แถลงการณ์ร่วมเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ เรื่อง ขสมก. เตรียมจัดซื้อรถเมล์ใหม่ ๓,๑๘๓ คัน เลือกปฏิบัติต่อคนพิการ วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๖

แสดงความคิดเห็น

ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนต้องขึ้นได้ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ (เมื่อวันที่ ๙ เม.ย.๒๕๕๖) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้จัดซื้อรถโดยสารประจำทาง(รถเมล์)ใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวี จำนวน ๓,๑๘๓ คัน เพื่อนำมาทดแทนรถเมล์ เดิมที่ใช้น้ำมันดีเซลขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยใช้งบประมาณวงเงิน ๑๓,๑๖๒ ล้านบาท แบ่งเป็นการจัดซื้อรถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อน จำนวน ๑,๖๕๙ คัน ในราคาคันละ ๓.๘ ล้านบาท และจัดซื้อรถเมล์ปรับอากาศหรือรถ ปอ. จำนวน ๑,๕๒๔ คัน ในราคาคันละ ๔.๕ ล้านบาท พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบรถในประเทศเข้าร่วมประมูล ภายในระยะเวลา ๑๘ เดือนข้างหน้า นั้น

เครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ ประกอบด้วย สภาคนพิการทุกประเทศแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) มูลนิธิคนพิการไทย มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ มูลนิธิสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย และเครือข่ายศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการจากทั่วประเทศ ซึ่งได้เฝ้าระวัง และจับตามองโครงการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ดังกล่าว มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบัน พบว่า

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาล กระทรวงคมนาคม องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าว “ไม่จริงใจ” กับข้อเสนอของเครือข่ายคนพิการ ที่เรียกร้องให้รถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่ มีคุณลักษณะทั่วไปที่ “ประชาชนทุกคนในสังคม” สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ทุกคัน กล่าวคือ เป็นรถเมล์สาธารณะแบบชานต่ำ (Low Floor) หรือแบบกึ่งชานต่ำ (Semi Low Floor) ที่มีพื้นรถภายในห้องโดยสารเรียบ ไม่มีขั้นบันไดบริเวณประตูกลางรถ และมีทางลาดชนิดเลื่อนเข้า-ออกได้ บริเวณใต้ประตูตรงกลางรถ (ดังภาพด้านบน) ซึ่งรถดังกล่าวถูกออกแบบตามแนวคิด การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม ( Universal Design : UD ) เพื่อให้บุคคลทุกเพศทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีรถเข็นเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ และคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง สามารถขึ้น-ลงรถเมล์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

ตัวอย่างรถเมล์ออกแบบตามแนวคิด การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม มีบันไดแบบทางลาดที่รถเข็นสามารถขึ้นได้ แต่ ขสมก. ได้ปฏิเสธต่อข้อเสนอของเครือข่ายฯ และยืนยันที่จะใช้รถเมล์แบบพื้นสูง ๗๐ ซม. ตามเดิม โดย ขสมก. จะติดตั้งลิฟต์สำหรับยกรถเข็นคนพิการเฉพาะในรถเมล์ปรับอากาศเท่านั้น ส่วนรถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อน ไม่มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการแต่อย่างใด ต่อกรณีนี้ ถือว่า กระทรวงคมนาคมและขสมก. ได้กระทำการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการในประเด็น “การยอมรับความเสมอภาคของบุคคลในทางกฎหมายสำหรับโอกาสในการรับการศึกษา การประกอบอาชีพ การรักษาพยาบาล และการเข้ามีส่วนร่วมทางสังคมอย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป” และกระทบต่อสิทธิของคนพิการที่จะเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสวัสดิการสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ม.๓๐ , ม.๕๔ ได้ให้หลักประกันไว้ นอกจากนี้ พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ม.๑๕ ยังระบุว่า “การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ...จะกระทำมิได้”

ด้วยเหตุนี้ เครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ จึงได้ออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อแสดงจุดยืนและความต้องการของเครือข่ายฯ ต่อกรณี ขสมก. เตรียมจัดซื้อรถเมล์ใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวี จำนวน ๓,๑๘๓ คัน เลือกปฏิบัติต่อ

