คมนาคมบุกแดนโสมดูงานขนส่งสาธารณะ พัฒนาระบบไทยแก้ปัญหาจราจร สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง

แสดงความคิดเห็น

ระบบขนส่งของประเทศเกาหลีใต้ การขนส่งสาธารณะในประเทศไทย ขณะนี้ถือว่ามีความสำคัญต่อคนทั้งในเมืองหลวง และต่างจังหวัด ซึ่งต้องเดินทางอยู่เสมอ กระทรวงคมนาคมในฐานะเป็นผู้กำกับดูแลระบบขนส่งมวลชน หรือระบบขนส่งสาธารณะ จึงตระหนักถึงความจำเป็นดังกล่าว ที่ผ่านมาได้นำคณะผู้สื่อข่าวศึกษาดูงานที่สาธารณรัฐเกาหลี วันนี้ “บ้านเมือง” ขอเป็นผู้นำเสนอรายละเอียดทั้งหมดต่อสาธารณชน

ศึกษาดูงานระบบขนส่งฯ - นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการศึกษาดูงานระบบขนส่งสาธารณะด้วยรถโดยสารสาธารณะ (รถเมล์) ของสาธารณรัฐเกาหลี ว่า เกาหลีมีการบริหารจัดการระบบจราจรแบบบัสเลน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด โดยมีการนำรถเมล์มาเชื่อมกับรถไฟฟ้า โดยใช้ระบบตั๋วร่วม ทำให้เกิดความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ และเป็นการจูงใจให้คนหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะมากกว่ารถส่วนตัว จึงช่วยเรื่องการแก้ไขปัญหาจราจรได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็สอดคล้องกับแผนในการแก้ไขปัญหาการจราจรของกระทรวงคมนาคม ที่มีแนวทางจะใช้รถเมล์ในการแก้ไขปัญหาจราจร จึงจำเป็นต้องมาศึกษารูปแบบการบริหารจัดการจากเกาหลี ทั้งระบบบัสเลน การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับตัวรถเมล์ รวมถึงระบบตั๋วร่วม ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บเงินสดลดลง ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายจากการเก็บเงินสดจากระบบขนส่งสาธารณะ ประมาณ 10% จากเงินรายได้ หากไทยสามารถนำระบบตั๋วร่วมมาใช้จะช่วยบริหารจัดการ และอำนวยความสะดวก ปลอดภัย ที่สำคัญต้นทุนจะลดลง

“การบริหารจัดการระบบรถสาธารณะที่เกาหลีนั้น เป็นแบบการให้บริการบัสเลน คือวิ่งอยู่ตามเส้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด โดยมีการนำรถเมล์มาเชื่อมกับรถไฟฟ้า โดยใช้ระบบตั๋วร่วม ทำให้เกิดความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ และเป็นการจูงใจให้คนหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะมากกว่ารถส่วนตัว จึงช่วยเรื่องการแก้ไขปัญหาจราจรได้เป็นอย่างดี ในส่วนของไทยนั้น ขณะนี้ สนข.ได้ทำการศึกษาการใช้ระบบตั๋วร่วม คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จเร็วๆ นี้ ซึ่งตามแผนคาดว่าประมาณต้นปี 2557 จะสามารถเปิดประมูลระบบตั๋วร่วมได้ โดยจะมีการเชิญทูตจาก 54 ประเทศประจำประเทศไทย เพื่อเสนอให้เอกชนในแต่ละประเทศที่สนใจมาร่วมประมูล”

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเดินหน้าระบบตั๋วร่วม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ได้ทำการศึกษาการใช้ระบบตั๋วร่วมในระบบขนส่งสาธารณะในไทยระยะแรก ซึ่งมีบริษัทที่ปรึกษาจากเกาหลีมาร่วมทำการศึกษาด้วย ล่าสุดใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว สำหรับระยะที่ 2 คาดว่าประมาณต้นปี 2557 จะสามารถเปิดประมูลระบบตั๋วร่วมได้โดยจะมีการเชิญ ทูตจาก 54 ประเทศประจำประเทศไทยเพื่อเสนอให้เอกชนในแต่ละประเทศที่สนใจมาร่วมประมูล ซึ่งหากประเทศไทยสามารถบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมได้จะส่งผลให้ระบบขนส่ง สาธารณะทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า และทางด่วนจะสามารถใช้ระบบตั๋วร่วมได้

