กทม.เร่งรื้อตู้โทรศัพท์ผิดกฎหมายทั่วกรุงเทพฯ นำร่อง 6 เส้นทาง

แสดงความคิดเห็น

นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้แทนบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และผู้เกี่ยวข้องลงพื้นที่เพื่อร่วมดำเนินการรื้อย้ายตู้โทรศัพท์สาธารณะ บริเวณลานหน้าห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส สาขาปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย ซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 เส้นทางนำร่องที่กรุงเทพมหานครจะดำเนินการจัดระเบียบรื้อถอนตู้โทรศัพท์สาธารณะ โดยในวันนี้ได้ดำเนินการรื้อย้ายตู้โทรศัพท์สาธารณะบนถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ต่อเนื่องถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่แยกอรุณอมรินทร์ถึงสถานีขนส่งสายใต้เก่า ระยะทาง 2.79 กิโลเมตร ซึ่งจากการสำรวจร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครกับหน่วยงานเจ้าของตู้โทรศัพท์ สาธารณะเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2556 ที่ผ่านมาเส้นทางดังกล่าวมีตู้โทรศัพท์ทั้งหมด จำนวน 142 ตู้ แบ่งเป็นตู้โทรศัพท์ของ บมจ.ทีโอที 108 ตู้ และ บมจ.ทรูฯ 34 ตู้ และเป็นตู้ที่ทำการรื้อย้าย จำนวน 92 ตู้

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากการสำรวจเดิมในพื้นที่กรุงเทพฯ มีตู้โทรศัพท์สาธารณะทั้งที่ขออนุญาตถูกต้องและไม่ถูกต้องกว่า 33,882 ตู้ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการรื้อถอนตู้ที่ติดตั้งโดยไม่ได้ขออนุญาตรวมถึง ติดตั้งกีดขวางทางสัญจรของประชาชนไปแล้วกว่า 15,184 ตู้ คงเหลือที่จะต้องทำการรื้อถอนอีกประมาณ 12,324 ตู้ ซึ่งกรุงเทพมหานครจะร่วมกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เร่งดำเนินการรื้อถอนตู้โทรศัพท์ผิดกฎหมายบนถนนสายสำคัญๆ โดยกำหนดเส้นทางนำร่อง 6 เส้นทาง ประกอบด้วย ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าต่อเนื่องถนนบรมราชชนนี ถนนพหลโยธิน ถนนสุขุมวิท ถนนราชดำเนินกลาง ถนนรามคำแหง และถนนสุขสวัสดิ์ เพื่อเป็นการจัดระเบียบทางเท้าตามนโยบายคืนทางเท้าอำนวยความสะดวกให้กับ ประชาชน คาดว่าจะทำการรื้อถอนให้แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้ และในส่วนที่เหลือจะเร่งดำเนินการจัดระเบียบต่อไป

กรุงเทพมหานครได้รับการร้องเรียนจากประชาชนผู้ใช้ทางเท้า ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Online) และช่องทางการร้องเรียนอื่นๆ เกี่ยวกับปัญหาเรื่องตู้โทรศัพท์สาธารณะบนทางเท้าเป็นจำนวนมาก อาทิ การติดตั้งตู้โทรศัพท์กีดขวางทางเดินเท้า ตู้โทรศัพท์มีสภาพที่ชำรุดและสกปรกจนไม่สามารถใช้การได้ ตู้โทรศัพท์ไม่มีเครื่องโทรศัพท์ในการใช้งานประกอบกับมีการโฆษณาที่ไม่ถูก ต้อง และการรื้อตัวตู้โทรศัพท์โดยทิ้งฐานคอนกรีตของตู้ไว้ทำให้กีดขวางการสัญจร อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้สัญจรบนทางเท้าได้ ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดระเบียบตู้โทรศัพท์มาโดยตลอด แต่ก็ประสบปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายของสำนักงานเขตพื้นที่ตามพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 เพื่อใช้ในการต่อสู้คดีในชั้นศาล ปัญหาด้านสถานที่ในการจัดเก็บรักษาของกลางหลังจากที่สำนักงานเขตได้ดำเนิน การรื้อถอนตู้โทรศัพท์ อีกทั้งสำนักงานเขตขาดบุคลากรในการรื้อถอนตู้โทรศัพท์ซึ่งมีจำนวนมากในพื้นที่เขตรับผิดชอบ

