อมธ.ติดตามสถานการณ์แนะขสมก.คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของปชช.ทุกกลุ่มเป็นสำคัญ

แสดงความคิดเห็น

นายธีรยุทธ สุคนธวิท ผู้แทน “ภาคีเครือข่ายประชาชนยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์   สุนทรชัย รองประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน

วันนี้ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๓๐ น. ผู้แทน “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” นำโดยนายธีรยุทธ สุคนธวิท นายสนธิพงศ์ มงคลสวัสดิ์ นางอาภาณี มิตรทอง นายวันเสาร์ ไชยกุล และ นางสาววลัยพร พนมกุล ได้เข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย รองประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร เรื่อง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารรถโดยสารประจำทาง(รถเมล์) โดย เฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ คนอ่อนแรง ผู้เจ็บป่วย สตรีใส่รองเท้าส้นสูง คนหอบสัมภาระมาก และพ่อแม่ที่มีลูกเล็กนั่งรถเข็นเด็ก เป็นต้น ในการจัดทำ ร่าง ขอบเขตของงาน (Term of reference : TOR ) โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ ๔ ( - ร่าง TOR WEB 4 )

ผู้แทน “ภาคีเครือข่ายประชาชน ร่วมประชุมสอบถาม พิจารณา และหารือกับคณะกรรมการยกร่าง TOR ของ ขสมก.

หลังยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อ ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ ในคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ จึงได้จัดการประชุมสอบถาม พิจารณา และหารือกับคณะกรรมการยกร่าง TOR ของ ขสมก. เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้ด้อยโอกาสในการใช้บริการรถเมล์สาธารณะในประเทศไทย โดยการเชิญผู้แทนภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ร่วมหารือ ณ ห้อง ๒๑๑ อาคารรัฐสภา ๒ ด้วย

ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ ประธานการประชุมกล่าวว่า วันนี้ มีตัวแทนคนพิการมายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมกรณี ขสมก. จัดซื้อรถเมล์ใหม่ ๓,๑๘๓ คัน เลือกปฏิบัติต่อคนพิการ จึงอยากสอบถามถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

นายนเรศ บุญเปี่ยม รองผู้อำนวยการ ขสมก. ในฐานะประธานกรรมการยกร่าง TOR กล่าวว่า ขณะนี้ ขสมก. ได้ออกร่าง TOR ฉบับที่ ๕ แล้วทางเว็ปไซด์ของ ขสมก. โดยมีเนื้อหาเหมือนกับฉบับที่ ๔ ทุกประการ นั่นเท่ากับว่า ขสมก. จะไม่มีการแก้ไขร่าง TOR และเดินหน้าสู่การประกวดราคาจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าวต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด ขสมก. เพื่อพิจารณาอนุมัติได้ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งในความเป็นจริงยังมีรถตู้เอกชน และ รถร่วมบริการภาคเอกชนซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ แล้ว แต่ยังไม่มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการอีกมาก

นายวิทยา เปรมจิตต์ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการฯ ในฐานะประธานคณะทำงานติดตามการทำงานของ ขสมก. ได้สอบถามถึงเหตุผลว่าทำไมรถโดยสารธรรมดาจึงไม่เป็นรถเมล์ชานต่ำ สิ่งนี้ ขสมก.ทำได้หรือไม่และการปรับให้เป็นรถเมลืชานต่ำทั้งหมดกระทบกับโครงสร้างราคาหรือไม่

นายธีรยุทธ สุคนธวิท ผู้แทนเครือข่ายคนพิการ ชี้แจงว่า การจัดซื้อรถเมล์ของ ขสมก.ในครั้งนี้มีลักษณะที่สุ่มเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ซึ่งเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญในเรื่องหลักสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชน รวมถึงสิทธิที่จะเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิงอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ซึ่งกฎหมายให้หลักประกันไว้ จึงอยากขอให้ ขสมก. ช่วยทบทวนร่าง TOR ใหม่เพื่อให้โครงการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนทุกกลุ่มรวมถึงกลุ่มคนพิการด้วย โดยมีข้อเสนอ ๒ ประการ คือ (๑) รถเมล์ใหม่รวม ๓,๑๘๓ คัน ทั้งรถเมล์ปรับอากาศและรถเมล์ธรรมดา (รถเมล์ร้อน) จะต้องจัดให้มีระบบอำนวยความสะดวกให้ประชาชนทุกคนในสังคม รวมถึงผู้สูงอายุ และคนพิการทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากรถเมล์ทุกคันได้อย่างสะดวกและปลอดภัย และ (๒) รถเมล์ใหม่รวม ๓,๑๘๓ คัน ทั้งรถเมล์ปรับอากาศ และรถเมล์ธรรมดาจะต้องมีระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพในวันแรกที่เปิดให้บริการ เพื่อให้คนตาบอด และคนหูหนวกสามารถรับรู้และเข้าใจข้อมูลข่าวสารที่พนักงานบนรถเมล์สื่อสารกับผู้โดยสารทั่วไปอย่างเท่าเทียมกัน เช่น ระบบเสียง และระบบตัวอักษรวิ่งบนป้ายอิเล็กทรอนิกส์ หรือจอภาพ เพื่อแสดงข้อความหรือสัญลักษณ์ เช่น หมายเลขรถประจำทาง จุดหมายปลายทาง ชื่อป้ายจอดรถโดยสารป้ายถัดไป ประกาศกำหนดเวลาออกรถ ประกาศว่ารถถึงจุดหมายปลายทางแล้ว หรือประกาศเตือนภัยต่าง ๆ เป็นต้น

