พร้อมใช้งานอารยสถาปัตย์ที่ “วนอุทยานเขานางพันธุรัต” เพื่อผู้พิการเที่ยวได้อย่างเท่าเทียม

พร้อมใช้งานอารยสถาปัตย์ที่ “วนอุทยานเขานางพันธุรัต” เพื่อผู้พิการเที่ยวได้อย่างเท่าเทียม

วนอุทยานเขานางพันธุรัต จ.เพชรบุรี โชว์งานด้านอารยสถาปัตย์ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มคนเพื่อเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างเท่าเทียม

เฟซบุ๊กเพจประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โพสต์ข้อความว่า นางสาวเนตรนภา งามเนตร หัวหน้าวนอุทยานเขานางพันธุรัต เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564 ทีมงาน “กฤษณะ ทัวร์ยกล้อ” โดยคุณกฤษณะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล และ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) เข้าเยี่ยมชมและท่องเที่ยวภายในวนอุทยานเขานางพันธุรัต

พร้อมใช้งานอารยสถาปัตย์ที่ “วนอุทยานเขานางพันธุรัต” เพื่อผู้พิการเที่ยวได้อย่างเท่าเทียม

วนอุทยานเขานางพันธุรัต เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกและมีการออกแบบตามหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ที่มีมาตรฐานเป็นสากล เพื่อรองรับและสนองความต้องการใช้งานของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึงใช้ประโยชน์ได้โดยสะดวกทั่วถึงและเท่าเทียมกัน (Tourism for All)

ทั้งนี้วนอุทยานเขานางพันธุรัต ได้มีการจัดสร้างอาคารและสถานที่ภายวนอุทยานฯ ให้เป็นอารยสถาปัตย์ ทั้งห้องน้ำ-ห้องสุขา ทางลาดชัน ราวบันได ที่จอดรถ และมีแผนพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ให้ครบ 100 % อาทิเช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะสั้น สำหรับ กลุ่มผู้พิการ-ทุพพลภาพที่ต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ คุณแม่ที่มีลูกอ่อน สตรีที่ขับรถคนเดียวและเด็ก ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์สูงสุดในการใช้บริการด้านต่างๆ อย่างเท่าเทียมกันในสังคม (Friendly Design) เพื่อ“สร้างความเท่าเทียม เพิ่มโอกาสการเข้าถึง

พร้อมใช้งานอารยสถาปัตย์ที่ “วนอุทยานเขานางพันธุรัต” เพื่อผู้พิการเที่ยวได้อย่างเท่าเทียม

“วนอุทยานเขานางพันธุรัต” จ.เพชรบุรี มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาหินปูน มีลักษณะทางภูมิทัศน์เป็นปฏิมากรรมทางธรรมชาติ มีลักษณะสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ ทอดยาวตามแนวเหนือ-ใต้ มองดูคล้ายเหมือนคนนอนหงายอยู่

โดยชื่อของวนอุทยานแห่งนี้ มาจากชื่อของ “เทือกเขานางพันธุรัต” ที่มีที่มาของชื่อมาจากวรรณคดีเรื่อง “สังข์ทอง” ในตอนที่พระสังข์หลบหนีนางพันธุรัตจนเป็นเหตุให้นางต้องอกแตกตาย เพราะความรักในตัวพระสังข์

ซึ่งเชื่อกันว่าลักษณะการนอนตายของนางพันธุรัตคล้ายกับลักษณะของเทือกเขาแห่งนี้ โดยหากใช้จินตนาการในการมองจากระยะไกลจะเห็นเทือกเขาคล้ายนางพันธุรัตนอนหงายอยู่ มีศีรษะอยู่ทางทิศใต้ จึงเป็นที่มาของชื่อ "เทือกเขานางพันธุรัต"

และไม่ใช่เพียงชื่อของเทือกเขาเท่านั้น ที่มีเรื่องราวเกี่ยววรรณคดีเรื่องสังข์ทอง ภายในเขตวนอุทยานพันธุรัตยังมีอีกหลายจุดที่มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีเรื่องนี้อีกด้วย อย่าง “ช่องกระจกนางพันธุรัต” ที่ถือเป็นจุดไฮไลต์คู่วนอุทยานพันธุรัต ที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ยกให้เป็น 1 ใน 25 UNSEEN New Series ประจำปี 2564 ที่ทุกคนไม่ควรพลาด

ขอบคุณ... https://mgronline.com/travel/detail/9640000121830

ที่มา: mgronline.com/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.64
วันที่โพสต์: 14/12/2564 เวลา 11:58:54 ดูภาพสไลด์โชว์ พร้อมใช้งานอารยสถาปัตย์ที่ “วนอุทยานเขานางพันธุรัต” เพื่อผู้พิการเที่ยวได้อย่างเท่าเทียม