ที่ผ่านมา ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สนข.ได้ออกประกาศเชิญชวน หรือทีโออาร์ผู้ให้บริการระบบตั๋วร่วมทุกประเทศเข้าร่วมประมูลระบบตั๋วร่วม ของประเทศไทย เนื่องจากการประมูลเป็นแบบนานาชาติ วงเงินลงทุน 400 ล้านบาท ทั้งนี้ เป็นการประมูลหาเอกชนมาดำเนินการระบบซอฟต์แวร์และระบบตั๋ว ซึ่งจะต้องเป็น ระบบมาตรฐานระดับสากล ทั้งญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ เปิดกว้างทั้งไทยและต่างชาติ แต่เกาหลีใต้น่าจะไม่มีสิทธิ์ยื่นเพราะเขียนสเปกทีโออาร์ให้เรา

สำหรับหน่วยงานกลางที่จะทำหน้าที่บริหารจัดการ หรือ Clearing House จะตั้งบริษัทลูกของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มาดำเนินการ มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ เบื้องต้นมีพนักงานรองรับแล้ว 50-100 คน ซึ่งผ่านการอบรมและเทรนระบบมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดยตั้งสำนักงานอยู่ที่ รฟม. สำหรับการดำเนินการระบบตั๋วร่วมใช้เวลาประมาณ 24 เดือน ให้เป็นระบบเดียวกันทั้งหมดมีตั๋วใบเดียวใช้เดินทางได้ทั้งรถไฟฟ้า ทางด่วน รถเมล์ สามารถนำไปซื้อสินค้าต่างๆ ได้ หลักการคือเป็นบัตรของใครก็ได้ที่อยากเข้าร่วม เช่น บัตรสมาร์ทเฟิร์ส ของบริษัทไทยสมาร์ทคาร์ด ธุรกิจในเครือของกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ที่มีฐานลูกค้าเป็นสมาชิกใช้ซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่นอยู่จำนวนมาก

นอกจากนี้ มีบัตรแร็บบิทที่ใช้กับระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสของบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเต็ม หรือบีเอสเอส เพื่อนำบัตรดังกล่าวมาใช้ชำระแทนเงินสดได้ แต่จะต้องอ่านและตัดบัญชีในระบบเดียวกันได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าภายในปลายปี 2557 ระบบตั๋วติดตั้งแล้วเสร็จ จากนั้นดึงบีทีเอสมีบัตรแร็บบิทและรถไฟฟ้าใต้ดินที่เป็นบัตรสมาร์ทการ์ดอยู่แล้ว หรือแม้แต่แอร์พอร์ตลิงค์มาเข้าร่วมระบบด้วยเพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน สำหรับระบบทางด่วนนั้นการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะต้องลงทุนระบบซอฟต์แวร์ให้รองรับกับระบบตั๋วร่วมได้ในช่องเก็บเงินสด เนื่องจากจะเป็นคนละรูปแบบกับบัตร Easy Pass ที่รถสามารถวิ่งผ่านได้โดยติดบัตรไว้ที่หน้ารถ ซึ่งตั๋วร่วมเป็นระบบแตะแล้วผ่านโดยใช้บัตรสมาร์ทการ์ด ส่วนโครงการนำร่องเดิมออกแบบให้ใช้กับทางด่วนและมอเตอร์เวย์ภายในสิ้นปีนี้ โดยเป็นบัตร Easy Pass สามารถใช้เดินทางร่วมกันได้ทั้ง 2 ระบบ อย่างไรก็ตาม อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากติดปัญหาเรื่องการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% ของกรมทางหลวง ขณะที่ กทพ.ได้คิดรวมไว้ทั้งหมดแล้ว ล่าสุดกำลังให้กรมสรรพากรพิจารณาว่ากรมทางหลวงจะต้องจัดเก็บหรือไม่

ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่าใช้เวลา 24 เดือนในการทำระบบทั้งหมด หรือประมาณปลายปี’57 จึงจะแล้วเสร็จ ทดสอบอีก 6 เดือน เพื่อทำโครงการนำร่องกลางปี 2558 มี 2 ระบบ คือ ทางด่วน และรถไฟฟ้าในบางสาย เช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน แอร์พอร์ตลิงค์ กับปลายปี’58 จะใช้ได้รวมทุกระบบทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน บีทีเอส แอร์พอร์ตลิงค์ รถเมล์ ทางด่วน

