“กทม.พร้อมปรับคอสะพาน รับรถเมล์ไร้บันได....เพื่อคนทั้งมวล”

แสดงความคิดเห็น

นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่า กทม. นายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการ (ขสมก.)และเครือข่ายเครือข่ายประชาชนทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน

โดยที่ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.)จัดซื้อรถเมล์ใช้ก๊าซธรรมชาติจำนวน ๓.๑๘๓ คัน เครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน จึงเสนอให้ ขสมก. จัดซื้อ “รถเมล์ชานต่ำ” หรือ “รถเมล์ไร้บันได” เพื่อให้มวลชนทุกคน เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ คนเจ็บป่วยอ่อนแรง คนที่ใช้เก้าอี้เข็น และคนพิการทุกประเภท ใช้ได้โดยสะดวก และปลอดภัย แต่ ขสมก. อ้างว่า จะจัดซื้อรถไร้บันไดเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น เพราะรถเมล์ไร้บันไดวิ่งผ่านสะพานที่มีคอสะพานสูง และสภาพถนนที่ผิดปกติจำนวน ๗ แห่งไม่ได้ รถเมล์ส่วนที่เหลือจึงต้องซื้อรถเมล์มีบันได

นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่า กทม. นายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการ (ขสมก.)และเครือข่ายเครือข่ายประชาชนทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ น กรุงเทพมหานคร (กทม.)ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลสะพานที่มีคอสะพานสูง และถนนที่ผิดปกติทั้ง ๗ แห่ง จึงจัดประชุมหารือ กับ ขสมก. และเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน เรื่อง “การปรับปรุงคอสะพานและถนนให้รถเมล์ชานต่ำผ่านได้ เพื่อให้ทุกคนใช้รถเมล์ได้ทุกคัน”

นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่า กทม.กล่าวว่า กทม.พร้อมที่จะปรับถนน และสะพาน ให้รถเมล์ไร้บันไดผ่านได้ โดยทำงานร่วมกับ ขสมก. พร้อมทั้งเสนอว่า จะดำเนินการ ดังต่อไปนี้ ๑)จัดตั้งคณะทำงานของ กทม. เพื่อทำงานประสานการดำเนินงานปรับปรุงแก้ไขในสะพาน และถนนทั้ง ๗ เส้นทาง ๒)จัดทำแผนการดำเนินงานร่วมกับ ขสมก. เพื่อให้ การปรับสะพานและถนนเสร็จและพร้อมเริ่มใช้รถเมล์ใหม่ ๓)ดำเนินการรณรงค์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนน และคนในสังคมทั่วไปปรับเจตคติได้ตระหนักถึงการใช้รถสาธารณะมากกว่าการใช้รถส่วนตัว เพื่อแก้ปัญหาการจราจร และ ๔)ปรับระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อให้มวลชนเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะได้ทุกถนนได้อย่างปลอดภัย สะดวก และรวดเร็ว

เครือข่ายประชาชนทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน นายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก. ได้กล่าวว่า รู้สึกสบายใจที่มีข้อยุติเรื่องปัญหาคอสะพานสูงซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้รถเมล์ชานต่ำของประชาชน ทั้งนี้ จะนำผลการหารือเสนอต่อคณะกรรมการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ เพื่อขอให้อนุมัติจัดซื้อรถเมล์ชานต่ำประเภทปรับอากาศก่อนจำนวน ๑,๕๒๔ คัน เพื่อให้สามารถบริการประชาชนโดยเร็ว สำหรับรถเมล์ธรรมดา อีก ๑,๖๕๙ คัน ที่ใช้วิ่งในกรุงเทพฯ และอีก ๕ จังหวัดรอบกรุงเทพฯ นั้น จะต้องประสานงานกับกรมทางหลวงชนบทให้เร่งปรับปรุงแก้ไขพื้นถนน และคอสะพานต่างๆ ด้วย

นายอุดมโชค ชูรัตน์ ประธานเครือข่ายฯ กล่าวว่า ในฐานะผู้ใช้บริการรถเมล์ ซึ่งประกอบด้วยคนที่มีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ คนพิการ และทุกคน มีความยินดีที่จะสามารถใช้รถเมล์ได้ทุกคัน เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หลังจากที่เครือข่ายฯ ได้ร่วมกันเรียกร้องอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนานกว่า ๕ ปี

