ศิลปะเพื่อคนตาบอด ตามฝันสุดขอบฟ้าเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน
ผมเอง ห่างหายจากหน้ากระดาษ 1001 ไปนานพอสมควร เนื่องจากคณาจารย์ในภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัยต่างมีเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ ที่อยากเล่าให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้ เรื่องที่ผมจะเล่าต่อไปในวันนี้ เป็นเรื่องที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่แท้จริงแล้ว มันมีต้นกำเนิดสำคัญมาจากความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เรื่องที่ว่า ก็คือ โครงการศิลปะเพื่อคนตาบอด ตามฝันสุดขอบฟ้า เทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน
โครงการนี้เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และมหาวิทยาลัย ศิลปากร จัดขึ้นโดยมีรากของความคิดมาจากเบรนพอร์ต (Brain port) ซึ่งผมเคยเขียนถึงไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อนานมากแล้ว ในบรรดาภาพข่าวที่เกี่ยวข้องกับเบรนพอร์ต มีภาพข่าวจากซีบีเอสชิ้นหนึ่งที่กระตุ้นความสนใจของผม (ตามภาพประกอบ ขอบคุณ http://www.cbsnews.com/8301-501464_162-2373433.html (ขนาดไฟล์: 446) ของสำนักข่าวซีบีเอส) ภาพที่ว่านี้เป็นการบอกว่า ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะเข้ามาจากช่องทาง (หรือพอร์ตนั่นแหละครับ) ไหนก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นทางประสาทสัมผัสบนลิ้นหรือภาพจากทางตา สุดท้ายข้อมูลนั้นจะถูกส่งไปเก็บที่ Visual Cortex แม้ผมจะไม่ได้เรียนมาทางประสาทวิทยา แต่มันทำให้ผมเกิดความคิดขึ้นว่า สุดท้ายแล้ว ภาพก็จะถูกแปรเปลี่ยนเป็นข้อมูลที่วิ่งไปมาในสมอง ดังนั้นหากเราสามารถแปลงภาพให้เป็นข้อมูล ก็จะทำให้คนตาบอดรับรู้ได้จากจินตนาการของเขาเหล่านั้นได้เช่นกัน
ผมมีลูกศิษย์ตาบอด ที่ผมได้มีโอกาสเดินทางด้วยกันไปในหลายสถานที่ ทำให้ได้เห็นวิธีการที่ภรรยาของลูกศิษย์ของผมใช้ คือ ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตาม ภรรยาจะคอยเล่าว่า ขณะนี้ด้านหน้าเป็นอะไร ด้านซ้ายเป็นอะไร มีวัตถุอะไร อยู่ในภาพตรงไหนบ้าง เห็นไหมครับว่า คนปกติทั่วไปสามารถถ่ายทอดสิ่งที่เห็นให้กับคนตาบอดได้ด้วยการบอกเล่าข้อมูล จากภาพเพื่อให้คนตาบอดได้รับรู้ ผมจึงคิดว่า ถ้าอย่างนั้น ถ้าเราสามารถถ่ายทอดภาพออกมาเป็นข้อมูลในลักษณะอื่น เช่น ปูนปั้นนูนต่ำ เสียง หรือวัสดุพื้นผิวแบบอื่น ๆ พร้อมมีคนช่วยอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ ในภาพ ก็จะสามารถบอกเล่าภาพให้คนตาบอดได้ชัดเจนขึ้น สามารถช่วยแต่งเติมจินตนาการที่เป็นจริงให้กับเขาเหล่านั้นได้
จากแนวคิดนี้ เมื่อนำไปค้นคว้าหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ก็พบว่า มีงานศิลปะที่เรียกว่า Art Beyond Sight อยู่แล้วมากมาย อันเป็นการสนับสนุนว่า เราเองก็สามารถจัดงานในลักษณะเดียวกันนี้ได้เช่นกัน การเดินทางของข้อมูลทั้งหมดที่เล่ามาในวันนี้ จึงกลายมาเป็น นิทรรศการภาพถ่ายเพื่อคนตาบอด ตามฝันสุดขอบฟ้า เทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ซึ่งในงานมีการจัดแสดงภาพฝีพระหัตถ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ถ่ายทอดเป็นปูนปั้นนูนต่ำโดยศาสตรเมธี นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ร่วมด้วยผลงานจากศิลปินแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ยรรยง โอฬาระชิน อาจารย์วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี ศิลปินอาวุโสและศิลปินอื่น ๆ อีกหลายท่านด้วยกัน
เรียนเชิญทุกท่านเข้าชมงานจากความพยายามของพวกเราในครั้งนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชั้น L และชั้น 1 ระหว่างวันที่ 13-25 สิงหาคม เวลา 10.00-20.00 น. เว้นวันจันทร์ ครับ…โดยสุกรี สินธุภิญโญ
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/226187 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
งานปั้นศิลปะภาพนูน ผมเอง ห่างหายจากหน้ากระดาษ 1001 ไปนานพอสมควร เนื่องจากคณาจารย์ในภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัยต่างมีเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ ที่อยากเล่าให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้ เรื่องที่ผมจะเล่าต่อไปในวันนี้ เป็นเรื่องที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่แท้จริงแล้ว มันมีต้นกำเนิดสำคัญมาจากความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เรื่องที่ว่า ก็คือ โครงการศิลปะเพื่อคนตาบอด ตามฝันสุดขอบฟ้า เทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน โครงการนี้เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และมหาวิทยาลัย ศิลปากร จัดขึ้นโดยมีรากของความคิดมาจากเบรนพอร์ต (Brain port) ซึ่งผมเคยเขียนถึงไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อนานมากแล้ว ในบรรดาภาพข่าวที่เกี่ยวข้องกับเบรนพอร์ต มีภาพข่าวจากซีบีเอสชิ้นหนึ่งที่กระตุ้นความสนใจของผม (ตามภาพประกอบ ขอบคุณ http://www.cbsnews.com/8301-501464_162-2373433.html ของสำนักข่าวซีบีเอส) ภาพที่ว่านี้เป็นการบอกว่า ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะเข้ามาจากช่องทาง (หรือพอร์ตนั่นแหละครับ) ไหนก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นทางประสาทสัมผัสบนลิ้นหรือภาพจากทางตา สุดท้ายข้อมูลนั้นจะถูกส่งไปเก็บที่ Visual Cortex แม้ผมจะไม่ได้เรียนมาทางประสาทวิทยา แต่มันทำให้ผมเกิดความคิดขึ้นว่า สุดท้ายแล้ว ภาพก็จะถูกแปรเปลี่ยนเป็นข้อมูลที่วิ่งไปมาในสมอง ดังนั้นหากเราสามารถแปลงภาพให้เป็นข้อมูล ก็จะทำให้คนตาบอดรับรู้ได้จากจินตนาการของเขาเหล่านั้นได้เช่นกัน สื่อทางการแพทย์ แสดงภาพจำลองการมองเห็นของดวงตาคนปกติ Normal Visionผมมีลูกศิษย์ตาบอด ที่ผมได้มีโอกาสเดินทางด้วยกันไปในหลายสถานที่ ทำให้ได้เห็นวิธีการที่ภรรยาของลูกศิษย์ของผมใช้ คือ ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตาม ภรรยาจะคอยเล่าว่า ขณะนี้ด้านหน้าเป็นอะไร ด้านซ้ายเป็นอะไร มีวัตถุอะไร อยู่ในภาพตรงไหนบ้าง เห็นไหมครับว่า คนปกติทั่วไปสามารถถ่ายทอดสิ่งที่เห็นให้กับคนตาบอดได้ด้วยการบอกเล่าข้อมูล จากภาพเพื่อให้คนตาบอดได้รับรู้ ผมจึงคิดว่า ถ้าอย่างนั้น ถ้าเราสามารถถ่ายทอดภาพออกมาเป็นข้อมูลในลักษณะอื่น เช่น ปูนปั้นนูนต่ำ เสียง หรือวัสดุพื้นผิวแบบอื่น ๆ พร้อมมีคนช่วยอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ ในภาพ ก็จะสามารถบอกเล่าภาพให้คนตาบอดได้ชัดเจนขึ้น สามารถช่วยแต่งเติมจินตนาการที่เป็นจริงให้กับเขาเหล่านั้นได้ จากแนวคิดนี้ เมื่อนำไปค้นคว้าหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ก็พบว่า มีงานศิลปะที่เรียกว่า Art Beyond Sight อยู่แล้วมากมาย อันเป็นการสนับสนุนว่า เราเองก็สามารถจัดงานในลักษณะเดียวกันนี้ได้เช่นกัน การเดินทางของข้อมูลทั้งหมดที่เล่ามาในวันนี้ จึงกลายมาเป็น นิทรรศการภาพถ่ายเพื่อคนตาบอด ตามฝันสุดขอบฟ้า เทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ซึ่งในงานมีการจัดแสดงภาพฝีพระหัตถ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ถ่ายทอดเป็นปูนปั้นนูนต่ำโดยศาสตรเมธี นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ร่วมด้วยผลงานจากศิลปินแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ยรรยง โอฬาระชิน อาจารย์วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี ศิลปินอาวุโสและศิลปินอื่น ๆ อีกหลายท่านด้วยกัน สื่อทางการแพทย์ แสดงภาพจำลองการมองเห็นของดวงตาคนไม่ปกติหรือตาบอด เรียนเชิญทุกท่านเข้าชมงานจากความพยายามของพวกเราในครั้งนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชั้น L และชั้น 1 ระหว่างวันที่ 13-25 สิงหาคม เวลา 10.00-20.00 น. เว้นวันจันทร์ ครับ…โดยสุกรี สินธุภิญโญ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/226187 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)