ชัยชนะคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

คมคิด ฅนเขียน

แม้จะยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น หลังจากคนพิการออกมาเรียกร้องให้ คณะกรรมการร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) โครงการ จัดซื้อรถโดยสารเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) 3,183 คัน ช่วยกำหนดสเปกรถเมล์ธรรมดา ให้ติดตั้งอุปกรณ์การขึ้นลง สำหรับคนพิการหรือที่เรียกว่า’ชานต่ำ“ แทนการติดตั้งบันได

สำหรับชานต่ำหรือ “ทางลาดเอียง” จะทำให้คนพิการที่ใช้รถเข็นสามารถขึ้นลงรถเมล์ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องเป็นภาระผู้อื่น แถมคนปกติก็สามารถขึ้นลงได้สะดวก ไม่เหมือนกับการใช้บันได ที่ตัดสิทธิคนพิการไปโดยปริยาย

แต่การที่ ขสมก. ออกมาระบุว่า จะเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชน ตามคำเรียกร้องของผู้พิการ จากเดิมกำหนดให้มีการจัดซื้อรถชานต่ำ เฉพาะรถปรับอากาศจำนวน 1,524 คัน คาดว่าจะดำเนินการได้ประมาณกลางเดือน พ.ย. จากนั้นจะนำข้อมูลไปพิจารณากำหนดเป็นเงื่อนไขประกวดทีโออาร์ กับข้อมูลอื่น ๆ ที่ได้รับมาแล้วก่อนหน้านี้ และคาดว่าจะสามารถเปิดขายซองประกวดราคาได้ในเดือน ธ.ค.

คงต้องถือเป็นชัยชนะของผู้พิการ แม้ว่าจะยังไม่มีการแก้ร่างทีโออาร์ แต่อย่างน้อย ก็ สามารถส่งเสียงเรียกร้องผ่านสื่อมวลชน ให้สังคมได้ยินได้รับรู้ ว่ามีการสเปกกันอย่างไร แอบงุบงิบเขียนหรือไม่ ทำเพื่อประโยชน์ของใคร

ดังนั้นการออกมาต่อสู้ เพื่อพิทักษ์สิทธิของคนพิการอย่างต่อเนื่อง สามารถเรียกร้องความสนใจจากสื่อมวลชน ให้หันมาจับตาโครงการนี้มากขึ้น และเป็นแรงกดดันที่สำคัญ ให้ ขสมก.ตัดสินใจจัดทำประชาพิจารณ์รับฟังข้อเสนอของผู้พิการอีกครั้ง

อันที่จริง เรื่องนี้ไม่น่าที่จะต้องมาถกเถียงกันให้เสียเวลา เพราะสิทธิของผู้พิการเป็นเรื่องที่สากลยอมรับอยู่แล้ว รัฐบาลก็มีนโยบายสนับสนุนคนพิการ ขสมก. จะมาอ้างว่า ทำให้ราคารถเพิ่มขึ้นจนเกินงบประมาณ นั้น เป็นเรื่องไม่สมควร เพราะเป็นหน้าที่ของผู้ประมูล จะต้องหาทางบริหารต้นทุนเอง อย่าลืมว่าผู้พิการ ถือเป็นประชาชนที่เสียภาษีเช่นเดียวกัน ย่อมต้องได้สิทธิในการใช้บริการสาธารณะอย่างเท่าเทียมกันด้วย

แต่อานิสงส์ของการต่อสู้เรียกร้องของคนพิการ คือทำให้เรื่องของร่างทีโออาร์ในโครงการนี้ ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเพิ่มขึ้น รูปแบบการจัดซื้อที่นักวิชาการ ออกมาท้วงติงว่าไม่เหมาะสม ระบบเครื่องยนต์ที่กำหนดขนาดที่แตกต่างกันระหว่างรถเมล์ธรรมดาและรถปรับอากาศ นอกจากจะสร้างภาระในการซ่อมบำรุงแล้ว ยังทำให้เกิดมลพิษทางเสียงเพิ่มขึ้นด้วย

