“ตาก-สุราษฎร์ธานี” 2 จังหวัดนำร่องเมืองอารยสถาปัตย์ Friendly Design City

แสดงความคิดเห็น

นายกฤษนะ ละไล พาสำรวจจ.ตาก และ จ.สุราษฎร์ธานี ที่กำลังเริ่มต้นการขับเคลื่อน และปรับปรุงพัฒนาอารยสถาปัตย์อย่างจริงจัง

คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : ความสำคัญยิ่งยวดอย่างหนึ่งของประเทศไทยในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ส่งเสริมสิทธิความเสมอภาค และการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีหน้านี้ คือ การเตรียมความพร้อมทางด้านอารยสถาปัตย์ (Friendly Design) หรือการออกแบบ จัดทำ ปรับปรุง และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในรูปแบบต่างๆ ทั้งในตึกอาคาร สถานที่ สินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการสาธารณะ ระบบขนส่งมวลชน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งาน หรือใช้บริการได้ของคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ให้ได้รับความสะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียมกันให้ได้มากที่สุด

นายกฤษนะ ละไล ใช้ทางลาดสำหรับรถเข็นวีลแชร์

อารยสถาปัตย์ที่ว่ามานี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการเสริมสร้างสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสะดวก ปลอดภัย ทันสมัย สร้างความสบายใจในการใช้ชีวิตให้แก่ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุ รองรับสังคมผู้สูงวัยในประเทศไทย และในโลก ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต

นอกจากนี้ความสะดวก ปลอดภัย และทันสมัยจากอารยสถาปัตย์ ยังจะส่งผลไปถึงกลุ่มผู้ป่วยพักฟื้น ผู้มีสุขภาพไม่แข็งแรง ผู้พิการ ตำรวจ-ทหารผ่านศึก ตลอดจนคนตั้งท้อง และเด็กเล็ก แม้แต่คนอ้วน และผู้หญิง หรือสาวประเภทสองที่ใส่ส้นสูง หรือใส่กระโปรงสั้น ก็ล้วนจะได้รับความสะดวก ปลอดภัย ไร้กังวลมากขึ้นจากบริการอารยสถาปัตย์ต่างๆ ในสังคม

สัญลักษณ์ที่โดดเด่นสำคัญของอารยสถาปัตย์ อย่างหนึ่ง คือ ทางลาด ถ้าบ้านเมืองเรา และทุกประเทศทั่วโลกมีทางลาด แทนการมีบันได หรือทำทางลาด ควบคู่กับบันไดในทุกตึกอาคาร และสถานที่ต่างๆ เช่นในญี่ปุ่น สิงค์โปร์ อเมริกา และยุโรปสมัยใหม่ ก็จะทำให้ผู้สูงอายุที่ต้องใช้รถเข็น หรือไม้เท้า ผู้ป่วยพักฟื้น ผู้พิการ ตำรวจทหารผ่านศึกที่ต้องใช้รถเข็น รวมถึงเด็กเล็กที่พ่อแม่ต้องใช้รถเข็นเด็ก ก็จะสามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ โดยสะดวก ปลอดภัย แต่ทางลาดที่ว่ามานี้ ต้องเป็นทางลาดที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ใช้งานได้ดี เป็นอารยสถาปัตย์โดยแท้จริง คือ 1.ต้องไม่ชัน 2.ไม่แคบ 3.ไม่ลื่น 4.ไม่อันตราย 5.มีราวกันตก 6.มีราวจับสำหรับผู้สูงอายุ และคนท้อง อีกทั้ง ทางลาด จะต้องมีความเชื่อมโยงไปได้ทั่วทุกจุดของตึกอาคาร หรือสถานที่ ไม่ใช่ทำทางลาดเฉพาะด้านหลัง แต่ด้านหน้าไม่มี

ดังจะเห็นได้จากตึกอาคาร หรือสถานที่หลายแห่งในประเทศไทยช่วง 10 ปีมานี้ ตั้งแต่มีกฎกระทรวงมหาดไทยออกมาบังคับใช้ให้ตึกอาคารสถานที่ต่างๆ ต้องจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ ซึ่งแม้จะมีตึกอาคารหลายแห่งทำอารยสถาปัตย์ ประเภททางลาดอยู่บ้าง แต่ก็ทำแบบเหมือนถูกบังคับ ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจ ไม่ได้ใส่ใจโดยแท้จริง จึงทำให้ทางลาดหลายแห่งกลายเป็นทางชัน (มาก) คนใช้รถเข็นไม่สามารถเข็นขึ้น-ลงเองได้ หรือมีทางลาดก็จริง แต่ก็มีเฉพาะจุดเฉพาะที่ ไม่มีการเชื่อมโยงไปยังจุดต่างๆได้ จึงไม่สามารถใช้งานได้จริงในทางปฏิบัติ คล้ายๆ กรณีสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สมัยแรกเริ่มปี 2542 จนถึงปัจจุบัน ที่ยังมีลิฟต์เพียงบางสถานี เช่น มีลิฟต์ข้างซ้าย ไม่มีข้างขวา มีแต่ขาไป ไม่มีขากลับ เปรียบเหมือนใส่เสื้อ แต่ไม่ได้ใส่กางเกง มีถุงเท้า แต่ขาดรองเท้า เป็นต้น

