คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯ วุฒิสภา กับการติดตามเรื่อง ‘รถเมล์ชานต่ำ’ ที่ทุกคนใช้ได้สะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว

แสดงความคิดเห็น

คนพิการนั่งรถเข็น เข็นรถขึ้นทางลาดรถเมล์ชานต่ำ

ภายหลังที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ วุฒิสภา และเครือข่ายคนพิการ ได้เปิดแถลงข่าว “รถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน ด้วยความสะดวกปลอดภัย” เมื่อวันจันทร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๖ ที่อาคารรัฐสภา ได้มีเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ รวมถึงประชาชนทั่วไปให้ความสนใจและติดตามความคืบหน้าของโครงการนี้ โดยมีผู้ออกมาแสดงความคิดเห็น และมีความเคลื่อนไหวตามมาอย่างต่อเนื่อง ประชาชนทุกฝ่ายร่วมสนับสนุนแนวคิด การใช้ “รถชานต่ำ” ที่ติดตั้งทางลาดเลื่อนเข้า-ออกบริเวณประตูรถ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คนทุกเพศ ทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ใช้รถเข็นเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ คนเจ็บป่วย คนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง แม้กระทั่งสาวออฟฟิศที่ใส่รองเท้าส้นสูงหรือใส่กระโปรงสั้นขึ้นรถเมล์ ก็จะได้รับความสะดวกตามไปด้วย

โครงการจัดซื้อรถเมล์จำนวน ๓,๑๘๓ คันขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ เม.ย. ๒๕๕๖ ได้แยกเป็นรถเมล์ปรับอากาศหรือรถปอ. จำนวน ๑,๕๒๔ คัน ซึ่งติดตั้งลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการขึ้น-ลงรถเมล์ รวมราคาคันละ ๔.๕ ล้านบาท ส่วนรถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อนจำนวน ๑,๖๕๙ คัน ไม่ติดตั้งลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ราคาคันละ ๓.๘ ล้านบาท เครือข่ายคนพิการจึงร้องเรียนว่าคนพิการใช้เก้าอี้เข็นไม่ต้องการใช้ลิฟต์ซึ่งติดตั้งที่รถเมล์ พร้อมทั้ง เรียกร้องว่า รถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่ต้องเป็น“รถชานต่ำ”ที่ติดตั้งทางลาดเลื่อนเข้า - ออกบริเวณประตูรถ เพื่อให้“ประชาชนทุกคนในสังคม” ใช้ได้ทุกคัน

รถเมล์ชานต่ำ

การที่เครือข่ายคนพิการออกมาเรียกร้องขอให้ซื้อรถเมล์ชานต่ำ แทนที่จะใช้รถเมล์ที่ติดตั้งลิฟต์จึงไม่ใช่การเรียกร้องเพื่อเอื้อประโยชน์ เพียงแค่สำหรับคนพิการเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงประโยชน์และความสะดวกในการให้บริการแก่คนทุกกลุ่มของสังคม เพื่อความเท่าเทียมกันในสังคมเป็นสำคัญ

รถเมล์ที่ติดตั้งลิฟต์ สร้างความยุ่งยากใช้เวลาในการขึ้นนาน ๓ - ๕ นาที/คน ซึ่งอาจทำให้คนพิการตกเป็นจำเลยของสังคมไปโดยไม่รู้ตัว นอกจากนั้น ลิฟต์ยังมีราคาสูง ค่าซ่อมบำรุงค่อนข้างแพง ที่สำคัญไม่สามารถรองรับการใช้งานได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ใช้ได้เฉพาะผู้โดยสารที่ใช้รถเข็นเท่านั้น

ในขณะที่รถเมล์ชานต่ำมีทางลาด ราคาถูกกว่า สามารถขึ้น-ลงได้ทันที ใช้เวลาในการขึ้น-ลงแต่ละครั้งน้อยกว่า ๑ นาที การออกแบบให้เป็นรถชานต่ำจึงต้องออกแบบให้มีความเป็นสากล เป็นธรรม และเกิดความเท่าเทียมกันในสังคมอย่างแท้จริง เหตุผลประกอบอีกอย่างคือ รถชานสูงเป็นรถสมัยเก่า ซึ่งขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเลิกใช้กันหมดแล้ว ดังนั้น ขสมก.จึงควรนำไทยสู่ความเป็นสากลอย่างแท้จริง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย

ในเรื่องดังกล่าว คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯได้ติดตามว่ามีหน่วยงานและคณะทำงานใดบ้างที่ร่วมขับเคลื่อนผลักดันให้ข้อเรียกร้องนี้เกิดผลและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกคน ผลเป็นดังนี้

