ตู้ TTRS เปิดโลกเงียบ เชื่อมต่อสังคมอย่างเท่าเทียม

แสดงความคิดเห็น

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ทดลองใช้บริการตู้ TTRS สื่อกลางให้แก่คนพิการทางการได้ยินมีโอกาสใช้บริการโทรคมนาคมอย่างเท่าเทียมและสามารถติดต่อสื่อสารได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

โดย ศิวพร อ่องศรี

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) และมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ จัดโครงการ "ศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย" หรือศูนย์ TTRS เพื่อเป็นสื่อกลางให้แก่คนพิการทางการได้ยินมีโอกาสใช้บริการโทรคมนาคมอย่างเท่าเทียมและสามารถติดต่อสื่อสารได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป โดยมีพิธีส่งมอบและเปิดการใช้บริการเครื่องบริการถ่ายทอดการสื่อสารสาธารณะ (ตู้ TTRS) สำหรับคนพิการทางการได้ยิน ที่สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ด จ.นนทบุรี

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวนับเป็นความร่วมมือที่ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนสังคมสู่ความเสมอภาคและเท่าเทียม เป็นการเปิดโอกาสให้กับเด็กและเยาวชนที่พิการทางการได้ยินให้สามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมพื้นฐานได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งตู้ TTRS จะเป็นการเปิดโลกเงียบให้แก่คนพิการทางการได้ยิน และจะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างเท่าเทียมต่อไปในอนาคต

"ตู้ TTRS ขณะนี้ในส่วนของ พม.นั้น มีการติดตั้งที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) จำนวน 8 เครื่อง ได้แก่ กระบี่ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ นนทบุรี ระยอง นครปฐม แพร่ และนครศรีธรรมราช รวมทั้งสำนักงาน พก.จำนวน 1 เครื่อง สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ด จ.นนทบุรี จำนวน 1 เครื่อง และมีแผนจะติดตั้งเพิ่มภายในปีนี้อีก 5 จังหวัด" รมว.พม.กล่าว

บริการตู้ TTRS สื่อกลางให้แก่คนพิการทางการได้ยิน

พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กสทช.กล่าวว่า ปัจจุบันตู้ TTRS มีการติดตั้งไปแล้ว 47 จังหวัด จำนวน 120 ตู้ทั่วประเทศ โดยติดตั้งในสถานศึกษา สถานที่ราชการ สถานีขนส่งมวลชน บริษัทเอกชน ซึ่งมีคนพิการทางการได้ยินทำงานอยู่ และชมรมคนหูหนวกทั่วประเทศ และล่าสุดที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ทั้ง 27 สาขา

"ผู้พิการทางการได้ยินจะได้รับประโยชน์จากตู้ TTRS คือ 1.บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบข้อความสั้นๆ (SMS) อีเมล์ (ข้อความภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว) โดยผู้บกพร่องทางการได้ยินจะส่งผ่านข้อความต่างๆ ไปยังศูนย์ที่มีเจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสาร จากนั้นเจ้าหน้าที่จะส่งเป็นเสียงพูดไปยังผู้รับปลายทาง 2.บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบข้อความออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต 3.บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบภาพเคลื่อนไหวบนอินเทอร์เน็ต 4.บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบภาพเคลื่อนไหวบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5.บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบภาพเคลื่อนไหวบนเครื่องบริการสาธารณะ และ 6.บริการถ่ายทอดการสื่อสารเพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน"

ส่วนวิธีการใช้บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบสนทนาวิดีโอผ่านตู้ TTRS นั้น พล.อ.สุกิจ อธิบายว่า สามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ 1.แบบสนทนาวิดีโอ (VRS) เมื่อคนหูหนวกต้องการโทรศัพท์คุยกับคนอื่นๆ ในสังคม สามารถมาใช้บริการสนทนาวิดีโอผ่านตู้ TTRS ได้ โดยคนหูหนวกยืนอยู่หน้าตู้ จากนั้นปฏิบัติตามวิธีการใช้งาน แจ้งชื่อและเลขหมายโทรศัพท์ของผู้รับปลายทาง เจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสารจะโทรศัพท์ติดต่อผู้รับปลายทางด้วยการพูด และสนทนาภาษามือโต้ตอบกับคนหูหนวก

"2.บริการสนทนาวิดีโอเพื่อใช้เป็นล่ามภาษามือทางไกล (VRI) เมื่อคนหูหนวกและคนที่มีการได้ยินต้องการคุยกันต่อหน้า สามารถมาคุยกัน โดยใช้บริการสนทนาผ่านตู้ TTRS ได้ โดยคนหูหนวกและคนที่คุยด้วยยืนอยู่ด้วยกันหน้าตู้ เจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสารจะสนทนาภาษามือกับคนหูหนวก และแปลเป็นภาษาพูดให้กับคนที่คุยด้วย โดยให้ใช้หูโทรศัพท์ฟังคำแปลหรือพูดคุยผ่านเจ้าหน้าที่" พล.อ.สุกิจอธิบาย

