ชำแหละ TOR รถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน... คนพิการใช้ได้แค่ 1,659 คัน

แสดงความคิดเห็น

รถโดยสาร (ขสมก.)

เปิด TOR ประมูลรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน ของ ขสมก. วงเงิน 1.38 หมื่นล้านบาท ผู้ผลิตรถโดยสารในประเทศเผยล็อกสเปกแบ่งเค้กผลประโยชน์ให้ค่ายรถยักษ์ใหญ่ จากญี่ปุ่นและจีนเบ็ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชี้ราคากลางสูง ทำให้มีส่วนต่างคันละกว่าล้านบาทตั้งข้อสังเกต"คมนาคม"ตั้งเป็นโครงการนำ ร่อง ประมูลโปร่งใส ดึงองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย)ร่วมตรวจสอบ แค่หลอกลวง

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ประกาศร่างเงื่อนไขการประกวดราคา ด้วยวิธีทางอิเลกทรอนิกส์ โครงการใช้เชื้อเพลิงก๊าซก๊าวธรรมชาติ (NGV) จํานวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2ล้านบาท รวมค่าซ่อมบำรุง 10 ปี วงเงินประมาณ 13,858.408 ล้านบาท มูลค่าทั้งโครงการ 27,020.608 ล้านบาท ผ่านเวปไซด์ขสมก. www.bmta.co.th/th/auction.php และเวปไซด์กรมบัญชีกลางครั้งที่ 1 เพื่อรับฟังความเห็นจากผู้จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงประชาชนทั่ว ไป จนถึงวันที่25กรกฎาคม

แหล่งข่าวจากกลุ่มผู้ผลิต รถโดยสารภายในประเทศกล่าวว่า ร่างTOR รถเมล์ NGV 3,183 คันที่ ขสมก.ประกาศนั้นเป็นไปตามความคาดหมายที่ผู้ประกอบการต่อรถโดยสารในประเทศ กังวล โดยมีการแบ่งผลประโยชน์ในแต่ละกลุ่มไว้แล้วตั้งแต่แรกซึ่งเป็นที่ทราบกันดี ว่า บริษัทรถรายใหญ่จากญี่ปุ่นจะได้รถร้อน 1,659 คันไปทั้งหมด ส่วนรถปรับอากาศ 1,524 คันจะเป็นของค่ายรถจีนโดยบริษัทรถค่ายญี่ปุ่นได้เข้าติดต่ออู่ต่อรถในไทยให้ ทำการดัดแปลงคัสซีรถบรรทุก CNG เป็นรถโดยสาร ซึ่งมีข้อน่ากังวลที่ ศูนย์กลางล้อหน้าถึงศูนย์กลางล้อหลังของรถบรรทุกยาวเพียง 5.53 เมตร ขณะที่ รถโดยสารต้องยาวเกิน 6 เมตรเพื่อสมรรถนะในการทรงตัว ซึ่งค่ายรถดังกล่าวได้ดัดแปลงให้ที่นั่งคนขับยื่นออกไปข้างหน้า 1.09 เมตรเพื่อให้ตรงตามเสปคและความยาวตัวถังที่กำหนดไว้ที่ 12 เมตร

ส่วน ราคากลางที่กำหนดรถร้อน 3.8 ล้านบาท/คัน และรถปรับอากาศ 4.5 ล้านบาท/คันนั้น หากแยกเป็นรายการ รถร้อน คัสซี ต้นทุนจริงอยู่ที่ 1.5 ล้านบาท/คัน ค่าต่อตัวถังจะอยู่ที่ประมาณ 9.5 แสนบาท-1.3 ล้านบาท/คัน ขึ้นอยู่กับการเจรจากับอู่ต่อตัวถัง ราคารวมไม่เกิน 2.8 ล้านบาท/คัน ส่วนรถปรับอากาศ ต้นทุนคัสซี 1.5 ล้านบาท/คันเท่ากัน ค่าต่อตัวถัง ไม่เกิน 1.3 ล้านบาทบวกกับค่าแอร์ประมาณ 4แสนบาท/คัน รวมต้นทุนอยู่ที่ 3.2 ล้านบาท/คัน ทำให้มีส่วนต่างต่อคันสูงเป็นล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการล้อคเสปคไว้สำหรับการประมูลติดตั้งระบบตั๋วอิเลกทรอนิกส์ (E-Ticket ) ป้ายอัจฉริยะต่างๆ บนตัวรถในอนาคตอีกด้วย โดยกลุ่ม ผู้ประกอบการคนไทยเห็นว่า การประมูลดังกล่าวมีการเอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม ไม่ส่งเสริมผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศอย่างเต็มที่เพราะ ถือว่าเป็นโครงการใหญ่ที่เกิดในรอบ 20 ปี นอกจากนี้ยังอาจจะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการใช้บริการของประชาชนได้ จึงอยากให้ผู้รับผิดชบตรวจสอบให้มากกว่านี้เพราะการประมูลจัดซื้อรถเมล์ NGV ยังเป็นโครงการนำร่องที่กระทรวงคมนาคมได้ลงนามกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ในการเข้ามาตรวจสอบความโปร่งใสด้วย