๑.คณะทำงานยกร่างเอกสารประกวดราคาโครงการจัดซื้อรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ใช้เชื้อ เพลิงเอ็นจีวี ของกระทรวงคมนาคม โดยการนำของ นายนเรศ บุญเปี่ยม รองผู้อำนวยการ ขสมก. รับเป็นเจ้าภาพเจรจาหารือ แต่ยังไม่ได้กำหนดวันนัดหมายหรือการประชุมหารือร่วมกัน อย่างไรก็ตามคาดว่าจะมีขึ้นเร็วๆ นี้

๒.เครือข่ายคนพิการได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติโดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุม เครือข่ายคนพิการได้ยื่นหนังสือแนวทางและข้อเสนอทั้งสิ้น ๔ ข้อในกรณีเกี่ยวข้องกับรถโดยสารประจำทางสาธารณะ ซึ่งนางปวีณา หงสกุล ได้นำเข้าหารือในที่ประชุม และมีมติให้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้มีการพิจารณาสนับสนุนตามข้อเสนอแนะดังกล่าว

๓.สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เข้าร่วมหารือกับกลุ่มที่ปรึกษากฎหมายมนุษย์ล้อ เพื่อเตรียมการใช้มาตรการ ทางกฎหมาย หากรัฐบาล และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ

เรียกร้อง

๔.เครือข่ายเยาวชน คนรุ่นใหม่ใส่ใจสังคม กลุ่ม Social Media รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ก็รวมสนับสนุนการขับเคลื่อนร่วมกัน หากรัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับข้อเสนอ “ซื้อรถชานต่ำ ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” องค์กรเครือข่ายต่างๆ พร้อมขับเคลื่อน เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนและหน่วยงาน

๕.สื่อออนไลน์ มีการนำเสนอเปรียบเทียบรถเมล์ชานต่ำกับรถเมล์ติดลิฟต์ และเชิญชวนผู้สนใจเข้าดูข้อมูลที่ http://youtu.be/b_td1Yhdjc0 (ขนาดไฟล์: 0 )

ด้วยสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร การนำรถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อนมาวิ่งให้บริการประชาชนจำนวน ๑,๖๕๙ คัน สร้างความเสื่อมทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ ก่อให้เกิดภาวะทางอารมณ์ และความเครียด ซึ่งนำไปสู่การมีปัญหาสุขภาพระยะยาวทั้งพนักงานขับรถ พนักงานเก็บเงิน แม้แต่กระทั่งประชาชนผู้โดยสาร นั่นแสดงว่า รถร้อนไม่เหมาะใช้งานในประเทศที่มีสภาพอากาศแบบบ้านเรา แม้ว่าจะเป็นรถเมล์ในโครงการรถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน ก็ควรต้องบริการด้วยรถเมล์ปรับอากาศจึงจะเหมาะสม เพื่อยกระดับสุขภาพกายและใจของประชาชนทั่วไปที่โดยสารรถเมล์ผู้ด้อยโอกาส คนพิการหรือคนทุพพลภาพก็สมควรที่จะได้รับความสะดวกสบายเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้รับผิดชอบจัดซื้อรถเมล์จึงควรพิจารณายกระดับมาตรฐานการให้บริการรถเมล์ สาธารณะที่ดีขึ้นสำหรับคนทุกชั้น และทุกระดับ

ท้ายที่สุดแล้ว “รถเมล์ชานต่ำ” จึงไม่ใช่แค่การเรียกร้องเพื่อกลุ่มคนพิการหรือเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เท่านั้น หากแต่เป็นการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในสังคมให้แก่คนทุกกลุ่ม ในสังคม ให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

รถเมล์ชานต่ำ

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โทร.๐๒-๘๓๑๙๒๒๕ โทรสาร ๐๒-๘๓๑๙๒๒๖ สายด่วนวุฒิสภา ๑๑๐๒ หรือส่งจดหมาย/เอกสาร/ข้อร้องเรียนไปที่ “ตู้ปวงชนชาวไทย” ไปรษณีย์รัฐสภา กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๕สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถนนอู่ทองใน ดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ email : dek_senate@hotmail.co.th หรือ Facebook: กมธ.พัฒนาสังคม หรือกลุ่มงานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็กฯ วุฒิสภา โทร.๐๒-๘๓๑-๙๒๒๕-๖ แฟกซ์ ๐๒-๘๓๑-๙๒๒๖