ระบบขนส่งของประเทศเกาหลีใต้เยี่ยมชมระบบควบคุมจราจร ด้านนายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวภายหลังการเยี่ยมชม ศูนย์ควบคุมการจราจร และระบบตั๋วร่วมของสาธารณรัฐเกาหลี ว่า ในอนาคตประเทศไทยจะมีการปรับปรุงระบบการขนส่งในประเทศไทย โดยเริ่มจากระบบรถเมล์ ซึ่งจากการศึกษารูปแบบการปฏิรูประบบขนส่งมวลชนของเกาหลีตั้งแต่ ปี 2004 เริ่มจากการปฏิรูปรถเมล์เป็นระบบแรกควบคู่กับระบบรถไฟฟ้า ซึ่งในอดีตการบริการรถเมล์ที่เกาหลีมีปัญหาเหมือนประเทศไทยในปัจจุบัน ที่รถร่วมเอกชนต้องประสบปัญหากับการแข่งขันอย่างรุนแรง มีการแย่งผู้โดยสารจนเกิดอุบัติเหตุ ทางรัฐบาลเกาหลีจึงได้นำบริษัทเดินรถเมล์เอกชนมาอยู่ในความดูแล โดยจ่ายค่าตอบแทนให้กับเอกชนที่เดินรถ ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีผลตอบแทนที่เหมาะสม ที่สำคัญมีการเดินรถอย่างเป็นระเบียบ ทิ้งระยะเวลาในการเดินรถ ลดปัญหาการแย่งผู้โดยสารและแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดได้อย่างเป็นระบบ

นอกจากนี้ เกาหลียังได้นำระบบเทคโนโลยี ทั้งระบบจีพีเอส และระบบตั๋วร่วม มาติดตั้งบนรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งข้อมูลเชื่อมโยงไปยังศูนย์ควบคุมสามารถบริหารจัดการการเดินรถได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เช่น ระบบรถเมล์ ซึ่งการนำจีพีเอสมาใช้จะทำให้สามารถบริการการปล่อยรถ ควบคุมความปลอดภัย ด้วยการจำกัดความเร็ว และการให้ข้อมูลแก่ประชาชน เช่น ระบบให้ข้อมูลที่ป้ายรถเมล์ว่ารถคันต่อไปจะเข้าเป็นรถสายใด จะมาภายในกี่นาที

ศูนย์ควบคุมการจราจรที่กรุงโซลแห่งนี้ เป็นจุดรวบรวมข้อมูลเส้นทางต่างๆ ทั่วกรุงโซล ซึ่งเชื่อมโยงความเคลื่อนไหวการจราจรบนถนนทุกสายมายังศูนย์ข้อมูลแห่งนี้ ผ่านเทคโนโลยี จีพีเอส ที่ติดตั้งอยู่บนรถเกือบทุกคันในโซล รวมถึงโทรศัพท์มือถือของคนเกาหลี ก็มักจะเปิดบริการจีพีเอสอยู่ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการใช้ประโยชน์จากกล้องวงจรปิดที่อยู่ตามจุดต่างๆ ทำให้ข้อมูลทั้งหมดถูกส่งมายังศูนย์ควบคุมการจราจรทั้งหมดแบบเรียลไทม์ เพื่อประมวลผลการจราจรบนท้องถนน และแจ้งแนะนำเส้นทางให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนได้อย่างแม่นยำ ผ่านทางอุปกรณ์แนะนำเส้นทาง หรือ เนวิเกเตอร์, แอพพลิเคชั่นบนมือถือ หรือกระทั่งโซเชียลเน็ตเวิร์คยอดฮิตอย่าง เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ใช้รถ

พัฒนาเก็บข้อมูล สถิติ ใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนถนน ศูนย์ข้อมูลก็จะส่งข้อความแจ้งไปยังผู้ใช้รถให้เลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น เพื่อไม่ให้เกิดการเสียเวลา นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลจราจรแห่งนี้ได้พัฒนาระบบบริการข้อมูลจราจรแบบใหม่ ในลักษณะของการพยากรณ์การจราจรล่วงหน้า 1 วัน ในเส้นทางต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้รถสามารถวางแผนการเดินทางล่วงหน้าก่อนออกจากบ้านได้ ซึ่งลักษณะการพยากรณ์จะใช้วิธีการประมวลผลข้อมูลจราจรย้อนหลัง 5 ปี และนำมาวิเคราะห์พยากรณ์ปริมาณการจราจรในเส้นทางต่างๆ