เพราะปัจจุบัน รถโดยสารปรับอากาศ จะใช้ระบบ 2 เครื่องยนต์ คือเครื่องหลักสำหรับขับเคลื่อนและเครื่องรองขนาดเล็กสำหรับระบบปรับอากาศ ซึ่งจะทำให้ประหยัดเชื้อเพลิง ยืดอายุการใช้งาน และไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง ระหว่างจอดรอผู้โดยสารที่ท่ารถ

เรื่องระบบช่วงล่างที่เปิดให้ใช้แบบเก่าได้ อาจเปิดช่องให้เอกชนบางรายเข้าประมูล นำระบบช่วงล่างที่ตกรุ่น ไม่สามารถใช้ในประเทศที่ มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยไว้สูง ๆ มาระบายใช้ในประเทศไทย ส่วนระบบเกียร์ในรถปรับอากาศเป็นระบบอัตโนมัติ ซึ่งเหมาะสมกับรถที่ต้องวิ่งบริการเกือบ 300 กม. ต่อวัน

ขณะที่รถธรรมดา หากผู้เข้าประมูลต้องการลดต้นทุนเพื่อชนะการประมูล คงต้องใช้เกียร์ธรรมดา ซึ่งหากพนักงานขับรถ คงต้องมีสุขภาพที่แย่ ย่อมมีผลกับผู้โดยสารแน่นอน ข้อสงสัยต่าง ๆ เหล่านี้ คงจะมีการพูดคุยในระหว่างรับฟังความคิดเห็น ซึ่งคงนำเสนอข้อมูลไปโต้แย้ง และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนให้เกิดความเหมาะสมได้ ซึ่งการต่อสู้ของคนพิการเพียงประเด็นเดียว แต่มีผลไปหนุนช่วยให้กับอีกหลายภาคส่วน ให้ได้ใช้รถเมล์รุ่นใหม่อย่างคุ้มค่าที่สุด

จากนี้ไปคงต้องช่วยกันจับตาโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีว่า ขั้นตอนต่าง ๆ จะมีการดำเนินการที่โปร่งใส และทำให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้บริการได้มากแค่ไหน. โดยเขื่อนขันธ์

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=192591 (ขนาดไฟล์: 167)

(เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 พ.ย.56)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 6/11/2556 เวลา 03:39:42 ดูภาพสไลด์โชว์ ชัยชนะคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คมคิด ฅนเขียน แม้จะยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น หลังจากคนพิการออกมาเรียกร้องให้ คณะกรรมการร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) โครงการ จัดซื้อรถโดยสารเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) 3,183 คัน ช่วยกำหนดสเปกรถเมล์ธรรมดา ให้ติดตั้งอุปกรณ์การขึ้นลง สำหรับคนพิการหรือที่เรียกว่า’ชานต่ำ“ แทนการติดตั้งบันได สำหรับชานต่ำหรือ “ทางลาดเอียง” จะทำให้คนพิการที่ใช้รถเข็นสามารถขึ้นลงรถเมล์ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องเป็นภาระผู้อื่น แถมคนปกติก็สามารถขึ้นลงได้สะดวก ไม่เหมือนกับการใช้บันได ที่ตัดสิทธิคนพิการไปโดยปริยาย แต่การที่ ขสมก. ออกมาระบุว่า จะเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชน ตามคำเรียกร้องของผู้พิการ จากเดิมกำหนดให้มีการจัดซื้อรถชานต่ำ เฉพาะรถปรับอากาศจำนวน 1,524 คัน คาดว่าจะดำเนินการได้ประมาณกลางเดือน พ.ย. จากนั้นจะนำข้อมูลไปพิจารณากำหนดเป็นเงื่อนไขประกวดทีโออาร์ กับข้อมูลอื่น ๆ ที่ได้รับมาแล้วก่อนหน้านี้ และคาดว่าจะสามารถเปิดขายซองประกวดราคาได้ในเดือน ธ.ค. คงต้องถือเป็นชัยชนะของผู้พิการ แม้ว่าจะยังไม่มีการแก้ร่างทีโออาร์ แต่อย่างน้อย ก็ สามารถส่งเสียงเรียกร้องผ่านสื่อมวลชน ให้สังคมได้ยินได้รับรู้ ว่ามีการสเปกกันอย่างไร แอบงุบงิบเขียนหรือไม่ ทำเพื่อประโยชน์ของใคร ดังนั้นการออกมาต่อสู้ เพื่อพิทักษ์สิทธิของคนพิการอย่างต่อเนื่อง สามารถเรียกร้องความสนใจจากสื่อมวลชน ให้หันมาจับตาโครงการนี้มากขึ้น และเป็นแรงกดดันที่สำคัญ ให้ ขสมก.ตัดสินใจจัดทำประชาพิจารณ์รับฟังข้อเสนอของผู้พิการอีกครั้ง อันที่จริง เรื่องนี้ไม่น่าที่จะต้องมาถกเถียงกันให้เสียเวลา เพราะสิทธิของผู้พิการเป็นเรื่องที่สากลยอมรับอยู่แล้ว รัฐบาลก็มีนโยบายสนับสนุนคนพิการ ขสมก. จะมาอ้างว่า ทำให้ราคารถเพิ่มขึ้นจนเกินงบประมาณ นั้น เป็นเรื่องไม่สมควร เพราะเป็นหน้าที่ของผู้ประมูล จะต้องหาทางบริหารต้นทุนเอง อย่าลืมว่าผู้พิการ ถือเป็นประชาชนที่เสียภาษีเช่นเดียวกัน ย่อมต้องได้สิทธิในการใช้บริการสาธารณะอย่างเท่าเทียมกันด้วย แต่อานิสงส์ของการต่อสู้เรียกร้องของคนพิการ คือทำให้เรื่องของร่างทีโออาร์ในโครงการนี้ ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเพิ่มขึ้น รูปแบบการจัดซื้อที่นักวิชาการ ออกมาท้วงติงว่าไม่เหมาะสม ระบบเครื่องยนต์ที่กำหนดขนาดที่แตกต่างกันระหว่างรถเมล์ธรรมดาและรถปรับอากาศ นอกจากจะสร้างภาระในการซ่อมบำรุงแล้ว ยังทำให้เกิดมลพิษทางเสียงเพิ่มขึ้นด้วย เพราะปัจจุบัน รถโดยสารปรับอากาศ จะใช้ระบบ 2 เครื่องยนต์ คือเครื่องหลักสำหรับขับเคลื่อนและเครื่องรองขนาดเล็กสำหรับระบบปรับอากาศ ซึ่งจะทำให้ประหยัดเชื้อเพลิง ยืดอายุการใช้งาน และไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง ระหว่างจอดรอผู้โดยสารที่ท่ารถ เรื่องระบบช่วงล่างที่เปิดให้ใช้แบบเก่าได้ อาจเปิดช่องให้เอกชนบางรายเข้าประมูล นำระบบช่วงล่างที่ตกรุ่น ไม่สามารถใช้ในประเทศที่ มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยไว้สูง ๆ มาระบายใช้ในประเทศไทย ส่วนระบบเกียร์ในรถปรับอากาศเป็นระบบอัตโนมัติ ซึ่งเหมาะสมกับรถที่ต้องวิ่งบริการเกือบ 300 กม. ต่อวัน ขณะที่รถธรรมดา หากผู้เข้าประมูลต้องการลดต้นทุนเพื่อชนะการประมูล คงต้องใช้เกียร์ธรรมดา ซึ่งหากพนักงานขับรถ คงต้องมีสุขภาพที่แย่ ย่อมมีผลกับผู้โดยสารแน่นอน ข้อสงสัยต่าง ๆ เหล่านี้ คงจะมีการพูดคุยในระหว่างรับฟังความคิดเห็น ซึ่งคงนำเสนอข้อมูลไปโต้แย้ง และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนให้เกิดความเหมาะสมได้ ซึ่งการต่อสู้ของคนพิการเพียงประเด็นเดียว แต่มีผลไปหนุนช่วยให้กับอีกหลายภาคส่วน ให้ได้ใช้รถเมล์รุ่นใหม่อย่างคุ้มค่าที่สุด จากนี้ไปคงต้องช่วยกันจับตาโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีว่า ขั้นตอนต่าง ๆ จะมีการดำเนินการที่โปร่งใส และทำให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้บริการได้มากแค่ไหน. โดยเขื่อนขันธ์ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=192591 (เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 พ.ย.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...