"ใน กลุ่มผู้ผลิตรถโดยสารในประเทศติดตามเรื่องมานาน และได้เห็นร่าง TOR มาก่อนประกาศแล้ว ซึ่งได้เคยยื่นหนังสือต่อพลเอกพฤณฑ์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีข่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแล ขสมก. ขอให้พิจารณาเงื่อนไข TOR ที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อตัวถังรถยนต์โดยสารในประเทศและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ในประเทศ แต่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆที่สำคัญถ้าเป็นไปตามที่ล็อกสเปคไว้ พบว่า คนพิการจะไม่สามารถ ใช้ รถร้อนได้ เพราะรถต้นแบบที่ออกมาก่อนหน้านี้ คัสซียกสูงถึง 70 เซนติเมตร โดยอ้างว่าเพื่อหนีน้ำท่วม"แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับ ร่าง TOR โครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV 3,183 คัน แบ่งเป็น รถโดยสารธรรมดา จำนวน 1,659 คัน รถโดยสารปรับอากาศ จำนวน 1,524 คัน ซึ่งผู้ประสงค์เสนอราคาสามารถเสนอราคาในรายการหนึ่งรายการใดหรือจะเสนอราคา ทั้ง 8 รายการก็ได้ โดยคุณสมบัติจะต้องเป็นผู้มีอาชีพและมีวัตถุประสงค์ในการขายและซ่อมบำรุง, ต้องเป็นนิติบุคคบไทย หรือกลุ่มกิจการร่วมค้า (Joint Venture)ที่ร่วมทุนระหว่างนิติบุคคลไทยด้วยกัน หรือนิติบุคคลไทยกับนิติบุคคลต่างประเทศหรือกลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน (Consortium) ที่ร่วมทุนระหว่างนิติบุคคลไทยด้วยกัน หรือนิติบุคคลไทยกับนิติบุคคลต่างประเทศ โดยจะเปลี่ยนแปลงนิติบุคคลในกลุ่มกิจการร่วมค้าหรือกลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน ในภายหลังไม่ได้ มีทุนจดทะเบียน(ชำระเต็มจำนวน) ไม่น้อยกว่า 10% ของวงเงินที่จะประมูลในแต่ละรายการ ต้องมีผลงานการจำหน่ายรถโดยสาร ขนาด 12 เมตรให้กังหน่วยงานราบการหรือรัฐวิสาหกิจหรือภาคเอกชนในประเทศไทย

หลักเกณฑ์พิจารณา จะต้องได้คะแนนด้านเทคนิครวมกันไม่ต่ำกว่า 80% และได้คะแนนในแต่ละหัวข้อไม่ต่ำกว่า 50% จึงจะได้รับสิทธิเสนอราคา ต้องส่งมอบรถโดยสารครบทั้งหมดภายใน 18 เดือน โดยส่วมอบงวดที่1 ภายในระยะเวลา 6 เดือน นับจากวันลงนามในสัญญา งวดที่ 2 ถึงงวดที่ 13 ส่งมอบทุกเดือน โดยขสมก.จะจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ชนะการประกวดราคา 15% ของวงเงินสัญญาโดยต้องรับประกันการชำรุดเสียหายจากการใช้งานของรถโดยสารไม่ น้อยกว่า 3 ปี หากไม่ส่งมอบรถโดยสารตามที่กำหนด จะถูกปรับเป็นรายคันต่อวันตามจำนวนรถที่ส่งไม่ครบในแต่ละงวด ในอัตรา 0.20% ของวงเงิน และปรับค่าสูญเสียโอกาสในการหารายได้สำหรับรถโดยสารแบบธรรมดาจำนวย 8,000 คันต่อคันต่อวัน และรถโดยสารปรับอากาศจำนวน 10,000 บาทต่อคันต่อวัน จนถึงวันรับมอบรถเสร็จ