“การพยากรณ์ข้อมูลดังกล่าวได้รับการยืนยันว่ามีความถูกต้องแม่นยำ มากกว่า 90% ข้อมูลพยากรณ์เหล่านี้จะถูกเผยแพร่ให้กับประชาชนได้รับทราบ ในลักษณะคล้ายๆ การพยากรณ์อากาศประจำวันผ่านรายการโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ และแอพพลิเคชั่นต่างๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นหนึ่งในแนวทางการปฏิรูปการจราจรในกรุงโซล ให้กลายเป็นเมืองที่มีปัญหาการจราจรลดลง และชีวิตความเป็นอยู่ของคนก็ดีขึ้นตามไปด้วย”

นอกจากนี้ นายจิรุตม์ กล่าวถึงแนวทางระบบบริหารจัดการของสาธารณรัฐเกาหลี โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปรถโดยสารระหว่างรัฐและเอกชน ในประเทศไทยนั้นสามารถดำเนินการได้ โดยให้สอดคล้องและมีความเหมาะสม เพื่อจูงใจให้คนไทยหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถส่วนตัว ที่สำคัญจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดีและอุบัติเหตุก็ลดลง ที่สำคัญจะต้องมีการหารือกับผู้ประกอบการรถร่วมซึ่งคาดว่าในเร็วๆนี้ควบคู่กับ โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ หรือ NGV จำนวน3,183 คัน ของ ขสมก.

ตั้งเป้ายกเครื่องเมล์ไทย อย่างไรก็ตาม นายชัชชาติ กล่าวว่า ตามแผนของกระทรวงคมนาคมนั้น มีเป้าหมายที่จะยกเครื่องระบบบริการของรถเมล์ไทย ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน 1-2 ปีข้างหน้า ทั้งการปรับปรุงการบริหารงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ หรือ ขสมก. รวมถึงการจัดหารถใหม่ผ่านการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,000 ล้านบาท ที่จะเริ่มการประกวดราคาในปีหน้า นอกจากนี้ ยังยอมรับว่าการปรับปรุงบริการรถเมล์โดยสาร กระทรวงคมนาคม ได้ศึกษาแนวทางในหลายประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ซึ่งสามารถยกเครื่องระบบรถเมล์ที่เคยประสบปัญหาเช่นเดียวกับไทย กลับมาเป็นบริการที่ได้รับความนิยมใช้บริการ มีระบบที่มีคุณภาพ ลดอุบัติเหตุได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ในปี 2557 กระทรวงคมนาคม มีแผนที่จะผลักดันการนำระบบตั๋วร่วมมาใช้งาน โดยคาดว่าจะเริ่มการประมูลเพื่อวางระบบได้ต้นปีหน้า โดยระยะเริ่มต้นการใช้งานระบบตั๋วร่วม จะสามารถใช้ร่วมกับระบบทางด่วน รถเมล์ และรถไฟฟ้า

สำหรับความคืบหน้าการจัดทำร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2 ล้านบาทนั้น ที่ผ่านมา พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในฐานะเป็นรัฐมนตรีที่กำกับดูแลองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้มีนโยบายให้คณะกรรมการจัดทำร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) ให้ชะลอการเปิดประมูลจัดซื้อรถเมล์ เอ็นจีวี พร้อมทั้งให้แก้ไขทีโออาร์ในส่วนของรถโดยสารธรรมดา (รถร้อน) 1,659 คัน ให้เป็นไปตามข้อแนะนำของกลุ่มผู้พิการ ที่ต้องการเข้าถึงบริการได้ทั้งรถร้อนและรถปรับอากาศ ซึ่งคณะกรรมการร่างทีโออาร์ ได้รับนโยบายไปดำเนินการปรับปรุทีโออาร์แล้ว โดยหลักๆ สเปกรถร้อนจะเหมือนรถปรับอากาศ แตกต่างกันที่มีแอร์กับไม่มีแอร์ ซึ่งเบื้องต้นจะปรับเปลี่ยนคุณสมบัติรถร้อน เป็นแบบแชสซีส์กึ่งชานต่ำ (Semi Low floor) เพื่อให้มีทางลาดสำหรับรถเข็น (wheel chairs) ใช้ได้ ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้กรรมการร่างทีโออาร์ ไปพิจารณาเพิ่มเติมให้เหมาะสม

