'ร่วมแบ่งปันความฝันไทย-ลาว สู่เออีซี'

แสดงความคิดเห็น

นายกฤษนะ ละไล

คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : เมื่อวันที่ 9-10 ธันวาคมที่ผ่านมา ผมมีโอกาสเดินทางไป เยือนนครหลวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของ สปป.ลาว อีกครั้ง เพื่อร่วมแบ่งปันความฝันกับเอสซีจีที่ไปมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนที่มีความประพฤติดีแต่ยากจนในประเทศลาว ใน โครงการ SCG Sharing the Dream กิจกรรมๆ ที่จัดกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว

โดยปีนี้ ท่านนางแสงเดือน หล้าจันทะบูน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและการกีฬา สปป.ลาว ให้เกียรติมาเป็นประธานการมอบทุนการศึกษาในครั้งนี้ร่วมกับ คุณอารีย์ ชวลิตชีวินกุล ผู้บริหารระดับสูงของเอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เสร็จจากภารกิจสำคัญแล้วผมก็มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวชมบรรยากาศการท่องเที่ยวและความเจริญของนครหลวงเวียงจันทน์ในช่วงรอยต่อสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งนครหลวงเวียงจันทน์ในปัจจุบันแม้จะเริ่มมีตึกอาคารทันสมัยใหญ่โตจากทุนต่างชาติ ทั้งจากจีน เกาหลีใต้ และชาติอื่นๆ ย่างกรายเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็ตาม แต่ลาวก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ความเป็นเมืองที่เรียบง่ายสงบงามเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

ทะเลฝั่งลาว

ผู้หญิงลาวส่วนใหญ่ยังนิยมแต่งกายด้วยชุดประจำชาติ โดยเฉพาะผ้าซิ่น หรือผ้าถุงที่เย็บปักถักทอลวดลายหัตถศิลป์แบบพื้นบ้านพื้นเมืองของลาวที่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปทั้งในเขตเมืองและชนบท ภาษาลาวยังเป็นภาษาที่มีเสน่ห์น่ารักเสมอสำหรับคนไทย ผมไปที่ วัดศรีสะเกษ วัดเก่าแก่โบราณในนครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อเที่ยวชมพุทธศิลป์ที่สร้างขึ้นในสมัยเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี 2361 ตรงกับสมัยรัชการที่ 2 ของไทย ตรงประตูทางเข้าจะมีป้ายภาษาลาวเขียนไว้ชัดเจนว่า “ซื้อปี้ทางนี้” ซึ่งคำว่า “ปี้” ในภาษาลาวหมายถึงตั๋ว หรือ TICKET ในภาษาอังกฤษ ซึ่งความหมายจะต่างจากภาษาไทยโดยสิ้นเชิง เพราะคำว่าปี้ ในภาษาไทยเป็นคำกริยา หมายถึง ร่วมเพศเพื่อสืบพันธุ์

ดังนั้นหากใครไปลาว หรือจะเข้าชมสถานที่ต่างๆ แล้วมีคนมาพูดว่า “มีปี้มั้ย” หรือ “ขอปี้หน่อย” ก็อย่าได้ตกใจไป เพราะนั่นหมายถึงว่าเขาต้องการดูตั๋ว หรือต้องการให้คุณไปซื้อตั๋วเพื่อเข้าชมสถานที่ต่างๆ นั่นเอง นอกจากศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านพื้นเมืองของลาวแล้ว มาลาวต้องไปเที่ยวชมธรรมชาติด้วยครับ เพราะธรรมชาติต้นไม้ป่าเขาในลาวถือว่ายังอุดมสมบูรณ์อยู่มาก เมื่อตอนที่ผมนั่งอยู่บนเครื่องบิน ช่วงที่เครื่องบินกำลังลดระดับเพื่อลงจอดในสนามบินที่เวียงจันทน์ มองออกไปนอกหน้าต่างเครื่องบินจะเห็นทัศนียภาพที่เป็นธรรมชาติของลาว สีเขียวตระการตาหนาแน่นเต็มไปหมด เห็นแล้วสบายตาสบายใจ แต่ก็อดนึกไปไม่ได้ว่าลาวจะรักษาสภาพความเป็นธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แบบนี้ไปได้อีกนานแค่ไหนหนอ ขออย่าให้เป็นเหมือนในหลายประเทศ (รวมถึงเมืองไทย) ที่ป่าไม้ถูกแผ้วถางรุกรานด้วยน้ำมือมนุษย์ไปอย่างมากมายจนน่าใจหาย