ขอบคุณ... http://www.naewna.com/lady/columnist/8721

แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๑ ก.ย.๕๖

ที่มา: แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๑ ก.ย.๕๖
วันที่โพสต์: 22/09/2556 เวลา 02:58:12 ดูภาพสไลด์โชว์ คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯ วุฒิสภา กับการติดตามเรื่อง ‘รถเมล์ชานต่ำ’ ที่ทุกคนใช้ได้สะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คนพิการนั่งรถเข็น เข็นรถขึ้นทางลาดรถเมล์ชานต่ำ ภายหลังที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ วุฒิสภา และเครือข่ายคนพิการ ได้เปิดแถลงข่าว “รถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน ด้วยความสะดวกปลอดภัย” เมื่อวันจันทร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๖ ที่อาคารรัฐสภา ได้มีเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ รวมถึงประชาชนทั่วไปให้ความสนใจและติดตามความคืบหน้าของโครงการนี้ โดยมีผู้ออกมาแสดงความคิดเห็น และมีความเคลื่อนไหวตามมาอย่างต่อเนื่อง ประชาชนทุกฝ่ายร่วมสนับสนุนแนวคิด การใช้ “รถชานต่ำ” ที่ติดตั้งทางลาดเลื่อนเข้า-ออกบริเวณประตูรถ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คนทุกเพศ ทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ใช้รถเข็นเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ คนเจ็บป่วย คนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง แม้กระทั่งสาวออฟฟิศที่ใส่รองเท้าส้นสูงหรือใส่กระโปรงสั้นขึ้นรถเมล์ ก็จะได้รับความสะดวกตามไปด้วย โครงการจัดซื้อรถเมล์จำนวน ๓,๑๘๓ คันขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ เม.ย. ๒๕๕๖ ได้แยกเป็นรถเมล์ปรับอากาศหรือรถปอ. จำนวน ๑,๕๒๔ คัน ซึ่งติดตั้งลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการขึ้น-ลงรถเมล์ รวมราคาคันละ ๔.๕ ล้านบาท ส่วนรถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อนจำนวน ๑,๖๕๙ คัน ไม่ติดตั้งลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ราคาคันละ ๓.๘ ล้านบาท เครือข่ายคนพิการจึงร้องเรียนว่าคนพิการใช้เก้าอี้เข็นไม่ต้องการใช้ลิฟต์ซึ่งติดตั้งที่รถเมล์ พร้อมทั้ง เรียกร้องว่า รถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่ต้องเป็น“รถชานต่ำ”ที่ติดตั้งทางลาดเลื่อนเข้า - ออกบริเวณประตูรถ เพื่อให้“ประชาชนทุกคนในสังคม” ใช้ได้ทุกคัน รถเมล์ชานต่ำ การที่เครือข่ายคนพิการออกมาเรียกร้องขอให้ซื้อรถเมล์ชานต่ำ แทนที่จะใช้รถเมล์ที่ติดตั้งลิฟต์จึงไม่ใช่การเรียกร้องเพื่อเอื้อประโยชน์ เพียงแค่สำหรับคนพิการเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงประโยชน์และความสะดวกในการให้บริการแก่คนทุกกลุ่มของสังคม เพื่อความเท่าเทียมกันในสังคมเป็นสำคัญ รถเมล์ที่ติดตั้งลิฟต์ สร้างความยุ่งยากใช้เวลาในการขึ้นนาน ๓ - ๕ นาที/คน ซึ่งอาจทำให้คนพิการตกเป็นจำเลยของสังคมไปโดยไม่รู้ตัว นอกจากนั้น ลิฟต์ยังมีราคาสูง ค่าซ่อมบำรุงค่อนข้างแพง ที่สำคัญไม่สามารถรองรับการใช้งานได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ใช้ได้เฉพาะผู้โดยสารที่ใช้รถเข็นเท่านั้น ในขณะที่รถเมล์ชานต่ำมีทางลาด ราคาถูกกว่า สามารถขึ้น-ลงได้ทันที ใช้เวลาในการขึ้น-ลงแต่ละครั้งน้อยกว่า ๑ นาที การออกแบบให้เป็นรถชานต่ำจึงต้องออกแบบให้มีความเป็นสากล เป็นธรรม และเกิดความเท่าเทียมกันในสังคมอย่างแท้จริง เหตุผลประกอบอีกอย่างคือ รถชานสูงเป็นรถสมัยเก่า ซึ่งขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเลิกใช้กันหมดแล้ว ดังนั้น ขสมก.จึงควรนำไทยสู่ความเป็นสากลอย่างแท้จริง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย ในเรื่องดังกล่าว คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯได้ติดตามว่ามีหน่วยงานและคณะทำงานใดบ้างที่ร่วมขับเคลื่อนผลักดันให้ข้อเรียกร้องนี้เกิดผลและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกคน ผลเป็นดังนี้ ๑.