ระบบขนส่งของประเทศเกาหลีใต้พัฒนาพร้อมสร้างความโปร่งใส ทั้งนี้ ในส่วนความเห็นของคณะอนุกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดศึกษาเฝ้าระวัง โครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน เรื่องทยอยประมูลทีละสัญญานั้น ยืนยันว่าไม่สามารถทำได้เนื่องจากผิดระเบียบการประกวดราคาด้วยวิธีทาง อิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออคชั่น) ซึ่งคาดว่าประเด็นที่ปรับแก้ในเรื่องรถร้อนสำหรับคนพิการจะเป็นเรื่องสุด ท้าย และจะมีการนำทีโออาร์ที่ปรับปรุงชี้แจงผ่านเว็บไซต์กรมบัญชีกลางและเว็บไซต์ ขสมก. เพื่อรับฟังความคิดเห็นเป็นครั้งที่ 6 ได้ประมาณช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา หากไม่มีความเห็นเพิ่มเติมจะสรุปและนำลงเว็บไซต์ครั้งที่ 7 เป็นการยืนยัน คาดว่าจะเปิดขายซองประมูลได้ประมาณปลายเดือนธันวาคม ใช้เวลาประมาณ 30 วัน จากนั้นจะให้ผู้ยื่นเสนอนำรถมาวิ่งทดสอบประสิทธิภาพได้ประมาณปลายเดือน มกราคมถึงต้นเดือน ก.พ.57

ขณะเดียวกัน น.ส.อาภาณี มิตรทอง ตัวแทนผู้พิการ ภาคีเครือข่ายรถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนขึ้นได้ทุกคัน กล่าวว่า รู้สึกพอใจที่ พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ลงมาแก้ปัญหาและมีการปรับเปลี่ยน TOR รถร้อนเพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงบริการได้ ซึ่งจะรวมถึงคนชรา เด็ก และผู้หญิงที่นุ่งสั้น ฯลฯ ก็จะใช้บริการได้สะดวกขึ้นด้วย และเห็นว่าหากคณะกรรมการร่าง TOR ต้องการความเห็นเพิ่มเติม คนพิการพร้อมที่จะร่วมให้ข้อมูล เนื่องจากข้อกำหนดยังขาดอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบถ้วนตามมาตรฐาน เช่น ตัววิ่ง สัญญาณเสียงในรถเพื่อบอกข้อมูลสำหรับผู้พิการทางหู เป็นต้น ซึ่ง พล.อ.พฤณท์ ยืนยันว่าจะมีการติดตั้งเพิ่มเติมภายหลัง เพราะวงเงินที่ได้รับไม่เพียงพอ ส่วนระยะแรกจะจัดเจ้าหน้าที่ ขสมก.คอยดูแลไปก่อน

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลมาตรฐานการประกอบรถโดยสารนั้นรถโดยสารที่ รถเข็นคนพิการ (wheel chairs) ใช้บริการได้นั้น ขสมก.กำหนดเงื่อนไขเพียงว่าเป็นรถที่มีระบบรองรับน้ำหนักแบบถุงลมเท่านั้น เพราะตามมาตรฐานจะกำหนดระยะห่างจากพื้นถนนและพื้นห้องโดยสารที่ให้รถเข็นคนพิการขึ้นได้ เพราะจะมีทางลาดเอียงประมาณ 7 องศา เพราะถ้าไม่กำหนดระบบถุงลม ถ้ารถใช้ระบบแหนบ รถคนพิการจะใช้ทางลาดเอียงไม่ได้แน่นอน

ทั้งนี้ ระบบขนส่งสาธารณะในประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการเดินทาง หรือจะเรียกว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่งก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นความสะดวกสบายในการเดินทาง ซึ่งประเทศไทยก็มีหลายโครงการที่จะสร้าง เพื่อให้ความสะดวกต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟรางคู่ โครงการรถเมล์เอ็นจีวี รวมถึงการปรับปรุงทั้งระบบสาธารณะอีกด้วย ซึ่งดูกันตามแผนโครงการรัฐบาลก็อีกไม่นานระบบทุกอย่างจะครบสมบูรณ์

