“มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” ผลงานยุวนวัตกรพยาบาล ช่วยผู้ป่วยอัมพาต

แสดงความคิดเห็น

นักศึกษาทดลองใช้ “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” ผลงานยุวนวัตกรพยาบาล ช่วยผู้ป่วยอัมพาต

“มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” ผลงานนวัตกรรม สำหรับบริหารข้อสะโพก และหัวเข่าสำหรับผู้ป่วยอัมพาต ผลงานนวัตกรรมของ 12 นวัตกรรม นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ เป็น 1 ใน 4 ผลงาน ที่เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของคณะพยาบาลศาสตร์ ในโอกาสที่จะได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสทรงเสด็จพระราชทานปริญญาบัตรแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปี2556

ผู้ป่วยอัมพาตทดลองใชิ “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” ผลงานยุวนวัตกรพยาบาล นวัตกรรมที่ลงทุนเพียงหลักพัน จากราคาเครื่องมือประเภทเดียวกันที่มีขายในท้องตลาด ราคาร่วมสองแสน!!! ไม่เพียงแต่ช่วยกายภาพบำบัดขา แต่ยังช่วยให้ข้อขา ข้อสะโพก หัวเข่าของผู้ป่วยนอนบนเตียงได้ออกกำลังกาย มีการเคลื่อนไหว แล้วทำให้ผู้ป่วยได้ใช้มือในการหมุนอุปกรณ์ออกกำลังกาย เป็นการบริหารข้อมือป้องกันข้อมือติดติด ผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกภาคภูมิใจในคุณค่าตนเองช่วยตัวเองได้มากขึ้นทำให้ลดภาระของผู้ดูแลได้อีกด้วย

รศ.ดร.เสาวคนธ์ วีระศิริ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา เผยว่า “คณะพยาบาลได้ก่อตั้งมานานถึง 45 ปี ซึ่งคณะได้สร้างคน สร้างความรู้ สร้างสรรค์สังคม โดยปลูกฝังให้นักศึกษาไม่เพียงแต่เป็นพยาบาลที่ดี แต่ต้องเป็นพลเมืองที่ดีอีกด้วย โดยมีกิจกรรมที่ดีๆ เสริมสร้างนักศึกษาให้รู้จักการบำเพ็ญประโยชน์และอุทิศตน การช่วยเหลือประชาชน ในยามสถานการณ์ที่คับขัน ได้รับความยากลำบาก อาทิ น้ำท่วม หรือเหตุการณ์มีผลกระทบอื่นใด รวมทั้งโครงการพอ.สว. หรือมีโครงการอื่นๆ ที่ขอความอนุเคราะห์เข้ามาขอนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมนั้น จะพบว่านักศึกษาพยาบาลจะสมัครเข้าเป็นจิตอาสาเป็นจำนวนมากเกินคาดทุกครั้ง สมดังปรัชญาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาปัญญาจริยาโดยแท้”

“คณะพยาบาลศาสตร์ มีแนวนโยบายสนับสนุนให้นักศึกษาได้คิดทำนวัตกรรมขึ้น ซึ่งโดยบูรณาการงานด้านการพัฒนานักศึกษากับการเรียนการสอนให้เดินไปด้วยกัน ภาพที่เรามุ่งมั่นก็จะเกิดความร่วมมือกันหลายฝ่าย ส่งเสริมให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” สำหรับบริหารข้อสะโพก และหัวเข่าสำหรับผู้ป่วยอัมพาต ที่จะนำขึ้นทูลเกล้าถวายนั้น เกิดจากแนวคิดของนักศึกษา ปี 4 จำนวน 12 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา ดร.ปัทมา สุริต ที่พบปัญหาผู้ป่วยเรื้อรัง ช่วยตนเองไม่ได้ ต้องพึ่งพาสมาชิกในครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกว่าคุณค่าในตนเองลดลง จากการศึกษาในรายวิชาโครงการการพยาบาล 12 นวัตกรรม จึงร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา อันนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมที่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกภาคภูมิใจว่าสามารถช่วยตนเองได้ บำบัดสุขภาพตนให้ดีขึ้น โดยการประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับ ผู้พิการที่ขา หรือพิการครึ่งซีก แต่มือที่ยังพอใช้ได้ และได้นำหลักการเข้าปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ไปสู่การทดลองทำ การปรับใช้ การทดลองใช้ เมื่อนำผลงานนวัตกรรมเข้าสู่การนำเสนอผลงาน Oral presentation ในการประชุมสามัญและประชุมวิชาการประจำปี 2556 ของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกคนต่างภาคภูมิใจที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และยังได้รับรางวัลชมเชย ระดับประเทศ จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และปีนี้สิ่งที่ทำให้เราดีใจที่สุดคือการที่ได้รับมติในที่ประชุมคณะ กรรมการบริหารประจำคณะพยาบาลศาสตร์ ในการนำผลงานอันเกิดจากนวัตกรรมจากเยาวชน “ยุวนวัตกร” ของคณะพยาบาลศาสตร์ “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” ทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี”