เส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้า บนถนน เพชรเกษม นายธีรยุทธ สุคนธวิท เลขานุการคณะทำงานเครือข่ายฯ ได้เสนอให้ กทม.และขสมก.จัดนำร่องรถเมล์ชานต่ำวิ่งได้ ในหนึ่งเส้นทางก่อน โดยเชิญสื่อมวลชน และผู้เกี่ยวข้องมาร่วมเปิดเส้นทางการใช้รถเมล์ชานต่ำ เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาถนนสายต่างๆ ต่อไป ทั้งนี้ วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๗ คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ได้เชิญหน่วยงานที่รับผิดชอบการปรับปรุงสะพาน และถนนอีก ๔ แห่ง ได้แก่ กรมทางหลวงชนบท เทศบาลตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และบริษัท. บางกอกแลนด์ จำกัด เพื่อหารือ เรื่อง การปรับปรุงถนน และ คอสะพานในพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน ให้รถเมล์ชานต่ำสามารถใช้ได้ทุกเส้นทางต่อไป

คลองวัดสะพานโสภณ บนเส้นถนนสามเสน ถึงบางลำพู นายกฤษณะ ละไล ผู้สื่อข่าวและผู้นำอารยสถาปัตย์ไทย กล่าวว่า นับเป็นมิติใหม่ของประเทศไทยที่ได้ร่วมกับพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ให้ กทม.เป็นศูนย์กลางอารยสถาปัตย์ซึ่งบริการรถเมล์ที่ไม่พิการ เพื่อจะสอดคล้องกับแนวคิด ที่ว่า “คนพิการไม่มี ความพิการไม่มี แต่ที่พิการคือสภาพแวดล้อมพิการ” เราจึงต้องช่วยกันปรับสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองของทุกคน

นายจุมพล ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ทิศทางในอนาคตของกทม. มีแผนที่จะพัฒนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าอยู่ โดย ๑)ปรับสภาพทางเท้าให้ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ๒)จัดทำลิฟต์รถไฟฟ้า ให้ครบทุกสถานีอีก ๕๖ ตัว ใน ๕๓ สถานี ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการประเมินราคา คาดว่าจะใช้ได้ทั้งหมดในปี ๒๕๕๘ และ๓)ปรับอาคารก่อสร้าง และสภาพแวดล้อม ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทุกคนรวมถึงคนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๘ มี.ค.๕๗)

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๘ มี.ค.๕๗
วันที่โพสต์: 8/03/2557 เวลา 04:04:44 ดูภาพสไลด์โชว์ “กทม.พร้อมปรับคอสะพาน รับรถเมล์ไร้บันได....เพื่อคนทั้งมวล”

