ขสมก. เมินซื้อ “รถเมล์ประชาชนที่ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” อย่างสะดวกและปลอดภัย

แสดงความคิดเห็น

นายสัมฤทธิ์ ชาภิรมย์ ผู้นำเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคันอ่านแถลงการณ์

เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. “เครือข่ายรถเมล์ประชาชน : ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็ก คนตาบอด คนหูหนวกและล่ามภาษามือ คนพิการด้านร่างกายหรือก่ารเคลื่อนไหว คนพิการทางสติปัญญา คนออทิสติก คนบกพร่องทางการเรียนรู้ ผู้ดูแลคนพิการ และผู้แทนองค์กรเอกชนเพื่อคนพิการ เป็นต้น รวมประมาณ ๑๐๐ คน ได้พากันเดินทางไปที่ องค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพฯ ( ขสมก.) เพื่อคัดค้าน การจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ(NGV) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ตามร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR ) ฉบับที่๘ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๗ เนื่องจาก ร่างขอบเขตของงาน ฉบับที่ ๘ มีข้อความเหมือน ฉบับที่ ๗ กล่าวคือ จัดซื้อรถเมล์ธรรมดา หรือรถเมล์ร้อน จำนวนหนึ่งเป็นแบบรถเมล์มีบันไดที่ติดลิฟต์ยกเก้าอี้เข็น ซึ่งเครือข่ายฯ ได้ค้านว่า ไม่สะดวก ใข้เวลามาก และไม่ปลอดภัย ดังนั้น ขสมก.ควรจัดซื้อรถทุกคันแบบไร้บันไดเพื่อให้ประชาชนทุกคนใช้รถเมล์สาธารณะได้ทุกคันอย่างเท่าเทียมกัน

ผู้แทนเครือข่ายเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน นายสัมฤทธิ์ ชาภิรมย์ ผู้นำเครือข่ายฯ กล่าวว่า เครือข่ายฯ ได้เสนอให้ ขสมก.จัดซื้อ “รถเมล์ไร้บันได” ซึ่งมีทางลาดที่คนทั่วไป รวมทั้งผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้เจ็บป่วยอ่อนแรง เป็นต้น เดินขึ้นได้ ในขณะที่คนใช้เก้าอี้เข็นก็เข็นขึ้นรถเมล์ได้โดยสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย เครือข่ายฯ ไม่ต้องการรถเมล์ติดลิฟต์ยกเก้าอี้เข็น ซึ่งมีราคาแพงกว่าและไม่เอื้อต่อสภาพการจราจรของกรุงเทพฯ แต่ละครั้งที่ใช้ยกเก้าอี้เข็นจะต้องใช้เวลานาน จะทำให้คนใช้เก้าอี้เข็นตกเป็นจำเลยของสังคม แถมราคาแพงกว่ารถเมล์ไร้บันได ทั้งนี้ เครือข่ายฯ ได้ร่วมกันเรียกร้องต่อ ขสมก.และกระทรวงคมนาคมมาหลายครั้งแล้ว แต่ ขสมก.ยังออกประกาศร่างขอบเขตของงาน ฉบับที่ ๘ โดยยืนยันจะซื้อรถเมล์มีบันไดเหมือนเดิม โดยอ้างว่า รถเมล์ไร้บันได ไม่สามารถวิ่งได้ในภาวะที่เกิดน้ำท่วม หรือคอสะพานสูงผิดปกติ หรือพื้นถนนขรุขระ ใน กทม. และปริมณฑล รวม ๑๑ แห่ง

ผู้แทนเครือข่ายเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน เครือข่ายฯ จึงพยายามช่วย ขสมก.เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม เครือข่ายฯ ได้ประสานการหารือระหว่างกรุงเทพมหานครและขสมก.เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งผลการประชุมร่วมกัน กทม.รับว่าพร้อมจะแก้ไขปัญหาเรื่องสะพาน และถนน ส่วนที่ กทม. รับผิดชอบรวม ๖ แห่ง พร้อมทั้งได้จัดตั้งคณะทำงานดำเนินการด้วย

นอกจากนั้น เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๗ เครือข่ายฯ ได้ประสานคณะอนุกรรมาธิการ (อมธ.) ด้านคนพิการให้เชิญหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลถนนและคอสะพานอีก ๕ แห่งมาร่วมหารือ ได้แก่ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เทศบาลนนทบุรี เทศบาลบางปู และบริษัทบางกอกแลนด์ ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานพร้อมจะแก้ไขปรับปรุงสะพาน และถนนที่เป็นอุปสรรคให้ ขสมก.

