แฉซื้อรถเมล์ส่อล็อคสเปค
นายนเรศ บุญเปี่ยม ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) โครงการใช้เชื้อเพลิงก๊าซก๊าซธรรมชาติ (NGV) จํานวน 3,183 คัน เปิดเผยว่า หลังจากได้ประกาศร่าง TOR เพื่อรับฟังความเห็น เมื่อวันที่ 19-25ก.ค.ที่ ผ่านมา ปรากฏว่ามีผู้สนใจเสนอแนะความเห็นเข้ามาเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์แต่ไม่ได้นำเสนอแนวทางแก้ไข โดยข้อวิจารณ์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริการผู้พิการ ควรมีให้บริการทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ จากที่กำหนดเพียงรถปรับอากาศเท่านั้น รวมถึงควรเปิดโอกาสให้บริษัทที่ไม่เคยจำหน่ายรถโดยสารในประเทศไทย เข้ามาร่วมประกวดราคาได้ เป็นต้น ทั้งนี้คณะกรรมการฯ จะรวบรวมความเห็นทั้งหมด รายงานในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การ (บอร์ด) ขสมก.ในวันที่ 30 ก.ค.นี้ หลังจากนั้นคณะกรรมการร่างทีโออาร์จะนัดประชุมเพื่อพิจารณาปรับแก้ร่างทีโออาร์ก่อนประกาศร่างผ่านเวปรับฟังความเห็นอีกครั้ง
สำหรับเรื่องที่มีการแสดงความเห็นผ่านสื่อว่าร่างทีโออาร์รถเมล์ล็อกสเปคให้เอกชนบางราย และ การเขียนรายละเอียดบางส่วน เช่น คัสซี กำหนดรายละเอียดน้อยเกินไป เป็นการเปิดช่องให้เอกชนบางรายไปนำคัสซีรถบรรทุกมาประกอบเพื่อลดต้นทุน แต่อาจไม่ปลอดภัยต่อผู้โดยสารนั้น อยากให้มาแสดงความเห็นในเวปที่เปิดโอกาสให้ เพราะคณะกรรมการร่างทีโออาร์จะได้นำมาพิจารณาปรับแก้ไข ซึ่งขั้นตอนขณะนี้เป็นเพียงร่างทีโออาร์เท่านั้นยังสามารถเสนอแนะความเห็นมาปรับแก้ไขได้
รายงานข่าวแจ้งว่า รถยนต์โดยสารในประเทศไทยแบ่งตัวรถออกได้ 2 ส่วนคือ คัสซีและตัวถัง คัสซีประกอบด้วยโครงรถคัสซี เครื่องยนต์ เพลาล้อหน้า-หลัง ระบบถ่ายทอดกำลัง ระบบรองรับคัสซี ตัวถังคือ ส่วนที่เป็นห้องโดยสารทั้งหมด โดย ปกติแล้วคัสซีที่สามารถนำมาจำหน่ายเพื่อเอาไปทำเป็นรถยนต์โดยสาร ต้องได้รับความเห็นชอบแบบคัสซีจากสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก ซึ่งจะเห็นชอบเฉพาะด้านความมั่นคงแข็งแรงของรถ ไม่ได้เห็นชอบในเรื่องความปลอดภัยในการมาประกอบเป็นรถยนต์โดยสารซึ่งการกำหนด รายละเอียด TOR เพื่อจัดซื้อจัดหารถโดยสารสาธารณะ จำเป็นต้องกำหนดคุณลักษณะของคัสซีว่าต้องเป็นคัสซีที่ผลิตมาเพื่อใช้ทำเป็นรถยนต์โดยสาร มีผลงานทั้งด้านการจำหน่าย หรืออาจกำหนดระยะทางวิ่งไม่น้อยกว่า 200,000 กม.ต่อคัน ไม่ใช้กำหนดแต่เพียงผลงานของตัวเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นการจงใจเปิดโอกาสให้บางรายนำคัสซีรถยนต์บรรทุก เครื่อง CNG ที่มีเครื่องยนต์ถูกต้องตาม TOR มาดัดแปลงเป็นคัสซีรถยนต์โดยสาร โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสาร ส่วนการอ้างข้อกำหนดมาตรฐาน UNECE R-85 มากำกับเครื่องยนต์ที่เข้าประมูลทำได้ แต่ไม่อ้างข้อกำหนดมาตรฐาน UNECE R-13 ว่าด้วยระบบห้ามล้อ ในกรณีคัสซีดัดแปลงจากรถบรรทุก(N 3) มาเป็นรถโดยสาร (M 3) และการนำเอาคัสซีรถบรรทุกดัดแปลงซึ่งมีเครื่องยนต์อยู่ในห้องโดยสารมาใช้ ทำให้พื้นที่รองรับผู้โดยสารน้อยกว่ารถที่ใช้คัสซีรถยนต์โดยสารแท้ๆ เป็นการเสียรายได้ต่อเที่ยวของ ขสมก. และทำให้การขึ้น-ลง ไม่ สะดวกและเกิดอุบัติเหตุง่าย ส่วนกรณีการกำหนดให้รถสามารถวิ่งบริการรับ-ส่งและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ถนนที่มีน้ำท่วมขังไม่เกินระดับ 70 เซนติเมตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้คัสซีรถบรรทุกที่มีโครงแบบ Laden type มาดัดแปลง