ขอบคุณ https://bay171.mail.live.com/default.aspx?n=1576270724&fid=1&pdir=NextPage&paid=c1bfa81a-633a-11e3-8099-00215ad8530e&pad=2013-12-12T14%3a36%3a24.807Z&pidx=2#n=317219567&view=1

( บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ธ.ค.56 )

ที่มา: บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 14/12/2556 เวลา 04:16:04 ดูภาพสไลด์โชว์  คมนาคมบุกแดนโสมดูงานขนส่งสาธารณะ พัฒนาระบบไทยแก้ปัญหาจราจร สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ระบบขนส่งของประเทศเกาหลีใต้การขนส่งสาธารณะในประเทศไทย ขณะนี้ถือว่ามีความสำคัญต่อคนทั้งในเมืองหลวง และต่างจังหวัด ซึ่งต้องเดินทางอยู่เสมอ กระทรวงคมนาคมในฐานะเป็นผู้กำกับดูแลระบบขนส่งมวลชน หรือระบบขนส่งสาธารณะ จึงตระหนักถึงความจำเป็นดังกล่าว ที่ผ่านมาได้นำคณะผู้สื่อข่าวศึกษาดูงานที่สาธารณรัฐเกาหลี วันนี้ “บ้านเมือง” ขอเป็นผู้นำเสนอรายละเอียดทั้งหมดต่อสาธารณชน ๐ ศึกษาดูงานระบบขนส่งฯ - นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการศึกษาดูงานระบบขนส่งสาธารณะด้วยรถโดยสารสาธารณะ (รถเมล์) ของสาธารณรัฐเกาหลี ว่า เกาหลีมีการบริหารจัดการระบบจราจรแบบบัสเลน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด โดยมีการนำรถเมล์มาเชื่อมกับรถไฟฟ้า โดยใช้ระบบตั๋วร่วม ทำให้เกิดความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ และเป็นการจูงใจให้คนหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะมากกว่ารถส่วนตัว จึงช่วยเรื่องการแก้ไขปัญหาจราจรได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็สอดคล้องกับแผนในการแก้ไขปัญหาการจราจรของกระทรวงคมนาคม ที่มีแนวทางจะใช้รถเมล์ในการแก้ไขปัญหาจราจร จึงจำเป็นต้องมาศึกษารูปแบบการบริหารจัดการจากเกาหลี ทั้งระบบบัสเลน การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับตัวรถเมล์ รวมถึงระบบตั๋วร่วม ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บเงินสดลดลง ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายจากการเก็บเงินสดจากระบบขนส่งสาธารณะ ประมาณ 10% จากเงินรายได้ หากไทยสามารถนำระบบตั๋วร่วมมาใช้จะช่วยบริหารจัดการ และอำนวยความสะดวก ปลอดภัย ที่สำคัญต้นทุนจะลดลง “การบริหารจัดการระบบรถสาธารณะที่เกาหลีนั้น เป็นแบบการให้บริการบัสเลน คือวิ่งอยู่ตามเส้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด โดยมีการนำรถเมล์มาเชื่อมกับรถไฟฟ้า โดยใช้ระบบตั๋วร่วม ทำให้เกิดความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ และเป็นการจูงใจให้คนหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะมากกว่ารถส่วนตัว จึงช่วยเรื่องการแก้ไขปัญหาจราจรได้เป็นอย่างดี ในส่วนของไทยนั้น ขณะนี้ สนข.ได้ทำการศึกษาการใช้ระบบตั๋วร่วม คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จเร็วๆ นี้ ซึ่งตามแผนคาดว่าประมาณต้นปี 2557 จะสามารถเปิดประมูลระบบตั๋วร่วมได้ โดยจะมีการเชิญทูตจาก 54 ประเทศประจำประเทศไทย เพื่อเสนอให้เอกชนในแต่ละประเทศที่สนใจมาร่วมประมูล” นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ๐ เดินหน้าระบบตั๋วร่วม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ได้ทำการศึกษาการใช้ระบบตั๋วร่วมในระบบขนส่งสาธารณะในไทยระยะแรก ซึ่งมีบริษัทที่ปรึกษาจากเกาหลีมาร่วมทำการศึกษาด้วย