นายนรินทร์ จันทิม เครือข่ายเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน และภาพนายชาญชัย สิมะโภไคย เครือข่ายเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน ส่วนประเด็นที่ ขสมก. อ้างว่า รถไร้บันไดวิ่งบนถนนน้ำท่วมไม่ได้ เครือข่ายฯ ได้ดำเนินการศึกษาหาข้อมูลและนำเสนอเหตุผลต่อ ขสมก. ว่า โอกาสเกิดน้ำท่วมมีน้อยมากและ ขสมก.ยังมีรถเมล์เก่าแบบมีบันไดที่ยังใช้วิ่งบนถนนน้ำท่วมได้ หากเอารถเมล์ใหม่ไปวิ่ง จะเกิดชำรุดเสียหายได้ง่าย และในพื้นที่น้ำท่วมสูง ขสมก.ควรจัดหาเรือให้บริการประชาชนมากกว่าจะใช้รถเมล์

ทั้งๆ ที่เครือข่ายฯ ได้ฃ่วย ขสมก.กำจัดปัญหาอุปสรรคที่ ขสมก. กล่าวอ้างหมดสิ้นแล้ว แต่ขสมก. ยังประกาศร่างขอบเขตของงาน ฉบับที่ ๘ (ล่าสุด) โดยยืนยันซื้อรถเมล์มีบันไดเหมือนเดิม จึงทำให้ประชาชนผู้ใช้รถเมล์ต่างเคลือบแคลงสงสัยว่า เหตุผลที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ หรือขสมก.กำลังคิดทำอะไรอยู่

นายนรินทร์ จันทิม สมาชิกเครือข่ายฯ ได้กล่าวว่า พวกเรามาร่วมกันแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องให้ ขสมก.คำนึงถึงสิทธิ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคนเท่าเทียมกัน รัฐต้องไม่เลือกปฏิบัติ ต้องจัดรถเมล์ให้ทุกคนขึ้นได้ทุกคัน พวกเรามีความยากลำบากอย่างยิ่งในการเดินทาง ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าคนอื่น ไม่สามารถใช้บริการสาธารณะได้ ทำให้พวกเราต้องแยกออกจากสังคม หาก ขสมก.เลือกปฏิบัติเช่นนี้ นับเป็นการละเมิดต่อ พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๕๖ โดยละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมาย และขัดขวางการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

นายชาญชัย สิมะโภไคย สมาชิกเครือข่ายฯ จากสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า คนพิการไม่ได้มาประท้วง แต่มีความไม่สบายใจที่คนพิการถูกเลือกปฏิบัติ พวกเราต้องการเรียกร้องการใช้ชีวิตที่เหมือนกับคนอื่นๆ ต้องการทำงาน ไม่เป็นภาระกับครอบครัว สามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ พวกเรามาจากที่ไกลๆ เพื่อมาร่วมกันเรียกร้องสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากรถเมล์ได้จริงๆ โดยขอเป็นรถเมล์ไร้บันไดและจัดให้มีตัววิ่งบอกเส้นทาง เป็นต้น

นางสุทิน บุญนาค  สมาชิกเครือข่ายฯ ผู้แทนจากกลุ่มจิตอาสาคนพิการเขตสายไหม และผู้แทนเครือข่ายเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน นางสุทิน บุญนาค สมาชิกเครือข่ายฯ ผู้แทนจากกลุ่มจิตอาสาคนพิการเขตสายไหม กล่าวย้ำว่า รถเมล์ไร้บันไดจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่า –ขา สตรีมีครรภ์ เด็กทุกคนก็ใช้ได้ ขสมก.ต้องตระหนักถึงคุณค่าของทุกคน ทุกคนมีสิทธิและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันจะเลือกปฏิบัติไม่ได้

ท้ายสุด เครือข่ายฯ ได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ โดยยืนยันว่า ขณะนี้อุปสรรคต่อการใช้รถโดยสารแบบไร้บันไดหรือรถโดยสารพื้นต่ำได้รับการดูแลแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหมดสิ้นทุกปัญหาแล้ว จึงไม่มีเหตุผลใดๆที่ ขสมก. จะต้องหาทางพยายามที่จะซื้อรถเมล์มีบันไดอีก ขสมก. ควรรับผิดชอบเร่งดำเนินการจัดซื้อรถเมล์บันไดได้โดยเร็ว หาก ขสมก.ไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังในการจัดซื้อรถเมล์ในโครงการนี้ (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๘ มี.ค.๕๗)