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/bkk/222431 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รถขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นายนเรศ บุญเปี่ยม ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) โครงการใช้เชื้อเพลิงก๊าซก๊าซธรรมชาติ (NGV) จํานวน 3,183 คัน เปิดเผยว่า หลังจากได้ประกาศร่าง TOR เพื่อรับฟังความเห็น เมื่อวันที่ 19-25ก.ค.ที่ ผ่านมา ปรากฏว่ามีผู้สนใจเสนอแนะความเห็นเข้ามาเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์แต่ไม่ได้นำเสนอแนวทางแก้ไข โดยข้อวิจารณ์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริการผู้พิการ ควรมีให้บริการทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ จากที่กำหนดเพียงรถปรับอากาศเท่านั้น รวมถึงควรเปิดโอกาสให้บริษัทที่ไม่เคยจำหน่ายรถโดยสารในประเทศไทย เข้ามาร่วมประกวดราคาได้ เป็นต้น ทั้งนี้คณะกรรมการฯ จะรวบรวมความเห็นทั้งหมด รายงานในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การ (บอร์ด) ขสมก.ในวันที่ 30 ก.ค.นี้ หลังจากนั้นคณะกรรมการร่างทีโออาร์จะนัดประชุมเพื่อพิจารณาปรับแก้ร่างทีโออาร์ก่อนประกาศร่างผ่านเวปรับฟังความเห็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องที่มีการแสดงความเห็นผ่านสื่อว่าร่างทีโออาร์รถเมล์ล็อกสเปคให้เอกชนบางราย และ การเขียนรายละเอียดบางส่วน เช่น คัสซี กำหนดรายละเอียดน้อยเกินไป เป็นการเปิดช่องให้เอกชนบางรายไปนำคัสซีรถบรรทุกมาประกอบเพื่อลดต้นทุน แต่อาจไม่ปลอดภัยต่อผู้โดยสารนั้น อยากให้มาแสดงความเห็นในเวปที่เปิดโอกาสให้ เพราะคณะกรรมการร่างทีโออาร์จะได้นำมาพิจารณาปรับแก้ไข ซึ่งขั้นตอนขณะนี้เป็นเพียงร่างทีโออาร์เท่านั้นยังสามารถเสนอแนะความเห็นมาปรับแก้ไขได้ รายงานข่าวแจ้งว่า รถยนต์โดยสารในประเทศไทยแบ่งตัวรถออกได้ 2 ส่วนคือ คัสซีและตัวถัง คัสซีประกอบด้วยโครงรถคัสซี เครื่องยนต์ เพลาล้อหน้า-หลัง ระบบถ่ายทอดกำลัง ระบบรองรับคัสซี ตัวถังคือ ส่วนที่เป็นห้องโดยสารทั้งหมด โดย ปกติแล้วคัสซีที่สามารถนำมาจำหน่ายเพื่อเอาไปทำเป็นรถยนต์โดยสาร ต้องได้รับความเห็นชอบแบบคัสซีจากสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก ซึ่งจะเห็นชอบเฉพาะด้านความมั่นคงแข็งแรงของรถ ไม่ได้เห็นชอบในเรื่องความปลอดภัยในการมาประกอบเป็นรถยนต์โดยสารซึ่งการกำหนด รายละเอียด TOR เพื่อจัดซื้อจัดหารถโดยสารสาธารณะ จำเป็นต้องกำหนดคุณลักษณะของคัสซีว่าต้องเป็นคัสซีที่ผลิตมาเพื่อใช้ทำเป็นรถยนต์โดยสาร มีผลงานทั้งด้านการจำหน่าย หรืออาจกำหนดระยะทางวิ่งไม่น้อยกว่า 200,000 กม.ต่อคัน ไม่ใช้กำหนดแต่เพียงผลงานของตัวเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นการจงใจเปิดโอกาสให้บางรายนำคัสซีรถยนต์บรรทุก เครื่อง CNG ที่มีเครื่องยนต์ถูกต้องตาม TOR มาดัดแปลงเป็นคัสซีรถยนต์โดยสาร โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสาร ส่วนการอ้างข้อกำหนดมาตรฐาน UNECE R-85 มากำกับเครื่องยนต์ที่เข้าประมูลทำได้ แต่ไม่อ้างข้อกำหนดมาตรฐาน UNECE R-13 ว่าด้วยระบบห้ามล้อ ในกรณีคัสซีดัดแปลงจากรถบรรทุก(N 3) มาเป็นรถโดยสาร (M 3) และการนำเอาคัสซีรถบรรทุกดัดแปลงซึ่งมีเครื่องยนต์อยู่ในห้องโดยสารมาใช้ ทำให้พื้นที่รองรับผู้โดยสารน้อยกว่ารถที่ใช้คัสซีรถยนต์โดยสารแท้ๆ เป็นการเสียรายได้ต่อเที่ยวของ ขสมก. และทำให้การขึ้น-ลง ไม่ สะดวกและเกิดอุบัติเหตุง่าย ส่วนกรณีการกำหนดให้รถสามารถวิ่งบริการรับ-ส่งและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ถนนที่มีน้ำท่วมขังไม่เกินระดับ 70 เซนติเมตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้คัสซีรถบรรทุกที่มีโครงแบบ Laden type มาดัดแปลง ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/bkk/222431 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)