ผู้แทน “ภาคีเครือข่ายประชาชน ร่วมประชุมสอบถาม พิจารณา และหารือกับคณะกรรมการยกร่าง TOR ของ ขสมก.

นายนเรศ บุญเปี่ยม รองผู้อำนวยการ ขสมก. ในฐานะประธานกรรมการยกร่าง TOR ชี้แจงว่า ที่ผ่านมา ขสมก. ได้พยายามแก้ไขปรับเปลี่ยนร่าง TOR ตามข้อเสนอแนะของทางเครือข่ายคนพิการมาโดยตลอดเท่าที่กระทำได้ ภายใต้กรอบนโยบายที่ได้รับจากคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องของคุณลักษณะทั่วไปและราคาตัวรถ โดย ขสมก. พยายามปรับให้เท่าที่ทำได้ภายในวงเงินที่กำหนดไว้จากรัฐบาลคือ รถปรับอากาศราคาไม่เกินคันละ ๔.๕ ล้าน รถโดยสารธรรมดาราคาไม่เกินคันละ ๓.๘ ล้าน โดย ขสมก. มองเรื่องการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการเป็น ๒ ส่วนคือ ๑.คนพิการที่ใช้วิลแชล์ ๒.คนพิการที่ไม่ต้องใช้วิลแชร์ ซึ่ง ขสมก. กำหนดให้มีการทดสอบรถตัวอย่างก่อนว่าใช้งานได้หรือไม่ ส่วนเรื่องระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ภายในตัวรถ เช่น ระบบ GPS , e-Ticket , กล้องวงจรปิด CCTV , จอแสดงผล LCD สำหรับการสื่อสารภายในตัวรถ มติ ครม. ไม่ได้กำหนดให้จัดซื้อระบบอิเล็กทรอนิก ขสมก.จำเป็นต้องแยกจัดซื้อเพิ่มเติมในภายหลัง

ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ ประธานการประชุมกล่าวโดยสรุปว่า คณะกรรมการยกร่าง TOR ของ ขสมก จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชนทุกกลุ่มเป็นสำคัญ โดยให้นำข้อเสนอแนะที่ได้จากที่ประชุมวันนี้ไปปรับแก้ร่าง TOR ใหม่ เนื่องจากร่าง TOR เดิม ขัดต่อกฎหมายและเปิดช่องให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกที่จะเสนอรายละเอียดอุปกรณ์ต่างๆต่ำกว่ามาตรฐานรถโดยสารสาธารณะที่ควรจะเป็น เช่น จะเป็นรถเมล์ชานต่ำหรือกกึ่งชานต่ำก็ได้ จะใช้ระบบรองรับการสั่นสะเทือนแบบถุงลมหรือแบบแหนบก็ได้ สำหรับระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆภายในตัวรถก็ควรที่จะกำหนดลงไปใน TOR ตั้งแต่ต้นไม่ควรแยกซื้อเพิ่มเติมในภายหลัง โดยไม่ต้องสนใจว่าจะมีผู้ยื่นเอกสารประกวดราคาหรือไม่ก็ตาม ขอให้ยึดประโยชน์สูงสุดและการเข้าถึงได้ของประชาชนทุกกลุ่มเป็นสำคัญ หากไม่ทำคงต้องนำเรื่องนี้เข้าหารือในสภาผู้แทนราษฏร(นายธีรยุทธ สุคนธวิท / มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๖ ต.ค. ๒๕๕๖)