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๘ มี.ค.๕๗
วันที่โพสต์: 19/03/2557 เวลา 08:30:36 ดูภาพสไลด์โชว์ ขสมก. เมินซื้อ “รถเมล์ประชาชนที่ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” อย่างสะดวกและปลอดภัย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายสัมฤทธิ์ ชาภิรมย์ ผู้นำเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคันอ่านแถลงการณ์ เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. “เครือข่ายรถเมล์ประชาชน : ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็ก คนตาบอด คนหูหนวกและล่ามภาษามือ คนพิการด้านร่างกายหรือก่ารเคลื่อนไหว คนพิการทางสติปัญญา คนออทิสติก คนบกพร่องทางการเรียนรู้ ผู้ดูแลคนพิการ และผู้แทนองค์กรเอกชนเพื่อคนพิการ เป็นต้น รวมประมาณ ๑๐๐ คน ได้พากันเดินทางไปที่ องค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพฯ ( ขสมก.) เพื่อคัดค้าน การจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ(NGV) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ตามร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR ) ฉบับที่๘ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๗ เนื่องจาก ร่างขอบเขตของงาน ฉบับที่ ๘ มีข้อความเหมือน ฉบับที่ ๗ กล่าวคือ จัดซื้อรถเมล์ธรรมดา หรือรถเมล์ร้อน จำนวนหนึ่งเป็นแบบรถเมล์มีบันไดที่ติดลิฟต์ยกเก้าอี้เข็น ซึ่งเครือข่ายฯ ได้ค้านว่า ไม่สะดวก ใข้เวลามาก และไม่ปลอดภัย ดังนั้น ขสมก.ควรจัดซื้อรถทุกคันแบบไร้บันไดเพื่อให้ประชาชนทุกคนใช้รถเมล์สาธารณะได้ทุกคันอย่างเท่าเทียมกัน ผู้แทนเครือข่ายเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน นายสัมฤทธิ์ ชาภิรมย์ ผู้นำเครือข่ายฯ กล่าวว่า เครือข่ายฯ ได้เสนอให้ ขสมก.จัดซื้อ “รถเมล์ไร้บันได” ซึ่งมีทางลาดที่คนทั่วไป รวมทั้งผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้เจ็บป่วยอ่อนแรง เป็นต้น เดินขึ้นได้ ในขณะที่คนใช้เก้าอี้เข็นก็เข็นขึ้นรถเมล์ได้โดยสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย เครือข่ายฯ ไม่ต้องการรถเมล์ติดลิฟต์ยกเก้าอี้เข็น ซึ่งมีราคาแพงกว่าและไม่เอื้อต่อสภาพการจราจรของกรุงเทพฯ แต่ละครั้งที่ใช้ยกเก้าอี้เข็นจะต้องใช้เวลานาน จะทำให้คนใช้เก้าอี้เข็นตกเป็นจำเลยของสังคม แถมราคาแพงกว่ารถเมล์ไร้บันได ทั้งนี้ เครือข่ายฯ ได้ร่วมกันเรียกร้องต่อ ขสมก.และกระทรวงคมนาคมมาหลายครั้งแล้ว แต่ ขสมก.ยังออกประกาศร่างขอบเขตของงาน ฉบับที่ ๘ โดยยืนยันจะซื้อรถเมล์มีบันไดเหมือนเดิม โดยอ้างว่า รถเมล์ไร้บันได ไม่สามารถวิ่งได้ในภาวะที่เกิดน้ำท่วม หรือคอสะพานสูงผิดปกติ หรือพื้นถนนขรุขระ ใน กทม. และปริมณฑล รวม ๑๑ แห่ง ผู้แทนเครือข่ายเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน เครือข่ายฯ จึงพยายามช่วย ขสมก.เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม เครือข่ายฯ ได้ประสานการหารือระหว่างกรุงเทพมหานครและขสมก.เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งผลการประชุมร่วมกัน กทม.รับว่าพร้อมจะแก้ไขปัญหาเรื่องสะพาน และถนน ส่วนที่ กทม. รับผิดชอบรวม ๖ แห่ง พร้อมทั้งได้จัดตั้งคณะทำงานดำเนินการด้วย นอกจากนั้น เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๗ เครือข่ายฯ ได้ประสานคณะอนุกรรมาธิการ (อมธ.) ด้านคนพิการให้เชิญหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลถนนและคอสะพานอีก ๕ แห่งมาร่วมหารือ ได้แก่ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เทศบาลนนทบุรี เทศบาลบางปู และบริษัทบางกอกแลนด์ ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานพร้อมจะแก้ไขปรับปรุงสะพาน และถนนที่เป็นอุปสรรคให้ ขสมก. นายนรินทร์ จันทิม เครือข่ายเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน และภาพนายชาญชัย สิมะโภไคย เครือข่ายเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน ส่วนประเด็นที่ ขสมก. อ้างว่า รถไร้บันไดวิ่งบนถนนน้ำท่วมไม่ได้ เครือข่ายฯ ได้ดำเนินการศึกษาหาข้อมูลและนำเสนอเหตุผลต่อ ขสมก. ว่า โอกาสเกิดน้ำท่วมมีน้อยมากและ ขสมก.