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครมีนโยบายเกี่ยวกับการจัดระเบียบตู้โทรศัพท์สาธารณะมาตั้งแต่ปี 2546 และในปี 2554 คณะทำงานจัดระเบียบตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ไม่ได้รับอนุญาต ได้กำหนดมาตรการและวิธีดำเนินการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาตู้โทรศัพท์ที่ไม่ ได้รับอนุญาตเพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ 3 แนวทาง ดังนี้ 1.ตู้โทรศัพท์ที่ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการเขตพื้นที่แล้วมีป้ายโฆษณาติด ตั้งในผนังตู้โทรศัพท์ถือว่าไม่ถูกต้อง โดยให้รื้อเฉพาะป้ายโฆษณา 2.ตู้โทรศัพท์ที่ได้รับอนุญาตมีโฆษณาควบคู่กับตู้ เช่น ป้ายตัวอักษรวิ่ง ถือว่าเป็นตู้โทรศัพท์ที่ผิดกฎหมาย ให้รื้อทั้งตู้ และ 3. ตู้โทรศัพท์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ถือว่าเป็นตู้โทรศัพท์ที่ผิดกฎหมายและผิด ต่อประกาศกรุงเทพมหานครฯ ให้รื้อทั้งหมด

ขอบคุณ... http://www.propertychannelnews.com/breaking-news/กทม.เร่งรื้อตู้โทรศัพท์ผิดกฎหมายทั่วกรุงเทพฯ-นำร่อง-6-เส้นทาง-/13075/

propertychannelnews.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.ย.56

ที่มา: propertychannelnews.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 26/09/2556 เวลา 03:09:22