ที่มา: นายธีรยุทธ สุคนธวิท / มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๖ ต.ค. ๒๕๕๖
วันที่โพสต์: 16/10/2556 เวลา 10:06:02 ดูภาพสไลด์โชว์ อมธ.ติดตามสถานการณ์แนะขสมก.คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของปชช.ทุกกลุ่มเป็นสำคัญ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายธีรยุทธ สุคนธวิท ผู้แทน “ภาคีเครือข่ายประชาชนยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย รองประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน วันนี้ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๓๐ น. ผู้แทน “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” นำโดยนายธีรยุทธ สุคนธวิท นายสนธิพงศ์ มงคลสวัสดิ์ นางอาภาณี มิตรทอง นายวันเสาร์ ไชยกุล และ นางสาววลัยพร พนมกุล ได้เข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย รองประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร เรื่อง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารรถโดยสารประจำทาง(รถเมล์) โดย เฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ คนอ่อนแรง ผู้เจ็บป่วย สตรีใส่รองเท้าส้นสูง คนหอบสัมภาระมาก และพ่อแม่ที่มีลูกเล็กนั่งรถเข็นเด็ก เป็นต้น ในการจัดทำ ร่าง ขอบเขตของงาน (Term of reference : TOR ) โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ ๔ ( - ร่าง TOR WEB 4 ) ผู้แทน “ภาคีเครือข่ายประชาชน ร่วมประชุมสอบถาม พิจารณา และหารือกับคณะกรรมการยกร่าง TOR ของ ขสมก. หลังยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อ ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ ในคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ จึงได้จัดการประชุมสอบถาม พิจารณา และหารือกับคณะกรรมการยกร่าง TOR ของ ขสมก. เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้ด้อยโอกาสในการใช้บริการรถเมล์สาธารณะในประเทศไทย โดยการเชิญผู้แทนภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ร่วมหารือ ณ ห้อง ๒๑๑ อาคารรัฐสภา ๒ ด้วย ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ ประธานการประชุมกล่าวว่า วันนี้ มีตัวแทนคนพิการมายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมกรณี ขสมก. จัดซื้อรถเมล์ใหม่ ๓,๑๘๓ คัน เลือกปฏิบัติต่อคนพิการ จึงอยากสอบถามถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว นายนเรศ บุญเปี่ยม รองผู้อำนวยการ ขสมก. ในฐานะประธานกรรมการยกร่าง TOR กล่าวว่า ขณะนี้ ขสมก. ได้ออกร่าง TOR ฉบับที่ ๕ แล้วทางเว็ปไซด์ของ ขสมก. โดยมีเนื้อหาเหมือนกับฉบับที่ ๔ ทุกประการ นั่นเท่ากับว่า ขสมก. จะไม่มีการแก้ไขร่าง TOR และเดินหน้าสู่การประกวดราคาจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าวต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด ขสมก. เพื่อพิจารณาอนุมัติได้ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งในความเป็นจริงยังมีรถตู้เอกชน และ รถร่วมบริการภาคเอกชนซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ แล้ว แต่ยังไม่มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการอีกมาก นายวิทยา เปรมจิตต์ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการฯ ในฐานะประธานคณะทำงานติดตามการทำงานของ ขสมก. ได้สอบถามถึงเหตุผลว่าทำไมรถโดยสารธรรมดาจึงไม่เป็นรถเมล์ชานต่ำ สิ่งนี้ ขสมก.ทำได้หรือไม่และการปรับให้เป็นรถเมลืชานต่ำทั้งหมดกระทบกับโครงสร้างราคาหรือไม่ นายธีรยุทธ สุคนธวิท ผู้แทนเครือข่ายคนพิการ ชี้แจงว่า การจัดซื้อรถเมล์ของ ขสมก.