ทางลาดสำหรับรถเข็นวีลแชร์

นอกจากนี้ อารยสถาปัตย์ ยังมีเรื่องของบริการที่สะดวก ปลอดภัยในที่จอดรถสำหรับรถยนต์ที่มีผู้ที่ใช้รถเข็น เรื่องห้องสุขาสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็กเล็ก ไปจนถึงป้ายสัญลักษณ์เฟรนด์ลี่ดีไซน์ และการเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้พิการทางสายตา คนหูหนวก เป็นต้น เป็นที่น่ายินดีว่า ในเร็วๆ นี้ จะมีอย่างน้อย 2 จังหวัดในเมืองไทย คือ จ.ตาก และ จ.สุราษฎร์ธานี ที่กำลังเริ่มต้นการขับเคลื่อน และปรับปรุงพัฒนาอารยสถาปัตย์อย่างจริงจัง และเห็นผลได้ในสถานที่สำคัญต่างๆ ของจังหวัด รวม 5-10 แห่งนำร่อง ก่อนจะขยายไปทั่วทุกพื้นที่สำคัญของจังหวัด เพื่อให้เป็นตัวอย่างในการพัฒนาไปสู่ความเป็น “เมืองอารยสถาปัตย์” หรือ Friendly Design City ที่จะทำให้คนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย เข้าถึง เที่ยวได้ สะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม

มาร่วมกันคืนความสุข และสร้างความสุขใหม่ให้กับสังคม ส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ก้าวหน้าทันสมัยของประเทศไทยในเวทีโลก ด้วยกันทุกคน ทุกองค์กร ทุกจังหวัดนะครับ

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20151116/216941.html (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 พ.ย.58
วันที่โพสต์: 18/11/2558 เวลา 11:06:52 ดูภาพสไลด์โชว์ “ตาก-สุราษฎร์ธานี” 2 จังหวัดนำร่องเมืองอารยสถาปัตย์ Friendly Design City