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000090046 (ขนาดไฟล์: 172)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.ค.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 23/07/2556 เวลา 02:46:38 ดูภาพสไลด์โชว์ ชำแหละ TOR รถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน... คนพิการใช้ได้แค่ 1,659 คัน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รถโดยสาร (ขสมก.) เปิด TOR ประมูลรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน ของ ขสมก. วงเงิน 1.38 หมื่นล้านบาท ผู้ผลิตรถโดยสารในประเทศเผยล็อกสเปกแบ่งเค้กผลประโยชน์ให้ค่ายรถยักษ์ใหญ่ จากญี่ปุ่นและจีนเบ็ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชี้ราคากลางสูง ทำให้มีส่วนต่างคันละกว่าล้านบาทตั้งข้อสังเกต"คมนาคม"ตั้งเป็นโครงการนำ ร่อง ประมูลโปร่งใส ดึงองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย)ร่วมตรวจสอบ แค่หลอกลวง เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ประกาศร่างเงื่อนไขการประกวดราคา ด้วยวิธีทางอิเลกทรอนิกส์ โครงการใช้เชื้อเพลิงก๊าซก๊าวธรรมชาติ (NGV) จํานวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2ล้านบาท รวมค่าซ่อมบำรุง 10 ปี วงเงินประมาณ 13,858.408 ล้านบาท มูลค่าทั้งโครงการ 27,020.608 ล้านบาท ผ่านเวปไซด์ขสมก. www.bmta.co.th/th/auction.php และเวปไซด์กรมบัญชีกลางครั้งที่ 1 เพื่อรับฟังความเห็นจากผู้จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงประชาชนทั่ว ไป จนถึงวันที่25กรกฎาคม แหล่งข่าวจากกลุ่มผู้ผลิต รถโดยสารภายในประเทศกล่าวว่า ร่างTOR รถเมล์ NGV 3,183 คันที่ ขสมก.ประกาศนั้นเป็นไปตามความคาดหมายที่ผู้ประกอบการต่อรถโดยสารในประเทศ กังวล โดยมีการแบ่งผลประโยชน์ในแต่ละกลุ่มไว้แล้วตั้งแต่แรกซึ่งเป็นที่ทราบกันดี ว่า บริษัทรถรายใหญ่จากญี่ปุ่นจะได้รถร้อน 1,659 คันไปทั้งหมด ส่วนรถปรับอากาศ 1,524 คันจะเป็นของค่ายรถจีนโดยบริษัทรถค่ายญี่ปุ่นได้เข้าติดต่ออู่ต่อรถในไทยให้ ทำการดัดแปลงคัสซีรถบรรทุก CNG เป็นรถโดยสาร ซึ่งมีข้อน่ากังวลที่ ศูนย์กลางล้อหน้าถึงศูนย์กลางล้อหลังของรถบรรทุกยาวเพียง 5.53 เมตร ขณะที่ รถโดยสารต้องยาวเกิน 6 เมตรเพื่อสมรรถนะในการทรงตัว ซึ่งค่ายรถดังกล่าวได้ดัดแปลงให้ที่นั่งคนขับยื่นออกไปข้างหน้า 1.09 เมตรเพื่อให้ตรงตามเสปคและความยาวตัวถังที่กำหนดไว้ที่ 12 เมตร ส่วน ราคากลางที่กำหนดรถร้อน 3.8 ล้านบาท/คัน และรถปรับอากาศ 4.5 ล้านบาท/คันนั้น หากแยกเป็นรายการ รถร้อน คัสซี ต้นทุนจริงอยู่ที่ 1.5 ล้านบาท/คัน ค่าต่อตัวถังจะอยู่ที่ประมาณ 9.5 แสนบาท-1.3 ล้านบาท/คัน ขึ้นอยู่กับการเจรจากับอู่ต่อตัวถัง ราคารวมไม่เกิน 2.8 ล้านบาท/คัน ส่วนรถปรับอากาศ ต้นทุนคัสซี 1.5 ล้านบาท/คันเท่ากัน ค่าต่อตัวถัง ไม่เกิน 1.3 ล้านบาทบวกกับค่าแอร์ประมาณ 4แสนบาท/คัน รวมต้นทุนอยู่ที่ 3.2 ล้านบาท/คัน ทำให้มีส่วนต่างต่อคันสูงเป็นล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการล้อคเสปคไว้สำหรับการประมูลติดตั้งระบบตั๋วอิเลกทรอนิกส์ (E-Ticket ) ป้ายอัจฉริยะต่างๆ บนตัวรถในอนาคตอีกด้วย โดยกลุ่ม ผู้ประกอบการคนไทยเห็นว่า การประมูลดังกล่าวมีการเอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม ไม่ส่งเสริมผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศอย่างเต็มที่เพราะ ถือว่าเป็นโครงการใหญ่ที่เกิดในรอบ 20 ปี นอกจากนี้ยังอาจจะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการใช้บริการของประชาชนได้ จึงอยากให้ผู้รับผิดชบตรวจสอบให้มากกว่านี้เพราะการประมูลจัดซื้อรถเมล์ NGV ยังเป็นโครงการนำร่องที่กระทรวงคมนาคมได้ลงนามกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ในการเข้ามาตรวจสอบความโปร่งใสด้วย "ใน กลุ่มผู้ผลิตรถโดยสารในประเทศติดตามเรื่องมานาน และได้เห็นร่าง TOR มาก่อนประกาศแล้ว ซึ่งได้เคยยื่นหนังสือต่อพลเอกพฤณฑ์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีข่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแล ขสมก. ขอให้พิจารณาเงื่อนไข TOR ที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อตัวถังรถยนต์โดยสารในประเทศและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ในประเทศ แต่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆที่สำคัญถ้าเป็นไปตามที่ล็อกสเปคไว้ พบว่า คนพิการจะไม่สามารถ ใช้ รถร้อนได้ เพราะรถต้นแบบที่ออกมาก่อนหน้านี้ คัสซียกสูงถึง 70 เซนติเมตร โดยอ้างว่าเพื่อหนีน้ำท่วม"แหล่งข่าวกล่าว สำหรับ ร่าง TOR โครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV 3,183 คัน แบ่งเป็น รถโดยสารธรรมดา จำนวน 1,659 คัน รถโดยสารปรับอากาศ จำนวน 1,524 คัน ซึ่งผู้ประสงค์เสนอราคาสามารถเสนอราคาในรายการหนึ่งรายการใดหรือจะเสนอราคา ทั้ง 8 รายการก็ได้ โดยคุณสมบัติจะต้องเป็นผู้มีอาชีพและมีวัตถุประสงค์ในการขายและซ่อมบำรุง, ต้องเป็นนิติบุคคบไทย หรือกลุ่มกิจการร่วมค้า (Joint Venture)ที่ร่วมทุนระหว่างนิติบุคคลไทยด้วยกัน หรือนิติบุคคลไทยกับนิติบุคคลต่างประเทศหรือกลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน (Consortium) ที่ร่วมทุนระหว่างนิติบุคคลไทยด้วยกัน หรือนิติบุคคลไทยกับนิติบุคคลต่างประเทศ โดยจะเปลี่ยนแปลงนิติบุคคลในกลุ่มกิจการร่วมค้าหรือกลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน ในภายหลังไม่ได้ มีทุนจดทะเบียน(ชำระเต็มจำนวน) ไม่น้อยกว่า 10% ของวงเงินที่จะประมูลในแต่ละรายการ ต้องมีผลงานการจำหน่ายรถโดยสาร ขนาด 12 เมตรให้กังหน่วยงานราบการหรือรัฐวิสาหกิจหรือภาคเอกชนในประเทศไทย หลักเกณฑ์พิจารณา จะต้องได้คะแนนด้านเทคนิครวมกันไม่ต่ำกว่า 80% และได้คะแนนในแต่ละหัวข้อไม่ต่ำกว่า 50% จึงจะได้รับสิทธิเสนอราคา ต้องส่งมอบรถโดยสารครบทั้งหมดภายใน 18 เดือน โดยส่วมอบงวดที่1 ภายในระยะเวลา 6 เดือน นับจากวันลงนามในสัญญา งวดที่ 2 ถึงงวดที่ 13 ส่งมอบทุกเดือน โดยขสมก.จะจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ชนะการประกวดราคา 15% ของวงเงินสัญญาโดยต้องรับประกันการชำรุดเสียหายจากการใช้งานของรถโดยสารไม่ น้อยกว่า 3 ปี หากไม่ส่งมอบรถโดยสารตามที่กำหนด จะถูกปรับเป็นรายคันต่อวันตามจำนวนรถที่ส่งไม่ครบในแต่ละงวด ในอัตรา 0.20% ของวงเงิน และปรับค่าสูญเสียโอกาสในการหารายได้สำหรับรถโดยสารแบบธรรมดาจำนวย 8,000 คันต่อคันต่อวัน และรถโดยสารปรับอากาศจำนวน 10,000 บาทต่อคันต่อวัน จนถึงวันรับมอบรถเสร็จ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000090046 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...