อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพา

แสดงความคิดเห็น

น.ส.กรณพัฒน์ ยันต์โกเศศ สมาชิกทีมผู้พัฒนาฯ

คว้ารางวัลเหรียญเงิน ด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุจากเวทีการประกวดในงานประชุมวิชาการนานาชาติ ไอ-ครีเอท 2013 กับอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพาŽ หรือ Home-Auto Lifting System ผลงานของทีมนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

น.ส.กรณพัฒน์ ยันต์โกเศศ สมาชิกทีมผู้พัฒนาฯ บอกว่า ปัจจุบันนี้มีผู้ที่มีปัญหาด้านการเดินเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ผู้พิการและผู้สูงอายุ จึงทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายในการใช้ชีวิตประจำวันและไม่มีโอกาสออกไปพบปะผู้คนข้างนอก

อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพา ขณะเดียวกันอุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ ไม่สามารถใช้งานได้ทุกที่และมีราคาแพงเพื่อลดข้อจำกัดดังกล่าว ทีมจึงได้ออกแบบ Home-Auto Lifting System ซึ่งเป็นอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพาได้ มีน้ำหนักเบาเพียง 15 กิโลกรัม

สามารถใช้งานได้ทั้งในบ้าน นอกบ้านและรถยนต์ และรับน้ำหนักได้ถึง 120 กิโลกรัม น้องกรณพัฒน์ บอกว่า อุปกรณ์นี้ที่ทำมาจากสเตนเลสสตีล ตัวอุปกรณ์แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นฐานซึ่งมีทั้งแบบฐานในบ้านและฐานในรถยนต์ และ ส่วนที่เป็นชุดยก

สำหรับฐานที่ใช้กับรถยนต์ได้ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายรูปตัวเอฟ เพื่อปรับขนาดความกว้างได้ตามขนาดล้อรถแต่ละแบบ แล้วจึงล็อกฐานไว้กับล้อรถ หลังจากนั้นก็นำส่วนของตัวยกมาเสียบไว้กับส่วนฐาน ส่วนการยกนั้นสามารถหมุนได้รอบทิศทาง เพื่อสะดวกในการใช้งานในที่แคบ และควบคุมการยกขึ้นลงจากรีโมต การออกแบบของเราเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เราออกแบบโดยใช้โซลิด เวิร์ก โปรแกรม ( Solid Work Program ) มาจำลอง เพื่อดูค่าความปลอดภัย ที่เหมาะสม

อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพา อีกทั้งยังใช้เวิร์กกิ้ง โมเดล โปรแกรม (Working Model Program) และแคลคูเลชั่น (Calculation) เพื่อคำนวณหาระยะในการติดตั้งชุดยก ที่สามารถรับน้ำหนักผู้ป่วยได้ 120 กิโลกรัมŽ น้องกรณพัฒน์ บอกอีกว่า จากการศึกษาการทำงานและการใช้งานของอุปกรณ์ที่นำเข้าจากเมืองนอกและอุปกรณ์ ที่มีอยู่ที่โรงพยาบาลใหญ่ ๆ ล้วนแต่มีขนาดใหญ่มากไม่สามารถพับเก็บได้ ไม่สามารถยกได้เนื่องจากมีน้ำหนักเยอะมาก ที่สำคัญมีราคาแพงเป็นแสน การใช้งานก็จำเป็นต้องดัดแปลงบ้านหรือรถ ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้เป็นจุด ๆ ที่ติดตั้งเท่านั้น แต่สำหรับอุปกรณ์นี้ ราคาต้นแบบ รวมแล้วไม่ถึง 2 หมื่นบาท โดยฐานที่ใช้กับรถประมาณ 3,000 บาท ฐานที่ใช้ในบ้านประมาณ 5,000 บาท และชุดยกประมาณ 10,000 บาท เรียกว่าสามารถนำไปใช้งานได้จริงในสังคมไทยปัจจุบัน. นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=192641 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 พ.ย.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 26/05/2562 เวลา 19:09:00 ดูภาพสไลด์โชว์ อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพา

1 แป๋ม 26/05/2562 19:09:00

สนใจเหมือนกันค่ะ อยากได้เบอร์ติดต่อค่ะ

2 นนท์ 1/03/2559 12:50:23

เครื่องนี้น่าใช้มากครับ ทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บ และไม่ให้มีความรู้สึกว่าเป็นภาระกับคนอื่นมากไป

