"ปรับโฉม"สวนลุมพินี" รองรับคนพิการ-ผู้สูงอายุ"

แสดงความคิดเห็น

กทม."จับมือพม.-จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ปรับโฉม "สวนลุมพินี" รองรับคนพิการ-ผู้สูงอายุ- ทุกคนในสังคม เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

กทม."จับมือพม.-จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ปรับโฉม "สวนลุมพินี" รองรับคนพิการ-ผู้สูงอายุ- ทุกคนในสังคม เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

"นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่ดำเนินโครงการปรับปรุงพื้นที่สวนลุมพินีให้คนพิการ ผู้สูงอายุ และทุกคน เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ตามแผนการดำเนินงานในระยะที่ 1 เพื่อให้เป็นต้นแบบของสวนสาธารณะที่คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็ก สตรี และทุกคนในสังคม โดยมีคณะผู้บริหารกทม. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์กรคนพิการ ร่วมลงสำรวจพื้นที่"

"นายจุมพล กล่าวว่า ในแผนระยะต้นที่ถือเป็นแผนเร่งด่วนนั้น กทม.จะปรับการเข้าถึงสวนลุมพินีให้มีความสะดวกทั้ง 3 ประตู เพื่อให้ผู้พิการและผู้สูงอายุที่เดินทางด้วยรถสาธารณะ สามารถเข้าสวนลุมพินีได้สะดวก และปรับปรุงเส้นทางในสวนลุมพินี ระยะทางประมาณ 1,600 เมตร ให้มีความสะดวกแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ ให้สามารถใช้รถวีลแชร์หรือเดินเข้ามาใช้บริการในสวนลุมพินีได้สะดวกสง ซึ่งกทม.มั่นใจว่าจะเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 3 เดือน ส่วนที่ 2 กทม.จะเร่งรัดดำเนินการสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องห้องน้ำ ซึ่งในสวนลุมพินีมีห้องน้ำอยู่มากกว่า 10 แห่ง

อย่างไรก็ตามในเส้นทางที่ได้กำหนดให้เป็นเส้นทางของผู้พิการและผู้สูงอายุ มีห้องน้ำสำหรับคนพิการอยู่ 6 แห่ง โดยจะปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ให้ใช้ได้สะดวกขึ้นยิ่งขึ้น"

"นายจุมพล กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการปรับปรุงศูนย์ผู้สูงอายุ ซึ่งขณะนี้กทม.มีงบประมาณอยู่แล้ว โดยได้เร่งรัดไปทางสำนักสิ่งแวดล้อมให้ก่อสร้างปรับปรุงให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อให้ผู้พิการและผู้สูงอายุ ได้มีสถานที่จัดกิจกรรมร่วมกัน และในส่วนที่ 3 ต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการอยู่บ้าง อาทิ การจัดพื้นที่ตะวันยิ้มให้เป็นลานกิจกรรมขนาดใหญ่ที่จะใช้จัดกิจกรรมสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ คงต้องใช้กระบวนการปรับพื้นที่และจัดสรรพื้นที่ในส่วนที่เด็กใช้อยู่ด้วย ขณะที่สิ่งอำนวยความสะดวกนั้น คงต้องหารือกับทางทรวงการพัฒนาสังคมฯ ว่าจะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกแค่ไหน เพื่อให้เพียงพอกับผู้พิการและผู้สูงอายุ โดยจะหารือร่วมกับสมาคมคนพิการ และคิดว่าในกลางปีหน้าโครงการฯ จะเสร็จสมบูรณ์ต่อไปผู้สื่อข่าวรายงานว่า กทม.ได้ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์กรคนพิการ ได้ความร่วมมือจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและทุกคนในพื้นที่สวนลุมพินี ตามโครงการปรับปรุงพื้นที่สวนลุมพินีให้คนพิการ ผู้สูงอายุ และทุกคน เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้"

"โดยจะดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ ได้แก่ บริเวณลานตะวันยิ้ม ศูนย์ผู้สูงอายุ ที่จอดรถสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ จำนวน 10 จุด ห้องน้ำบริเวณลานตะวันยิ้มและบริเวณใกล้เคียงเส้นทางเดินสู่ลานตะวันยิ้ม จำนวน 6 ห้อง ทางเดินทางเท้าจากประตูทางเข้าหลัก 3 ด้าน ไปยังลานตะวันยิ้ม ประกอบด้วย ด้านพระบรมราชานุสาวรีย์พระมงกุฎเกล้า ด้านถนนพระราม 4 และด้านถนนวิทยุ รวมทั้งทางเดินเท้าเชื่อมโยงการเดินจากป้ายหยุดรถประจำทาง สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และบีอาร์ทีจากประตูทางเข้าหลักทั้ง 3 ด้าน จำนวน 21 จุด และจัดทำป้ายสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางสำหรับคนพิการตามจุดต่างๆด้วย"