คนพิการ ดังนี้

ข้อ ๑. ขอให้ ขสมก. ดำเนินการแก้ไขร่างขอบเขตของงาน (TOR) โครงการจัดซื้อรถเมล์ใหม่จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ให้มีคุณลักษณะทั่วไปเป็นรถเมล์สาธารณะแบบชานต่ำ หรือกึ่งชานต่ำ ที่มีพื้นรถภายในห้องโดยสารเรียบและไม่มีขั้นบันไดบริเวณประตูกลางรถ และมีทางลาดชนิดเลื่อนเข้า-ออกได้ บริเวณใต้ประตูตรงกลางรถ ที่ “ประชาชนทุกคนในสังคม” สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ทุกคัน

ข้อ ๒. ขอให้ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มีคำสั่งไปยังประธานคณะกรรมการจัดทำร่างขอบเขตของงาน (TOR) ขสมก. ให้ “ยกเลิก” ความคิดที่จะติดตั้งลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการในรถเมล์สาธารณะที่จะจัดซื้อใหม่ ทั้งในปัจจุบันและที่จะจัดซื้อเพิ่มในอนาคต เพราะนอกจากตัวลิฟต์จะมีราคาแพงและสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุแล้ว ยัง “ไม่ใช่” ความต้องการของคนพิการที่ใช้เก้าอี้รถเข็น อีกด้วย

(การใช้ลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ ขึ้น-ลงรถเมล์ประจำทาง จะใช้เวลาประมาณ ๔-๕ นาทีต่อคันต่อครั้ง ในกรณีชั่วโมงเร่งด่วน เกรงว่าจะไม่มีคนพิการกล้าออกมาใช้บริการ เพราะคนพิการไม่อยากตกเป็น “จำเลยของสังคม”...โดยไม่จำเป็น)

ข้อ ๓. ขอให้กระทรวงคมนาคม ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดที่กำกับดูแล ขสมก. และเจ้าของนโยบาย “สะดวก ปลอดภัย คมนาคมยุคใหม่ใส่ใจคนพิการ” มีหนังสือสั่งการไปยัง ขสมก. ให้แต่งตั้งผู้แทนคนพิการจากทุกประเภทความพิการ ร่วมเป็นคณะทำงานยกร่างขอบเขตของงาน (TOR) และพิจารณาแต่งตั้งผู้แทนคนพิการ ที่มีประสบการณ์ในเรื่องการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดซื้อและตรวจรับงานในโครงการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าว เพื่อเป็นหลักประกันว่ารถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่ ทุกคนรวมทั้งคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ทุกคัน

ข้อ ๔. ขอให้ ฯพณฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรัฐมนตรี กำชับและกวดขันหน่วยงานที่ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วย งานที่เกี่ยวข้องอีก ๒๑ หน่วยงาน เพื่อร่วมกันสนับสนุนมาตรการผลักดันการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการ ในโครงการ "เปลี่ยนภาระ เป็นพลัง สร้างสังคมเพื่อทุกคน" (เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ค. ๒๕๕๖ที่ทำเนียบรัฐบาล) ไม่ให้กระทำการในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ดั่งเช่นกรณีของ ขสมก. อีกต่อไป

ข้อ ๕. ขอให้ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ประสานทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหา กรณี ขสมก. เลือกปฏิบัติต่อคนพิการ และนำผลความคืบหน้าในการดำเนินงาน มารายงานให้ผู้แทนเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการทราบ ในที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯ ในวันที่ ๑๖ ก.ย. ที่จะถึงนี้

เครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ ขอเรียนว่าพวกเราจะยืนหยัดต่อสู้ในทุกวิถีทางและทุกรูปแบบ เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย ไม่ว่าจะต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อ เลือดเนื้อ หรือชีวิตก็ตาม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เข้าถึงสิทธิอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป รวมถึงเป็นบุคคลที่มีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้กับสังคม และประเทศชาติต่อไป “รถเมล์ภาษีประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน” : ขอข้อมูลเพิ่มเติม ที่ผู้ประสานงาน : นายอุดมโชค ชูรัตน์ โทรฯ ๐๘๖ ๘๓๔๒๘๐๓ หรือ cr_udomchok@hotmail.com หรือ: นายธีรยุทธ สุคนธวิท โทร. ๐๘๑ ๘๐๙๔๒๐๒ หรือ teerayudth@hotmail.co.th หรือ: นายภัทรพันธุ์ กฤษณา โทร. ๐๘๑ ๑๗๗๒๗๗๗ หรือ p_krissana@hotmail.com หรือ: นายกิตติพงษ์ หาดทวายกาญจน์ โทร. ๐๘๕ ๑๔๐๕๔๗๑ หรือ h_kittipong@hotmail.com