ผศ.ดร.เสาวมาศ เถื่อนนาดี รองคณบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ กล่าวว่า “หากย้อนไปถึงอัตลักษณ์ ของคณะพยาบาลศาสตร์นั้น อัตลักษณ์ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ หรือบัณฑิตที่จบจากคณะพยาบาลนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมในการทำงาน Ready to work สำคัญอีกประการคือ การผลิต “นวัตกร” หรือผลิตบัณฑิตผู้พัฒนานวัตกรรม หรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมา จึงมีรายวิชาต่างๆ ที่สนับสนุนให้บัณฑิตของเราเป็นนักคิด นักประดิษฐ์ และมีการคิด ประดิษฐ์ คิดค้น นวัตกรรมสิ่งใหม่ สำหรับพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล อันเป็นบทบาทการตอบสนองการบริการต่อสังคม”

“มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” ผลงานยุวนวัตกรพยาบาล ช่วยผู้ป่วยอัมพาต “การพัฒนานักศึกษาให้เป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ สู่การเป็นพยาบาลศาสตร์บัณฑิตคือผู้ที่พร้อมจะช่วยเหลือผู้ป่วย และประชาชนได้นั้น ยังต้องเป็นคนดี เพื่อให้อยู่ในสังคม ช่วยเหลือสังคม อุทิศตน มีจิตอาสา โดยการกล่อมเกลามาตั้งแต่เรียนปี 1 เพื่อให้เป็นผู้มีจิตอาสา และเป็นผู้มีความสุข จากการทำเพื่อผู้อื่นในฐานะเป็นพยาบาล ทำประโยชน์ ประกอบอาชีพที่มีคุณภาพต่อสังคม ให้นักศึกษาเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข”

สำหรับความพิเศษของนวัตกรรม “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย”นั้น เป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นได้ง่าย วิธีคิดก็ง่ายมาก อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย ประกอบได้เองง่าย คิด เติมความรู้ สร้างคุณค่า สามารถออกแบบให้ผู้อัมพาตครึ่งซีก ได้ใช้มือของตนเองประดิษฐ์นวัตกรรมขึ้นมาเอง สำหรับออกกำลังกายส่วนขา อันเป็นเทคนิคที่จะทำให้ผู้ป่วยได้ใช้ข้อเข่า ข้อมือ รวมทั้งกล้ามเนื้อได้ทำงาน แม้แต่ปุ่มที่ทดลองนำไปใช้ ทำให้คนป่วยทำเองได้ นับว่าเป็นนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าให้ผู้ป่วย เป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยได้ฮึดสู้เพื่อให้พึ่งพาตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา โดยมีจุดเด่นคือ ทำง่าย สะดวก ปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ทำได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ประหยัด ราคาถูก อยู่ในวิสัยที่ผู้ป่วยสามารถหามาได้ อุปกรณ์ที่นำมาผลิต ไม่ยุ่งยากเกินไป ใช้ได้ง่าย ช่วยตนเอง ผลลัพธ์ที่คุ้มค่ามากๆ ในเชิงออกกำลังกายเหมาะกับภาวะเศรษฐกิจเมืองไทยอีกด้วย”

“มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” ผลงานยุวนวัตกรพยาบาล ช่วยผู้ป่วยอัมพาต ด้านตัวแทนนักศึกษาเจ้าของนวัตกรรม “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” นางสาวสุภาพร วังคำ หรือ ” น้ำมนต์” นางสาวรุ่งอรุณ ทามาดาน หรือ “รุ่ง” และนางสาวนลิตตา สารมะโน หรือ “ยุ” บอกว่า “แนวคิดของการเกิดนวัตกรรมเกิดจากการไปฝึกงานที่หอผู้ป่วย 2 ง.ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก หรือครึ่งท่อน จำนวนเพิ่มมากขึ้น ไม่จำกัดเพียงผู้ป่วยสูงอายุ แต่มีวัยรุ่นที่อัมพาตจากอุบัติเหตุมากขึ้น และได้เลือกกรณีศึกษาจากผู้ป่วยครึ่งซีก หรือครึ่งท่อน แต่มือยังใช้การได้ โดยหวังคิดค้นนวัตกรรมช่วยผู้ป่วยไม่ให้เกิดปัญหาข้อมือ ข้อเท้า ข้อสะโพกติด ซึ่งจะส่งผลให้การเคลื่อนไหวร่างกายไม่สามารถช่วยตนเองได้ อันจะเป็นภาระแก่ญาติผู้ป่วย ซึ่ง หากช่วยผู้ป่วยได้ ก็จะสามารถช่วยญาติผู้ป่วยได้อีกด้วย โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย และราคาถูก หลังทดลองใช้จริงกับผู้ป่วยพบว่า สามารถลดอาการข้อติดได้ และต้องขอบคุณคณะพยาบาลศาสตร์ที่สนับสนุนงบประมาณในโครงการของพวกเราจนเป็นผลสำเร็จ”

ผลงานนวัตกรรมชิ้นนี้ หลังทดลองใช้ทั้งผู้ป่วยและญาติก็ให้การตอบรับที่ดี จึงได้นำผลงานนวัตกรรมไปประกวด และได้รับรางวัลที่สร้างความภาคภูมิใจแก่ทั้งนักศึกษานวัตกรรม 12 คน และคณะพยาบาลศาสตร์ รางวัลแรก เป็นระดับภาค รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการนำเสนอผลงาน Oral presentation ในการประชุมสามัญ และประชุมวิชาการ ประจำปี 2556 สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้รับรางวัลชมเชย ระดับประเทศ สาขาวิชานวัตกรรมกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ ในโครงการนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 (2556) โดยสมาคมวิทยายาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และขณะนี้ได้มีตัวแทนของกลุ่มไปนำเสนอผลงานนวัตกรรมที่ประเทศมาเลเซีย ยังไม่ทราบผลการนำเสนอ ซึ่งในกลุ่มทั้ง 12 คน ประกอบด้วย นาย ติณณภพ บั้งจันอัด นางสาววนิดา ทันธิมา นางสาวสิรินทิพย์ ตะเส นางสาวสิรินธร คมขุนทด นางสาวจีระภา โคกขุนทด นางสาวยุพารัตน์ ธุระงาน นางสาวน้อมฤดี จันทะคุณ นายสินธุ์ แสงโสดา นางสาวรุ่งอรุณ ทามาดาน นางสาวลลิตตา ฉัตรสุวรรณ และนางสาวนลิตตา สารมะโน

“รุ่ง” รุ่งอรุณ ทามาดาน นักเรียนโรงเรียนห้องแซงวิทยายน อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร นักศึกษาโครงการบัณฑิตคืนสู่สังคม โครงการรับพิเศษ ซึ่งคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่ของพื้นที่รับผิดชอบขององค์กรการปกครองส่วนท้อง ถิ่นของจังหวัดต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “รุ่ง” กล่าวถึงผลงานนวัตกรรมว่า “หนูรู้สึกดีใจมาก และภูมิใจแทนเพื่อนๆ ในกลุ่ม เพราะว่าทุกคนในกลุ่มต่างตั้งใจ ร่วมมือกัน และทุ่มเทเป็นอย่างมาก หวังให้ผลงานออกมาสมบูรณ์ที่สุด จนกระทั่งได้ผลงานนวัตกรรมออกมาเป็นที่พึงพอใจของผู้ป่วย ทั้งๆ ที่ทีแรกก็ไม่คาดคิดว่าผลงานนวัตกรรมจะออกมามีผลดีอย่างนี้ ตอนรู้ผลประกวดชนะในระดับภาคก็ดีใจแล้ว แต่พอทราบว่าผลงานนวัตกรรมได้รับการคัดเลือกนำขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ยิ่งรู้สึกภาคภูมิใจมากที่สุด”

