“ช่างพูด-ช่างคุย-ช่างทำ” หุ่นยนต์ไทยกระตุ้นเด็กออทิสติก...รับเหรียญทองเกียรติยศ
แม้ว่ากิจกรรมกระตุ้น พัฒนาการเด็กออทิสติกโดยพ่อแม่และผู้เชี่ยวชาญจะเป็นสิ่งที่ดีต่อเด็กพิเศษ มากกว่า แต่ธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้มักกลัวการสื่อสารกับคนทั่วไปเพราะ “คาดเดายาก” จึงนำไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ “ช่างพูด-ช่างคุย-ช่างทำ” ซึ่งชวนเด็กพูด คุย ขยับปากและท่าทาง เพื่อเสริมพัฒนาการ และหวังต่อยอดสู่การเสริมพัฒนา
“แม่ที่เจนีวาที่มีลูกเป็นออทิสติก มาดูเราแล้วก็ตื้นตันใจน้ำตาไหล” ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ จากภาควิชาวิศวกรรมการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงผลตอบรับหลังนำหุ่นยนต์ 3 ตัว คือ “ช่างพูด”, “ช่างคุย” และ “ช่างทำ” ไปจัดแสดงภายในงานนิทรรศการสิ่งแระดิษฐ์นานาชาติครั้งที่ 41 (41st International Exhibition of Inventions of Geneva) ณ กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
ช่างพูด, ช่างคุย และช่างทำเป็นหุ่นยนต์ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นมาเพื่อหวังกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก
ออทิสติก โดย ผศ.ดร.ปัณรสีอธิบายถึงหน้าที่ของหุ่นยนต์ช่างทำว่า ข้อสันนิษฐานของนักวิทยาศาสตร์ถึงความผิดปกติในเด็กออทิสติกคือเด็กมีอาการ ดังกล่าวเนื่องจากมีความเสียหายในเซลล์ประสาทที่เรียกว่า เซลล์กระจก (mirror neurones) การเลียนแบบท่าทางคนอื่น หรือคนอื่นเลียนแบบท่าทางของเด็กจะช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ดังกล่าวได้
“หากแต่ปัญหาคือเด็กออทิสติกซึ่งมักอยู่ไม่นิ่ง และมักกลัวการสื่อสารกับคน เพราะท่าทางของคนนั้นคาดเดาได้ยาก การที่เด็กไม่เริ่มต้นเลียนแบบสิ่งรอบตัว ทำให้ความสามารถในการสื่อสารไม่พัฒนา ซึ่งส่งผลต่อไปถึงการเรียนรู้ของเด็ก เด็กหุ่นยนต์คาดเดาได้ง่ายกว่า” ผศ.ดร.ปัณรสี กล่าวถึงงานวิจัยที่ได้รับทุนพัฒนาจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) เป็นเวลา 3 ปีและดำเนินเข้าสู่ปีสุดท้ายแล้ว
หุ่นยนต์ช่างทำจะออกแบบท่าทางให้เด็กออทิสติกเลียนแบบตาม ซึ่งจากการทดลองทีมวิจัยพบว่าเด็กออทิสติกที่มักกระโดดไปรอบตัวและอยู่ไม่ สุขนั้น นิ่งแล้วเริ่มเลียนแบบท่าทางของหุ่นยนต์ ขณะเดียวกันหุ่นยนต์ก็มีความสามารถในการเลียนแบบท่าทางของเด็กออทิสติกด้วย
ส่วนหุ่นยนต์อีก 2 ตัวคือช่างพูดและช่างคุยนั้นทีมวิจัยออกแบบมาเพื่อพัฒนาการพูดของเด็กออทิสติก โดยช่างพูดเป็นหุ่นยนต์ที่ออกเสียงให้เด็กพูดตาม และไม่มีการขยับปากให้เห็นจึงพัฒนาขึ้นเป็นช่างคุย ที่ติดตั้งแท็บเลตเพื่อแสดงรูปปากขณะขยับเป็นเสียงพูด
ทีมวิจัยได้ทดสอบการทำงานของหุ่นยนต์ในเด็กออทิสติกวัย 3-10 ขวบ โดยแบ่งเป็นการทดลองดูความสนใจของเด็กต่อหุ่นยนต์ การทดลองเรื่องการเลียนแบบ และการทดลองเรื่องฝึกพูดซึ่งอยู่ระหว่างการปรับรูปแบบการทดลอง ซึ่งแต่ละการทดลองนั้นทดสอบในเด็ก 10 คน แต่ทุกการทดลองต้องทดสอบในเด็กปกติก่อน และมีผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดเด็กออทิสติกประจำการทดลอง 2 คน