ในครั้งนี้มีลักษณะที่สุ่มเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ซึ่งเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญในเรื่องหลักสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชน รวมถึงสิทธิที่จะเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิงอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ซึ่งกฎหมายให้หลักประกันไว้ จึงอยากขอให้ ขสมก. ช่วยทบทวนร่าง TOR ใหม่เพื่อให้โครงการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนทุกกลุ่มรวมถึงกลุ่มคนพิการด้วย โดยมีข้อเสนอ ๒ ประการ คือ (๑) รถเมล์ใหม่รวม ๓,๑๘๓ คัน ทั้งรถเมล์ปรับอากาศและรถเมล์ธรรมดา (รถเมล์ร้อน) จะต้องจัดให้มีระบบอำนวยความสะดวกให้ประชาชนทุกคนในสังคม รวมถึงผู้สูงอายุ และคนพิการทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากรถเมล์ทุกคันได้อย่างสะดวกและปลอดภัย และ (๒) รถเมล์ใหม่รวม ๓,๑๘๓ คัน ทั้งรถเมล์ปรับอากาศ และรถเมล์ธรรมดาจะต้องมีระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพในวันแรกที่เปิดให้บริการ เพื่อให้คนตาบอด และคนหูหนวกสามารถรับรู้และเข้าใจข้อมูลข่าวสารที่พนักงานบนรถเมล์สื่อสารกับผู้โดยสารทั่วไปอย่างเท่าเทียมกัน เช่น ระบบเสียง และระบบตัวอักษรวิ่งบนป้ายอิเล็กทรอนิกส์ หรือจอภาพ เพื่อแสดงข้อความหรือสัญลักษณ์ เช่น หมายเลขรถประจำทาง จุดหมายปลายทาง ชื่อป้ายจอดรถโดยสารป้ายถัดไป ประกาศกำหนดเวลาออกรถ ประกาศว่ารถถึงจุดหมายปลายทางแล้ว หรือประกาศเตือนภัยต่าง ๆ เป็นต้น ผู้แทน “ภาคีเครือข่ายประชาชน ร่วมประชุมสอบถาม พิจารณา และหารือกับคณะกรรมการยกร่าง TOR ของ ขสมก. นายนเรศ บุญเปี่ยม รองผู้อำนวยการ ขสมก. ในฐานะประธานกรรมการยกร่าง TOR ชี้แจงว่า ที่ผ่านมา ขสมก. ได้พยายามแก้ไขปรับเปลี่ยนร่าง TOR ตามข้อเสนอแนะของทางเครือข่ายคนพิการมาโดยตลอดเท่าที่กระทำได้ ภายใต้กรอบนโยบายที่ได้รับจากคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องของคุณลักษณะทั่วไปและราคาตัวรถ โดย ขสมก. พยายามปรับให้เท่าที่ทำได้ภายในวงเงินที่กำหนดไว้จากรัฐบาลคือ รถปรับอากาศราคาไม่เกินคันละ ๔.๕ ล้าน รถโดยสารธรรมดาราคาไม่เกินคันละ ๓.๘ ล้าน โดย ขสมก. มองเรื่องการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการเป็น ๒ ส่วนคือ ๑.คนพิการที่ใช้วิลแชล์ ๒.คนพิการที่ไม่ต้องใช้วิลแชร์ ซึ่ง ขสมก. กำหนดให้มีการทดสอบรถตัวอย่างก่อนว่าใช้งานได้หรือไม่ ส่วนเรื่องระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ภายในตัวรถ เช่น ระบบ GPS , e-Ticket , กล้องวงจรปิด CCTV , จอแสดงผล LCD สำหรับการสื่อสารภายในตัวรถ มติ ครม. ไม่ได้กำหนดให้จัดซื้อระบบอิเล็กทรอนิก ขสมก.จำเป็นต้องแยกจัดซื้อเพิ่มเติมในภายหลัง ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ ประธานการประชุมกล่าวโดยสรุปว่า คณะกรรมการยกร่าง TOR ของ ขสมก จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชนทุกกลุ่มเป็นสำคัญ โดยให้นำข้อเสนอแนะที่ได้จากที่ประชุมวันนี้ไปปรับแก้ร่าง TOR ใหม่ เนื่องจากร่าง TOR เดิม ขัดต่อกฎหมายและเปิดช่องให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกที่จะเสนอรายละเอียดอุปกรณ์ต่างๆต่ำกว่ามาตรฐานรถโดยสารสาธารณะที่ควรจะเป็น เช่น จะเป็นรถเมล์ชานต่ำหรือกกึ่งชานต่ำก็ได้ จะใช้ระบบรองรับการสั่นสะเทือนแบบถุงลมหรือแบบแหนบก็ได้ สำหรับระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆภายในตัวรถก็ควรที่จะกำหนดลงไปใน TOR ตั้งแต่ต้นไม่ควรแยกซื้อเพิ่มเติมในภายหลัง โดยไม่ต้องสนใจว่าจะมีผู้ยื่นเอกสารประกวดราคาหรือไม่ก็ตาม ขอให้ยึดประโยชน์สูงสุดและการเข้าถึงได้ของประชาชนทุกกลุ่มเป็นสำคัญ หากไม่ทำคงต้องนำเรื่องนี้เข้าหารือในสภาผู้แทนราษฏร(นายธีรยุทธ สุคนธวิท / มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๖ ต.ค. ๒๕๕๖)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...