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้แทนบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และผู้เกี่ยวข้องลงพื้นที่เพื่อร่วมดำเนินการรื้อย้ายตู้โทรศัพท์สาธารณะ บริเวณลานหน้าห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส สาขาปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย ซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 เส้นทางนำร่องที่กรุงเทพมหานครจะดำเนินการจัดระเบียบรื้อถอนตู้โทรศัพท์สาธารณะ โดยในวันนี้ได้ดำเนินการรื้อย้ายตู้โทรศัพท์สาธารณะบนถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ต่อเนื่องถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่แยกอรุณอมรินทร์ถึงสถานีขนส่งสายใต้เก่า ระยะทาง 2.79 กิโลเมตร ซึ่งจากการสำรวจร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครกับหน่วยงานเจ้าของตู้โทรศัพท์ สาธารณะเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2556 ที่ผ่านมาเส้นทางดังกล่าวมีตู้โทรศัพท์ทั้งหมด จำนวน 142 ตู้ แบ่งเป็นตู้โทรศัพท์ของ บมจ.ทีโอที 108 ตู้ และ บมจ.ทรูฯ 34 ตู้ และเป็นตู้ที่ทำการรื้อย้าย จำนวน 92 ตู้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากการสำรวจเดิมในพื้นที่กรุงเทพฯ มีตู้โทรศัพท์สาธารณะทั้งที่ขออนุญาตถูกต้องและไม่ถูกต้องกว่า 33,882 ตู้ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการรื้อถอนตู้ที่ติดตั้งโดยไม่ได้ขออนุญาตรวมถึง ติดตั้งกีดขวางทางสัญจรของประชาชนไปแล้วกว่า 15,184 ตู้ คงเหลือที่จะต้องทำการรื้อถอนอีกประมาณ 12,324 ตู้ ซึ่งกรุงเทพมหานครจะร่วมกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เร่งดำเนินการรื้อถอนตู้โทรศัพท์ผิดกฎหมายบนถนนสายสำคัญๆ โดยกำหนดเส้นทางนำร่อง 6 เส้นทาง ประกอบด้วย ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าต่อเนื่องถนนบรมราชชนนี ถนนพหลโยธิน ถนนสุขุมวิท ถนนราชดำเนินกลาง ถนนรามคำแหง และถนนสุขสวัสดิ์ เพื่อเป็นการจัดระเบียบทางเท้าตามนโยบายคืนทางเท้าอำนวยความสะดวกให้กับ ประชาชน คาดว่าจะทำการรื้อถอนให้แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้ และในส่วนที่เหลือจะเร่งดำเนินการจัดระเบียบต่อไป กรุงเทพมหานครได้รับการร้องเรียนจากประชาชนผู้ใช้ทางเท้า ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Online) และช่องทางการร้องเรียนอื่นๆ เกี่ยวกับปัญหาเรื่องตู้โทรศัพท์สาธารณะบนทางเท้าเป็นจำนวนมาก อาทิ การติดตั้งตู้โทรศัพท์กีดขวางทางเดินเท้า ตู้โทรศัพท์มีสภาพที่ชำรุดและสกปรกจนไม่สามารถใช้การได้ ตู้โทรศัพท์ไม่มีเครื่องโทรศัพท์ในการใช้งานประกอบกับมีการโฆษณาที่ไม่ถูก ต้อง และการรื้อตัวตู้โทรศัพท์โดยทิ้งฐานคอนกรีตของตู้ไว้ทำให้กีดขวางการสัญจร อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้สัญจรบนทางเท้าได้ ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดระเบียบตู้โทรศัพท์มาโดยตลอด แต่ก็ประสบปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายของสำนักงานเขตพื้นที่ตามพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 เพื่อใช้ในการต่อสู้คดีในชั้นศาล ปัญหาด้านสถานที่ในการจัดเก็บรักษาของกลางหลังจากที่สำนักงานเขตได้ดำเนิน การรื้อถอนตู้โทรศัพท์ อีกทั้งสำนักงานเขตขาดบุคลากรในการรื้อถอนตู้โทรศัพท์ซึ่งมีจำนวนมากในพื้นที่เขตรับผิดชอบ ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครมีนโยบายเกี่ยวกับการจัดระเบียบตู้โทรศัพท์สาธารณะมาตั้งแต่ปี 2546 และในปี 2554 คณะทำงานจัดระเบียบตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ไม่ได้รับอนุญาต ได้กำหนดมาตรการและวิธีดำเนินการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาตู้โทรศัพท์ที่ไม่ ได้รับอนุญาตเพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ 3 แนวทาง ดังนี้ 1.ตู้โทรศัพท์ที่ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการเขตพื้นที่แล้วมีป้ายโฆษณาติด ตั้งในผนังตู้โทรศัพท์ถือว่าไม่ถูกต้อง โดยให้รื้อเฉพาะป้ายโฆษณา 2.ตู้โทรศัพท์ที่ได้รับอนุญาตมีโฆษณาควบคู่กับตู้ เช่น ป้ายตัวอักษรวิ่ง ถือว่าเป็นตู้โทรศัพท์ที่ผิดกฎหมาย ให้รื้อทั้งตู้ และ 3. ตู้โทรศัพท์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ถือว่าเป็นตู้โทรศัพท์ที่ผิดกฎหมายและผิด ต่อประกาศกรุงเทพมหานครฯ ให้รื้อทั้งหมด ขอบคุณ... http://www.propertychannelnews.com/breaking-news/กทม.เร่งรื้อตู้โทรศัพท์ผิดกฎหมายทั่วกรุงเทพฯ-นำร่อง-6-เส้นทาง-/13075/ propertychannelnews.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...