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติผสมผสานกับการก่อสร้างของมนุษย์ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในลาว คือ เขื่อนน้ำงึม ที่เมืองแก้วอุดม แขวงเวียงจันทน์ แหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ของลาว ที่นอกจากจะผลิตไฟฟ้าสำหรับไว้ใช้จ่ายในเวียงจันทน์แล้ว ลาวยังส่งพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนนี้ขายให้แก่ประเทศไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปีด้วย

เขื่อนนี้อยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ประมาณ 90 กิโลเมตร แต่ด้วยสภาพถนนที่ยังไม่ค่อยดีนักทำให้การเดินทางไปเขื่อนน้ำงึมแห่งนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่ก็เพลิดเพลินไปอีกแบบ ทำให้ได้เห็นวิถีชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ของชาวลาวตาม 2 ฟากฝั่งทาง ตลอดเส้นทางจากเมืองหลวงเวียงจันทน์ไปยังชนบทที่เขื่อนน้ำงึม

ท่านนางแสงเดือน หล้าจันทะบูน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและการกีฬา สปป.ลาว ให้เกียรติมาเป็นประธานการมอบทุนการศึกษาในครั้งนี้ร่วมกับ คุณอารีย์ ชวลิตชีวินกุล ผู้บริหารระดับสูงของเอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง

ตามประวัติเขื่อนนี้สร้างขึ้นในปี 2515 หรือเมื่อ 43 ปีมาแล้ว จากเดิมที่เคยเป็นไร่นาป่าเขา และหมู่บ้านชาวลาวจำนวนหนึ่งก็แปรเปลี่ยนมาเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ มีวิวทิวทัศน์ที่สวยสงบงดงามเต็มไปด้วยเกาะแก่งนับร้อยแห่งผุดขึ้นมาเหนือผิวน้ำสีเขียวใสสวยงามตระการตา กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจชั้นเลิศให้แก่นักท่องเที่ยวที่มีหัวใจอิงแอบแนบชิดธรรมชาติ สายลม และสายน้ำ

อาหารลาวก็เป็นเลิศไม่รองใคร เรียบง่าย รส(ไม่)จัด ชัดเจน แต่ถ้าใครที่ชอบรับประทานเผ็ดต้องกระซิบบอกแม่ครัวให้ปรุงรสแบบแซบพิเศษ รับรองให้ไม่ผิดหวัง หูตาลายกันเลยทีเดียว ยิ่งถ้าเป็นจำพวกปลาต่างๆ กินแกล้มกับผักสดจากธรรมชาติด้วยแล้ว ต้องบอกว่า..ซู้ดยอด

ส่วนเรื่อง อารยสถาปัตย์ หรือ Friendly Design ที่ลาวตอนนี้ยังคงต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควรครับ แม้ว่ากฎหมายของลาวจะเริ่มบังคับใช้ให้ตึกอาคารต่างๆ สร้างทำสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการใช้งานและเข้าถึงได้ของกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการบ้างแล้วก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติในสถานที่ต่างๆ ส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดก็ยังคงมีแต่บันได ไม่มีทางลาด หรือบางสถานที่อาจมีทางลาด แต่ก็ยังไปได้ไม่ทั่วถึง ไม่เชื่อมโยงไปยังจุดอื่นๆ ได้

เช่นเดียวกับห้องสุขาในลาว สำหรับคนที่ใช้รถเข็นอาจจะยังเป็นปัญหาใหญ่ เพราะใช้บริการไม่ได้ นอกจากจะไปเข้าห้องน้ำที่สนามบิน หรือโรงแรมบางแห่งที่มีห้องสำหรับผู้ที่ใช้รถเข็น และที่ปั๊มน้ำมัน ปตท.ซึ่งมีอยู่หลายแห่งในเวียงจันทน์ และทุกปั๊มของ ปตท.ก็จะมีอารยสถาปัตย์จัดเต็มเป็นมาตรฐาน รวมถึงห้องสุขาอารยสถาปัตย์ที่มีไว้ให้บริการ เช่นกันครับ