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายกฤษนะ ละไล พาสำรวจจ.ตาก และ จ.สุราษฎร์ธานี ที่กำลังเริ่มต้นการขับเคลื่อน และปรับปรุงพัฒนาอารยสถาปัตย์อย่างจริงจัง คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : ความสำคัญยิ่งยวดอย่างหนึ่งของประเทศไทยในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ส่งเสริมสิทธิความเสมอภาค และการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีหน้านี้ คือ การเตรียมความพร้อมทางด้านอารยสถาปัตย์ (Friendly Design) หรือการออกแบบ จัดทำ ปรับปรุง และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในรูปแบบต่างๆ ทั้งในตึกอาคาร สถานที่ สินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการสาธารณะ ระบบขนส่งมวลชน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งาน หรือใช้บริการได้ของคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ให้ได้รับความสะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียมกันให้ได้มากที่สุด นายกฤษนะ ละไล ใช้ทางลาดสำหรับรถเข็นวีลแชร์ อารยสถาปัตย์ที่ว่ามานี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการเสริมสร้างสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสะดวก ปลอดภัย ทันสมัย สร้างความสบายใจในการใช้ชีวิตให้แก่ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุ รองรับสังคมผู้สูงวัยในประเทศไทย และในโลก ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต นอกจากนี้ความสะดวก ปลอดภัย และทันสมัยจากอารยสถาปัตย์ ยังจะส่งผลไปถึงกลุ่มผู้ป่วยพักฟื้น ผู้มีสุขภาพไม่แข็งแรง ผู้พิการ ตำรวจ-ทหารผ่านศึก ตลอดจนคนตั้งท้อง และเด็กเล็ก แม้แต่คนอ้วน และผู้หญิง หรือสาวประเภทสองที่ใส่ส้นสูง หรือใส่กระโปรงสั้น ก็ล้วนจะได้รับความสะดวก ปลอดภัย ไร้กังวลมากขึ้นจากบริการอารยสถาปัตย์ต่างๆ ในสังคม สัญลักษณ์ที่โดดเด่นสำคัญของอารยสถาปัตย์ อย่างหนึ่ง คือ ทางลาด ถ้าบ้านเมืองเรา และทุกประเทศทั่วโลกมีทางลาด แทนการมีบันได หรือทำทางลาด ควบคู่กับบันไดในทุกตึกอาคาร และสถานที่ต่างๆ เช่นในญี่ปุ่น สิงค์โปร์ อเมริกา และยุโรปสมัยใหม่ ก็จะทำให้ผู้สูงอายุที่ต้องใช้รถเข็น หรือไม้เท้า ผู้ป่วยพักฟื้น ผู้พิการ ตำรวจทหารผ่านศึกที่ต้องใช้รถเข็น รวมถึงเด็กเล็กที่พ่อแม่ต้องใช้รถเข็นเด็ก ก็จะสามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ โดยสะดวก ปลอดภัย แต่ทางลาดที่ว่ามานี้ ต้องเป็นทางลาดที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ใช้งานได้ดี เป็นอารยสถาปัตย์โดยแท้จริง คือ 1.ต้องไม่ชัน 2.ไม่แคบ 3.ไม่ลื่น 4.ไม่อันตราย 5.มีราวกันตก 6.มีราวจับสำหรับผู้สูงอายุ และคนท้อง อีกทั้ง ทางลาด จะต้องมีความเชื่อมโยงไปได้ทั่วทุกจุดของตึกอาคาร หรือสถานที่ ไม่ใช่ทำทางลาดเฉพาะด้านหลัง แต่ด้านหน้าไม่มี ดังจะเห็นได้จากตึกอาคาร หรือสถานที่หลายแห่งในประเทศไทยช่วง 10 ปีมานี้ ตั้งแต่มีกฎกระทรวงมหาดไทยออกมาบังคับใช้ให้ตึกอาคารสถานที่ต่างๆ ต้องจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ ซึ่งแม้จะมีตึกอาคารหลายแห่งทำอารยสถาปัตย์ ประเภททางลาดอยู่บ้าง แต่ก็ทำแบบเหมือนถูกบังคับ ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจ ไม่ได้ใส่ใจโดยแท้จริง จึงทำให้ทางลาดหลายแห่งกลายเป็นทางชัน (มาก) คนใช้รถเข็นไม่สามารถเข็นขึ้น-ลงเองได้ หรือมีทางลาดก็จริง แต่ก็มีเฉพาะจุดเฉพาะที่ ไม่มีการเชื่อมโยงไปยังจุดต่างๆได้ จึงไม่สามารถใช้งานได้จริงในทางปฏิบัติ คล้ายๆ กรณีสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สมัยแรกเริ่มปี 2542 จนถึงปัจจุบัน ที่ยังมีลิฟต์เพียงบางสถานี เช่น มีลิฟต์ข้างซ้าย ไม่มีข้างขวา มีแต่ขาไป ไม่มีขากลับ เปรียบเหมือนใส่เสื้อ แต่ไม่ได้ใส่กางเกง มีถุงเท้า แต่ขาดรองเท้า เป็นต้น ทางลาดสำหรับรถเข็นวีลแชร์ นอกจากนี้ อารยสถาปัตย์ ยังมีเรื่องของบริการที่สะดวก ปลอดภัยในที่จอดรถสำหรับรถยนต์ที่มีผู้ที่ใช้รถเข็น เรื่องห้องสุขาสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็กเล็ก ไปจนถึงป้ายสัญลักษณ์เฟรนด์ลี่ดีไซน์ และการเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้พิการทางสายตา คนหูหนวก เป็นต้น เป็นที่น่ายินดีว่า ในเร็วๆ นี้ จะมีอย่างน้อย 2 จังหวัดในเมืองไทย คือ จ.ตาก และ จ.สุราษฎร์ธานี ที่กำลังเริ่มต้นการขับเคลื่อน และปรับปรุงพัฒนาอารยสถาปัตย์อย่างจริงจัง และเห็นผลได้ในสถานที่สำคัญต่างๆ ของจังหวัด รวม 5-10 แห่งนำร่อง ก่อนจะขยายไปทั่วทุกพื้นที่สำคัญของจังหวัด เพื่อให้เป็นตัวอย่างในการพัฒนาไปสู่ความเป็น “เมืองอารยสถาปัตย์” หรือ Friendly Design City ที่จะทำให้คนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย เข้าถึง เที่ยวได้ สะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม มาร่วมกันคืนความสุข และสร้างความสุขใหม่ให้กับสังคม ส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ก้าวหน้าทันสมัยของประเทศไทยในเวทีโลก ด้วยกันทุกคน ทุกองค์กร ทุกจังหวัดนะครับ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20151116/216941.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...