำทางทำให้คนพิการทางสายตาสามารถออกมาใช้ชีวิตประจำวัน และใช้บริการขนส่งสาธารณะและเดินทางไปในสถานที่ต่างๆ ได้เหมือนคนปกติทั่วไป

ขอบคุณ... http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/634193

ที่มา: eureka.bangkokbiznews.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 มิ.ย.59
วันที่โพสต์: 2/06/2559 เวลา 10:53:40 ดูภาพสไลด์โชว์ แอพฯ พาคนตาบอดขึ้นรถเมล์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แอพพลิเคชั่นเพื่อการเดินทางของคนพิการทางสายตา มจธ. เสนอไอเดียเจ๋งพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการเดินทางของคนพิการทางสายตา ทำให้การใช้บริการขนส่งสาธารณะเป็นเรื่องง่ายลบขีดจำกัดการออกมาใช้ชีวิตภายนอกของคนพิการ ในโลกยุคดิจิทัล ปัจจุบันก้าวหน้าไปมากและผู้พัฒนาแอพพลิเคชันต่างๆ ได้เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับกลุ่มคนพิการกันมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวก และทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป ในหลายประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมานานแล้ว สำหรับในเรื่องการอำนวยความสะดวกในการเดินทางสำหรับคนพิการ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน รจเรข ทุ้ยมาก อารีมน เสริมทรัพย์ และววรินดา เรืองวงษ์ เป็นนักศึกษาจากกลุ่มวิชาเอกเทคโนโลยีมีเดียชีวการแพทย์ สาขาเทคโนโลยีมีเดีย โครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาตส์และ เทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นกลุ่มเด็กไทยรุ่นใหม่ที่เห็นปัญหาดังกล่าวจึงร่วมกันออกแบบและพัฒนาโปรเจกต์ ที่ชื่อว่า “Blind Buddy แอพพลิเคชั่นช่วยเหลือคนพิการ ทางสายตาในการเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง” ขึ้น โดยอารีมนกล่าวถึงแรงบันดาลใจในการพัฒนาผลงานว่าเป็นเรื่องที่เคยสัมผัสกับตัวเองมาหลายครั้ง “เวลาที่คนพิการทางสายตาจะขึ้นรถเมล์จะใช้วิธีตะโกนถามจากคนแถวนั้นว่ารถเมล์สายนั้นสายนี้มาหรือยังบางครั้งก็มีคนใจดีช่วยบอก แต่ก็มีบางครั้งที่ไม่มีคนอยู่บริเวณป้ายรถเมล์เลย หรือบางครั้งเค้าจะเขียน ใส่กระดาษแล้วถือไว้เผื่อว่าจะมีคนช่วยบอก หรืออย่างน้อยกระเป๋ารถเมล์ก็ช่วยเรียกให้ขึ้นรถได้ แต่ถึงคนพิการทางสายตาจะมีทางออกในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง แต่พวกเราคิดว่ามันมีทางออกที่ดีกว่านี้ พวกเราเลยออกแบบแอพพลิเคชั่นดังกล่าวขึ้นมา โดยเริ่มไปสำรวจข้อมูลที่มูลนิธิคอลฟีลด์เพื่อคนตาบอดในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ซึ่ง เป็นคนพิการทางสายตาที่ต้องเดินทางโดยใช้บริการขนส่งสาธารณะเป็นประจำก็พบว่าสมาร์ทโฟนไม่ใช่เรื่องไกลตัวพวกเขา ดังนั้น การพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ต้องใช้งานบนสมาร์ทโฟนก็น่าจะช่วยอำนวยความสะดวกได้ทางหนึ่ง” ทางด้าน รจเรข อธิบายเสริมถึงวิธีการใช้งานว่า แอพพลิเคชั่นนี้เป็นการพัฒนาขึ้นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยใช้โปรแกรม Android Studio ในการออกแบบและจัดทำแอพพลิเคชั่นที่มีการทำงานกันระหว่าง Ibeacon และแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนเพื่อส่งและรับข้อมูล จากนั้นจะแสดงผลออกมาผ่านแอพพลิเคชั่นในรูปแบบเสียง ผู้ใช้เริ่มจากเปิดแอพพลิเคชั่น Blind Buddy ไว้จากนั้นเดินไปเรื่อยๆ จนกระทั่งแอพพลิเคชั่นจับสัญญาณบลูทูธ Ibeacon หรือตัวจับสัญญาณบลูทูธที่ติดตั้งไว้ที่ป้ายรถเมล์ได้แล้วก็จะมีการแจ้งเตือน ด้วยการสั่นและมีเสียงเตือนว่าขณะนี้ท่านได้อยู่บริเวณป้ายรถโดยสารแล้ว จากนั้นผู้ใช้ต้องแตะที่หน้าจอหนึ่งครั้ง แอพพลิเคชั่นจะบอกด้วยเสียงว่าที่ป้ายดังกล่าวมีรถเมล์สายใดผ่านบ้าง ผู้ใช้ต้องแตะที่หน้าจอ อีกหนึ่งครั้งเพื่อเลือกสายรถที่จะขึ้นแล้วก็ยืนรอจนกระทั่งรถเมล์สายที่เลือกไว้มาถึงก็จะมีการแจ้งเตือนด้วยเสียงว่ารถมาถึงแล้ว ซึ่งจะมีการติดตั้ง Ibeacon ไว้ที่รถเมล์ด้วย เมื่อขึ้นรถได้แล้วผู้ใช้ต้องแตะที่หน้าจอ อีกครั้ง แอพพลิเคชั่นจะบอกด้วยเสียงว่ารถคันนี้ผ่านป้ายไหนบ้าง และเมื่อผู้ใช้เลือกป้ายที่จะลงแล้วก็รอจนกระทั่งถึงป้ายดังกล่าว ซึ่งแอพพลิเคชั่นจะมีการแจ้งเตือนล่วงหน้าว่าใกล้จะถึงป้ายที่ผู้ใช้ต้องลงแล้วให้มีการเตรียมตัว” อย่างไรก็ตามผลงานดังกล่าวเป็นเพียงแนวคิดและการออกแบบของเด็กไทยกลุ่มหนึ่งที่อยากจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม แต่เพียงกำลังของนักศึกษาคงไม่สามารถผลักดันออกมาสู่การใช้งาน จริงในสังคมวงกว้างได้ โดย วรินดา กล่าวทิ้งท้ายว่า เหตุผลหลักในการจัดทำแอพพลิเคชั่นนี้ก็เพราะอยากจะนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการทางสายตาในการเดินทางโดยรถ โดยสารประจำทางทำให้คนพิการทางสายตาสามารถออกมาใช้ชีวิตประจำวัน และใช้บริการขนส่งสาธารณะและเดินทางไปในสถานที่ต่างๆ ได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอบคุณ... http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/634193

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...