ขอบคุณ...เครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.ย.56

ที่มา: เครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 2/09/2556 เวลา 06:18:02 ดูภาพสไลด์โชว์ แถลงการณ์ร่วมเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ เรื่อง ขสมก. เตรียมจัดซื้อรถเมล์ใหม่ ๓,๑๘๓ คัน เลือกปฏิบัติต่อคนพิการ วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๖

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อประชาชนทุกคนต้องขึ้นได้ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ (เมื่อวันที่ ๙ เม.ย.๒๕๕๖) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้จัดซื้อรถโดยสารประจำทาง(รถเมล์)ใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวี จำนวน ๓,๑๘๓ คัน เพื่อนำมาทดแทนรถเมล์ เดิมที่ใช้น้ำมันดีเซลขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยใช้งบประมาณวงเงิน ๑๓,๑๖๒ ล้านบาท แบ่งเป็นการจัดซื้อรถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อน จำนวน ๑,๖๕๙ คัน ในราคาคันละ ๓.๘ ล้านบาท และจัดซื้อรถเมล์ปรับอากาศหรือรถ ปอ. จำนวน ๑,๕๒๔ คัน ในราคาคันละ ๔.๕ ล้านบาท พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบรถในประเทศเข้าร่วมประมูล ภายในระยะเวลา ๑๘ เดือนข้างหน้า นั้น เครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ ประกอบด้วย สภาคนพิการทุกประเทศแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) มูลนิธิคนพิการไทย มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ มูลนิธิสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย และเครือข่ายศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการจากทั่วประเทศ ซึ่งได้เฝ้าระวัง และจับตามองโครงการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ดังกล่าว มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบัน พบว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาล กระทรวงคมนาคม องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าว “ไม่จริงใจ” กับข้อเสนอของเครือข่ายคนพิการ ที่เรียกร้องให้รถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่ มีคุณลักษณะทั่วไปที่ “ประชาชนทุกคนในสังคม” สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ทุกคัน กล่าวคือ เป็นรถเมล์สาธารณะแบบชานต่ำ (Low Floor) หรือแบบกึ่งชานต่ำ (Semi Low Floor) ที่มีพื้นรถภายในห้องโดยสารเรียบ ไม่มีขั้นบันไดบริเวณประตูกลางรถ และมีทางลาดชนิดเลื่อนเข้า-ออกได้ บริเวณใต้ประตูตรงกลางรถ (ดังภาพด้านบน) ซึ่งรถดังกล่าวถูกออกแบบตามแนวคิด การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม ( Universal Design : UD ) เพื่อให้บุคคลทุกเพศทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีรถเข็นเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ และคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง สามารถขึ้น-ลงรถเมล์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ตัวอย่างรถเมล์ออกแบบตามแนวคิด การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม มีบันไดแบบทางลาดที่รถเข็นสามารถขึ้นได้ แต่ ขสมก. ได้ปฏิเสธต่อข้อเสนอของเครือข่ายฯ และยืนยันที่จะใช้รถเมล์แบบพื้นสูง ๗๐ ซม. ตามเดิม โดย ขสมก. จะติดตั้งลิฟต์สำหรับยกรถเข็นคนพิการเฉพาะในรถเมล์ปรับอากาศเท่านั้น ส่วนรถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อน ไม่มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการแต่อย่างใด ต่อกรณีนี้ ถือว่า กระทรวงคมนาคมและขสมก. ได้กระทำการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการในประเด็น “การยอมรับความเสมอภาคของบุคคลในทางกฎหมายสำหรับโอกาสในการรับการศึกษา การประกอบอาชีพ การรักษาพยาบาล และการเข้ามีส่วนร่วมทางสังคมอย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป” และกระทบต่อสิทธิของคนพิการที่จะเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสวัสดิการสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ม.๓๐ , ม.๕๔ ได้ให้หลักประกันไว้ นอกจากนี้ พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ม.๑๕ ยังระบุว่า “การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ...จะกระทำมิได้” ด้วยเหตุนี้ เครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ จึงได้ออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อแสดงจุดยืนและความต้องการของเครือข่ายฯ ต่อกรณี ขสมก. เตรียมจัดซื้อรถเมล์ใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวี จำนวน ๓,๑๘๓ คัน เลือกปฏิบัติต่อ คนพิการ ดังนี้ ข้อ ๑. ขอให้ ขสมก. ดำเนินการแก้ไขร่างขอบเขตของงาน (TOR) โครงการจัดซื้อรถเมล์ใหม่จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ให้มีคุณลักษณะทั่วไปเป็นรถเมล์สาธารณะแบบชานต่ำ หรือกึ่งชานต่ำ ที่มีพื้นรถภายในห้องโดยสารเรียบและไม่มีขั้นบันไดบริเวณประตูกลางรถ และมีทางลาดชนิดเลื่อนเข้า-ออกได้ บริเวณใต้ประตูตรงกลางรถ ที่ “ประชาชนทุกคนในสังคม” สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ทุกคัน ข้อ ๒. ขอให้ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มีคำสั่งไปยังประธานคณะกรรมการจัดทำร่างขอบเขตของงาน (TOR) ขสมก. ให้ “ยกเลิก” ความคิดที่จะติดตั้งลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการในรถเมล์สาธารณะที่จะจัดซื้อใหม่ ทั้งในปัจจุบันและที่จะจัดซื้อเพิ่มในอนาคต เพราะนอกจากตัวลิฟต์จะมีราคาแพงและสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุแล้ว ยัง “ไม่ใช่” ความต้องการของคนพิการที่ใช้เก้าอี้รถเข็น อีกด้วย (การใช้ลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ ขึ้น-ลงรถเมล์ประจำทาง จะใช้เวลาประมาณ ๔-๕ นาทีต่อคันต่อครั้ง ในกรณีชั่วโมงเร่งด่วน เกรงว่าจะไม่มีคนพิการกล้าออกมาใช้บริการ เพราะคนพิการไม่อยากตกเป็น “จำเลยของสังคม”...โดยไม่จำเป็น) ข้อ ๓. ขอให้กระทรวงคมนาคม ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดที่กำกับดูแล ขสมก. และเจ้าของนโยบาย “สะดวก ปลอดภัย คมนาคมยุคใหม่ใส่ใจคนพิการ” มีหนังสือสั่งการไปยัง ขสมก. ให้แต่งตั้งผู้แทนคนพิการจากทุกประเภทความพิการ ร่วมเป็นคณะทำงานยกร่างขอบเขตของงาน (TOR) และพิจารณาแต่งตั้งผู้แทนคนพิการ ที่มีประสบการณ์ในเรื่องการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดซื้อและตรวจรับงานในโครงการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าว เพื่อเป็นหลักประกันว่ารถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่ ทุกคนรวมทั้งคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ทุกคัน ข้อ ๔. ขอให้ ฯพณฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรัฐมนตรี กำชับและกวดขันหน่วยงานที่ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วย งานที่เกี่ยวข้องอีก ๒๑ หน่วยงาน เพื่อร่วมกันสนับสนุนมาตรการผลักดันการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการ ในโครงการ "เปลี่ยนภาระ เป็นพลัง สร้างสังคมเพื่อทุกคน" (เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ค. ๒๕๕๖ที่ทำเนียบรัฐบาล) ไม่ให้กระทำการในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ดั่งเช่นกรณีของ ขสมก. อีกต่อไป ข้อ ๕. ขอให้ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ประสานทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหา กรณี ขสมก. เลือกปฏิบัติต่อคนพิการ และนำผลความคืบหน้าในการดำเนินงาน มารายงานให้ผู้แทนเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการทราบ ในที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯ ในวันที่ ๑๖ ก.ย. ที่จะถึงนี้ เครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ ขอเรียนว่าพวกเราจะยืนหยัดต่อสู้ในทุกวิถีทางและทุกรูปแบบ เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย ไม่ว่าจะต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อ เลือดเนื้อ หรือชีวิตก็ตาม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เข้าถึงสิทธิอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป รวมถึงเป็นบุคคลที่มีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้กับสังคม และประเทศชาติต่อไป “รถเมล์ภาษีประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน” : ขอข้อมูลเพิ่มเติม ที่ผู้ประสานงาน : นายอุดมโชค ชูรัตน์ โทรฯ ๐๘๖ ๘๓๔๒๘๐๓ หรือ cr_udomchok@hotmail.com หรือ: นายธีรยุทธ สุคนธวิท โทร. ๐๘๑ ๘๐๙๔๒๐๒ หรือ teerayudth@hotmail.co.th หรือ: นายภัทรพันธุ์ กฤษณา โทร. ๐๘๑ ๑๗๗๒๗๗๗ หรือ p_krissana@hotmail.com หรือ: นายกิตติพงษ์ หาดทวายกาญจน์ โทร. ๐๘๕ ๑๔๐๕๔๗๑ หรือ h_kittipong@hotmail.com ขอบคุณ...เครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...