ต้องการซื้อไปใช้ติดต่อได้อย่างไรครับ

3 สิริธร 27/03/2557 11:54:25

สุดยอดนวัตกรรมเลยค่ะ ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้ป่วยแลผู้ดูแล ราคาก้อถูกกว่าอุปกรณ์ประเภทเดียวกันที่นำเข้าถึง 10 เท่าเลยทีเดียว

สนใจซื้อจะติดต่ออย่างไรค่ะ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

น.ส.กรณพัฒน์ ยันต์โกเศศ สมาชิกทีมผู้พัฒนาฯ คว้ารางวัลเหรียญเงิน ด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุจากเวทีการประกวดในงานประชุมวิชาการนานาชาติ ไอ-ครีเอท 2013 กับอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพาŽ หรือ Home-Auto Lifting System ผลงานของทีมนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น.ส.กรณพัฒน์ ยันต์โกเศศ สมาชิกทีมผู้พัฒนาฯ บอกว่า ปัจจุบันนี้มีผู้ที่มีปัญหาด้านการเดินเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ผู้พิการและผู้สูงอายุ จึงทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายในการใช้ชีวิตประจำวันและไม่มีโอกาสออกไปพบปะผู้คนข้างนอก อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพาขณะเดียวกันอุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ ไม่สามารถใช้งานได้ทุกที่และมีราคาแพงเพื่อลดข้อจำกัดดังกล่าว ทีมจึงได้ออกแบบ Home-Auto Lifting System ซึ่งเป็นอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพาได้ มีน้ำหนักเบาเพียง 15 กิโลกรัม สามารถใช้งานได้ทั้งในบ้าน นอกบ้านและรถยนต์ และรับน้ำหนักได้ถึง 120 กิโลกรัม น้องกรณพัฒน์ บอกว่า อุปกรณ์นี้ที่ทำมาจากสเตนเลสสตีล ตัวอุปกรณ์แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นฐานซึ่งมีทั้งแบบฐานในบ้านและฐานในรถยนต์ และ ส่วนที่เป็นชุดยก สำหรับฐานที่ใช้กับรถยนต์ได้ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายรูปตัวเอฟ เพื่อปรับขนาดความกว้างได้ตามขนาดล้อรถแต่ละแบบ แล้วจึงล็อกฐานไว้กับล้อรถ หลังจากนั้นก็นำส่วนของตัวยกมาเสียบไว้กับส่วนฐาน ส่วนการยกนั้นสามารถหมุนได้รอบทิศทาง เพื่อสะดวกในการใช้งานในที่แคบ และควบคุมการยกขึ้นลงจากรีโมต การออกแบบของเราเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เราออกแบบโดยใช้โซลิด เวิร์ก โปรแกรม ( Solid Work Program ) มาจำลอง เพื่อดูค่าความปลอดภัย ที่เหมาะสม อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพกพาอีกทั้งยังใช้เวิร์กกิ้ง โมเดล โปรแกรม (Working Model Program) และแคลคูเลชั่น (Calculation) เพื่อคำนวณหาระยะในการติดตั้งชุดยก ที่สามารถรับน้ำหนักผู้ป่วยได้ 120 กิโลกรัมŽ น้องกรณพัฒน์ บอกอีกว่า จากการศึกษาการทำงานและการใช้งานของอุปกรณ์ที่นำเข้าจากเมืองนอกและอุปกรณ์ ที่มีอยู่ที่โรงพยาบาลใหญ่ ๆ ล้วนแต่มีขนาดใหญ่มากไม่สามารถพับเก็บได้ ไม่สามารถยกได้เนื่องจากมีน้ำหนักเยอะมาก ที่สำคัญมีราคาแพงเป็นแสน การใช้งานก็จำเป็นต้องดัดแปลงบ้านหรือรถ ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้เป็นจุด ๆ ที่ติดตั้งเท่านั้น แต่สำหรับอุปกรณ์นี้ ราคาต้นแบบ รวมแล้วไม่ถึง 2 หมื่นบาท โดยฐานที่ใช้กับรถประมาณ 3,000 บาท ฐานที่ใช้ในบ้านประมาณ 5,000 บาท และชุดยกประมาณ 10,000 บาท เรียกว่าสามารถนำไปใช้งานได้จริงในสังคมไทยปัจจุบัน. นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=192641 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 พ.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...