ทั้งนี้ ทีมวิจัยคาดหวังว่าจะพัฒนาหุ่นยนต์ไปสู่การเสริมพัฒนาการในเด็กปกติด้วย รวมทั้งพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับแท็บเลตเพื่อเสริมพัฒนาการในส่วนของพัฒนาการ ด้านการพูด และผลจากการจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ภายในงานนิทรรศการที่เจนีวาระหว่างวันที่ 10-14 เม.ย.56 ทีมวิจัยได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศ (Gold Medal with the Congratulation of the Jury) ด้วย
ด้าน ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คัดเลือกผลงานสิ่งประดิษฐ์ไทยจากทุกหน่วยงานเข้าร่วม แสดงในนิทรรศการที่เจนีวา กล่าวว่า ผลงานที่นำไปจัดแสดงต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นชิ้นเป็นอัน และเป็นผลงานที่จดสิทธิบัตรแล้วหรือกำลังจดสิทธิบัตร งานดังกล่าวที่จัดขึ้นโดยการสนับสนุนของรัฐบาลสวิสและองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) มีผลงานสิ่งประดิษฐ์กว่า 1,000 ผลงานจากทั่วโลกร่วมจัดแสดง และมีผลงานประมาณ 30% ที่ไม่ได้รับรางวัลและได้รับเพียงประกาศเกียรติคุณ สำหรับประเทศไทยได้รับรางวัลทั้งหมดรวม 48 รางวัล จากผลงานจัดแสดง 37 ผลงาน
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000047270 (ขนาดไฟล์: 168)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ แม้ว่ากิจกรรมกระตุ้น พัฒนาการเด็กออทิสติกโดยพ่อแม่และผู้เชี่ยวชาญจะเป็นสิ่งที่ดีต่อเด็กพิเศษ มากกว่า แต่ธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้มักกลัวการสื่อสารกับคนทั่วไปเพราะ “คาดเดายาก” จึงนำไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ “ช่างพูด-ช่างคุย-ช่างทำ” ซึ่งชวนเด็กพูด คุย ขยับปากและท่าทาง เพื่อเสริมพัฒนาการ และหวังต่อยอดสู่การเสริมพัฒนา หุ่นยนต์ช่างพูด “แม่ที่เจนีวาที่มีลูกเป็นออทิสติก มาดูเราแล้วก็ตื้นตันใจน้ำตาไหล” ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ จากภาควิชาวิศวกรรมการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงผลตอบรับหลังนำหุ่นยนต์ 3 ตัว คือ “ช่างพูด”, “ช่างคุย” และ “ช่างทำ” ไปจัดแสดงภายในงานนิทรรศการสิ่งแระดิษฐ์นานาชาติครั้งที่ 41 (41st International Exhibition of Inventions of Geneva) ณ กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ช่างพูด, ช่างคุย และช่างทำเป็นหุ่นยนต์ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นมาเพื่อหวังกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ออทิสติก โดย ผศ.ดร.