ล่าสุดใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว สำหรับระยะที่ 2 คาดว่าประมาณต้นปี 2557 จะสามารถเปิดประมูลระบบตั๋วร่วมได้โดยจะมีการเชิญ ทูตจาก 54 ประเทศประจำประเทศไทยเพื่อเสนอให้เอกชนในแต่ละประเทศที่สนใจมาร่วมประมูล ซึ่งหากประเทศไทยสามารถบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมได้จะส่งผลให้ระบบขนส่ง สาธารณะทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า และทางด่วนจะสามารถใช้ระบบตั๋วร่วมได้ ที่ผ่านมา ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สนข.ได้ออกประกาศเชิญชวน หรือทีโออาร์ผู้ให้บริการระบบตั๋วร่วมทุกประเทศเข้าร่วมประมูลระบบตั๋วร่วม ของประเทศไทย เนื่องจากการประมูลเป็นแบบนานาชาติ วงเงินลงทุน 400 ล้านบาท ทั้งนี้ เป็นการประมูลหาเอกชนมาดำเนินการระบบซอฟต์แวร์และระบบตั๋ว ซึ่งจะต้องเป็น ระบบมาตรฐานระดับสากล ทั้งญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ เปิดกว้างทั้งไทยและต่างชาติ แต่เกาหลีใต้น่าจะไม่มีสิทธิ์ยื่นเพราะเขียนสเปกทีโออาร์ให้เรา สำหรับหน่วยงานกลางที่จะทำหน้าที่บริหารจัดการ หรือ Clearing House จะตั้งบริษัทลูกของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มาดำเนินการ มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ เบื้องต้นมีพนักงานรองรับแล้ว 50-100 คน ซึ่งผ่านการอบรมและเทรนระบบมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดยตั้งสำนักงานอยู่ที่ รฟม. สำหรับการดำเนินการระบบตั๋วร่วมใช้เวลาประมาณ 24 เดือน ให้เป็นระบบเดียวกันทั้งหมดมีตั๋วใบเดียวใช้เดินทางได้ทั้งรถไฟฟ้า ทางด่วน รถเมล์ สามารถนำไปซื้อสินค้าต่างๆ ได้ หลักการคือเป็นบัตรของใครก็ได้ที่อยากเข้าร่วม เช่น บัตรสมาร์ทเฟิร์ส ของบริษัทไทยสมาร์ทคาร์ด ธุรกิจในเครือของกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ที่มีฐานลูกค้าเป็นสมาชิกใช้ซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่นอยู่จำนวนมาก นอกจากนี้ มีบัตรแร็บบิทที่ใช้กับระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสของบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเต็ม หรือบีเอสเอส เพื่อนำบัตรดังกล่าวมาใช้ชำระแทนเงินสดได้ แต่จะต้องอ่านและตัดบัญชีในระบบเดียวกันได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าภายในปลายปี 2557 ระบบตั๋วติดตั้งแล้วเสร็จ จากนั้นดึงบีทีเอสมีบัตรแร็บบิทและรถไฟฟ้าใต้ดินที่เป็นบัตรสมาร์ทการ์ดอยู่แล้ว หรือแม้แต่แอร์พอร์ตลิงค์มาเข้าร่วมระบบด้วยเพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน สำหรับระบบทางด่วนนั้นการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะต้องลงทุนระบบซอฟต์แวร์ให้รองรับกับระบบตั๋วร่วมได้ในช่องเก็บเงินสด เนื่องจากจะเป็นคนละรูปแบบกับบัตร Easy Pass ที่รถสามารถวิ่งผ่านได้โดยติดบัตรไว้ที่หน้ารถ ซึ่งตั๋วร่วมเป็นระบบแตะแล้วผ่านโดยใช้บัตรสมาร์ทการ์ด ส่วนโครงการนำร่องเดิมออกแบบให้ใช้กับทางด่วนและมอเตอร์เวย์ภายในสิ้นปีนี้ โดยเป็นบัตร Easy Pass สามารถใช้เดินทางร่วมกันได้ทั้ง 2 ระบบ อย่างไรก็ตาม อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากติดปัญหาเรื่องการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% ของกรมทางหลวง ขณะที่ กทพ.