สำหรับความรู้สึกต่อวิชาชีพพยาบาลนั้น “รุ่ง” บอกว่า “หนูมีความภาคภูมิใจมากที่ได้มาเรียนที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพราะหนูรู้สึกว่าเป็นคณะที่มีเกียรติมาก พอเรียนไป ยิ่งทำให้รู้สึกรักในวิชาชีพนี้ และยิ่งทำให้หนูตั้งใจในการเรียนมากขึ้น และขอสัญญาว่าเมื่อเรียนจบและทำงาน หนูจะเป็นพยาบาลที่ดีและจะทำงานในวิชาชีพพยาบาลด้วยความรัก”

“ยุ” นลิตตา สารมะโน และ “น้ำมนต์” สุภาพร วังคำ ลูกสาวชาวไร่ข้าวโพด ทำสวนกล้วยที่ชายแดนไทย-สปป.ลาว อ.ด่านซ้าย จ.เลย เป็นนักเรียนชั้นประถมจาก ร.ร. ตชด.เฉลิมบำรุง อ.ด่านซ้าย จ.เลย เมื่อจบม.6 จาก ร.ร.พระแก้วอาสาวิทยา ก็ได้รับทุนจากมูลนิธิโตโยต้า ในโครงการสานสายใยเด็กไทยรักสุขภาพซึ่งให้แก่นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

เมื่อถามถึงความรู้สึกต่อวิชาชีพพยาบาล “ยุ” บอกว่า “มีความใฝ่ฝันอยากเป็นพยาบาลมาตั้งแต่เด็ก อยากช่วยเหลือผู้คนที่เจ็บป่วย อยากดูแลคนในครอบครัวของเรา คิดว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะกลับไปทำงานอยู่ที่บ้านจะได้ดูแลคนในชุมชนบ้านเกิด รู้สึกภูมิใจมากที่มีโอกาสได้ก้าวเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยขอนแก่น จนมีโอกาสได้คิดค้นนวัตกรรมออกมาได้รับรางวัลระดับประเทศ”

“ยุ” พูดด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ น้ำตาคลอเบ้าว่า “ภูมิใจที่สุดที่มาถึงจุดนี้ได้ และได้เอาผลงานนวัตกรรม ขึ้นทูลถวายสมเด็จพระเทพฯ ถ้าไม่มีโครงการนี้หนูคงไม่มีโอกาสที่เป็นมงคลอย่างนี้ เมื่อเรียนจบแล้ว จะทำงานตอบแทนกับที่พระองค์ท่านเมตตาให้ทุน จะกลับไปรับใช้ผู้คนในพื้นที่บ้านเกิดที่พระองค์ส่งมา จะปฏิบัติตนเป็นคนดีของชุมชน และสังคม เป็นพยาบาลที่ดี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจเมตตากับผู้ป่วย” “ยุ” พูดอย่างมุ่งมั่น

“น้ำมนต์” สุภาพร วังคำ บอกว่า “หนุดีใจที่สุดที่ได้มาเรียนพยาบาล มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตอนแรกหนูสอบไม่ได้ แต่พอมีโครงการสานสายใยเด็กไทยรักสุขภาพ ซึ่งมูลนิธิโตโยต้า ได้มอบให้แก่นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนั้น ทำให้หนูได้โอกาสเข้ามาเรียน และได้ทำนวัตกรรม “มือจ๋า...ช่วยขาด้วย” กับเพื่อนๆ เป็นผลสำเร็จดังหวัง ดูจากการได้รับรางวัลการประกวดระดับภาค ระดับประเทศ และยังได้ไปประกวดที่ประเทศอินโดนีเซียอีก และยังมีโอกาสนำผลงานขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี หนูขอให้คำ มั่นว่า เมื่อเรียนจบ จะกลับไปทำงานที่บ้าน จะตั้งใจทำงาน จะไม่ย้ายไปไหน จะรับใช้คนในชุมชน ดูแลผู้ป่วยคด้วยความเมตตา และมีจริยธรรม จะเป็นพยาบาลที่ดีตลอดไป”