ปัณรสีอธิบายถึงหน้าที่ของหุ่นยนต์ช่างทำว่า ข้อสันนิษฐานของนักวิทยาศาสตร์ถึงความผิดปกติในเด็กออทิสติกคือเด็กมีอาการ ดังกล่าวเนื่องจากมีความเสียหายในเซลล์ประสาทที่เรียกว่า เซลล์กระจก (mirror neurones) การเลียนแบบท่าทางคนอื่น หรือคนอื่นเลียนแบบท่าทางของเด็กจะช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ดังกล่าวได้ “หากแต่ปัญหาคือเด็กออทิสติกซึ่งมักอยู่ไม่นิ่ง และมักกลัวการสื่อสารกับคน เพราะท่าทางของคนนั้นคาดเดาได้ยาก การที่เด็กไม่เริ่มต้นเลียนแบบสิ่งรอบตัว ทำให้ความสามารถในการสื่อสารไม่พัฒนา ซึ่งส่งผลต่อไปถึงการเรียนรู้ของเด็ก เด็กหุ่นยนต์คาดเดาได้ง่ายกว่า” ผศ.ดร.ปัณรสี กล่าวถึงงานวิจัยที่ได้รับทุนพัฒนาจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) เป็นเวลา 3 ปีและดำเนินเข้าสู่ปีสุดท้ายแล้ว หุ่นยนต์ช่างคุย หุ่นยนต์ช่างทำจะออกแบบท่าทางให้เด็กออทิสติกเลียนแบบตาม ซึ่งจากการทดลองทีมวิจัยพบว่าเด็กออทิสติกที่มักกระโดดไปรอบตัวและอยู่ไม่ สุขนั้น นิ่งแล้วเริ่มเลียนแบบท่าทางของหุ่นยนต์ ขณะเดียวกันหุ่นยนต์ก็มีความสามารถในการเลียนแบบท่าทางของเด็กออทิสติกด้วย ส่วนหุ่นยนต์อีก 2 ตัวคือช่างพูดและช่างคุยนั้นทีมวิจัยออกแบบมาเพื่อพัฒนาการพูดของเด็กออทิสติก โดยช่างพูดเป็นหุ่นยนต์ที่ออกเสียงให้เด็กพูดตาม และไม่มีการขยับปากให้เห็นจึงพัฒนาขึ้นเป็นช่างคุย ที่ติดตั้งแท็บเลตเพื่อแสดงรูปปากขณะขยับเป็นเสียงพูด ทีมวิจัยได้ทดสอบการทำงานของหุ่นยนต์ในเด็กออทิสติกวัย 3-10 ขวบ โดยแบ่งเป็นการทดลองดูความสนใจของเด็กต่อหุ่นยนต์ การทดลองเรื่องการเลียนแบบ และการทดลองเรื่องฝึกพูดซึ่งอยู่ระหว่างการปรับรูปแบบการทดลอง ซึ่งแต่ละการทดลองนั้นทดสอบในเด็ก 10 คน แต่ทุกการทดลองต้องทดสอบในเด็กปกติก่อน และมีผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดเด็กออทิสติกประจำการทดลอง 2 คน หุ่นยนต์ช่างทำ ทั้งนี้ ทีมวิจัยคาดหวังว่าจะพัฒนาหุ่นยนต์ไปสู่การเสริมพัฒนาการในเด็กปกติด้วย รวมทั้งพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับแท็บเลตเพื่อเสริมพัฒนาการในส่วนของพัฒนาการ ด้านการพูด และผลจากการจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ภายในงานนิทรรศการที่เจนีวาระหว่างวันที่ 10-14 เม.ย.56 ทีมวิจัยได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศ (Gold Medal with the Congratulation of the Jury) ด้วย ด้าน ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คัดเลือกผลงานสิ่งประดิษฐ์ไทยจากทุกหน่วยงานเข้าร่วม แสดงในนิทรรศการที่เจนีวา กล่าวว่า ผลงานที่นำไปจัดแสดงต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นชิ้นเป็นอัน และเป็นผลงานที่จดสิทธิบัตรแล้วหรือกำลังจดสิทธิบัตร งานดังกล่าวที่จัดขึ้นโดยการสนับสนุนของรัฐบาลสวิสและองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) มีผลงานสิ่งประดิษฐ์กว่า 1,000 ผลงานจากทั่วโลกร่วมจัดแสดง และมีผลงานประมาณ 30% ที่ไม่ได้รับรางวัลและได้รับเพียงประกาศเกียรติคุณ สำหรับประเทศไทยได้รับรางวัลทั้งหมดรวม 48 รางวัล จากผลงานจัดแสดง 37 ผลงาน ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000047270
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)