ขอบคุณ... http://www.nationtv.tv/main/content/social/378516786/ (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: nationtv.tvออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ย.59
วันที่โพสต์: 14/09/2559 เวลา 13:34:37 ดูภาพสไลด์โชว์ "ปรับโฉม"สวนลุมพินี" รองรับคนพิการ-ผู้สูงอายุ"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กทม."จับมือพม.-จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ปรับโฉม "สวนลุมพินี" รองรับคนพิการ-ผู้สูงอายุ- ทุกคนในสังคม เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ กทม."จับมือพม.-จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ปรับโฉม "สวนลุมพินี" รองรับคนพิการ-ผู้สูงอายุ- ทุกคนในสังคม เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ "นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่ดำเนินโครงการปรับปรุงพื้นที่สวนลุมพินีให้คนพิการ ผู้สูงอายุ และทุกคน เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ตามแผนการดำเนินงานในระยะที่ 1 เพื่อให้เป็นต้นแบบของสวนสาธารณะที่คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็ก สตรี และทุกคนในสังคม โดยมีคณะผู้บริหารกทม. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์กรคนพิการ ร่วมลงสำรวจพื้นที่" "นายจุมพล กล่าวว่า ในแผนระยะต้นที่ถือเป็นแผนเร่งด่วนนั้น กทม.จะปรับการเข้าถึงสวนลุมพินีให้มีความสะดวกทั้ง 3 ประตู เพื่อให้ผู้พิการและผู้สูงอายุที่เดินทางด้วยรถสาธารณะ สามารถเข้าสวนลุมพินีได้สะดวก และปรับปรุงเส้นทางในสวนลุมพินี ระยะทางประมาณ 1,600 เมตร ให้มีความสะดวกแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ ให้สามารถใช้รถวีลแชร์หรือเดินเข้ามาใช้บริการในสวนลุมพินีได้สะดวกสง ซึ่งกทม.มั่นใจว่าจะเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 3 เดือน ส่วนที่ 2 กทม.จะเร่งรัดดำเนินการสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องห้องน้ำ ซึ่งในสวนลุมพินีมีห้องน้ำอยู่มากกว่า 10 แห่ง อย่างไรก็ตามในเส้นทางที่ได้กำหนดให้เป็นเส้นทางของผู้พิการและผู้สูงอายุ มีห้องน้ำสำหรับคนพิการอยู่ 6 แห่ง โดยจะปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ให้ใช้ได้สะดวกขึ้นยิ่งขึ้น" "นายจุมพล กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการปรับปรุงศูนย์ผู้สูงอายุ ซึ่งขณะนี้กทม.มีงบประมาณอยู่แล้ว โดยได้เร่งรัดไปทางสำนักสิ่งแวดล้อมให้ก่อสร้างปรับปรุงให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อให้ผู้พิการและผู้สูงอายุ ได้มีสถานที่จัดกิจกรรมร่วมกัน และในส่วนที่ 3 ต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการอยู่บ้าง อาทิ การจัดพื้นที่ตะวันยิ้มให้เป็นลานกิจกรรมขนาดใหญ่ที่จะใช้จัดกิจกรรมสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ คงต้องใช้กระบวนการปรับพื้นที่และจัดสรรพื้นที่ในส่วนที่เด็กใช้อยู่ด้วย ขณะที่สิ่งอำนวยความสะดวกนั้น คงต้องหารือกับทางทรวงการพัฒนาสังคมฯ ว่าจะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกแค่ไหน เพื่อให้เพียงพอกับผู้พิการและผู้สูงอายุ โดยจะหารือร่วมกับสมาคมคนพิการ และคิดว่าในกลางปีหน้าโครงการฯ จะเสร็จสมบูรณ์ต่อไปผู้สื่อข่าวรายงานว่า กทม.ได้ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์กรคนพิการ ได้ความร่วมมือจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและทุกคนในพื้นที่สวนลุมพินี ตามโครงการปรับปรุงพื้นที่สวนลุมพินีให้คนพิการ ผู้สูงอายุ และทุกคน เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้" "โดยจะดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ ได้แก่ บริเวณลานตะวันยิ้ม ศูนย์ผู้สูงอายุ ที่จอดรถสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ จำนวน 10 จุด ห้องน้ำบริเวณลานตะวันยิ้มและบริเวณใกล้เคียงเส้นทางเดินสู่ลานตะวันยิ้ม จำนวน 6 ห้อง ทางเดินทางเท้าจากประตูทางเข้าหลัก 3 ด้าน ไปยังลานตะวันยิ้ม ประกอบด้วย ด้านพระบรมราชานุสาวรีย์พระมงกุฎเกล้า ด้านถนนพระราม 4 และด้านถนนวิทยุ รวมทั้งทางเดินเท้าเชื่อมโยงการเดินจากป้ายหยุดรถประจำทาง สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และบีอาร์ทีจากประตูทางเข้าหลักทั้ง 3 ด้าน จำนวน 21 จุด และจัดทำป้ายสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางสำหรับคนพิการตามจุดต่างๆด้วย" ขอบคุณ... http://www.nationtv.tv/main/content/social/378516786/

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...