กว่า 43 ปี ที่คณาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เพียรสร้าง “พยาบาล” ขึ้นมาออกรับใช้สังคม ภารกิจของการพัฒนานักศึกษานอกจากใช้ความพากเพียรสร้างคนเก่ง ให้มีความรู้ความสามารถ สู่การเป็นพยาบาลศาสตร์บัณฑิตให้พร้อมจะช่วยเหลือผู้ป่วย และประชาชน เราจึงพบเห็นทายาทพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้มีความพร้อมในการทำงาน เป็นทั้ง “นวัตกร” ผู้มีบทบาทคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ให้บริการต่อสังคม และยังเป็นพยาบาลที่ดีอยู่ในสังคม ช่วยเหลือสังคม อุทิศตน มีจิตอาสา ทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น อันนำมาซึ่ง “ความสุข” ของตนในที่สุด

ขอบคุณ... http://www.kku.ac.th/news/2013/December/“มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย”-ผลงานยุวนวัตกรพยาบาล-ช่วยผู.php (ขนาดไฟล์: 162)

kku.ac.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ธ.ค.56

ที่มา: kku.ac.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 25/12/2556 เวลา 03:19:14 ดูภาพสไลด์โชว์ “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” ผลงานยุวนวัตกรพยาบาล ช่วยผู้ป่วยอัมพาต