ยังมีรถเมล์เก่าแบบมีบันไดที่ยังใช้วิ่งบนถนนน้ำท่วมได้ หากเอารถเมล์ใหม่ไปวิ่ง จะเกิดชำรุดเสียหายได้ง่าย และในพื้นที่น้ำท่วมสูง ขสมก.ควรจัดหาเรือให้บริการประชาชนมากกว่าจะใช้รถเมล์ ทั้งๆ ที่เครือข่ายฯ ได้ฃ่วย ขสมก.กำจัดปัญหาอุปสรรคที่ ขสมก. กล่าวอ้างหมดสิ้นแล้ว แต่ขสมก. ยังประกาศร่างขอบเขตของงาน ฉบับที่ ๘ (ล่าสุด) โดยยืนยันซื้อรถเมล์มีบันไดเหมือนเดิม จึงทำให้ประชาชนผู้ใช้รถเมล์ต่างเคลือบแคลงสงสัยว่า เหตุผลที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ หรือขสมก.กำลังคิดทำอะไรอยู่ นายนรินทร์ จันทิม สมาชิกเครือข่ายฯ ได้กล่าวว่า พวกเรามาร่วมกันแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องให้ ขสมก.คำนึงถึงสิทธิ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคนเท่าเทียมกัน รัฐต้องไม่เลือกปฏิบัติ ต้องจัดรถเมล์ให้ทุกคนขึ้นได้ทุกคัน พวกเรามีความยากลำบากอย่างยิ่งในการเดินทาง ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าคนอื่น ไม่สามารถใช้บริการสาธารณะได้ ทำให้พวกเราต้องแยกออกจากสังคม หาก ขสมก.เลือกปฏิบัติเช่นนี้ นับเป็นการละเมิดต่อ พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๕๖ โดยละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมาย และขัดขวางการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นายชาญชัย สิมะโภไคย สมาชิกเครือข่ายฯ จากสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า คนพิการไม่ได้มาประท้วง แต่มีความไม่สบายใจที่คนพิการถูกเลือกปฏิบัติ พวกเราต้องการเรียกร้องการใช้ชีวิตที่เหมือนกับคนอื่นๆ ต้องการทำงาน ไม่เป็นภาระกับครอบครัว สามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ พวกเรามาจากที่ไกลๆ เพื่อมาร่วมกันเรียกร้องสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากรถเมล์ได้จริงๆ โดยขอเป็นรถเมล์ไร้บันไดและจัดให้มีตัววิ่งบอกเส้นทาง เป็นต้น นางสุทิน บุญนาค สมาชิกเครือข่ายฯ ผู้แทนจากกลุ่มจิตอาสาคนพิการเขตสายไหม และผู้แทนเครือข่ายเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน นางสุทิน บุญนาค สมาชิกเครือข่ายฯ ผู้แทนจากกลุ่มจิตอาสาคนพิการเขตสายไหม กล่าวย้ำว่า รถเมล์ไร้บันไดจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่า –ขา สตรีมีครรภ์ เด็กทุกคนก็ใช้ได้ ขสมก.ต้องตระหนักถึงคุณค่าของทุกคน ทุกคนมีสิทธิและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันจะเลือกปฏิบัติไม่ได้ ท้ายสุด เครือข่ายฯ ได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ โดยยืนยันว่า ขณะนี้อุปสรรคต่อการใช้รถโดยสารแบบไร้บันไดหรือรถโดยสารพื้นต่ำได้รับการดูแลแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหมดสิ้นทุกปัญหาแล้ว จึงไม่มีเหตุผลใดๆที่ ขสมก. จะต้องหาทางพยายามที่จะซื้อรถเมล์มีบันไดอีก ขสมก. ควรรับผิดชอบเร่งดำเนินการจัดซื้อรถเมล์บันไดได้โดยเร็ว หาก ขสมก.ไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังในการจัดซื้อรถเมล์ในโครงการนี้ (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๘ มี.ค.๕๗)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...