ได้คิดรวมไว้ทั้งหมดแล้ว ล่าสุดกำลังให้กรมสรรพากรพิจารณาว่ากรมทางหลวงจะต้องจัดเก็บหรือไม่ ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่าใช้เวลา 24 เดือนในการทำระบบทั้งหมด หรือประมาณปลายปี’57 จึงจะแล้วเสร็จ ทดสอบอีก 6 เดือน เพื่อทำโครงการนำร่องกลางปี 2558 มี 2 ระบบ คือ ทางด่วน และรถไฟฟ้าในบางสาย เช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน แอร์พอร์ตลิงค์ กับปลายปี’58 จะใช้ได้รวมทุกระบบทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน บีทีเอส แอร์พอร์ตลิงค์ รถเมล์ ทางด่วน ระบบขนส่งของประเทศเกาหลีใต้ ๐ เยี่ยมชมระบบควบคุมจราจร ด้านนายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวภายหลังการเยี่ยมชม ศูนย์ควบคุมการจราจร และระบบตั๋วร่วมของสาธารณรัฐเกาหลี ว่า ในอนาคตประเทศไทยจะมีการปรับปรุงระบบการขนส่งในประเทศไทย โดยเริ่มจากระบบรถเมล์ ซึ่งจากการศึกษารูปแบบการปฏิรูประบบขนส่งมวลชนของเกาหลีตั้งแต่ ปี 2004 เริ่มจากการปฏิรูปรถเมล์เป็นระบบแรกควบคู่กับระบบรถไฟฟ้า ซึ่งในอดีตการบริการรถเมล์ที่เกาหลีมีปัญหาเหมือนประเทศไทยในปัจจุบัน ที่รถร่วมเอกชนต้องประสบปัญหากับการแข่งขันอย่างรุนแรง มีการแย่งผู้โดยสารจนเกิดอุบัติเหตุ ทางรัฐบาลเกาหลีจึงได้นำบริษัทเดินรถเมล์เอกชนมาอยู่ในความดูแล โดยจ่ายค่าตอบแทนให้กับเอกชนที่เดินรถ ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีผลตอบแทนที่เหมาะสม ที่สำคัญมีการเดินรถอย่างเป็นระเบียบ ทิ้งระยะเวลาในการเดินรถ ลดปัญหาการแย่งผู้โดยสารและแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดได้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ เกาหลียังได้นำระบบเทคโนโลยี ทั้งระบบจีพีเอส และระบบตั๋วร่วม มาติดตั้งบนรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งข้อมูลเชื่อมโยงไปยังศูนย์ควบคุมสามารถบริหารจัดการการเดินรถได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เช่น ระบบรถเมล์ ซึ่งการนำจีพีเอสมาใช้จะทำให้สามารถบริการการปล่อยรถ ควบคุมความปลอดภัย ด้วยการจำกัดความเร็ว และการให้ข้อมูลแก่ประชาชน เช่น ระบบให้ข้อมูลที่ป้ายรถเมล์ว่ารถคันต่อไปจะเข้าเป็นรถสายใด จะมาภายในกี่นาที ศูนย์ควบคุมการจราจรที่กรุงโซลแห่งนี้ เป็นจุดรวบรวมข้อมูลเส้นทางต่างๆ ทั่วกรุงโซล ซึ่งเชื่อมโยงความเคลื่อนไหวการจราจรบนถนนทุกสายมายังศูนย์ข้อมูลแห่งนี้ ผ่านเทคโนโลยี จีพีเอส ที่ติดตั้งอยู่บนรถเกือบทุกคันในโซล รวมถึงโทรศัพท์มือถือของคนเกาหลี ก็มักจะเปิดบริการจีพีเอสอยู่ด้วย นอกจากนี้ ยังมีการใช้ประโยชน์จากกล้องวงจรปิดที่อยู่ตามจุดต่างๆ ทำให้ข้อมูลทั้งหมดถูกส่งมายังศูนย์ควบคุมการจราจรทั้งหมดแบบเรียลไทม์ เพื่อประมวลผลการจราจรบนท้องถนน และแจ้งแนะนำเส้นทางให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนได้อย่างแม่นยำ ผ่านทางอุปกรณ์แนะนำเส้นทาง หรือ เนวิเกเตอร์, แอพพลิเคชั่นบนมือถือ หรือกระทั่งโซเชียลเน็ตเวิร์คยอดฮิตอย่าง เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ใช้รถ ๐ พัฒนาเก็บข้อมูล สถิติ ใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนถนน ศูนย์ข้อมูลก็จะส่งข้อความแจ้งไปยังผู้ใช้รถให้เลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น เพื่อไม่ให้เกิดการเสียเวลา นอกจากนี้

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...