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักศึกษาทดลองใช้ “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” ผลงานยุวนวัตกรพยาบาล ช่วยผู้ป่วยอัมพาต “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” ผลงานนวัตกรรม สำหรับบริหารข้อสะโพก และหัวเข่าสำหรับผู้ป่วยอัมพาต ผลงานนวัตกรรมของ 12 นวัตกรรม นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ เป็น 1 ใน 4 ผลงาน ที่เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของคณะพยาบาลศาสตร์ ในโอกาสที่จะได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสทรงเสด็จพระราชทานปริญญาบัตรแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปี2556 ผู้ป่วยอัมพาตทดลองใชิ “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” ผลงานยุวนวัตกรพยาบาลนวัตกรรมที่ลงทุนเพียงหลักพัน จากราคาเครื่องมือประเภทเดียวกันที่มีขายในท้องตลาด ราคาร่วมสองแสน!!! ไม่เพียงแต่ช่วยกายภาพบำบัดขา แต่ยังช่วยให้ข้อขา ข้อสะโพก หัวเข่าของผู้ป่วยนอนบนเตียงได้ออกกำลังกาย มีการเคลื่อนไหว แล้วทำให้ผู้ป่วยได้ใช้มือในการหมุนอุปกรณ์ออกกำลังกาย เป็นการบริหารข้อมือป้องกันข้อมือติดติด ผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกภาคภูมิใจในคุณค่าตนเองช่วยตัวเองได้มากขึ้นทำให้ลดภาระของผู้ดูแลได้อีกด้วย รศ.ดร.เสาวคนธ์ วีระศิริ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา เผยว่า “คณะพยาบาลได้ก่อตั้งมานานถึง 45 ปี ซึ่งคณะได้สร้างคน สร้างความรู้ สร้างสรรค์สังคม โดยปลูกฝังให้นักศึกษาไม่เพียงแต่เป็นพยาบาลที่ดี แต่ต้องเป็นพลเมืองที่ดีอีกด้วย โดยมีกิจกรรมที่ดีๆ เสริมสร้างนักศึกษาให้รู้จักการบำเพ็ญประโยชน์และอุทิศตน การช่วยเหลือประชาชน ในยามสถานการณ์ที่คับขัน ได้รับความยากลำบาก อาทิ น้ำท่วม หรือเหตุการณ์มีผลกระทบอื่นใด รวมทั้งโครงการพอ.สว. หรือมีโครงการอื่นๆ ที่ขอความอนุเคราะห์เข้ามาขอนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมนั้น จะพบว่านักศึกษาพยาบาลจะสมัครเข้าเป็นจิตอาสาเป็นจำนวนมากเกินคาดทุกครั้ง สมดังปรัชญาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาปัญญาจริยาโดยแท้” “คณะพยาบาลศาสตร์ มีแนวนโยบายสนับสนุนให้นักศึกษาได้คิดทำนวัตกรรมขึ้น ซึ่งโดยบูรณาการงานด้านการพัฒนานักศึกษากับการเรียนการสอนให้เดินไปด้วยกัน ภาพที่เรามุ่งมั่นก็จะเกิดความร่วมมือกันหลายฝ่าย ส่งเสริมให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” สำหรับบริหารข้อสะโพก และหัวเข่าสำหรับผู้ป่วยอัมพาต ที่จะนำขึ้นทูลเกล้าถวายนั้น เกิดจากแนวคิดของนักศึกษา ปี 4 จำนวน 12 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา ดร.ปัทมา สุริต ที่พบปัญหาผู้ป่วยเรื้อรัง ช่วยตนเองไม่ได้ ต้องพึ่งพาสมาชิกในครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกว่าคุณค่าในตนเองลดลง จากการศึกษาในรายวิชาโครงการการพยาบาล 12 นวัตกรรม จึงร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา อันนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมที่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกภาคภูมิใจว่าสามารถช่วยตนเองได้ บำบัดสุขภาพตนให้ดีขึ้น โดยการประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับ ผู้พิการที่ขา หรือพิการครึ่งซีก แต่มือที่ยังพอใช้ได้ และได้นำหลักการเข้าปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ไปสู่การทดลองทำ การปรับใช้ การทดลองใช้ เมื่อนำผลงานนวัตกรรมเข้าสู่การนำเสนอผลงาน Oral presentation ในการประชุมสามัญและประชุมวิชาการประจำปี 2556 ของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกคนต่างภาคภูมิใจที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และยังได้รับรางวัลชมเชย ระดับประเทศ จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และปีนี้สิ่งที่ทำให้เราดีใจที่สุดคือการที่ได้รับมติในที่ประชุมคณะ กรรมการบริหารประจำคณะพยาบาลศาสตร์ ในการนำผลงานอันเกิดจากนวัตกรรมจากเยาวชน “ยุวนวัตกร” ของคณะพยาบาลศาสตร์ “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” ทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี” ผศ.ดร.