เครื่องประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้พิการและบุคคลทั่วไปที่ใช้ร่างกายส่วนบน

แสดงความคิดเห็น

นายเชาวลิต สืบแสงอินทร์ นักศึกษา ปริญญาโท สาขาการออกแบบและวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

หากพูดถึง “ออฟฟิศซินโดรม” หนุ่มสาวชาวออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน คงรับรู้อาการของโรคนี้ดี ที่ทำให้เกิดอาการ ปวด ตึง บริเวณต้นคอ บ่า หัวไหล่ และหากที่มีอาการรุนแรง อาจส่งผลให้หันคอ ก้ม หรือเงยไม่ได้เลยก็มี การหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญของคนวัยทำงาน ในยุคนี้

นายเชาวลิต สืบแสงอินทร์ นักศึกษา ปริญญาโท สาขาการออกแบบและวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ก็เป็นคนหนึ่งที่ให้ความสนใจและศึกษาในเรื่องนี้ โดยได้นำความรู้ด้านวิศวกรรมผนวกเข้ากับงานออกแบบจนสามารถพัฒนา “เครื่องประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้พิการและบุคคลทั่วไปที่ใช้ร่างกายส่วนบน” เป็นหลัก จนประสบความสำเร็จ โดยได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)

นายเชาวลิต กล่าวว่า เครื่องมือใช้ในการประเมินความเสี่ยงของสรีระส่วนบนระหว่างการทำงาน สามารถนำไปใช้กับผู้พิการที่นั่งรถเข็น พนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน และพนักงานโรงงานที่ต้องทำงานซ้ำๆ จนส่งผลให้เกิดอาการเมื่อยล้าที่แขน คอ และไหล่ โดยเครื่องมือดังกล่าวประกอบด้วยกล้องจับเซ็นเซอร์ 2 ตัว ซึ่งใช้พื้นฐานการประเมินร่างกายส่วนบน Rapid Upper Limp Assessment (RULA) เพื่อตรวจสอบโครงสร้าง Skeleton ของร่างกายแบบเรียล ไทม์ ว่ามีการบิดรูปร่างระหว่างนั่งทำงานหรือไม่ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดเมื่อยต่างๆ

เครื่องประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้พิการและบุคคลทั่วไป

จากนั้นจะนำข้อมูลมาประเมินค่าความเสี่ยงออกมาเป็นตัวเลข 1-7 เมื่อค่าความเสี่ยงถูกประเมินออกมา วิศวกรหรือนักออกแบบก็มีหน้าที่เข้าไปปรับปรุงสถานที่ทำงาน อาทิ โต๊ะทำงาน ระดับการวางคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือต่างๆ ให้สอดคล้องกับสรีระของผู้ปฏิบัติงานและเป็นไปตามหลักการยุทธศาสตร์มากที่สุด และส่วนตัวผู้ปฏิบัติงานเองก็จะได้ปรับพฤติกรรมท่าทางในการทำงานให้เหมาะสม เช่น การนั่งหลังตรงและปรับเปลี่ยนอิริยาบทในการทำงานทุกๆ 2 ชั่วโมง เป็นต้น โดยเครื่องประเมินความเสี่ยงระหว่างนั่งทำงานถูกพัฒนาขึ้น เพื่ออำนวยการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย โดยนำเครื่องประเมินความเสี่ยงไปติดตั้งบริเวณเครื่องจักร ติดกล้องไว้สองข้างลำตัวของผู้ปฏิบัติงาน จากการทดสอบพบว่าให้ค่าที่เที่ยงตรงกว่ามุมอื่นๆ และมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 10 องศาจากอุปกรณ์วัด แต่ที่สำคัญคือให้ค่าที่แม่นยำกว่าการประเมินด้วยสายตามนุษย์และการจดบันทึก ด้วยมือ