คณะทำงานยกร่างเอกสารประกวดราคาโครงการจัดซื้อรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ใช้เชื้อ เพลิงเอ็นจีวี ของกระทรวงคมนาคม โดยการนำของ นายนเรศ บุญเปี่ยม รองผู้อำนวยการ ขสมก. รับเป็นเจ้าภาพเจรจาหารือ แต่ยังไม่ได้กำหนดวันนัดหมายหรือการประชุมหารือร่วมกัน อย่างไรก็ตามคาดว่าจะมีขึ้นเร็วๆ นี้ ๒.เครือข่ายคนพิการได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติโดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุม เครือข่ายคนพิการได้ยื่นหนังสือแนวทางและข้อเสนอทั้งสิ้น ๔ ข้อในกรณีเกี่ยวข้องกับรถโดยสารประจำทางสาธารณะ ซึ่งนางปวีณา หงสกุล ได้นำเข้าหารือในที่ประชุม และมีมติให้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้มีการพิจารณาสนับสนุนตามข้อเสนอแนะดังกล่าว ๓.สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เข้าร่วมหารือกับกลุ่มที่ปรึกษากฎหมายมนุษย์ล้อ เพื่อเตรียมการใช้มาตรการ ทางกฎหมาย หากรัฐบาล และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ เรียกร้อง ๔.เครือข่ายเยาวชน คนรุ่นใหม่ใส่ใจสังคม กลุ่ม Social Media รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ก็รวมสนับสนุนการขับเคลื่อนร่วมกัน หากรัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับข้อเสนอ “ซื้อรถชานต่ำ ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” องค์กรเครือข่ายต่างๆ พร้อมขับเคลื่อน เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนและหน่วยงาน ๕.สื่อออนไลน์ มีการนำเสนอเปรียบเทียบรถเมล์ชานต่ำกับรถเมล์ติดลิฟต์ และเชิญชวนผู้สนใจเข้าดูข้อมูลที่ http://youtu.be/b_td1Yhdjc0 ด้วยสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร การนำรถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อนมาวิ่งให้บริการประชาชนจำนวน ๑,๖๕๙ คัน สร้างความเสื่อมทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ ก่อให้เกิดภาวะทางอารมณ์ และความเครียด ซึ่งนำไปสู่การมีปัญหาสุขภาพระยะยาวทั้งพนักงานขับรถ พนักงานเก็บเงิน แม้แต่กระทั่งประชาชนผู้โดยสาร นั่นแสดงว่า รถร้อนไม่เหมาะใช้งานในประเทศที่มีสภาพอากาศแบบบ้านเรา แม้ว่าจะเป็นรถเมล์ในโครงการรถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน ก็ควรต้องบริการด้วยรถเมล์ปรับอากาศจึงจะเหมาะสม เพื่อยกระดับสุขภาพกายและใจของประชาชนทั่วไปที่โดยสารรถเมล์ผู้ด้อยโอกาส คนพิการหรือคนทุพพลภาพก็สมควรที่จะได้รับความสะดวกสบายเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้รับผิดชอบจัดซื้อรถเมล์จึงควรพิจารณายกระดับมาตรฐานการให้บริการรถเมล์ สาธารณะที่ดีขึ้นสำหรับคนทุกชั้น และทุกระดับ ท้ายที่สุดแล้ว “รถเมล์ชานต่ำ” จึงไม่ใช่แค่การเรียกร้องเพื่อกลุ่มคนพิการหรือเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เท่านั้น หากแต่เป็นการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในสังคมให้แก่คนทุกกลุ่ม ในสังคม ให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รถเมล์ชานต่ำ ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โทร.๐๒-๘๓๑๙๒๒๕ โทรสาร ๐๒-๘๓๑๙๒๒๖ สายด่วนวุฒิสภา ๑๑๐๒ หรือส่งจดหมาย/เอกสาร/ข้อร้องเรียนไปที่ “ตู้ปวงชนชาวไทย” ไปรษณีย์รัฐสภา กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๕สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถนนอู่ทองใน ดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ email : dek_senate@hotmail.co.th หรือ Facebook: กมธ.พัฒนาสังคม หรือกลุ่มงานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็กฯ วุฒิสภา โทร.๐๒-๘๓๑-๙๒๒๕-๖ แฟกซ์ ๐๒-๘๓๑-๙๒๒๖ ขอบคุณ... http://www.naewna.com/lady/columnist/8721 แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๑ ก.ย.๕๖

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...