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20151214/218536.html (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ธ.ค.58
วันที่โพสต์: 18/12/2558 เวลา 11:41:24 ดูภาพสไลด์โชว์ 'ร่วมแบ่งปันความฝันไทย-ลาว สู่เออีซี'

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายกฤษนะ ละไล คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : เมื่อวันที่ 9-10 ธันวาคมที่ผ่านมา ผมมีโอกาสเดินทางไป เยือนนครหลวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของ สปป.ลาว อีกครั้ง เพื่อร่วมแบ่งปันความฝันกับเอสซีจีที่ไปมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนที่มีความประพฤติดีแต่ยากจนในประเทศลาว ใน โครงการ SCG Sharing the Dream กิจกรรมๆ ที่จัดกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว โดยปีนี้ ท่านนางแสงเดือน หล้าจันทะบูน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและการกีฬา สปป.ลาว ให้เกียรติมาเป็นประธานการมอบทุนการศึกษาในครั้งนี้ร่วมกับ คุณอารีย์ ชวลิตชีวินกุล ผู้บริหารระดับสูงของเอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เสร็จจากภารกิจสำคัญแล้วผมก็มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวชมบรรยากาศการท่องเที่ยวและความเจริญของนครหลวงเวียงจันทน์ในช่วงรอยต่อสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งนครหลวงเวียงจันทน์ในปัจจุบันแม้จะเริ่มมีตึกอาคารทันสมัยใหญ่โตจากทุนต่างชาติ ทั้งจากจีน เกาหลีใต้ และชาติอื่นๆ ย่างกรายเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็ตาม แต่ลาวก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ความเป็นเมืองที่เรียบง่ายสงบงามเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ทะเลฝั่งลาว ผู้หญิงลาวส่วนใหญ่ยังนิยมแต่งกายด้วยชุดประจำชาติ โดยเฉพาะผ้าซิ่น หรือผ้าถุงที่เย็บปักถักทอลวดลายหัตถศิลป์แบบพื้นบ้านพื้นเมืองของลาวที่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปทั้งในเขตเมืองและชนบท ภาษาลาวยังเป็นภาษาที่มีเสน่ห์น่ารักเสมอสำหรับคนไทย ผมไปที่ วัดศรีสะเกษ วัดเก่าแก่โบราณในนครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อเที่ยวชมพุทธศิลป์ที่สร้างขึ้นในสมัยเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี 2361 ตรงกับสมัยรัชการที่ 2 ของไทย ตรงประตูทางเข้าจะมีป้ายภาษาลาวเขียนไว้ชัดเจนว่า “ซื้อปี้ทางนี้” ซึ่งคำว่า “ปี้” ในภาษาลาวหมายถึงตั๋ว หรือ TICKET ในภาษาอังกฤษ ซึ่งความหมายจะต่างจากภาษาไทยโดยสิ้นเชิง เพราะคำว่าปี้ ในภาษาไทยเป็นคำกริยา หมายถึง ร่วมเพศเพื่อสืบพันธุ์ ดังนั้นหากใครไปลาว หรือจะเข้าชมสถานที่ต่างๆ แล้วมีคนมาพูดว่า “มีปี้มั้ย” หรือ “ขอปี้หน่อย” ก็อย่าได้ตกใจไป เพราะนั่นหมายถึงว่าเขาต้องการดูตั๋ว หรือต้องการให้คุณไปซื้อตั๋วเพื่อเข้าชมสถานที่ต่างๆ นั่นเอง นอกจากศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านพื้นเมืองของลาวแล้ว มาลาวต้องไปเที่ยวชมธรรมชาติด้วยครับ เพราะธรรมชาติต้นไม้ป่าเขาในลาวถือว่ายังอุดมสมบูรณ์อยู่มาก เมื่อตอนที่ผมนั่งอยู่บนเครื่องบิน ช่วงที่เครื่องบินกำลังลดระดับเพื่อลงจอดในสนามบินที่เวียงจันทน์ มองออกไปนอกหน้าต่างเครื่องบินจะเห็นทัศนียภาพที่เป็นธรรมชาติของลาว สีเขียวตระการตาหนาแน่นเต็มไปหมด เห็นแล้วสบายตาสบายใจ แต่ก็อดนึกไปไม่ได้ว่าลาวจะรักษาสภาพความเป็นธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แบบนี้ไปได้อีกนานแค่ไหนหนอ ขออย่าให้เป็นเหมือนในหลายประเทศ (รวมถึงเมืองไทย) ที่ป่าไม้ถูกแผ้วถางรุกรานด้วยน้ำมือมนุษย์ไปอย่างมากมายจนน่าใจหาย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติผสมผสานกับการก่อสร้างของมนุษย์ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในลาว คือ เขื่อนน้ำงึม ที่เมืองแก้วอุดม แขวงเวียงจันทน์ แหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ของลาว ที่นอกจากจะผลิตไฟฟ้าสำหรับไว้ใช้จ่ายในเวียงจันทน์แล้ว ลาวยังส่งพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนนี้ขายให้แก่ประเทศไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปีด้วย เขื่อนนี้อยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ประมาณ 90 กิโลเมตร แต่ด้วยสภาพถนนที่ยังไม่ค่อยดีนักทำให้การเดินทางไปเขื่อนน้ำงึมแห่งนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่ก็เพลิดเพลินไปอีกแบบ ทำให้ได้เห็นวิถีชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ของชาวลาวตาม 2 ฟากฝั่งทาง ตลอดเส้นทางจากเมืองหลวงเวียงจันทน์ไปยังชนบทที่เขื่อนน้ำงึม ท่านนางแสงเดือน หล้าจันทะบูน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและการกีฬา สปป.ลาว ให้เกียรติมาเป็นประธานการมอบทุนการศึกษาในครั้งนี้ร่วมกับ คุณอารีย์ ชวลิตชีวินกุล ผู้บริหารระดับสูงของเอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ตามประวัติเขื่อนนี้สร้างขึ้นในปี 2515 หรือเมื่อ 43 ปีมาแล้ว จากเดิมที่เคยเป็นไร่นาป่าเขา และหมู่บ้านชาวลาวจำนวนหนึ่งก็แปรเปลี่ยนมาเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ มีวิวทิวทัศน์ที่สวยสงบงดงามเต็มไปด้วยเกาะแก่งนับร้อยแห่งผุดขึ้นมาเหนือผิวน้ำสีเขียวใสสวยงามตระการตา กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจชั้นเลิศให้แก่นักท่องเที่ยวที่มีหัวใจอิงแอบแนบชิดธรรมชาติ สายลม และสายน้ำ อาหารลาวก็เป็นเลิศไม่รองใคร เรียบง่าย รส(ไม่)จัด ชัดเจน แต่ถ้าใครที่ชอบรับประทานเผ็ดต้องกระซิบบอกแม่ครัวให้ปรุงรสแบบแซบพิเศษ รับรองให้ไม่ผิดหวัง หูตาลายกันเลยทีเดียว ยิ่งถ้าเป็นจำพวกปลาต่างๆ กินแกล้มกับผักสดจากธรรมชาติด้วยแล้ว ต้องบอกว่า..ซู้ดยอด ส่วนเรื่อง อารยสถาปัตย์ หรือ Friendly Design ที่ลาวตอนนี้ยังคงต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควรครับ แม้ว่ากฎหมายของลาวจะเริ่มบังคับใช้ให้ตึกอาคารต่างๆ สร้างทำสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการใช้งานและเข้าถึงได้ของกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการบ้างแล้วก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติในสถานที่ต่างๆ ส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดก็ยังคงมีแต่บันได ไม่มีทางลาด หรือบางสถานที่อาจมีทางลาด แต่ก็ยังไปได้ไม่ทั่วถึง ไม่เชื่อมโยงไปยังจุดอื่นๆ ได้ เช่นเดียวกับห้องสุขาในลาว สำหรับคนที่ใช้รถเข็นอาจจะยังเป็นปัญหาใหญ่ เพราะใช้บริการไม่ได้ นอกจากจะไปเข้าห้องน้ำที่สนามบิน หรือโรงแรมบางแห่งที่มีห้องสำหรับผู้ที่ใช้รถเข็น และที่ปั๊มน้ำมัน ปตท.ซึ่งมีอยู่หลายแห่งในเวียงจันทน์ และทุกปั๊มของ ปตท.ก็จะมีอารยสถาปัตย์จัดเต็มเป็นมาตรฐาน รวมถึงห้องสุขาอารยสถาปัตย์ที่มีไว้ให้บริการ เช่นกันครับ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20151214/218536.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...