“ ปัจจุบันสถานประกอบการในไทยได้มีการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของพนักงาน อยู่บ้าง แต่เป็นการประเมินจากสายตาซึ่งความแม่นยำไม่มากนัก ซึ่งเป้าหมายจริงๆ ที่พัฒนาซอฟต์แวร์นี้ขึ้นมาเพราะหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของบริษัท ผู้ประกอบการโรงงาน ที่มีความใส่ใจในความปลอดภัยหรือสุขลักษณะของพนักงานได้นำไปใช้ ซึ่งปกติเครื่องมือแบบนี้ในต่างประเทศมีใช้กันทั่วไปแต่มีราคาสูงถึงเกือบ สิบล้านบาท แต่เครื่องมือที่ได้พัฒนาขึ้นเองนั้นมีราคาไม่สูงอยู่ที่หลักหมื่นต้นๆ เท่านั้น” นายเชาวลิต กล่าว

เครื่องประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้พิการและบุคคลทั่วไปที่ใช้ร่างกายส่วนบน

ด้าน ผศ.ดร.สกล ธีระวรัญญู รองคณะบดีฝ่ายวิชาการ คณะสถาปัตยศาสตร์ มจธ. ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย กล่าวเสริมว่า ผลงานชิ้นนี้สามารถใช้งานได้แล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์แบบเพราะยังต้องพัฒนาใน ส่วนของการจับเซ็นเซอร์บริเวณข้อมือลงไปจนถึงนิ้วให้มีความแม่นยำมากขึ้น เนื่องจากในคนทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวันเสี่ยงต่อการเป็นโรค Carpal tunnel syndrome หรือ การกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ดังนั้นการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดกับบริเวณข้อมือและนิ้วก็ถือว่าสำคัญ เช่นกัน

นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สามารถประเมินความเสี่ยงของการทำงานใน ท่ายืน และจะพัฒนาให้เป็นซอฟต์แวร์จับเซ็นเซอร์ที่สามารถจับท่าทางของมนุษย์แล้วแปล เป็นคำสั่งต่างๆ เช่น การสวิตช์ไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ได้ต่อไปในอนาคต.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/240196 (ขนาดไฟล์: 167)

(เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ต.ค.56)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 15/10/2556 เวลา 04:17:57 ดูภาพสไลด์โชว์  เครื่องประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้พิการและบุคคลทั่วไปที่ใช้ร่างกายส่วนบน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายเชาวลิต สืบแสงอินทร์ นักศึกษา ปริญญาโท สาขาการออกแบบและวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หากพูดถึง “ออฟฟิศซินโดรม” หนุ่มสาวชาวออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน คงรับรู้อาการของโรคนี้ดี ที่ทำให้เกิดอาการ ปวด ตึง บริเวณต้นคอ บ่า หัวไหล่ และหากที่มีอาการรุนแรง อาจส่งผลให้หันคอ ก้ม หรือเงยไม่ได้เลยก็มี การหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญของคนวัยทำงาน ในยุคนี้ นายเชาวลิต สืบแสงอินทร์ นักศึกษา ปริญญาโท สาขาการออกแบบและวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ก็เป็นคนหนึ่งที่ให้ความสนใจและศึกษาในเรื่องนี้ โดยได้นำความรู้ด้านวิศวกรรมผนวกเข้ากับงานออกแบบจนสามารถพัฒนา “เครื่องประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้พิการและบุคคลทั่วไปที่ใช้ร่างกายส่วนบน” เป็นหลัก จนประสบความสำเร็จ โดยได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) นายเชาวลิต กล่าวว่า เครื่องมือใช้ในการประเมินความเสี่ยงของสรีระส่วนบนระหว่างการทำงาน สามารถนำไปใช้กับผู้พิการที่นั่งรถเข็น พนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน และพนักงานโรงงานที่ต้องทำงานซ้ำๆ จนส่งผลให้เกิดอาการเมื่อยล้าที่แขน คอ และไหล่ โดยเครื่องมือดังกล่าวประกอบด้วยกล้องจับเซ็นเซอร์ 2 ตัว ซึ่งใช้พื้นฐานการประเมินร่างกายส่วนบน Rapid Upper Limp Assessment (RULA) เพื่อตรวจสอบโครงสร้าง Skeleton ของร่างกายแบบเรียล ไทม์ ว่ามีการบิดรูปร่างระหว่างนั่งทำงานหรือไม่ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดเมื่อยต่างๆ เครื่องประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้พิการและบุคคลทั่วไป จากนั้นจะนำข้อมูลมาประเมินค่าความเสี่ยงออกมาเป็นตัวเลข 1-7 เมื่อค่าความเสี่ยงถูกประเมินออกมา วิศวกรหรือนักออกแบบก็มีหน้าที่เข้าไปปรับปรุงสถานที่ทำงาน อาทิ โต๊ะทำงาน ระดับการวางคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือต่างๆ ให้สอดคล้องกับสรีระของผู้ปฏิบัติงานและเป็นไปตามหลักการยุทธศาสตร์มากที่สุด และส่วนตัวผู้ปฏิบัติงานเองก็จะได้ปรับพฤติกรรมท่าทางในการทำงานให้เหมาะสม เช่น การนั่งหลังตรงและปรับเปลี่ยนอิริยาบทในการทำงานทุกๆ 2 ชั่วโมง เป็นต้น โดยเครื่องประเมินความเสี่ยงระหว่างนั่งทำงานถูกพัฒนาขึ้น เพื่ออำนวยการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย โดยนำเครื่องประเมินความเสี่ยงไปติดตั้งบริเวณเครื่องจักร ติดกล้องไว้สองข้างลำตัวของผู้ปฏิบัติงาน จากการทดสอบพบว่าให้ค่าที่เที่ยงตรงกว่ามุมอื่นๆ และมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 10 องศาจากอุปกรณ์วัด แต่ที่สำคัญคือให้ค่าที่แม่นยำกว่าการประเมินด้วยสายตามนุษย์และการจดบันทึก ด้วยมือ “ ปัจจุบันสถานประกอบการในไทยได้มีการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของพนักงาน อยู่บ้าง แต่เป็นการประเมินจากสายตาซึ่งความแม่นยำไม่มากนัก ซึ่งเป้าหมายจริงๆ ที่พัฒนาซอฟต์แวร์นี้ขึ้นมาเพราะหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของบริษัท ผู้ประกอบการโรงงาน ที่มีความใส่ใจในความปลอดภัยหรือสุขลักษณะของพนักงานได้นำไปใช้ ซึ่งปกติเครื่องมือแบบนี้ในต่างประเทศมีใช้กันทั่วไปแต่มีราคาสูงถึงเกือบ สิบล้านบาท แต่เครื่องมือที่ได้พัฒนาขึ้นเองนั้นมีราคาไม่สูงอยู่ที่หลักหมื่นต้นๆ เท่านั้น” นายเชาวลิต กล่าว เครื่องประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้พิการและบุคคลทั่วไปที่ใช้ร่างกายส่วนบน ด้าน ผศ.ดร.สกล ธีระวรัญญู รองคณะบดีฝ่ายวิชาการ คณะสถาปัตยศาสตร์ มจธ. ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย กล่าวเสริมว่า ผลงานชิ้นนี้สามารถใช้งานได้แล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์แบบเพราะยังต้องพัฒนาใน ส่วนของการจับเซ็นเซอร์บริเวณข้อมือลงไปจนถึงนิ้วให้มีความแม่นยำมากขึ้น เนื่องจากในคนทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวันเสี่ยงต่อการเป็นโรค Carpal tunnel syndrome หรือ การกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ดังนั้นการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดกับบริเวณข้อมือและนิ้วก็ถือว่าสำคัญ เช่นกัน นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สามารถประเมินความเสี่ยงของการทำงานใน ท่ายืน และจะพัฒนาให้เป็นซอฟต์แวร์จับเซ็นเซอร์ที่สามารถจับท่าทางของมนุษย์แล้วแปล เป็นคำสั่งต่างๆ เช่น การสวิตช์ไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ได้ต่อไปในอนาคต. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/240196 (เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ต.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...