เสาวมาศ เถื่อนนาดี รองคณบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ กล่าวว่า “หากย้อนไปถึงอัตลักษณ์ ของคณะพยาบาลศาสตร์นั้น อัตลักษณ์ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ หรือบัณฑิตที่จบจากคณะพยาบาลนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมในการทำงาน Ready to work สำคัญอีกประการคือ การผลิต “นวัตกร” หรือผลิตบัณฑิตผู้พัฒนานวัตกรรม หรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมา จึงมีรายวิชาต่างๆ ที่สนับสนุนให้บัณฑิตของเราเป็นนักคิด นักประดิษฐ์ และมีการคิด ประดิษฐ์ คิดค้น นวัตกรรมสิ่งใหม่ สำหรับพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล อันเป็นบทบาทการตอบสนองการบริการต่อสังคม” “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” ผลงานยุวนวัตกรพยาบาล ช่วยผู้ป่วยอัมพาต “การพัฒนานักศึกษาให้เป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ สู่การเป็นพยาบาลศาสตร์บัณฑิตคือผู้ที่พร้อมจะช่วยเหลือผู้ป่วย และประชาชนได้นั้น ยังต้องเป็นคนดี เพื่อให้อยู่ในสังคม ช่วยเหลือสังคม อุทิศตน มีจิตอาสา โดยการกล่อมเกลามาตั้งแต่เรียนปี 1 เพื่อให้เป็นผู้มีจิตอาสา และเป็นผู้มีความสุข จากการทำเพื่อผู้อื่นในฐานะเป็นพยาบาล ทำประโยชน์ ประกอบอาชีพที่มีคุณภาพต่อสังคม ให้นักศึกษาเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข” สำหรับความพิเศษของนวัตกรรม “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย”นั้น เป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นได้ง่าย วิธีคิดก็ง่ายมาก อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย ประกอบได้เองง่าย คิด เติมความรู้ สร้างคุณค่า สามารถออกแบบให้ผู้อัมพาตครึ่งซีก ได้ใช้มือของตนเองประดิษฐ์นวัตกรรมขึ้นมาเอง สำหรับออกกำลังกายส่วนขา อันเป็นเทคนิคที่จะทำให้ผู้ป่วยได้ใช้ข้อเข่า ข้อมือ รวมทั้งกล้ามเนื้อได้ทำงาน แม้แต่ปุ่มที่ทดลองนำไปใช้ ทำให้คนป่วยทำเองได้ นับว่าเป็นนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าให้ผู้ป่วย เป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยได้ฮึดสู้เพื่อให้พึ่งพาตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา โดยมีจุดเด่นคือ ทำง่าย สะดวก ปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ทำได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ประหยัด ราคาถูก อยู่ในวิสัยที่ผู้ป่วยสามารถหามาได้ อุปกรณ์ที่นำมาผลิต ไม่ยุ่งยากเกินไป ใช้ได้ง่าย ช่วยตนเอง ผลลัพธ์ที่คุ้มค่ามากๆ ในเชิงออกกำลังกายเหมาะกับภาวะเศรษฐกิจเมืองไทยอีกด้วย” “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” ผลงานยุวนวัตกรพยาบาล ช่วยผู้ป่วยอัมพาต ด้านตัวแทนนักศึกษาเจ้าของนวัตกรรม “มือจ๋า...ช่วยขาหน่อย” นางสาวสุภาพร วังคำ หรือ ” น้ำมนต์” นางสาวรุ่งอรุณ ทามาดาน หรือ “รุ่ง” และนางสาวนลิตตา สารมะโน หรือ “ยุ” บอกว่า “แนวคิดของการเกิดนวัตกรรมเกิดจากการไปฝึกงานที่หอผู้ป่วย 2 ง.ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก หรือครึ่งท่อน จำนวนเพิ่มมากขึ้น ไม่จำกัดเพียงผู้ป่วยสูงอายุ แต่มีวัยรุ่นที่อัมพาตจากอุบัติเหตุมากขึ้น และได้เลือกกรณีศึกษาจากผู้ป่วยครึ่งซีก หรือครึ่งท่อน แต่มือยังใช้การได้ โดยหวังคิดค้นนวัตกรรมช่วยผู้ป่วยไม่ให้เกิดปัญหาข้อมือ ข้อเท้า ข้อสะโพกติด ซึ่งจะส่งผลให้การเคลื่อนไหวร่างกายไม่สามารถช่วยตนเองได้ อันจะเป็นภาระแก่ญาติผู้ป่วย ซึ่ง หากช่วยผู้ป่วยได้ ก็จะสามารถช่วยญาติผู้ป่วยได้อีกด้วย โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย และราคาถูก หลังทดลองใช้จริงกับผู้ป่วยพบว่า สามารถลดอาการข้อติดได้ และต้องขอบคุณคณะพยาบาลศาสตร์ที่สนับสนุนงบประมาณในโครงการของพวกเราจนเป็นผลสำเร็จ” ผลงานนวัตกรรมชิ้นนี้ หลังทดลองใช้ทั้งผู้ป่วยและญาติก็ให้การตอบรับที่ดี จึงได้นำผลงานนวัตกรรมไปประกวด และได้รับรางวัลที่สร้างความภาคภูมิใจแก่ทั้งนักศึกษานวัตกรรม 12 คน และคณะพยาบาลศาสตร์ รางวัลแรก เป็นระดับภาค รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการนำเสนอผลงาน Oral presentation ในการประชุมสามัญ และประชุมวิชาการ ประจำปี 2556 สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้รับรางวัลชมเชย ระดับประเทศ สาขาวิชานวัตกรรมกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ ในโครงการนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 (2556) โดยสมาคมวิทยายาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และขณะนี้ได้มีตัวแทนของกลุ่มไปนำเสนอผลงานนวัตกรรมที่ประเทศมาเลเซีย ยังไม่ทราบผลการนำเสนอ ซึ่งในกลุ่มทั้ง 12 คน ประกอบด้วย นาย ติณณภพ บั้งจันอัด นางสาววนิดา ทันธิมา นางสาวสิรินทิพย์ ตะเส นางสาวสิรินธร คมขุนทด นางสาวจีระภา โคกขุนทด นางสาวยุพารัตน์ ธุระงาน นางสาวน้อมฤดี จันทะคุณ นายสินธุ์ แสงโสดา นางสาวรุ่งอรุณ ทามาดาน นางสาวลลิตตา ฉัตรสุวรรณ และนางสาวนลิตตา สารมะโน “รุ่ง” รุ่งอรุณ ทามาดาน นักเรียนโรงเรียนห้องแซงวิทยายน อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...