ตู้ TTRS นับเป็นการเปิดโลกเงียบให้กับคนพิการทางการได้ยินได้ติดต่อสื่อสารในสังคมได้อย่างเท่าเทียม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1431332640 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 พ.ค.58
วันที่โพสต์: 12/05/2558 เวลา 11:20:27 ดูภาพสไลด์โชว์ ตู้ TTRS เปิดโลกเงียบ เชื่อมต่อสังคมอย่างเท่าเทียม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ทดลองใช้บริการตู้ TTRS สื่อกลางให้แก่คนพิการทางการได้ยินมีโอกาสใช้บริการโทรคมนาคมอย่างเท่าเทียมและสามารถติดต่อสื่อสารได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป โดย ศิวพร อ่องศรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) และมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ จัดโครงการ "ศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย" หรือศูนย์ TTRS เพื่อเป็นสื่อกลางให้แก่คนพิการทางการได้ยินมีโอกาสใช้บริการโทรคมนาคมอย่างเท่าเทียมและสามารถติดต่อสื่อสารได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป โดยมีพิธีส่งมอบและเปิดการใช้บริการเครื่องบริการถ่ายทอดการสื่อสารสาธารณะ (ตู้ TTRS) สำหรับคนพิการทางการได้ยิน ที่สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ด จ.นนทบุรี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวนับเป็นความร่วมมือที่ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนสังคมสู่ความเสมอภาคและเท่าเทียม เป็นการเปิดโอกาสให้กับเด็กและเยาวชนที่พิการทางการได้ยินให้สามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมพื้นฐานได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งตู้ TTRS จะเป็นการเปิดโลกเงียบให้แก่คนพิการทางการได้ยิน และจะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างเท่าเทียมต่อไปในอนาคต "ตู้ TTRS ขณะนี้ในส่วนของ พม.นั้น มีการติดตั้งที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) จำนวน 8 เครื่อง ได้แก่ กระบี่ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ นนทบุรี ระยอง นครปฐม แพร่ และนครศรีธรรมราช รวมทั้งสำนักงาน พก.จำนวน 1 เครื่อง สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ด จ.นนทบุรี จำนวน 1 เครื่อง และมีแผนจะติดตั้งเพิ่มภายในปีนี้อีก 5 จังหวัด" รมว.พม.กล่าว บริการตู้ TTRS สื่อกลางให้แก่คนพิการทางการได้ยิน พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กสทช.กล่าวว่า ปัจจุบันตู้ TTRS มีการติดตั้งไปแล้ว 47 จังหวัด จำนวน 120 ตู้ทั่วประเทศ โดยติดตั้งในสถานศึกษา สถานที่ราชการ สถานีขนส่งมวลชน บริษัทเอกชน ซึ่งมีคนพิการทางการได้ยินทำงานอยู่ และชมรมคนหูหนวกทั่วประเทศ และล่าสุดที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ทั้ง 27 สาขา "ผู้พิการทางการได้ยินจะได้รับประโยชน์จากตู้ TTRS คือ 1.บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบข้อความสั้นๆ (SMS) อีเมล์ (ข้อความภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว) โดยผู้บกพร่องทางการได้ยินจะส่งผ่านข้อความต่างๆ ไปยังศูนย์ที่มีเจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสาร จากนั้นเจ้าหน้าที่จะส่งเป็นเสียงพูดไปยังผู้รับปลายทาง 2.บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบข้อความออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต 3.บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบภาพเคลื่อนไหวบนอินเทอร์เน็ต 4.บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบภาพเคลื่อนไหวบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5.บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบภาพเคลื่อนไหวบนเครื่องบริการสาธารณะ และ 6.บริการถ่ายทอดการสื่อสารเพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน" ส่วนวิธีการใช้บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบสนทนาวิดีโอผ่านตู้ TTRS นั้น พล.อ.สุกิจ อธิบายว่า สามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ 1.แบบสนทนาวิดีโอ (VRS) เมื่อคนหูหนวกต้องการโทรศัพท์คุยกับคนอื่นๆ ในสังคม สามารถมาใช้บริการสนทนาวิดีโอผ่านตู้ TTRS ได้ โดยคนหูหนวกยืนอยู่หน้าตู้ จากนั้นปฏิบัติตามวิธีการใช้งาน แจ้งชื่อและเลขหมายโทรศัพท์ของผู้รับปลายทาง เจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสารจะโทรศัพท์ติดต่อผู้รับปลายทางด้วยการพูด และสนทนาภาษามือโต้ตอบกับคนหูหนวก "2.บริการสนทนาวิดีโอเพื่อใช้เป็นล่ามภาษามือทางไกล (VRI) เมื่อคนหูหนวกและคนที่มีการได้ยินต้องการคุยกันต่อหน้า สามารถมาคุยกัน โดยใช้บริการสนทนาผ่านตู้ TTRS ได้ โดยคนหูหนวกและคนที่คุยด้วยยืนอยู่ด้วยกันหน้าตู้ เจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสารจะสนทนาภาษามือกับคนหูหนวก และแปลเป็นภาษาพูดให้กับคนที่คุยด้วย โดยให้ใช้หูโทรศัพท์ฟังคำแปลหรือพูดคุยผ่านเจ้าหน้าที่" พล.อ.สุกิจอธิบาย ตู้ TTRS นับเป็นการเปิดโลกเงียบให้กับคนพิการทางการได้ยินได้ติดต่อสื่อสารในสังคมได้อย่างเท่าเทียม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1431332640

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...