กสทช.คลอด 4 ต้นแบบรายการเพื่อผู้พิการ ออกอากาศหน้าจอ

แสดงความคิดเห็น

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)

เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 56 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ขณะนี้ กสทช.ได้จัดทำ 4 รายการโทรทัศน์และวิทยุนำร่องเพื่อผู้พิการอย่างเต็มรูปแบบ หลังจาก กสทช.ลงนามความร่วมมือกับสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในการส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงและรับรู้ข่าวสารผ่านสื่อได้อย่างเท่าเทียม เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2556 ที่ผ่านมา

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า สำหรับ 4 รายการโทรทัศน์และวิทยุนำร่องเพื่อผู้พิการ ประกอบด้วย 1.รายการ กิน อยู่ คือ ทางช่องไทยพีบีเอส ออกอากาศ 1 มิ.ย. 2556 2.รายการ อร่อยอย่างยิ่ง ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสามารถรับฟังเสียงบรรยายใต้ภาพได้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เริ่มออกอากาศบริการเพื่อผู้พิการวันที่ 7 มิ.ย. 2556 3.รายการศึกษาทัศน์ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และ 4.รายการ Deaf Chanel ทางทรูวิชั่นส์ ที่ให้บริการในปัจจุบัน

นางสาวสุภิญญา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ทั้ง 4 รายการจะเพิ่มเติมการให้บริการแก่ผู้พิการ นอกเหนือจากภาษามือและตัวอักษรเพื่อให้มีความเข้าใจเนื้อหารายการมากยิ่งขึ้น เช่น คำบรรยายการสนทนา คำบรรยายเสียงประกอบ เสียงดนตรี เสียงหัวเราะหรือบรรยายภาพในเนื้อหาที่ไม่มีเสียงประกอบให้ผู้รับฟังได้เข้า ใจเนื้อเรื่อง ขณะที่ที่ประชุมบอร์ด กสท.ยังเห็นชอบในหลักการให้เพิ่มเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตทีวีดิจิตอล ที่ต้องมีรายการเพื่อผู้พิการสามารถรับชมได้ด้วย โดยล่าสุดอยู่ระหว่างการออกเป็นประกาศ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้เบื้องต้นกับช่องทีวีดิจิตอล ประเภทธุรกิจ จำนวน 24 ช่อง

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/tech/348059

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 31/05/2556 เวลา 06:44:51 ดูภาพสไลด์โชว์ กสทช.คลอด 4 ต้นแบบรายการเพื่อผู้พิการ ออกอากาศหน้าจอ

1 ตรี บุญเจือ 31/05/2556 06:44:51

สำหรับรูปแบบเสียงบรรยายภาพ (AD) มี 2 รายการ คือ รายการ “อร่อยอย่างยิ่ง” ทุกวันศุกร์ เวลา 13.30 – 14.00 น. ทาง สทท.11 ฟังเสียงบรรยายภาพได้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) เอ.เอ็ม. 837 KHz และรายการ “กิน อยู่ คือ” ทุกวันจันทร์ เวลา 17.10 – 18.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ฟังบริการเสียงบรรยายภาพได้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยธรรมสาสตร์ เอ.เอ็ม. 981 KHz เริ่มต้นเดือนมิถุนายน 2556

รูปแบบคำบรรยายแทนเสียง (Caption) สามารถรับชมได้ในรายการ “ศึกษาทัศน์” ทาง สทท.11 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.00 – 08.30 น. เริ่มไปแล้วเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2556

ส่วนรูปแบบการบริการภาษามือ ได้มีการทดลองออกอากาศทางสื่อโทรทัศน์ไปแล้ว ตั้งแต่เดือนเมษายน ในรายการ “Deaf Channel” ทุกวันเสาร์ เวลา 08.00 – 08.30 ทางช่องรายการ TNN2 ซึ่งเปิดให้สมาชิกของ ทรู วิชั่นส์ ทุกแพ็คเกจสามารถรับชมได้ฟรี รวมถึงจาน KU – Band (จานทึบ) ทุกจาน และทางเว็บไซต์ของทรูวิชั่นส์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 56 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ขณะนี้ กสทช.ได้จัดทำ 4 รายการโทรทัศน์และวิทยุนำร่องเพื่อผู้พิการอย่างเต็มรูปแบบ หลังจาก กสทช.ลงนามความร่วมมือกับสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในการส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงและรับรู้ข่าวสารผ่านสื่อได้อย่างเท่าเทียม เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2556 ที่ผ่านมา กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า สำหรับ 4 รายการโทรทัศน์และวิทยุนำร่องเพื่อผู้พิการ ประกอบด้วย 1.รายการ กิน อยู่ คือ ทางช่องไทยพีบีเอส ออกอากาศ 1 มิ.ย. 2556 2.รายการ อร่อยอย่างยิ่ง ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสามารถรับฟังเสียงบรรยายใต้ภาพได้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เริ่มออกอากาศบริการเพื่อผู้พิการวันที่ 7 มิ.ย. 2556 3.รายการศึกษาทัศน์ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และ 4.รายการ Deaf Chanel ทางทรูวิชั่นส์ ที่ให้บริการในปัจจุบัน นางสาวสุภิญญา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ทั้ง 4 รายการจะเพิ่มเติมการให้บริการแก่ผู้พิการ นอกเหนือจากภาษามือและตัวอักษรเพื่อให้มีความเข้าใจเนื้อหารายการมากยิ่งขึ้น เช่น คำบรรยายการสนทนา คำบรรยายเสียงประกอบ เสียงดนตรี เสียงหัวเราะหรือบรรยายภาพในเนื้อหาที่ไม่มีเสียงประกอบให้ผู้รับฟังได้เข้า ใจเนื้อเรื่อง ขณะที่ที่ประชุมบอร์ด กสท.ยังเห็นชอบในหลักการให้เพิ่มเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตทีวีดิจิตอล ที่ต้องมีรายการเพื่อผู้พิการสามารถรับชมได้ด้วย โดยล่าสุดอยู่ระหว่างการออกเป็นประกาศ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้เบื้องต้นกับช่องทีวีดิจิตอล ประเภทธุรกิจ จำนวน 24 ช่อง ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/tech/348059

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...