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่า กทม. นายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการ (ขสมก.)และเครือข่ายเครือข่ายประชาชนทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน โดยที่ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.)จัดซื้อรถเมล์ใช้ก๊าซธรรมชาติจำนวน ๓.๑๘๓ คัน เครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน จึงเสนอให้ ขสมก. จัดซื้อ “รถเมล์ชานต่ำ” หรือ “รถเมล์ไร้บันได” เพื่อให้มวลชนทุกคน เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ คนเจ็บป่วยอ่อนแรง คนที่ใช้เก้าอี้เข็น และคนพิการทุกประเภท ใช้ได้โดยสะดวก และปลอดภัย แต่ ขสมก. อ้างว่า จะจัดซื้อรถไร้บันไดเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น เพราะรถเมล์ไร้บันไดวิ่งผ่านสะพานที่มีคอสะพานสูง และสภาพถนนที่ผิดปกติจำนวน ๗ แห่งไม่ได้ รถเมล์ส่วนที่เหลือจึงต้องซื้อรถเมล์มีบันได นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่า กทม. นายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการ (ขสมก.)และเครือข่ายเครือข่ายประชาชนทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคันเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ น กรุงเทพมหานคร (กทม.)ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลสะพานที่มีคอสะพานสูง และถนนที่ผิดปกติทั้ง ๗ แห่ง จึงจัดประชุมหารือ กับ ขสมก. และเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน เรื่อง “การปรับปรุงคอสะพานและถนนให้รถเมล์ชานต่ำผ่านได้ เพื่อให้ทุกคนใช้รถเมล์ได้ทุกคัน” นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่า กทม.กล่าวว่า กทม.พร้อมที่จะปรับถนน และสะพาน ให้รถเมล์ไร้บันไดผ่านได้ โดยทำงานร่วมกับ ขสมก. พร้อมทั้งเสนอว่า จะดำเนินการ ดังต่อไปนี้ ๑)จัดตั้งคณะทำงานของ กทม. เพื่อทำงานประสานการดำเนินงานปรับปรุงแก้ไขในสะพาน และถนนทั้ง ๗ เส้นทาง ๒)จัดทำแผนการดำเนินงานร่วมกับ ขสมก. เพื่อให้ การปรับสะพานและถนนเสร็จและพร้อมเริ่มใช้รถเมล์ใหม่ ๓)ดำเนินการรณรงค์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนน และคนในสังคมทั่วไปปรับเจตคติได้ตระหนักถึงการใช้รถสาธารณะมากกว่าการใช้รถส่วนตัว เพื่อแก้ปัญหาการจราจร และ ๔)ปรับระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อให้มวลชนเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะได้ทุกถนนได้อย่างปลอดภัย สะดวก และรวดเร็ว เครือข่ายประชาชนทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน นายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก. ได้กล่าวว่า รู้สึกสบายใจที่มีข้อยุติเรื่องปัญหาคอสะพานสูงซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้รถเมล์ชานต่ำของประชาชน ทั้งนี้ จะนำผลการหารือเสนอต่อคณะกรรมการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ เพื่อขอให้อนุมัติจัดซื้อรถเมล์ชานต่ำประเภทปรับอากาศก่อนจำนวน ๑,๕๒๔ คัน เพื่อให้สามารถบริการประชาชนโดยเร็ว สำหรับรถเมล์ธรรมดา อีก ๑,๖๕๙ คัน ที่ใช้วิ่งในกรุงเทพฯ และอีก ๕ จังหวัดรอบกรุงเทพฯ นั้น จะต้องประสานงานกับกรมทางหลวงชนบทให้เร่งปรับปรุงแก้ไขพื้นถนน และคอสะพานต่างๆ ด้วย นายอุดมโชค ชูรัตน์ ประธานเครือข่ายฯ กล่าวว่า ในฐานะผู้ใช้บริการรถเมล์ ซึ่งประกอบด้วยคนที่มีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ คนพิการ และทุกคน มีความยินดีที่จะสามารถใช้รถเมล์ได้ทุกคัน เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หลังจากที่เครือข่ายฯ ได้ร่วมกันเรียกร้องอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนานกว่า ๕ ปี เส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้า บนถนน เพชรเกษม นายธีรยุทธ สุคนธวิท เลขานุการคณะทำงานเครือข่ายฯ ได้เสนอให้ กทม.และขสมก.จัดนำร่องรถเมล์ชานต่ำวิ่งได้ ในหนึ่งเส้นทางก่อน โดยเชิญสื่อมวลชน และผู้เกี่ยวข้องมาร่วมเปิดเส้นทางการใช้รถเมล์ชานต่ำ เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาถนนสายต่างๆ ต่อไป ทั้งนี้ วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๗ คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ได้เชิญหน่วยงานที่รับผิดชอบการปรับปรุงสะพาน และถนนอีก ๔ แห่ง ได้แก่ กรมทางหลวงชนบท เทศบาลตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และบริษัท. บางกอกแลนด์ จำกัด เพื่อหารือ เรื่อง การปรับปรุงถนน และ คอสะพานในพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน ให้รถเมล์ชานต่ำสามารถใช้ได้ทุกเส้นทางต่อไป คลองวัดสะพานโสภณ บนเส้นถนนสามเสน ถึงบางลำพู นายกฤษณะ ละไล ผู้สื่อข่าวและผู้นำอารยสถาปัตย์ไทย กล่าวว่า นับเป็นมิติใหม่ของประเทศไทยที่ได้ร่วมกับพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ให้ กทม.เป็นศูนย์กลางอารยสถาปัตย์ซึ่งบริการรถเมล์ที่ไม่พิการ เพื่อจะสอดคล้องกับแนวคิด ที่ว่า “คนพิการไม่มี ความพิการไม่มี แต่ที่พิการคือสภาพแวดล้อมพิการ” เราจึงต้องช่วยกันปรับสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองของทุกคน นายจุมพล ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ทิศทางในอนาคตของกทม. มีแผนที่จะพัฒนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าอยู่ โดย ๑)ปรับสภาพทางเท้าให้ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ๒)จัดทำลิฟต์รถไฟฟ้า ให้ครบทุกสถานีอีก ๕๖ ตัว ใน ๕๓ สถานี ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการประเมินราคา คาดว่าจะใช้ได้ทั้งหมดในปี ๒๕๕๘ และ๓)ปรับอาคารก่อสร้าง และสภาพแวดล้อม ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทุกคนรวมถึงคนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๘ มี.ค.๕๗)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...