กสทช.ให้ความรู้การสื่อสารยุค 3 จี แก่คนหูหนวก

แสดงความคิดเห็น

QR code

กรุงเทพฯ 2 ก.พ.-กสทช.ให้ความรู้คนหูหนวกเพื่อใช้ประโยชน์จากการสื่อสารในยุค 3 จี ด้านเนคเทคแนะใช้คิวอาร์โค้ดเป็นเครื่องมือให้คนหูหนวกเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสำคัญ

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาคนหูหนวกจะใช้โทรศัพท์มือถือสื่อสารโดยการรับส่งข้อความผ่านเอส เอ็มเอส ทำให้ต้องมีการโต้ตอบกันหลายครั้งและมีการจำกัดปริมาณข้อความในการส่งแต่ละครั้ง แต่ปัจจุบันการใช้โทรศัพท์มือถือในยุค 3 จี ทำให้คนหูหนวกสามารถสื่อสารผ่านวิดีโอคอลได้ หรือการใช้โปรแกรมโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างไลน์ ทำให้คนหูหนวกสามารถสื่อสารผ่านข้อความได้อย่างไม่จำกัดจำนวนอักษร และสามารถถ่ายภาพและส่งรูปภาพได้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบอื่น เช่น คิวอาร์โค้ด ทำให้ส่งข้อมูลได้จำนวนมาก ดังนั้น การใช้บริการ 3 จี จะทำให้คนหูหนวกสามารถใช้บริการ เพื่อเกิดประโยชน์กับการดำเนินชีวิตได้มาก

"ในระดับโลกมีความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งผลักดัน เพื่อให้เกิดเบสิกแพ็กเกจ หรือแพ็กเกจพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นได้ฟรี เช่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก อย่างไลน์ หรือวอทส์แอพ การเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสาร เช่น วิกิพีเดีย บริการพยากรณ์อากาศ และอื่นๆ อีกทั้งอีกไม่นานบริการ 2 จีจะหมดไป เช่น ประเทศเกาหลีไม่มีบริการ 2 จีแล้ว สำหรับประเทศไทย แม้จะยังไม่มีแผนการที่จะยกเลิกการให้บริการ 2 จี แต่เรามีบริการ 3 จีแล้ว และกำลังจะมีบริการ 4 จี จึงเป็นโอกาสดีที่กลุ่มคนหูหนวกจะได้เรียนรู้วิธีการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตมากขึ้น"นายประวิทย์กล่าว

ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล จากศูนย์เทคโนโลยีทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการสื่อสาร คิวอาร์โค้ด (QR code) ซึ่งเป็นบาร์โค้ดประเภท 2 มิติ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากกกว่าบาร์โค้ด และนำข้อมูลจำนวนมากมาใส่ในคิวอาร์โค้ดได้ โดยเพียงใช้โทรศัพท์มือถือส่องไปที่สัญลักษณ์ดังกล่าว ก็จะได้รับข้อมูลจำนวนมาก โดยสามารถใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น ประวัติผู้ป่วย การให้ข้อมูลทางวิชาการ เช่น วิดีโอลิงค์ เว็บไซต์ ทั้งนี้ คิวอาร์โค้ดสำหรับคนหูหนวกจะมีไอคอนที่เป็นภาษามือแปะอยู่ตรงกลาง หากพบคิวอาร์โค้ดที่มีภาพภาษามือ แสดงว่าเอกสารดังกล่าวมีการสื่อสารสำหรับคนหูหนวกคือมีทั้งข้อมูลทางวิชาการและลิงค์วิดีโอภาษามืออยู่ด้วยกัน

"การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ด เพื่อส่งเสริมให้คนหูหนวกใช้ทั้งภาษามือและภาษาเขียนเข้าถึงข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ และแก้ไขปัญหาการอ่านข้อความแล้วไม่เข้าใจ เช่น ฉลากยา คิวอาร์โค้ดก็จะสามารถช่วยได้ ทำให้คนหูหนวกเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ และการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ตัวอักษร ทำให้คนหูหนวกเข้าถึงบริการข้อมูลสาระข่าวสารต่างๆ มากขึ้น ซึ่งคนหูหนวกสามารถโหลดแอพพลิเคชั่นคิวอาร์โค้ดได้ฟรี โดยใช้ QR Droid สำหรับระบบแอนดรอยด์ และใช้ QR Reader สำหรับระบบไอโอเอส เป็นบริการฟรีสำหรับคนหูหนวก" ดร.ณัฐนันท์ กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ขอบคุณ... http://www.mcot.net/site/content?id=5312df71be047032d78b463a#.UxPsxs4yPlA (ขนาดไฟล์: 175)

สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 มี.ค.57

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 3/03/2557 เวลา 06:16:50 ดูภาพสไลด์โชว์ กสทช.ให้ความรู้การสื่อสารยุค 3 จี แก่คนหูหนวก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

QR code กรุงเทพฯ 2 ก.พ.-กสทช.ให้ความรู้คนหูหนวกเพื่อใช้ประโยชน์จากการสื่อสารในยุค 3 จี ด้านเนคเทคแนะใช้คิวอาร์โค้ดเป็นเครื่องมือให้คนหูหนวกเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสำคัญ นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาคนหูหนวกจะใช้โทรศัพท์มือถือสื่อสารโดยการรับส่งข้อความผ่านเอส เอ็มเอส ทำให้ต้องมีการโต้ตอบกันหลายครั้งและมีการจำกัดปริมาณข้อความในการส่งแต่ละครั้ง แต่ปัจจุบันการใช้โทรศัพท์มือถือในยุค 3 จี ทำให้คนหูหนวกสามารถสื่อสารผ่านวิดีโอคอลได้ หรือการใช้โปรแกรมโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างไลน์ ทำให้คนหูหนวกสามารถสื่อสารผ่านข้อความได้อย่างไม่จำกัดจำนวนอักษร และสามารถถ่ายภาพและส่งรูปภาพได้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบอื่น เช่น คิวอาร์โค้ด ทำให้ส่งข้อมูลได้จำนวนมาก ดังนั้น การใช้บริการ 3 จี จะทำให้คนหูหนวกสามารถใช้บริการ เพื่อเกิดประโยชน์กับการดำเนินชีวิตได้มาก "ในระดับโลกมีความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งผลักดัน เพื่อให้เกิดเบสิกแพ็กเกจ หรือแพ็กเกจพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นได้ฟรี เช่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก อย่างไลน์ หรือวอทส์แอพ การเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสาร เช่น วิกิพีเดีย บริการพยากรณ์อากาศ และอื่นๆ อีกทั้งอีกไม่นานบริการ 2 จีจะหมดไป เช่น ประเทศเกาหลีไม่มีบริการ 2 จีแล้ว สำหรับประเทศไทย แม้จะยังไม่มีแผนการที่จะยกเลิกการให้บริการ 2 จี แต่เรามีบริการ 3 จีแล้ว และกำลังจะมีบริการ 4 จี จึงเป็นโอกาสดีที่กลุ่มคนหูหนวกจะได้เรียนรู้วิธีการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตมากขึ้น"นายประวิทย์กล่าว ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล จากศูนย์เทคโนโลยีทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการสื่อสาร คิวอาร์โค้ด (QR code) ซึ่งเป็นบาร์โค้ดประเภท 2 มิติ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากกกว่าบาร์โค้ด และนำข้อมูลจำนวนมากมาใส่ในคิวอาร์โค้ดได้ โดยเพียงใช้โทรศัพท์มือถือส่องไปที่สัญลักษณ์ดังกล่าว ก็จะได้รับข้อมูลจำนวนมาก โดยสามารถใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น ประวัติผู้ป่วย การให้ข้อมูลทางวิชาการ เช่น วิดีโอลิงค์ เว็บไซต์ ทั้งนี้ คิวอาร์โค้ดสำหรับคนหูหนวกจะมีไอคอนที่เป็นภาษามือแปะอยู่ตรงกลาง หากพบคิวอาร์โค้ดที่มีภาพภาษามือ แสดงว่าเอกสารดังกล่าวมีการสื่อสารสำหรับคนหูหนวกคือมีทั้งข้อมูลทางวิชาการและลิงค์วิดีโอภาษามืออยู่ด้วยกัน "การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ด เพื่อส่งเสริมให้คนหูหนวกใช้ทั้งภาษามือและภาษาเขียนเข้าถึงข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ และแก้ไขปัญหาการอ่านข้อความแล้วไม่เข้าใจ เช่น ฉลากยา คิวอาร์โค้ดก็จะสามารถช่วยได้ ทำให้คนหูหนวกเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ และการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ตัวอักษร ทำให้คนหูหนวกเข้าถึงบริการข้อมูลสาระข่าวสารต่างๆ มากขึ้น ซึ่งคนหูหนวกสามารถโหลดแอพพลิเคชั่นคิวอาร์โค้ดได้ฟรี โดยใช้ QR Droid สำหรับระบบแอนดรอยด์ และใช้ QR Reader สำหรับระบบไอโอเอส เป็นบริการฟรีสำหรับคนหูหนวก" ดร.ณัฐนันท์ กล่าว.-สำนักข่าวไทย ขอบคุณ... http://www.mcot.net/site/content?id=5312df71be047032d78b463a#.UxPsxs4yPlA สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...